query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 14
176
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 0
14
|
---|---|---|---|
1062 | แอนเธมเรสต์ลิงเอ็กซ์ไฮบิชั่น ก่อตั้งโดยใคร? | [
{
"docid": "201836#0",
"text": "แอนเธมเรสต์ลิงเอ็กซ์ไฮบิชั่น (d.b.a. อิมแพ็ค เรสต์ลิง (Impact Wrestling)) มีชื่อเดิมว่า โกเบิล ฟอร์ซ เรสต์ลิง (Global Force Wrestling หรือ GFW) และ โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง หรือ ทีเอ็นเอ (Total Nonstop Action Wrestling or TNA) เป็นสมาคมมวยปล้ำอาชีพของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยเจฟ จาร์เรตและเจร์รี จาร์เรตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 ในปัจจุบันบริษัท ในเครือขององค์กรสื่อแบบบูรณาการในนิวยอร์กและโตรอนโต Anthem Sports & Entertainment เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และสำนักงานที่ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ต่อมาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ Toronto, Canada ในปี ค.ศ. 2017",
"title": "อิมแพ็ก เรสต์ลิง"
}
] | [
{
"docid": "18805#2",
"text": "แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1969, โดยกลุ่มผู้บริหารเดิมจาก Fairchild Semiconductor, ประกอบด้วย เจอรี่ แซนเดอร์ เอ็ดวิน เทอร์นี่, จอห์น คาเรย, สเวน ซิมอนเซน, แจ๊ค กิฟฟอร์ด และ สมาชิก 3 คนในกลุ่มของแจ๊ค, แฟรงค์ บ๊อทเต้, จิม ไจลส์, และ แลรี่ สเตรนเจอร์.โดยที่บริษัทเริ่มผลิต ลอจิกชิป , ต่อมาจึงเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแรมในปี 1975. และในปีเดียวกันนี้เอง พวกเขาก็เริ่มจำหน่ายสิ่งที่ได้จากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับซึ่งเป็นสิ่งที่เลียนแบบมาจาก หน่วยประมวลผล Intel 8080. ในช่วงเวลานั้น,เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบและสร้างหน่วยประมวลผลในซีรีส์ (Am2900, Am29116, Am293xx) ซึ่งถูกนำมาใช้แพร่หลายในการออกแบบวงจรของมินิคอมพิวเตอร์เวลาต่อมา, เอเอ็มดีก็พยายามที่จะทำให้โปรเซสเซอร์เล็กลง โดยการรวม AMD 29K processor, ให้เข้ากับ อุปกรณ์กราฟิกและเสียง เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบ EPROM. โดยมันเสร็จในช่วงกลางปี 1980 เรียกกันว่า AMD7910 and AMD7911 \"World Chip\" โดยเป็นอุปกรณ์แรกๆที่ ครอบคลุมทั้ง Bell และCCITT. โดย AMD 29K ยังเป็น embedded processor อีกด้วย และ เอเอ็มดี ยังแยกให้ Spansion ออกไปเพื่อสร้าง หน่วยความจำแฟลช. เอเอ็มดี ยังตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแนวทางสู้กับหน่วยประมวลผลจาก อินเทล โดยวางให้เป็นธุรกิจหลัก และให้ตลาดหน่วยความจำแฟลชเป็นตลาดรอง",
"title": "เอเอ็มดี"
},
{
"docid": "351341#4",
"text": "หลังจากที่ได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเอง นั้นก็คือ ไททัน สปอร์ท จำกัด ขึ้นในปี ค.ศ. 1980 และในปี ค.ศ. 1982 วินเซนต์ เคนเนดี แม็กแมเฮิน ได้ซื้อกิจการของบิดานั่นก็ คือ แคปิเทิลเรสต์ลิงคอร์ปอเรชั่น (ซีดับเบิลยูซี) และได้รวมเข้าไปในบริษัท ไททัน สปอร์ท จำกัด หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อมีเป็น เวิลด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) และได้กลายเป็นสมาคมชั้นนำในอเมริกาเหนือ และในฝั่งของ จีซีดับเบิลยู ก็ได้คิดค้นชื่อ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง ในความพยายามที่จะแข่งขันกัน ในปี ค.ศ. 1982 จีซีดับเบิลยู ก็ได้เปลี่ยนชื่อของรายการโทรทัศน์ของมัน (และทำให้เผชิญในที่สาธารณะ) เพื่อ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง นับตั้งแต่ได้เริ่มต้นแสดงให้เห็นถึงการทำงานในพื้นที่ \"เป็นกลาง\" อาทิ เช่น รัฐโอไฮโอ และรัฐมิชิแกน ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้ จีซีดับเบิลยู แข่งขันกับ ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ที่เป็นสมาคมทั้งคู่ได้ข้อเสนอการรักษาความปลอดภัยทางโทรทัศน์และพยายามที่จะกลายเป็นระดับประเทศในตรงข้ามกับหน่วยงานกับระดับภูมิภาค การเปลี่ยนชื่อนี้ช่วยทำให้ จีซีดับเบิลยู สมาคมชั้นนำอีกครั้งจน ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ก็สามารถออกจาก เอ็นดับเบิลยูเอ อย่างเป็นทางการและสร้างการแสดง นั่นก็คือ ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ออลล์อเมริกันเรสต์ลิง เอ็นดับเบิลยูเอ นำโดยประธานสมาคมของ ไมด์-แอตแลนติกแชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง จิม ครอคเคทท์ ที่ตอบโต้ด้วยการสร้าง สตาร์เคด ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1983 ที่ทำให้แรงขับเคลื่อนกลับไปยังชั้นนำแต่ วินซ์ แม็กแมเฮิน เป็นอีกครั้งในการคืนนำไปสู่ชัยชนะอย่าง ฮัลค์ โฮแกน ของโลกในที่ เมดิสันสแควร์การ์เดน ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1984 เช่นเดียวกับการสร้างรายการโทรทัศน์ นั่นก็คือ ทิวส์เดย์ไนท์ไททันส",
"title": "เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง"
},
{
"docid": "713292#3",
"text": "ไฟฟ์เซคันด์สออฟซัมเมอร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 เมื่อสมาชิก 3 คนซึ่งมาจากโรงเรียนเดียวกัน ได้แก่ ลุค เฮมมิงก์ส, ไมเคิล คลิฟฟอร์ด และ คาลัม ฮูด รวมตัวกันตามข้อเสนอของไมเคิลเพื่อโพสต์วิดีโอคัพเวอร์เพลงต่างๆบนช่องยูทูปของลุค ซึ่งช่องยูทูปนี้เดิมถูกใช้โพสต์คัพเวอร์เดี่ยวของเขาเอง วิดีโอแรกของลุคซึ่งคัพเวอร์เพลง \"Please Don't Go\" ของ Mike Posner ถูกโพสต์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 จากนั้นในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน สมาชิกทั้ง 3 คนก็ได้ติดต่อแอชตัน เออร์วิน ผ่านทางเฟซบุ๊กเพื่อมาเป็นมือกลองในคอนเสิร์ตครั้งแรกของพวกเขาในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2011 แอชตันได้เข้าเป็นสมาชิกหลักหลังจบคอนเสิร์ตนั้น คัพเวอร์แรกที่มีสมาชิกครบ คือ เพลง \"Teenage Dirtbag\" ของ Wheatus ถูกโพสต์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2011",
"title": "ไฟฟ์เซคันส์ออฟซัมเมอร์"
},
{
"docid": "714768#3",
"text": "การบำรุงเส้นทางถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1999 โดยมีเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์เป็นเจ้าของ แต่เดิมเกิดจากร่วมทุนกันของบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด กับบริษัท ซีเมนส์ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005 หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ แต่เพียงผู้เดียว",
"title": "เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ (กัวลาลัมเปอร์)"
},
{
"docid": "372070#0",
"text": "เนชันนัลเรสต์ลิงอัลไลแอนซ์ เป็นบริษัทมวยปล้ำอาชีพที่ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1948 โดยผู้ก่อตั้งได้แก่ Paul \"Pinkie\" George , Al Haft ,Anton \"Tony\" Stecher ,Harry Light ,Orville Brown ,Sam Muchnick ,Don Owen เป็นกลุ่มสมาคมมวยปล้ำที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ในปี 1953 เป็นสมาคมมวยปล้ำทั่วไปที่ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "เนชันนัลเรสต์ลิงอัลไลแอนซ์"
},
{
"docid": "398842#0",
"text": "นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง หรือ เอ็นเจพีดับเบิลยู () เป็นสมาคมมวยปล้ำอาชีพของญี่ปุ่น ก่อตั้งโดย แอนโตนิโอะ อิโนกิ เมื่อ เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1972 ภายใต้ บริษัท ยูกี เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เมื่อ อิโนกิ ขายกิจการ นาโอกิ ซูกะบะยะชิ เป็นประธานคนปัจจุบันของการส่งเสริมและการดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากรายการโทรทัศน์ในออกอากาศใน ทีวี อาซาฮี จะเป็นสมาคมมวยปล้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นและหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสร้างในปี ค.ศ. 1972 จนถึงปี ค.ศ. 1986 เอ็นเจพีดับเบิลยู ได้เป็นสมาชิกของ แนชั่นแนลเรสต์ลิงแอไลแอนซ์ เอ็นเจพีดับเบิลยู เป็นที่รู้จักกันอย่างเปิดเผยมีส่วนร่วมในข้อตกลงการทำงานร่วมกันต่างๆ เอ็มเอ็มเอ และ โปรเรสต์ลิงโปรโมชั่น ในทั่วโลกรวมทั้ง เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์, เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง, โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง, วอร์, ริงออฟออเนอร์, พริดไฟร์ติ้งแชมเปี้ยนชิพส และ เจอร์เซอร์ออลล์โปรเรสต์ลิง และอื่น ๆ ใน เอ็มเอ็มเอ และสมาคมมวยปล้ำอาชีพ",
"title": "นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง"
},
{
"docid": "42150#1",
"text": "แอมเวย์ คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทในเครือของอัลติคอร์ อิงค์ มีจุดเริ่มต้นมาจาก เจย์ แวน แอนเดล และ ริช เดอโวส เมื่อ พ.ศ. 2502 ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นลูกได้แก่ สตีฟ แวน แอนเดล ประธานกรรมการ และ ดั๊ก เดอโวส ประธานบริษัท โดยระยะแรกนั้นมีผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียวคือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ หลังจากนั้นได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกรวมกว่า 500 รายการ",
"title": "แอมเวย์"
},
{
"docid": "630031#2",
"text": "เจ้าของดั้งเดิมของ เอ็นบีเอ็น, เดอะ นิวคาสเซิล บรอดแคสติ่ง แอนด์ เทเลวิชั่น คอร์ปเปอร์เรชั่น (เอ็นบีทีซี) ถูกก่อตั้งในเดือนพฤษภาคมปี 1958 เพื่อเริ่มต้นการเตรียมการสำหรับการจัดสรรใบอนุญาตโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้น. ผู้ถือหุ้นหลักใน เอ็นบีทีซี คือ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดแคสติ่ง (เป็นเจ้าของโดย ครอบครัวเล็ม, เจ้าของสถานีวิทยุ 2เคโอ), บริษัท แอร์เซล บรอดแคสติ่ง (เจ้าของสถานีวิทยุท้องถิ่น 2เอชดี), และ เดอะ \"นิวคาสเซิล มอร์นิ่ง เฮอร์ราด แอนด์ ไมเนอร์ แอดโวเคด\" (ที่ถูกซื้อโดย จอห์นเวลล์ แอนด์ ซัน จำกัด). ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ คณะกรรมการควบคุมบีบีซีของออสเตรเลีย, อย่างน้อย 50% ของ บริษัท จะต้องเป็นเจ้าของท้องถิ่น. 750,000 หุ้นที่ได้รับการทำใช้ได้โดย เดอะ เอ็นบีทีซี (10 เพนนีเทียบเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ออสเตรเลลีย). ประมาณ 2,000 คนซื้อหุ้น.",
