buddhist-theology / 44 /440047.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
raw
history blame
3.89 kB
Book,Page,LineNumber,Text
44,0047,001,นี้ จำแนกกรรมบถทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลว่า 'ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
44,0047,002,ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
44,0047,003,เหล่านี้วิญญูชนติเตียน เหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ เหล่านี้บุคคล
44,0047,004,สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
44,0047,005,เหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข' ดังนี้ ทำกรรมและวิบาก
44,0047,006,แห่งกรรมให้ปรากฏ ราวกะแสดงโลกนี้และโลกหน้าโดยประจักษ์
44,0047,007,ยังผู้สดับให้กลับ (ใจ) จากอกุศลธรรมทั้งหลาย ให้ดำรงอยู่ในกุศล-
44,0047,008,"ธรรมทั้งหลาย แสดงธรรม, นี้ชื่อว่าธรรมทาน. แต่ธรรมกถึกใด"
44,0047,009,ประกาศสัจจะทั้งหลายว่า 'ธรรมเหล่านี้พึงรู้ยิ่ง เหล่านี้พึงกำหนดรู้
44,0047,010,เหล่านี้พึงละ เหล่านี้พึงทำให้แจ้ง เหล่านี้พึงเจริญ' ดังนี้ แสดง
44,0047,011,"ปฏิปัตติธรรม เพื่อบรรลุอมตะ, นี้ชื่อธรรมทานที่ถึงความเป็นยอด."
44,0047,012,บทว่า <B>เอตทคฺคํ</B> ตัดบท เป็น <B>เอตํ อคฺคํ.</B> บทว่า <B>ยทิทํ</B> ความว่า
44,0047,013,บรรดาทานทั้ง ๒ นี้ ธรรมทานที่พระธรรมกถึกนั้นแสดง นั่นเป็นยอด
44,0047,014,คือประเสริฐ ได้แก่สูงสุด. จริงอยู่ บุคคลอาศัยธรรมทานอันเป็น
44,0047,015,วิวัฏฏคามี (มีปกติทำสัตว์ให้ถึงวิวัฏฏะ) ย่อมพ้นจากความฉิบหาย
44,0047,016,"ทั้งปวง, ย่อมล่วงวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้น. ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุ"
44,0047,017,แห่งทานทั้งปวง เป็นมูลแห่งทรัพย์สมบัติทุกอย่าง. แม้อภัยทานก็พึง
44,0047,018,เห็นว่า พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยธรรมทาน ในทานทั้ง ๒ นี้
44,0047,019,"เหมือนกัน."""
44,0047,020,"ในอรรถกถามงคลสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ""ก็การแสดงธรรมที่"
44,0047,021,พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้ว อันเป็นเหตุทุกข์และนำสุขมา