Book
int64 1
45
| Page
int64 1
842
| LineNumber
int64 1
54
| Text
stringlengths 1
133
|
---|---|---|---|
1 | 24 | 20 | เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลาย |
1 | 24 | 21 | ความกำหนัด คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อ |
1 | 24 | 22 | ความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. |
1 | 24 | 23 | อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่ง |
1 | 24 | 24 | ราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง |
1 | 24 | 25 | อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ |
1 | 24 | 26 | ความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ? |
1 | 25 | 1 | อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การ |
1 | 25 | 2 | เพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอก |
1 | 25 | 3 | ไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ? |
1 | 25 | 4 | อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส |
1 | 25 | 5 | หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อ |
1 | 25 | 6 | ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส |
1 | 25 | 7 | แล้ว. |
1 | 25 | 8 | ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อ |
1 | 25 | 9 | ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. |
1 | 25 | 10 | ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท |
1 | 25 | 11 | [๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น |
1 | 25 | 12 | ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า ดูกรสุทินน์ ข่าวว่าเธอ |
1 | 25 | 13 | เสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา จริงหรือ? |
1 | 25 | 14 | ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. |
1 | 25 | 15 | พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ |
1 | 25 | 16 | ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้ |
1 | 25 | 17 | แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า. |
1 | 25 | 18 | ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่ |
1 | 25 | 19 | เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี |
1 | 25 | 20 | ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิด |
1 | 25 | 21 | เพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ |
1 | 25 | 22 | ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. |
1 | 25 | 23 | ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ |
1 | 25 | 24 | เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ |
1 | 25 | 25 | เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับ |
1 | 25 | 26 | แห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ? |
1 | 26 | 1 | ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม |
1 | 26 | 2 | การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย |
1 | 26 | 3 | อเนกปริยาย มิใช่หรือ? |
1 | 26 | 4 | ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์ |
1 | 26 | 5 | กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า |
1 | 26 | 6 | ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอ |
1 | 26 | 7 | สอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม |
1 | 26 | 8 | ไม่ดีเลย. |
1 | 26 | 9 | ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร? |
1 | 26 | 10 | เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือ |
1 | 26 | 11 | ความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้า |
1 | 26 | 12 | แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด |
1 | 26 | 13 | เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต |
1 | 26 | 14 | นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ. |
1 | 26 | 15 | ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็น |
1 | 26 | 16 | เรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของ |
1 | 26 | 17 | คนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็น |
1 | 26 | 18 | อันมาก การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ |
1 | 26 | 19 | ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ |
1 | 26 | 20 | เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. |
1 | 26 | 21 | พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ |
1 | 26 | 22 | เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ |
1 | 26 | 23 | คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ |
1 | 26 | 24 | มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ |
1 | 26 | 25 | ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ |
1 | 26 | 26 | เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า |
1 | 26 | 27 | ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย |
1 | 26 | 28 | อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ |
1 | 27 | 1 | เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด |
1 | 27 | 2 | ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ |
1 | 27 | 3 | เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ |
1 | 27 | 4 | เพื่อถือตามพระวินัย ๑ |
1 | 27 | 5 | ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้: |
1 | 27 | 6 | พระปฐมบัญญัติ |
1 | 27 | 7 | ๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ |
1 | 27 | 8 | ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. |
1 | 27 | 9 | สุทินนภาณวาร จบ |
1 | 27 | 10 | เรื่องลิงตัวเมีย |
1 | 27 | 11 | [๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน เขตพระนคร |
1 | 27 | 12 | เวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว |
1 | 27 | 13 | ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครเวสาลี |
1 | 27 | 14 | ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น |
1 | 27 | 15 | ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น |
1 | 27 | 16 | ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง ทำนิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุ |
1 | 27 | 17 | เหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝง |
1 | 27 | 18 | อยู่ ณ ที่กำบังแห่งหนึ่ง. |
1 | 27 | 19 | เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาตกลับมาแล้ว ลิงตัวเมีย |
1 | 27 | 20 | นั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้นส่วนหนึ่งแล้ว ได้ให้แก่มันส่วนหนึ่ง |
1 | 27 | 21 | เมื่อมันกินอาหารส่วนนั้นแล้วได้แอ่นตะโพกให้ จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน. |
1 | 27 | 22 | ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท |
1 | 27 | 23 | ไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร คุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้เล่า? |
1 | 27 | 24 | จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว ภิกษุนั้นสารภาพแล้วค้านว่า |
1 | 27 | 25 | แต่พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย. |
1 | 28 | 1 | อาวุโส พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ? การกระทำของคุณนั่น |
1 | 28 | 2 | ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คุณไม่บวชในพระธรรม |
1 | 28 | 3 | วินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ |
1 | 28 | 4 | บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า. |
1 | 28 | 5 | อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด |
1 | 28 | 6 | ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่ |
1 | 28 | 7 | เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความ |
1 | 28 | 8 | กำหนัด คุณยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อความ |
1 | 28 | 9 | ประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. |
1 | 28 | 10 | อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่ง |
1 | 28 | 11 | ราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง |
1 | 28 | 12 | อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา |
1 | 28 | 13 | เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ? |
1 | 28 | 14 | อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การ |