"title": "เอ็นบีเอ็น เทเลวิชั่น"
},
{
"docid": "42150#3",
"text": "แอมเวย์ คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งใน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) จากผู้ก่อตั้งสองคน คือ เจย์ แวน แอนเดล และ ริช เดอโวส โดยเริ่มต้นธุรกิจจากห้องใต้ดินที่บ้านของทั้งสองที่เมืองเอด้า รัฐมิชิแกน ปัจจุบันได้ขยายสำนักงานใหญ่ที่เมืองเอด้า มีอาคารมากกว่า 80 หลัง พื้นที่ใช้สอยมากกว่า 4 ล้านตารางฟุต มีความยาวมากกว่า 1 ไมล์ (1.6 กม.) และมีเนื้อที่มากกว่า 255 เอเคอร์ (104 เฮคตาร์) รวมเนื้อที่ถึง 200,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนา โรงงานผลิต และคลังสินค้าที่ทันสมัย",
"title": "แอมเวย์"
}
] |
1077 | โรงพยาบาลศิริราช ตั้งอยู่ที่ไหน ? | [
{
"docid": "39490#0",
"text": "โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์",
"title": "โรงพยาบาลศิริราช"
}
] | [
{
"docid": "433049#0",
"text": "โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)",
"title": "โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์"
},
{
"docid": "433049#5",
"text": "ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ประกอบด้วยอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ เป็นอาคารสูง 14 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับบริการตรวจรักษาประมาณ 165,270 ตารางเมตร และสถาบันการแพทย์ชื่อว่า สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ในโรงพยาบาลฯ ประกอบไปด้วย \nใช้งบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท",
"title": "โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์"
},
{
"docid": "103092#0",
"text": "โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนสถานพยาบาล (ถนนนี้ตั้งชื่อตามโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 780 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 52 ไร่ ประชาชนในท้องที่มักเรียกว่า \"โฮงยาไทย\" หมายถึง \"โรงพยาบาลของไทย\" (สาเหตุที่เรียก \"โฮงยาไทย\" เพราะจังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่มักเรียกกันว่า \"โฮงยาฝรั่ง\") และมีคำว่าประชานุเคราะห์ต่อท้ายเนื่องจากได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างจากประชาชนซึ่งในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลในหัวเมือง โดยประกาศใช้ พรบ.สาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2477 เพื่อแสดงเกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏแก่ประเทศเพื่อบ้านที่เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกตามนโยบาย \"อวดธง\" ในปี พ.ศ. 2479 พระพนมนครารักษ์ (ฮกไก่ พิศาลบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งประชาชนในจังหวัดเชียงราย นำโดยคหบดีกลุ่มหนึ่งได้บริจาคที่ดิน จำนวน 19 ไร่ และดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับเงินสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดเชียงราย",
"title": "โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์"
},
{
"docid": "48847#2",
"text": "คณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลศิริราชได้ขอพระราชทานที่แปลงใต้ คือ วังกรมหมื่นนราเทเวศร์ มาเป็นพื้นที่สำหรับสร้างโรงพยาบาล ต่อมาโรงพยาบาลศิริราชได้ขยายออกไปจนเกือบเต็มวังหลัง โดยได้รับพระราชทานพื้นที่เพิ่มเติมบ้าง เวนคืนด้วยเงินงบประมาณบ้าง ส่วนเขตวังหลังส่วนเหนือซึ่งเป็นที่ของสถานีรถไฟธนบุรี ทางโรงพยาบาลศิริราชเพิ่งได้รับกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 30 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อพัฒนาเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ คือ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซากกำแพงวังหลังส่วนนี้ได้ถูกอนุรักษ์ดูแลเป็นอย่างดี โดยมีกระจกควบคุมอุณหภูมิครอบไว้อยู่",
"title": "พระราชวังบวรสถานพิมุข"
},
{
"docid": "365727#3",
"text": "ปัจจุบัน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง ขนาด 305 เตียง สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลชลประทาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งชื่อดังกล่าวได้แจ้งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และกราบเรียนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ และขออนุญาตใช้นามของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และโรงพยาบาลชลประทานได้มาสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดตั้งกองทุนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เพื่อสืบทอดความตั้งใจของท่าน เพื่อนำกองทุนดังกล่าวมาพัฒนาโรงพยาบาลชลประทาน ให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดโรงพยาบาลหนึ่ง",
"title": "ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"
},
{
"docid": "992963#1",
"text": "โรงพยาบาลเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาด 200 เตียงใน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนบรมราชชนนี ใกล้ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า ที่เน้นรักษาโรคเฉพาะทาง รวมทั้งมีบริการรักษาโรคเฉพาะทางนอกเวลาทำการปกติของโรงพยาบาลทั่วไปนอกจากนี้โรงพยาบาลยังมี คอนโดริมน้ำ\nจัดไว้บริการที่พักสำหระบญาติหรือผู้เดินทางมาเฝ้าแรมผู้ป่วยของโรงพยาบาล",
"title": "โรงพยาบาลเจ้าพระยา"
},
{
"docid": "177006#3",
"text": "ก่อนที่โรงพยาบาลจะเปิดทำการในสถานที่ใหม่ที่ ตำบลไสหร้า (ที่ตั้งของโรงพยาบาลในปัจจุบัน) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ อำเภอฉวาง ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง ในปัจจุบัน ในครั้งนั้นมีนายแพทย์จรูญ เค้าไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ ได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง ที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลไสหร้า และนายแพทย์จรูญ เค้าไพบูลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2522 จากการให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ปริมาณของผู้รับบริการได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ขึ้นเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง จนถึงปี พ.ศ. 2541 จึงได้ยกฐานะขึ้นอีกครั้ง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ถึงปัจจุบัน",
"title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง"
},
{
"docid": "343829#1",
"text": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 400 เตียง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 71 ไร่ 90 ตารางวา เปิดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ. 2484 แรกเริ่มเป็นเพียงสุขศาลาเท่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2495 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลชื่อว่า \"โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์\" โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ขณะนั้นมีเตียงผู้ป่วย 16 เตียง ต่อมาได้ดำเนินการพัฒนาเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 จนมีขีดความสามารถตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข",
"title": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "177006#1",
"text": "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโรงพยาบาลชุมชนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 20 หมู่ที่ 8 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ 68 ไร่ 1 ตารางวา ก่อสร้างด้วยเงินมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ที่รัฐบาลและประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร เพื่อสร้างโรงพยาบาลในการให้บริการแก่ประชาชน ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม และเพื่อเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520 และทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช",
"title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง"
}
] |
1083 | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จัดขึ้นที่ใด ? | [
{
"docid": "853762#0",
"text": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "889801#14",
"text": "กองอำนวยการร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จัดพิธีฝึกซ้อมใหญ่ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศครั้งสุดท้าย ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในริ้วขบวนที่ 4-6 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังพระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทรงร่วมพิธีซ้อมใหญ่ริ้วขบวนพระบรมราชอิสสริยยศ ในริ้วขบวนที่ 4 และ 5 โดยทั้งสองริ้วขบวนนี้เป็นการซ้อมในพื้นที่จริงครั้งแรกและครั้งเดียว",
"title": "ริ้วขบวนในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "889801#11",
"text": "กองอำนวยการร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จัดพิธีฝึกซ้อมใหญ่ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศครั้งสุดท้าย ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในริ้วขบวนที่ 1-3 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ทรงร่วมซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เช่นเดียวกับ คุณพลอยไพลิน เจนเซน เดวิด วีลเลอร์ สามี คุณสิริกิติยา เจนเซน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายวิษณุ เครืองาม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่ได้ร่วมซ้อมด้วย",
"title": "ริ้วขบวนในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "889801#7",
"text": "กองอำนวยการร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จัดพิธีซ้อมย่อยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในสถานที่จริง คือ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เป็นครั้งแรก โดยพื้นที่โดยรอบมีประชาชนจำนวนมากมาจับจองพื้นที่เฝ้ารอชมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศกันอย่างเนืองแน่น เพื่อร่วมน้อมถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย",
"title": "ริ้วขบวนในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "889801#10",
"text": "กองอำนวยการร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จัดพิธีฝึกซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มายังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทอดพระเนตรการฝึกซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ซึ่งในช่วงเช้ามีการซ้อมในริ้วขบวนที่ 1-3 และทรงร่วมเดินในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศด้วย โดยการซ้อมย่อยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 4 และเป็นการซ้อมในพื้นที่จริงเป็นครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยมีคณะรัฐมนตรีนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ กำลังพลจากกรมสรรพาวุธทหารบก และกองทัพภาคที่ 1 จำนวนกว่า 3,000 นาย มีราชนิกูล ข้าราชบริพาร และผู้ถวายงานเข้าร่วมในการซ้อมในครั้งนี้ด้วย ส่วนในช่วงบ่าย พันโทหญิง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ ทรงม้านำขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในริ้วขบวนที่ 6",
"title": "ริ้วขบวนในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
}
] | [
{
"docid": "853762#15",
"text": "วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:32 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่ประดิษฐานบนพระแท่นมหาเศวตฉัตรและทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งประดิษฐาน ณ พระแท่นแว่นฟ้า แล้วทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระบรมราชบุพการีและพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แล้วทรงประเคนพัดรองที่ระลึกงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิแด่พระราชาคณะที่ถวายพระธรรมเทศนา พระราชาคณะ 31 รูป ที่สวดพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา 4 รูป พระสงฆ์ที่สวดมาติกาและสดับปกรณ์ 12 รูป ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบ ถวายอนุโมทนา (บนธรรมาสน์) พระสงฆ์ 4 รูปรับอนุโมทนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ และทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา รวม 5 รูป ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงทอดผ้าไตรพระสงฆ์ 12 รูป สวดมาติกา สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่อัญเชิญออกมาในการพระราชกุศลนี้ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "853762#16",
"text": "วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร พระสงฆ์ 30 รูป ที่สวดพระพุทธมนต์แต่วันก่อนถวายพระพร ทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบแล้ว ถวายอนุโมทนา พระสงฆ์ 4 รูปรับอนุโมทนา ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์แล้วทรงทอดผ้าไตร ถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา รวม 5 รูป สดับปกรณ์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง พระสงฆ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นนั่งยัง อาสน์สงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์เป็นเที่ยว ๆ จบครบ 89 รูป (เที่ยวแรก 12 รูป สดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เที่ยวต่อไปเที่ยวละ 11 รูป จำนวน 7 เที่ยว ขึ้นสดับปกรณ์แล้วลงจากพระที่นั่ง)",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "853762#30",
"text": "จากนั้นระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน มีการจำหน่ายที่งานนิทรรศการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ท้องสนามหลวง จำกัด 1 คนต่อ 2 เข็มเช่นเดียวกัน โดยใช้บัตรประชาชนในการสั่งซื้อ และจอง ส่วนการสั่งจองเริ่มสั่งจองได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป โดยสั่งจองได้ที่กองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล และธนาคารกรุงไทย ส่วนภูมิภาคสั่งจองได้ที่สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ทั้งนี้ สามารถรับเข็มได้ ณ สถานที่ที่สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป โดยสามารถติดเข็มที่อกเสื้อได้ทุกวันรวมถึงหลังงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ก็ยังสามารถใช้ได้ตลอดไป และสำหรับรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยทั้งหมด",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "853762#4",
"text": "วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงประเคนพัดกรองที่ระลึกงานออกพระเมรุแด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่จะถวายพระธรรมเทศนา และพระราชาคณะที่จะสวดศราทธพรต 30 รูป พระสงฆ์ที่จะสดับปกรณ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์ที่จะสวดพระอภิธรรม 8 รูป บรรพชิตจีนและญวน 20 รูป พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ถวายไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศนา พระสงฆ์สวดศราทธพรต พระสงฆ์สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา บรรพชิตจีนและญวนสวดมาติกา สดับปกรณ์ และถวายอนุโมทนา ทรงจุดธูปเทียนที่แท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "854114#45",
"text": "วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้แจ้งเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ และวันซ้อมใหญ่ โดยทางคณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจรจะปิดการจราจรแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ และวันซ้อมใหญ่จำนวน 3 วัน ดังนี้",
"title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "853762#3",
"text": "คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ กำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "853762#11",
"text": "อนึ่ง พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งผ่านสื่อมวลชนว่าเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์ ไม่มีการถ่ายทอดสด แต่แทนที่ด้วยละครเพลง ดนตรี และการแสดงโขนแทน ส่วนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ขึ้นข้อความให้ประชาชนในท้องสนามหลวงได้ทราบและปฏิบัติตามโดยทั่วกันเมื่อเวลา 22:00 น. ว่า \"พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขอจงทุกท่านหันหน้าเบื้องพระเมรุมาศเพื่อถวายความเคารพสูงสุด\"",
"title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
}
] |
1087 | สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2 บริเวณนี้คือเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "883181#0",
"text": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2 (The Second East Turkestan Republic หรือ East Turkestan Republic; ETR) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์อายุสั้นของชาวเติร์กที่สหภาพโซเวียต ให้การสนับสนุน ระหว่าง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ตั้งอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันคือซินเจียง เริ่มต้นด้วยการปฏิวัตในสามตำบลทางตอนเหนือ (อิลี ตาร์บาฆาไต อัลไต) ในจังหวัดซินเจียงของสาธารณรัฐจีน สิ่งที่ตามมาคือกบฏอิลี ดินแดนที่เหลือของซินเจียงอยู่ภายใต้การควบคุมของก๊กมินตั๋ง ในปัจจุบัน บริเวณนี้คือเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน \nระหว่าง พ.ศ. 2477 – 2484 ซินเจียงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ขุนศึกในท้องถิ่น เชิ่ง ชีไข่ ขึ้นกับสหภาพโซเวียต โดยได้รับความช่วยเหลือทางทหารและการค้า ทหารโซเวียตเข้าสู่ซินเจียง 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2477 และ พ.ศ. 2480 ในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อสนับสนุนการปกครองของเชิ่ง ชีไข่ หลังจากกดดันกองพลที่ 36 ของนายพลหม่า จ้งยิน ใน พ.ศ. 2477 และการถอนตัวของทหารโซเวียตใน พ.ศ. 2478 โซเวียตส่งคณะกรรมการไปซินเจียงเพื่อวางแผนในการฟื้นฟูจังหวัดนำโดยพี่เขยของสตาลิน รองประธานธนาคารแห่งรัฐโซเวียต อเล็กซานเดอร์ สวานิดซ์ ทำให้โซเวียตให้เงินยืมระยะยาว 5 ปี เป็นเงิน 5 ล้านรูเบิลทองแก่ เชิ่ง ชีไข่ เชิ่งได้ลงนามในสัญญานี้เมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 โดยไม่ได้ปรึกษาตัวแทนรัฐบาลจีน เมื่อโซเวียตเข้ามาปราบกบฏตันกันและกบฏอุยกูร์ทางใต้ของซินเจียงใน พ.ศ. 2480 รัฐบาลโซเวียตไม่ได้ถอนทหารออกไปทั้งหมด การปกครองแบบเผด็จการทหารในกูมุลเริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2480 เพื่อป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่นเข้าสู่ซินเจียงผ่านทางมองโกเลียใน ใน พ.ศ. 2479 หลังจากเชิ่งเนรเทศชาวคาซัก 20,000 คนจากซินเจียงไปยังชิงไห่ ชาวหุยนำโดยนายพลหม่า ปูฟัง ได้สังหารคนเหล่านั้นจนเหลือเพียง135 คน",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
}
] | [
{
"docid": "883181#15",
"text": "หลังจากการสลายตัวของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 อดีตสมาชิกเคจีบีบางคนได้เล่าว่าผู้นำคนสำคัญของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก 5 คน ถูกฆ่าตามคำสั่งของสตาลินเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2492 หลังจากที่ถูกจับกุมทันทีที่ไปถึงมอสโกและถูกคุมขังอยู่สามวัน คำสั่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสตาลินกับเหมา เจ๋อตุง แต่ความร่วมมือนี้ไม่ได้รับการยืนยัน ผู้นำที่เหลืออยู่ของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกรวมทั้งไซฟุดดิน อาซีซี ตกลงที่จะรวมสามตำบลในเขตของตนเข้ากับเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ซึ่งตั้งขึ้นแทนที่มณฑลซินเจียงใน พ.ศ. 2498 และยอมรับตำแหน่งบริหาร ผู้นำชาวคาซักบางคน เช่น ออสมาน บาตูร์ ยังคงต่อต้านจนถึง พ.ศ. 2497 ไซฟุดดิน อาซีซีเป็นประธานคนแรกของเขตปกครองตนเองที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 ด้วย กองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าถึงสนามบินอุรุมชีครั้งแรกเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ด้วยเครื่องบินของโซเวียตที่อนุเคราะห์โดยสตาลินและเข้าควบคุมซินเจียงเหนืออย่างรวดเร็ว แล้วร่วมมือกับกองทัพแห่งชาติของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกเพื่อเข้าสู่ซินเจียงใต้ และเข้าควบคุมพื้นที่ 10 ตำบลของมณฑลซินเจียง ก่อนหน้านี้เมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2492 ทหารของก๊กมินตั๋งราว 100,000 คนมอบตัวกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบูร์ฮาน ชาฮิดี ประธานมณฑลซินเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่รู้ถึงชะตากรรมที่แท้จริงของผู้นำสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในเดือนสิงหาคมที่สหภาพโซเวียต ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2492 กองทัพแห่งชาติเข้าร่วมกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนในฐานะกองทัพที่ 5 การสลายตัวทางการเมืองครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยจัดการปกครองในรูปของเขตปกครองตนเองที่ประกอบไปด้วย 13 เชื้อชาติในซินเจียง\nกองทัพแห่งชาติของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่สอง จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2488 ทหารประกอบด้วยทุกเชื้อชาติ ยกเว้นจีน",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "883181#25",
"text": "นักประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตกล่าวว่าแผ่นดินแม่ของอุยกูร์คือซินเจียง โซเวียตสนับสนุนชาตินิยมอุยกูร์ นักเขียนที่นิยมโซเวียตเขียนประวัติศาสตร์อุยกูร์สนับสนุนเอกราชและโจมตีรัฐบาลจีน กล่าวว่าซินเจียงถูกกำหนดขึ้นโดยจีน โดยกำหนดจากดินแดนที่ต่างกันคือเตอร์กิสถานตะวันออกและซุงกาเรีย พรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานเหล่านี้ นักเขียนที่นิยมโซเวียตเขียนงานที่กล่าวอ้างว่าชาวอุยกูร์มีชีวิตที่ดีกว่าและสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้ในเอเชียกลางของโซเวียต แต่ไม่ใช่ในซินเจียง ใน พ.ศ. 2522 วิกเตอร์ หลุยส์ ผู้ที่เคจีบีของสหภาพโซเวียตสนับสนุนเขียนวิทยานิพนธ์กล่าวว่าโซเวียตควรสนับสนุนสงครามเพื่อการปลดปล่อยต่อต้านจักรวรรดิจีน สนับสนุนเอกราชของอุยกูร์ ทิเบต มองโกล และแมนจู นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมอุยกูร์เขียนหนังสือเกี่ยวกับอุยกูร์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากนักประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียต",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "883181#22",
"text": "ทหารของกลุ่มกบฏเหลือรอดไม่กี่ร้อยคน ผู้รอดชีวิตเข้ายึดภูเขาปาร์มี กองทัพแห่งชาติไม่มีการดำเนินการใดๆระหว่าง พ.ศ. 2489 – 2492 จนกระทั่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าสู่ซินเจียง เติ้ง ลิชุน ผู้ช่วยของเหมา เจ๋อตุงมาถึงดุลยาเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2492 เพื่อเจรจากับผู้นำสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก เกี่ยวกับอนาคตของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก เติ้งส่งโทรเลขถึงเหมาเกี่ยวกับกองทัพของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในวันต่อมา โดยระบุว่า มีทหาร 14,000 คน ส่วนใหญ่ใช้อาวุธของเยอรมัน มีรถบรรทุกทหาร 120 คัน ม้า 6,000 ตัว มีผู้ช่วยจากสหภาพโซเวียตอยู่ในกองทัพและดูแลเครื่องบิน 14 ลำ ใช้สำหรับทิ้งระเบิด ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2492 กองทัพแห่งชาติได้รวมเข้ากับกองทัพปลดปล่อยประชาชนในฐานะกองทัพที่ 5 แห่งซินเจียง\nหนังสือพิมพ์ของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกคือ \"Azat Sherkiy Turkistan\" (เตอร์กิสถานตะวันออกอิสระ) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ในดุลยา ซึ่งเป็นวันที่ 5 หลังจากสถาปนาสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่สอง ต่อมา หนังสือพิมพ์นี้เปลี่ยนชื่อเป็น \"Inqlawiy Sherkiy Turkistan\" (เตอร์กิสถานตะวันออกปฏิวัติ)\nในความขัดแย้งซินเจียง สหภาพโซเวียตหนุนหลังขบวนการแบ่งแยกดินแดนอุยกูร์ต่อต้านจีน ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 โดยการโฆษณาชวนเชื่อกระตุ้นให้ชาวคาซักเดินทางไปสหภาพโซเวียตและโจมตีจีน จีนตอบสนองโดยการควบคุมชายแดนจีน – โซเวียตอย่างเข้มงวด โซเวียตได้ออกอากาศกระตุ้นให้อุยกูร์ปฏิวัติต่อต้านจีนผ่านทางวิทยุทัชเคนท์ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 และสนับสนุนนักรบกองโจรใต้ดินให้โจมตีชายแดนจีน การส่งสัญญาณวิทยุจากทัชเคนท์เริ่มเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าสหภาพโซเวียตสนับสนุนสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2 ให้ต่อต้านจีน มีสื่ออื่นๆที่ส่งไปยังชาวอุยกูร์ให้กล่าวอ้างเอกราชและปฏิวัติต่อต้านจีน ได้แก่ วิทยุอัลมาคาตา และหนังลือพิมพ์ \"Sherki Türkistan Evazi\" (เสียงจากเตอร์กิสถานตะวันออก) หลังจากความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2505 ชาวอุยกูร์และคาซักราว 60,000 คนอพยพออกจากซินเจียงไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซักเพื่อตอบสนองต่อการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตที่สัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ซินเจียง ชาวอุยกูร์ที่ลี้ภัยได้จัดตั้งกองทัพปลดปล่อยที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "883181#9",
"text": "ความต้องการของกลุ่มกบฏได้แก่ ยุติการปกครองของจีน สร้างความเสมอภาคในทุกเชื้อชาติ ยอมรับการใช้ภาษาแม่ เป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต และต่อต้านการอพยพชาวจีนเข้ามาในซินเจียง กลุ่มกบฏได้จัดตั้งกองทัพแห่งชาติอิลี และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งชาติเตอร์กิสถานตะวันออก ประกอบด้วยทหารที่เป็นชาวอุยกูร์ คาซัก และรัสเซียขาว และกลุ่มของชนเผ่าในคาซักไกรที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของออสมาน บาตูร์ ชาวคาซักได้แพร่ขยายขึ้นไปทางเหนือ ในขณะที่กองทัพแห่งชาติแพร่ขยายลงมาทางใต้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 กองทัพก๊กมินตั๋งและกองทัพแห่งชาติอิลียึดครองตำแหน่งคนละด้านของแม่น้ำมานาซีใกล้อูรุมชี ในเวลานั้น สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกยึดครองซุงกาเรียและคาชการ์ตา ในขณะที่กองทัพก๊กมินตั๋งยึดครองบริเวณอูรุมชีหรือตีฮูวา",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "748059#14",
"text": "โคยา นิยาซ ฮัจญีมาถึงกัชการ์พร้อมด้วยทหาร 1,500 นาย ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ต่อต้านสิ่งท่เราทำร่วมกับเชิ่ง โดยมาถึงพร้อมกับผู้นำชาวอุยกูร์อื่นๆจากตะวันออก มะห์มุต มูฮีตีมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ซาบิต ดาโมลลอ เป็นนายกรัฐมนตรี ดาโมลลอให้นิยาซอยู่อย่างเป็นอิสระในเมืองเก่าของกัชการ์ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของผู้บริหารชาวจีนในซินเจียงใต้ และร้องขอให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ในจดหมายที่เขียนถึงรัฐบาลกลางที่นานกิง นิยาซอธิบายการตัดสินใจโดยเน้นข้อเท็จจริงว่าเขายอมรับการตัดสินใจของสภาประชาชนแห่งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกและเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พ.ศ. 2455 ที่ให้สิทธิห้าชนชาติในจีนปกครองตนเอง เขาได้เสนอหลักการ 5 ข้อในการปกครองตนเองของสาธารณรัฐ ได้แก่",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1"
},
{
"docid": "883181#12",
"text": "ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จีนได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในการประชุมยัลตา ทำให้การสนับสนุนสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกของสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง ก๊กมินตั๋งจัดให้มีการเจรจากับผู้นำสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 แต่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกยังคงเป็นรัฐนิยมโซเวียตที่แยกตัวออกมาโดยพฤตินัย มีสกุลเงินและกองทัพเป็นของตัวเอง กิจกรรมทางการเมืองในสาธารณรัฐถูกจำกัดโดยสหภาพเพื่อการปกป้องสันติภาพและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคในระบบพรรคการเมืองเดียวของเลนิน เจ้าหน้าที่ของก๊กมินตั๋งและกิจกรรมทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามถูกห้ามในสามตำบล ในเวลานั้น นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้แก่ เอลีฮัน โตเร ผู้หายตัวไประหว่างเดินทางไปสหภาพโซเวียต และผู้นำชาวคาซักออสมาน บาตูร์ ผู้แตกแยกออกมาจากกลุ่มกบฏอื่นเมื่อการสนับสนุนโซเวียตของพวกเขาชัดเจนขึ้น ก๊กมินตั๋งมอบหมายให้ชาวอุยกูร์ที่สำคัญหลายคนเป็นที่ปรึกษาในการบริหารซินเจียงและเอห์เมตจัน กวาซิม ผู้นำของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกเป็นรองผู้ว่าการมณฑล ไป จงซี มุสลิมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของจีนได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้บริหารของซินเจียง ตำแหน่งนี้ถูกมอบต่อให้มาซุด ซาบรี ชาวอุยกูร์ที่นิยมก๊กมินตั๋งและเป็นนักการเมืองที่ต่อต้านสหภาพโซเวียต\nกลุ่มที่นิยมก๊กมินตั๋งในซินเจียงเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม ต้องการปกป้องศาสนาดั้งเดิมของอุยกูร์ ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ของซินเจียง ต่างจากกลุ่มที่นิยมรัสเซียหรือนิยมโซเวียตในอิลีทางเหนือของซินเจียง ก๊กมินตั๋งยอมให้นักการเมืองที่ต่อต้านโซเวียตและเน้นชาตินิยมเติร์ก ได้แก่ มาซุด ซาบรี มูฮัมหมัด อามิน บูครา และอีซา ยูซุป อัลเตกิน ให้เขียนและตีพิมพ์แนวคิดเพื่อประชาสัมพันธ์ชาตินิยมเติร์กเพื่อดึงชาวเติร์กทั้งหมดให้ต่อต้านโซเวียต ซึ่งทำให้โซเวียตไม่พอใจมาก โทรเลขของสหรัฐได้รายงานว่าชาวอุยกูร์ทางภาคใต้เรียกร้องให้ขับไล่รัสเซียขาวออกไปจากซินเจียง หลังจากที่ชาวจีนฮั่นถูกขับไล่ไปแล้ว ผู้นำชาวมุสลิมส่วนใหญ่วางแผนที่จะย้ายไปอูรุมชีและอพยพเข้าสู่ดินแดนจีนตอนในเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากสหภาพโซเวียต กลัวจะถูกทหารโซเวียตสังหาร",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "883181#8",
"text": "กลุ่มกบฏได้สังหารหมู่พลเรือนชาวจีนฮั่นโดยเฉพาะประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพก๊กมินตั๋งและเชิ่ง ชีไข่ ในประกาศคุลชาเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2488 ได้ประกาศว่าสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกได้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับสหภาพโซเวียต ต่อต้านจีนฮั่น การสังหารหมู่ชาวจีนฮั่นส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2487 – 2488 ฝ่ายก๊กมินตั๋งตอบโต้โดยสังหารนักโทษที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ในพื้นที่ที่ควบคุมโดยสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก เช่น คุลชา มีความตึงเครียดหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น ห้ามชาวจีนฮั่นครอบครองอาวุธ มีตำรวจลับแบบสหภาพโซเวียต กำหนดให้ใช้ภาษารัสเซียและภาษาเติร์กเป็นภาษาราชการ แต่ห้ามใช้ภาษาจีน ชาวตังกูสิตที่ไม่ใช่มุสลิมมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฝ่ายกบฏโดยสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร ชาวมุสลิมตันกันหรือหุยในอิลีไม่มีความสำคัญ โดยช่วยเหลือฝ่ายกบฏเล็กน้อยหรือไม่ช่วยเหลือเลย",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
},
{
"docid": "748059#1",
"text": "การเกิดขึ้นของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐเอเชียกลางที่เน้นสังคมนิยมส่งผลต่ออุยกูร์ เพิ่มกลุ่มของขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาตินิยมและการแพร่กระจายของคอมมิวนิสต์ องค์กรปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นในซินเจียงตั้งแต่ พ.ศ. 2464 พื้นที่นี้มีปัญญาชนที่มีความรู้ด้านคอมมิวนิสต์จากเอเชียกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมเตอร์กิกซินเจียง",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1"
},
{
"docid": "883181#11",
"text": "ชาวจีนมุสลิม หม่า คลิก เจ้าที่ดินในชิงไห่ และหม่าปู้ฟังถูกส่งเข้าสู่อุรุมชีพร้อมด้วยชาวจีนมุสลิมโดยก๊กมินตั๋งใน พ.ศ. 2488 เพื่อต่อสู้กับกบฏอิลี ในปีเดียวกัน ชาวตันกันหรือหุยจากชิงไห่ถูกส่งไปซินเจียง การรวมกำลังกันทำให้ได้ทหารชาวหุยและจีนฮั่น 100,000 คนภายใต้การควบคุมของก๊กมินตั๋ง ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกใน พ.ศ. 2489 โดยสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2 อยู่ภายใต้การควบคุมของอิลี และจีนควบคุมส่วนที่เหลือของซินเจียง รวมทั้งอุรุมชี",
"title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 2"
}
] |
1093 | วิชากายวิภาคศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "152372#1",
"text": "การศึกษากายวิภาคศาสตร์เริ่มขึ้นอย่างเร็วที่สุดเมื่อราว 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในยุคอียิปต์โบราณบน \"กระดาษปาปิรุส เอ็ดวิน สมิธ\" (Edwin Smith papyrus) บทความในกระดาษนั้นกล่าวถึงหัวใจ, หลอดเลือดของหัวใจ, ตับ, ม้าม, ไต, มดลูก, และกระเพาะปัสสาวะ และทราบว่าหลอดเลือดออกมาจากหัวใจ มีการกล่าวถึงหลอดเลือดหลอดอื่นๆ ว่าบางเส้นขนส่งอากาศ เมือก และหลอดเลือด 2 เส้นที่ไปทางหูข้างขวาเชื่อกันว่าขนส่ง \"ลมหายใจแห่งชีวิต\" (breath of life) ในขณะที่หลอดเลือด 2 เส้นที่ไปทางหูซ้ายขนส่ง \"ลมหายใจแห่งความตาย\" (breath of death) ใน\"กระดาษปาปิรุสเอแบส\" (Ebers papyrus, ประมาณ 1550 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กล่าวถึง \"บทความเกี่ยวกับหัวใจ\" โดยกล่าวว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงตามหลอดเลือดที่เลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ชาวอียิปต์โบราณไม่ค่อยมีความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของไต และเชื่อว่าหัวใจเป็นจุดรวมของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ขนส่งของเหลวทุกชนิดในร่างกายไม่ว่าจะเป็นเลือด, น้ำตา, ปัสสาวะ, และน้ำอสุจิ",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
}
] | [
{
"docid": "152372#0",
"text": "ประวัติการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาตั้งแต่การผ่าร่างกายของเหยื่อจากการสังเวยในสมัยโบราณ ไปจนถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดซับซ้อนถึงการทำงานของร่างกายโดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาวิชานี้มีลักษณะเฉพาะมาเป็นเวลานาน และมีการพัฒนาถึงการทำความเข้าใจในหน้าที่และโครงสร้างของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง การศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีเกียรติและนับว่าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความโดดเด่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ก็มีการพัฒนาอย่างมากมายตั้งแต่การศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในศพของมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในคริสต์ศตวรรษที่ 20",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#12",
"text": "การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์มีความเฟื่องฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โดยมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เนื่องจากการศึกษากายวิภาคศาสตร์จะเกี่ยวกับการสังเกตและภาพวาด นักกายวิภาคศาสตร์จะมีชื่อเสียงหรือไม่จึงขึ้นกับฝีมือการวาดภาพของเขาโดยไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญภาษาละติน ศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนก็ศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ เข้าเรียนการชำแหละร่างกาย และวาดภาพเพื่อหารายได้ เช่น มีเกลันเจโล (Michelangelo) หรือ แรมบรังด์ (Rembrandt) ในช่วงแรกๆ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงสอนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์โดยผ่านทางภาพวาดแทนที่จะสอนตามเนื้อหาภาษาละติน สิ่งที่ขัดขวางการศึกษากายวิภาคศาสตร์เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลานี้คือคำตำหนิของฝ่ายศาสนา ซึ่งทำให้นักกายวิภาคศาสตร์หลายคนเกิดความหวาดกลัวเมื่อต้องชำแหละร่างกายมนุษย์ เพราะว่าในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แม้ว่าจะเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์มีความเฟื่องฟูและการค้นพบต่างๆ มากมาย แต่ศาสนาก็มีอิทธิพลอย่างมากดังเช่นกรณีของกาลิเลโอซึ่งถูกศาลศาสนาลงโทษเพราะตีพิมพ์ผลงานขัดแย้งกับฝ่ายศาสนา นักวิทยาศาสตร์บางคนในยุคนี้กลัวเกินกว่าจะเดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง เช่น เรอเน เดส์การตส์ (Descartes) นักกายวิภาคศาสตร์เพียงบางคนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ชำแหละร่างกายมนุษย์เพื่อศึกษา บางครั้งได้รับอนุญาตเพียงปีเดียว การแสดงการชำแหละร่างกายมนุษย์นี้มักได้รับการสนับสนุนจากสภาของเมือง และบางครั้งอาจต้องเก็บค่าธรรมเนียมราวกับเป็นการแสดงของนักวิชาการ เมืองในยุโรปหลายเมืองเช่น อัมสเตอร์ดัม, ลอนดอน, โคเปนเฮเกน, ปาดัว, และปารีส มีนักกายวิภาคหลวง (Royal anatomists) ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลท้องถิ่น เช่น นีโคลัส ทุลพ์ (Nicolaes Tulp) นักกายวิภาคศาสตร์ที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองอัมสเตอร์ดัม 3 สมัย แม้ว่าการแสดงการชำแหละร่างกายมนุษย์ค่อนข้างเป็นธุรกิจที่เสี่ยง และไม่แน่นอนว่าจะหาร่างกายมนุษย์มาจากที่ใด แต่การเข้าชมการชำแหละร่างกายมนุษย์นั้นถูกกฎหมาย นักเรียนกายวิภาคศาสตร์หลายคนเดินทางรอบทวีปยุโรปเพื่อเข้าชมการศึกษาร่างกายมนุษย์ที่แล้วที่เล่าตลอดหลักสูตรการเรียน พวกเขาต้องเดินทางไปตามที่ต่างๆ ซึ่งมีศพมนุษย์ที่เพิ่งเสียชีวิตให้ศึกษา (เช่น หลังจากการแขวนคอ) เพราะว่าหากปล่อยทิ้งไว้ร่างกายอาจเน่าสลายไปจนไม่เหมาะที่จะนำมาศึกษา เนื่องจากยังไม่มีการคิดค้นระบบแช่เย็นในสมัยนั้น",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#11",
"text": "นักวิจัยในช่วงเวลาต่อมาได้ดำเนินการปรับปรุงการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการตั้งชื่อโครงสร้างในร่างกายอีกเป็นจำนวนมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดในการทำความเข้าใจระบบไหลเวียนโลหิต ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหน้าที่ของลิ้นในหลอดเลือดดำ การอธิบายการไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปห้องล่างขวาผ่านทางระบบไหลเวียนโลหิต และสามารถระบุว่าหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) เป็นโครงสร้างหนึ่งที่แยกออกมาในระบบไหลเวียนโลหิต นอกจากนี้ยังสามารถแยกระบบน้ำเหลืองออกเป็นอีกหนึ่งระบบอวัยวะได้ในช่วงระยะเวลานี้",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#14",
"text": "ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักกายวิภาคศาสตร์ได้รวบรวมคำอธิบายกายวิภาคศาสตร์มนุษย์จากในศตวรรษที่ผ่านมาให้สมบูรณ์ มีการพัฒนาและกำเนิดขึ้นของแหล่งความรู้ของวิชามิญชวิทยา (histology) และชีววิทยาของการเจริญ (developmental biology) ไม่เฉพาะการศึกษาในมนุษย์เท่านั้นก็ยังเจริญขึ้นในสัตว์ด้วย งานวิจัยจำนวนมากเกิดขึ้นในหลายสาขาของกายวิภาคศาสตร์ อังกฤษถือได้ว่าเป็นแหล่งวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์ที่สำคัญ มีความต้องการร่างกายมนุษย์ในการศึกษาอย่างมากจนบางครั้งมีการขโมยศพหรือแม้กระทั่งการฆาตกรรมเพื่อให้ได้ศพมาศึกษา ทำให้รัฐสภาอังกฤษต้องผ่านกฎหมาย \"Anatomy Act 1832\" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดหาร่างมนุษย์เพื่อการศึกษาให้เหมาะสม เพียงพอ และถูกกฎหมาย ข้อห้ามในการชำแหละร่างกายมนุษย์นั้นผ่อนคลายลงทำให้ตำรากายวิภาคศาสตร์ \"Gray's Anatomy\" ซึ่งมีการรวบรวมเนื้อหากายวิภาคอย่างละเอียดเป็นตำรายอดนิยมขึ้นมา แม้ว่าฉบับในปัจจุบันจะมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะมือก็ตาม แต่ตำรา \"Gray's Anatomy\" ก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากความต้องการรวบรวมความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ให้อยู่ในเล่มเดียวให้เหมาะกับแพทย์ที่ต้องเดินทาง",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#4",
"text": "การศึกษาเพื่อวิจัยทางกายวิภาคจากศพมนุษย์ครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล เมื่อฮีโรฟิโลส (Herophilos) และอีราซิสทราทุส (Erasistratus) ได้ทำการชำแหละศพที่เมืองอเล็กซานเดรียภายใต้ความอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปโตเลมี ฮีโรฟิโลสถือได้ว่าเป็นผู้พัฒนาความรู้ทางกายวิภาคจากการศึกษาจากโครงสร้างจริงของร่างกายมนุษย์มากขึ้นจากอดีต",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#5",
"text": "นักกายวิภาคคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคโบราณคือ กาเลน (Galen) มีชีวิตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 เขารวบรวมความรู้จากงานเขียนในสมัยก่อน และศึกษาหน้าที่ของอวัยวะโดยการชำแหละสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ งานภาพวาดของเขาซึ่งมักจะเป็นกายวิภาคศาสตร์ของสุนัข กลายมาเป็นตำรากายวิภาคศาสตร์มาเป็นเวลากว่า 1500 ปี แม้ตัวตำราเดิมนั้นได้สูญหายไปแล้ว และงานของเขาเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในหมู่แพทย์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) โดยผ่านทางการเก็บรักษาอย่างดีและถ่ายทอดโดยแพทย์ชาวอาหรับ เนื่องจากมีข้อห้ามทางศาสนาในการเป็นนักกายวิภาคซึ่งกินเวลานานหลายศตวรรษนับตั้งแต่ยุคกาเลนเป็นต้นไป กาเลนจึงคาดเดาเอาว่าโครงสร้างทางกายวิภาคในสุนัขคล้ายคลึงกับในมนุษย์ และทำการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในสุนัขแทน และทำให้การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ต้องหยุดลงในยุโรป",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "152372#15",
"text": "การวิจัยทางกายวิภาคในช่วงร้อยปีที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะการเจริญของเทคโนโลยี และความเข้าใจในวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น ชีววิวัฒนาการ (evolutionary biology) และอณูชีววิทยา (molecular biology) ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจอวัยวะและโครงสร้างของมนุษย์มากขึ้น ความเข้าใจในวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology) ทำให้สามารถอธิบายหน้าที่ของต่อมต่างๆ ที่ในอดีตไม่เคยได้รับการอธิบาย อุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) หรือการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาอวัยวะของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตไปแล้ว ความก้าวหน้าทางกายวิภาคศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งไปที่การเจริญเติบโต วิวัฒนาการ และหน้าที่ของโครงสร้างทางกายวิภาค เนื่องจากความรู้ด้านมหกายวิภาคศาสตร์ (macroscopic anatomy) ได้ถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบแล้ว สาขาย่อยของกายวิภาคศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ (non-human anatomy) ก็มีความสำคัญในปัจจุบัน เพราะนักกายวิภาคสมัยใหม่กำลังพยายามทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการจัดระบบของกายวิภาคศาสตร์โดยผ่านเทคนิคสมัยใหม่ตั้งแต่การใช้ finite element analysis ไปจนถึงอณูชีววิทยา",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "16848#7",
"text": "กายวิภาคศาสตร์มนุษย์, สรีรวิทยา และชีวเคมีประกอบกันเป็นวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (basic medical sciences) ซึ่งโดยทั่วไปจะสอนแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นปีแรก (หรือในชั้นปีที่ 1-3 ในคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย) การสอนวิชากายวิภาคศาสตร์มนุษย์สามารถสอนแยกตามระบบหรือตามตำแหน่ง กล่าวคือสามารถศึกษาแยกตามแต่ละระบบ เช่น ระบบประสาท หรือระบบทางเดินหายใจ หรือศึกษาแยกตามเฉพาะที่ เช่น บริเวณศีรษะ และหน้าอก ตำราทางกายวิภาคศาสตร์ที่สำคัญ เช่น \"Gray's Anatomy\" ในปัจจุบันได้เรียงเนื้อหาใหม่จากแยกตามระบบเป็นแยกตามตำแหน่ง ตามวิธีการสอนแบบใหม่ ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์นั้นมีความจำเป็นต่อแพทย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัลยแพทย์ และแพทย์ที่ทำงานด้านการวินิจฉัยเฉพาะทางเช่น จุลพยาธิวิทยา (histopathology) หรือรังสีวิทยา (radiology)",
"title": "กายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "99066#4",
"text": "การศึกษากายวิภาคของมนุษย์หยุดชะงักลงไปชั่วคราวในช่วงยุคกลาง ซึ่งมีข้อกำหนดทางศาสนาที่เคร่งครัด จนกระทั่งแพทย์หลวงในอาณาจักรโรมันโบราณ ชื่อ แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้ทำการศึกษากายวิภาคของมนุษย์อย่างละเอียดโดยใช้ศพของนักโทษประหาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือ \"De humani corporis fabrica\" ซึ่งมีภาพประกอบของร่างกายของมนุษย์ที่ละเอียดและสมจริงอย่างมาก การศึกษากายวิภาคของมนุษย์ได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายไปพร้อมกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งศิลปินเอกหลายคนได้ศึกษาโครงสร้างต่างๆของมนุษย์เพื่อประกอบการสร้างงานศิลปะ ทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์รุดหน้าไปมาก",
"title": "กายวิภาคศาสตร์มนุษย์"
}
] |
1096 | เมืองวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ที่ใดของอังกฤษ? | [
{
"docid": "222158#0",
"text": "วุร์สเตอร์ () เป็นนครและเมืองเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ในภาคเวสต์มิดแลนส์ของอังกฤษ เมืองวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเบอร์มิงแฮม, 29 ไมล์ (47 กิโลเมตร) เหนือเมืองกลอสเตอร์ และมีประชากรประมาณ 94,300 คน วุร์สเตอร์มีแม่น้ำเซเวิร์นไหลผ่ากลางเมือง และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิหารวุร์สเตอร์ที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12",
"title": "วุร์สเตอร์"
},
{
"docid": "222914#0",
"text": "วุร์สเตอร์เชอร์ ( เขียนย่อ Worcs) เป็นเทศมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1998 วุร์สเตอร์เป็นเมืองในแฮรฟอร์ดและวูลสเตอร์",
"title": "วุร์สเตอร์เชอร์"
}
] | [
{
"docid": "222158#1",
"text": "วุร์สเตอร์เป็นสนามรบของยุทธการที่วุร์สเตอร์ซึ่งเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ วุร์สเตอร์เป็นเมืองที่กองทัพตัวแบบใหม่ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1ซึ่งเป็นผลให้อังกฤษเข้าสู่ยุคสมัยไร้กษัตริย์ที่อังกฤษและเวลส์เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ นอกจากนั้นก็ยังศูนย์กลางของโรงงานทำเครื่องพอร์ซีเลนรอยัลวุร์สเตอร์และเป็นบ้านเกิดของคีตกวีเซอร์เอ็ดเวิร์ด เอลการ์ (Edward Elgar)",
"title": "วุร์สเตอร์"
},
{
"docid": "222776#0",
"text": "กลอสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Gloucester) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ กลอสเตอร์ตั้งอยู่ทางติดกับชายแดนเวลส์และตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซเวิร์น ราว 51 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของบริสตอลและ 72 กิโลเมตรทางใต้ของตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์มิงแฮม",
"title": "กลอสเตอร์"
},
{
"docid": "222914#1",
"text": "วุร์สเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลสตาฟฟอร์ดเชอร์, มณฑลเวสต์มิดแลนด์, มณฑลวอริคเชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ทางด้านตะวันตกติดกับมาลเวิร์น ฮิลล์ส (Malvern Hills) ที่เป็นที่ตั้งของเมืองมาลเวิร์น ฮิลล์สที่เป็นเมืองบ่อน้ำแร่ ทางด้านด้านตะวันตกของเนินเป็นมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์และทางเหนือของค็อตสวอลด์ส (Cotswolds) ด้านตะวันตกติดกับมณฑลวอริคเชอร์ แม่น้ำสำคัญสองสายที่ไหลผ่านคือแม่น้ำเซเวิร์น และแม่น้ำเอวอน วุร์สเตอร์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 555,600 คน ในเนื้อที่ 1,741 ตารางกิโลเมตร",
"title": "วุร์สเตอร์เชอร์"
},
{
"docid": "221430#0",
"text": "ยุทธการที่วุร์สเตอร์ () เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ที่วุร์สเตอร์ในอังกฤษและเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ (Royalist) ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นกองกำลังสกอตแลนด์ กองกำลังเพียง 16,000 คนของกองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่สามารถต่อสู้กับกองกำลังที่มีจำนวนเหนือกว่ามาก 28,000 คนของ \"กองทัพตัวแบบใหม่\" (New Model Army) ของครอมเวลล์ได้จนในที่สุดก็จำต้องพ่ายแพ้",
"title": "ยุทธการที่วุร์สเตอร์"
},
{
"docid": "215979#0",
"text": "วิลท์เชอร์ () เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลออกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร",
"title": "วิลต์เชอร์"
},
{
"docid": "524574#0",
"text": "เชสเตอร์ () เป็นนครในมณฑลเชชเชอร์ ประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำดี ใกล้กับชายแดนของเวลส์ มีประชากร 118,925 คน ได้รับสถานะเป็นเมืองในปี ค.ศ. 1541 เชสเตอร์มีอาคารในยุคกลางหลายแห่ง แต่มีบางอาคารบริเวณกลางเมืองที่ได้รับบูรณะในสมัยวิกตอเรีย เชสเตอร์เป็นหนึ่งในเมืองที่มีการรักษากำแพงเมืองที่ดีที่สุดในอังกฤษ",
"title": "เชสเตอร์"
},
{
"docid": "139205#0",
"text": "อาสนวิหารวุร์สเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Worcester cathedral) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองวูสเตอร์ บนฝั่งแม่น้ำเซเวิร์น (Severn) ใน สหราชอาณาจักร ชื่อทางการของอาสนวิหารวูสเตอร์ คือ “The Cathedral Church of Christ and the Blessed Virgin Mary”",
"title": "อาสนวิหารวุร์สเตอร์"
},
{
"docid": "224874#0",
"text": "เมืองวินเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Winchester) เป็นเมืองหลวงของมลฑลแฮมป์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วินเชสเตอร์ตั้งอยู่กลางนครวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองเทศบาลมณฑลที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันตกของเซาท์ดาวน์ตามฝั่งแม่น้ำอิตเค็น วินเชสเตอร์มีเนื้อที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี ค.ศ. 2001 วินเชสเตอร์มีประชากรทั้งหมดประมาณ 40,000 คน",
"title": "วินเชสเตอร์"
}
] |
1100 | อะมิกาซินค้นพบเมื่อใด ? | [
{
"docid": "26357#0",
"text": "อะมิกาซิน () เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ\nอะมิกาซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อยที่ 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คือ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน, การทรงตัวผิดปกติ, และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างน้อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจตามมาได้ นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีภาวะหูหนวกแบบถาวรได้\nอะมิกาซินเป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาจากกานามัยซิน ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อ ค.ศ. 1971 และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976 โดยได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่างๆ สำหรับการขายส่งของยานี้ในประเทศกำลังพัฒนามีราคาประมาณ13.80–130.50ดอลลาร์สหรัฐต่อการรักษาด้วยยานี้หนึ่งเดือน ในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาสำหรับการรักษาด้วยอะมิกาซินหนึ่งรอบการรักษาอยู่ที่ประมาณ25–50ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "อะมิกาซิน"
}
] | [
{
"docid": "26357#8",
"text": "สำหรับผู้สูงอายุนั้น พบว่าอะมิกาซินจะมีค่าครึ่งชีวิตที่สูงกว่าปกติ ทั้งเป็นผลเนื่องมาจากการกำจัดออกที่ลดน้อยลงของวัยนี้ โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราการกำจัดอะมิกาซินออกจากร่างกายโดยเฉลี่ยของคนที่มีอายุ20ปีกับ80ปี จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก คือ6ลิตรต่อชั่วโมงและ3ลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส กลับมีอัตราการกำจัดอะมิกาซินที่เร็วกว่ากลุ่มประชากรข้างต้นที่กล่าวClearance is even higher in people with cystic fibrosis. นอกจากนี้แล้ว การใช้อะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย หรือ โรคพาร์คินสัน อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางกล้ามเนื้อที่แย่ลงมากกว่าเดิมได้ เนื่องจากอะมิกาซินมีผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้เช่นกัน",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "26357#11",
"text": "อะมิกาซินสามารถก่อให้เกิดพิษต่อไตได้ โดยการสร้างความเสียหายให้เกิดกับหลอดไตฝอยส่วนต้น (proximal tubule) เนื่องจากอะมิกาซินสามารถถูกทำให้เป็นประจุบวกได้ง่าย และอะมิกาซินที่เป็นประจุบวกนี้จะเข้าจับกับส่วนที่เป็นประจุลบของเซลล์เยื่อบุหลอดไตฝอยส่วนต้น และถูกนำเข้าสู่เซลล์กระบวนการพิโนไซโตซิส ทั้งนี้ ความเข้มข้นของอะมิกาซินในเนื้อไตชั้นนอก (renal cortex) นั้นจะมีค่าสูงกว่าความเข้มข้นของยาดังกล่าวในกระแสเลือดสูงถึง 10 เท่า โดยยานี้จะเข้าไปรบกวนการเปลี่ยนแปลงฟอสโฟลิพิดในไลโซโซม ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ไลติคชนิดต่างๆ ถูกปล่อยจากไลโซโซมเข้าสู่ไซโทพลาซึม จนทำให้เกิดความเสียกับเซลล์นั้นทั้งเซลล์ ภาวะการเกิดพิษต่อไตของอะมิกาซินนี้จะทำให้ระดับครีอะตินีนในเลือด, ปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด, เซลล์เม็ดเลือดแดง, และ เซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ อาทิ ภาวะที่มีโปรตีนแอลบูมินในปัสสาวะ (albuminuria), ภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ (glycosuria), ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะลดลง, ภาวะร่างกายสร้างปัสสาวะน้อยลง (oliguria) เป็นต้น ในบางครั้งอาจเกิดคาสต์ในปัสสาวะ (Urinary cast) ได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหลอดไตฝอย (renal tubular) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับอิเล็กโทรไลต์ และสมดุลกรด–เบสของร่างกาย นำไปสู่การเกิดภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) และเลือดเป็นกรด หรือเลือดเป็นด่างได้ การเกิดพิษต่อไตจากอะมิกาซินมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้ที่มีภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะที่มีแคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดต่ำ, เลือดเป็นกรด, อัตราการกรองของไตต่ำ, เบาหวาน, ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ, ไข้, และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ อยู่ก่อนหน้าแล้ว รวมไปถึงผู้อยู่ระหว่างการรับประทานยาที่มียับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดินด้วย โดยปกติแล้ว อาการพิษนี้มักหายเป็นปกติหลังจากการสิ้นสุดการรักษาด้วยอะมิกาซิน และสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดพิษดังกล่าวได้ด้วยการไม่บริหารยาให้กับผู้ป่วยบ่อยครั้งเกินไป (เช่น บริหารยาให้แค่วันละ 1 ครั้ง หรือทุก 24 ชั่วโมง แทนที่จะใช้การบริหารยาแบบทุกๆ 8 ชั่วโมง)",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "805818#3",
"text": "ข้อมูลบ่งชี้การมีอยู่ของดาวเคราะห์ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยนักดาราศาสตร์มิกโก ทัวมิ (Mikko Tuomi) จากมหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ โดยพบจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจที่ถูกเก็บไว้ 3 ปีต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 องค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปได้เริ่มโครงการ\"เพลเรดด็อท\" (Pale Red Dot, \"จุดแดงอันซีดจาง\") โดยใช้อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ตรวจวัดเพื่อยืนยันการค้นพบใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งต่อมากลุ่มนักดาราศาสตร์ในโครงการได้ออกมาประกาศการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ปีเดียวกัน กลุ่มนักดาราศาสตร์นำโดยกีเยม อันกลาดา-เอสกูเด จากมหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งลอนดอน ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี โดยบทความถูกตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันแล้วจึงตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือสเปกโตรกราฟสองเครื่อง ได้แก่ \"อุปกรณ์ค้นหาดาวเคราะห์ด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งความแม่นยำสูง\" (HARPS) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ ESO 3.6 ม. ณ หอดูดาวลาซียา ประเทศชิลี และ \"สเปกโตรกราฟเอเช็ลแสงที่มองเห็นได้และอัลตราไวโอเล็ต\" (UVES) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาก (VLT) ขนาด 8 เมตร ณ ประเทศชิลี การวัดความเร็วแนวเล็งสูงสุดของดาวฤกษ์กับคาบการหมุนของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ทำให้สามารถคำนวณมวลอย่างต่ำของดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ โอกาสที่การค้นพบนี้จะเป็นการตรวจจับเชิงบวกเทียม (false positive detection) ยังต่ำกว่า 1 ใน 10 ล้าน",
"title": "พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี"
},
{
"docid": "26357#10",
"text": "การใช้ยาอะมิกาซินในขนาดที่สูงหรือใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแนวทางการรักษาอาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท โดยอาการแสดงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, ชา, รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มตามผิวหนัง, กล้ามเนื้อกระตุก, และชัก. หากเกิดพิษต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (vestibulocochlear nerve) จะทำให้เกิดภาวะพิษต่อหู ซึ่งจะมีอาการแสดงที่สำคัญ คือ สูญเสียการทรงตัว และสูญเสียการได้ยิน ความเสียหายที่เกิดต่อคอเคลียนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ยาเหนี่ยวนำให้เกิดการอะพอพโทซิสของเซลล์ขน ทำให้หูสูญเสียความสามารถในการรับรู้เสี่ยงคลื่นความถี่สูงไป และความผิดปกตินี้มักจะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีอาการแสดงอื่นๆที่บ่งบอกถึงการสูญเสียการได้ยิน ส่วนความเสียหายที่เกิดต่อเวสติบูลนั้น คาดว่าน่าจะมาจากมีอนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นมามากเกินไป ทั้งนี้ ความผิดปกติข้างต้นที่กล่าวนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เป็นระยะเวลานานเกินไปมากกว่าการได้รับยาเกินขนาด ดังนั้น การลดระยะเวลาในการใช้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงดังข้างต้นได้",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "26357#25",
"text": "สำหรับสุนัขและแมวนั้น มีการใช้อะมิกาซินในรูปแบบยาใช้ภายนอกสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณหูและกระจกตาเป็นแผลกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากความเจ็บป่วยเหล่านั้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ \"Pseudomonas aeruginosa\" โดยจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดบริเวณหูก่อนที่จะมีการบริหารยา เนื่องจากหนองและเศษซากของเซลล์ที่ตายแล้วนั้นจะทำให้ได้รับผลการรักษาจากอะมิกาซินน้อยลง ในกรณีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาของสัตว์เหล่านี้นั้น จะใช้อะมิกาซินในรูปแบบยาขี้ผึ้ง หรือยาหยอด หรือการฉีดเข้าใต้เยื่อบุตา (Subconjunctival injection) ทั้งนี้ การใช้อะมิกาซินสำหรับดวงตานั้นสามารถทดแทนได้ด้วยเซฟาโซลิน เนื่องจากอะมิกาซิน (รวมถึงยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์) นั้นเป็นพิษต่ออวัยวะในดวงตา",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "26357#20",
"text": "อะมิกาซินไม่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ (antibiotic-inactivating enzyme) ได้เกือบทุกชนิด ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ยกเว้นเอนไซม์อะมิโนอะซีติลทรานส์เฟอเรส (aminoacetyltransferase) และนิวคลีโอไทด์ทรานส์เฟอเรส (nucleotidyltransferase) ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่อะมิกาซินมี -hydroxyaminobuteroyl amide (L-HABA) moiety ที่จับอยู่กับอะตอมไนโตรเจนในตำแหน่งที่ 1 (N-1) ซึ่งตำแหน่งนี้ในกานามัยซินจะเป็นแค่อะตอมไฮโดรเจนธรรมดา ซึ่งส่วนของโมเลกุลส่วนนี้จะช่วยขัดขวางการเข้าทำปฏิกิริยาและลดความสามารถในการเข้าจับของเอนไซม์จากแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ทำลายยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ทั้งนี้ อะมิกาซินนั้นมีตำแหน่งในโมเลกุลเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้นที่เอนไซม์จากแบคทีเรียสามารถเข้าทำปฏิกิริยาเพื่อหมดฤทธิ์ได้ ขณะที่เจนตามัยซินและโทบรามัยซินนั้นมีมากถึง 6 ตำแหน่ง ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อสเตรปโตมัยซินและคาพรีโอไมซินนั้นจะยังคงมีความไวต่ออะมิกาซินอยู่ ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อกานามัยซินจะมีบางส่วนที่ยังคงตอบสนองต่ออะมิกาซิน ในทางตรงกันข้าม หากเชื้อใดที่ดื้อต่ออะมิกาซินนั้นมักจะดื้อต่อกานามัยซินและคาพรีโอไมซินด้วยเช่นกัน",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "26357#5",
"text": "ปัจจุบัน อะมิกาซินมีในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำและยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งต้องบริหารยาวันละ 1–2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ปัจจุบันจะมีการพัฒนายานี้ให้อยู่ในรูปแบบยาพ่นได้ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิก อะมิกาซินไม่มีในรูปแบบยารับประทาน เนื่องจากยาถูกดูดซึมได้น้อยมากในทางเดินอาหาร ทั้งนี้ การใช้ยาอะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดน้อยลงกว่าปกติ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาตามค่าการขับครีอะตินีนของร่างกาย (creatinine clearance) ซึ่งโดยทั่วไปจะนิยมใช้วิธีการลดความถี่ในการบริหารยา ในผู้ป่วยที่มีติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถบริหารยาอะมิกาซินโดยการฉีดเข้าทางน้ำไขสันหลัง (intrathecal injection) หรือฉีดเข้าทางโพรงสมอง (Intracerebroventricular injection) ได้เลย",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "26357#1",
"text": "ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินบ่อยครั้งขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน, แบคทีเรียแกรมลบที่ไม่ใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง \"Pseudomonas\", \"Acinetobacter\", \"Enterobacter\", \"E. coli\", \"Proteus\", \"Klebsiella\", และ \"Serratia\" มีเพียงเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 2 สกุลเท่านั้นที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยอะมิกาซิน ได้แก่ \"Staphylococcus\" และ \"Nocardia\" นอกจากนี้อะมิกาซินยังถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อสกุลไมโคแบคทีเรียมที่ไม่ใช่วัณโรค (non-tubercular Mycobacterium infections) และวัณโรค (ในสายพันธุ์ที่ไวต่อยานี้) ในกรณีที่การรักษาทางเลือกแรกไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะเดี่ยวในการรักษาโรคใดโรคหนึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน",
"title": "อะมิกาซิน"
},
{
"docid": "2492#3",
"text": "ไอแซค อาซิมอฟ อ่านหนังสือออกเมื่ออายุ 5 ขวบ และเป็นเด็กคนเดียวที่อ่านหนังสือออกทันทีเมื่อเข้าเรียนชั้นประถมต้น ภายหลังจากนั้น เขาก็อ่านหนังสืออย่างไม่เลือกประเภท และเริ่มเรียนข้ามชั้น เมื่ออาซิมอฟเรียนข้ามชั้น บรรดาครูก็รู้ว่าเขาเรียนเร็วเกินกว่าเด็กอายุรุ่นราวคราวเดียวกันถึงสองปีครึ่ง จนถึงอายุ 8 ปี ก็สอบผ่านและได้รับสัญชาติอเมริกัน",
"title": "ไอแซค อสิมอฟ"
},
{
"docid": "26357#6",
"text": "ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอะมิกาซิน ควรพิจารณาปรับลดขนาดยาลงจากขนาดปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการทำงานของไตนั้นจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดพิษจากยามีมากขึ้นได้หากใช้ยาในขนาดปกติ เช่นเดียวกับในเด็ก ซึ่งไตยังพัฒนาไม่เต็มที่ ก็ควรที่จะลดขนาดอะมิกาซินลงจากปกติเช่นกัน ในกรณีหญิงตั้งครรภ์นั้น ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อทารกในครรภ์ของอะมิกาซินอยู่ในระดับ D ซึ่งหมายความว่า อะมิกาซินอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 16 ของขนาดยาอะมิกาซินที่ได้รับการบริหารเข้าสู่ร่างกายจะสามารถผ่านรกเข้าไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้ โดยยามีค่าครึ่งชีวิต 2 และ 3.7 ชั่วโมง ในแม่และตัวอ่อนในครรภ์ ตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับอะมิกาซินร่วมกับยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดอื่น อาจทำให้เกิดภาวะหูหนวกแต่กำเนิดของทารกได้ ส่วนกรณีหญิงให้นมบุตรนั้น พบว่า อะมิกาซินถูกขับออกมาทางน้ำนมได้ในเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น",
"title": "อะมิกาซิน"
}
] |
1102 | ศาสนาพุทธเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "77973#0",
"text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
}
] | [
{
"docid": "496974#1",
"text": "ศาสนาพุทธเข้ามาสู่กัมพูชาเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 10 โดยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ยกเว้นช่วงที่เขมรแดงครองอำนาจ ในปัจจุบันมีจำนวนเป็น 95% ของประชากรทั้งหมด ประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธในกัมพูชายาวนานเกือบสองพันปี ผ่านระยะเวลาของอาณาจักรต่างๆที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิเขมร การเข้าสู่กัมพูชาเกิดได้สองเส้นทาง คือรูปแบบดั้งเดิมของศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้าสู่อาณาจักรฟูนันโดยพ่อค้าที่นับถือศาสนาฮินดู ในเวลาต่อมา ศาสนาพุทธได้เข้าสู่กัมพูชาอีกทางหนึ่งในช่วงอาณาจักรพระนคร โดยผ่านทางอาณาจักรมอญคือทวารวดีและหริภุญไชย",
"title": "ศาสนาในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "79065#0",
"text": "พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย แต่ต่อมาชาวมลายูมุสลิมได้มาตั้งรกรากอยู่ และต่อมาก็มีชาวจีนโพ้นทะเลได้มาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้ \nในอดีตประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย การแผ่ขยายของพุทธศาสนาจึงจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประเทศมาเลเซีย และส่วนใหญ่ชาวสิงคโปร์จะเป็นชาวจีนโพ้นทะเล พุทธศาสนาแบบมหายานจึงเจริญรุ่งเรืองและได้รับการประดิษฐานอย่างมั่นคง",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศสิงคโปร์"
},
{
"docid": "78831#1",
"text": "พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศอินโดนีเซียในพุทธศตวรรษที่ 3 คราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณะ และพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธธรรม{[บริเวณใด]} ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เกิดรัฐมหาอำนาจทางทะเลชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya) ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่อินโดนีเซีย จนถึงคาบสมุทรมลายู รวมไปถึงทางใต้ของประเทศไทย อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ศาสนิกชนส่วนใหญ่จะเป็นนิกายมหายาน และแพร่หลายมาก และได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ และพระโพธิสัตว์ เป็นต้น.",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "77973#18",
"text": "ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแผ่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "78585#35",
"text": "แรกเริ่มนั้นประเทศไทยก็เคยมีนิกายมหายานมาช้านาน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศและจักรวรรดิขอมซึ่งมีอิทธิพลทางตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และมีหลักฐานอย่างชัดเจนเช่น เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งซึ่งขุดพบที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี หรือพระพิมพ์ดินดิบต่างๆที่มีศิลปะขอมหรือศรีวิชียที่พบได้ในแหล่งโบราณคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ 2อาณาจักรนี้ หลังจากที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาถนิกายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่แล้ว บวกกับการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทดั้งเดิมก่อนนิกายมหายานจะมีอิทธิพลในสมัยนั้น จึงทำให้ความนิยมของนิกายมหายานเสื่อมถอยลงและสาปสูญไป จนต่อมาในยุคธนบุรี ชาวญวณ ได้อพยพจากเวียดนามเนื่องจากเกิดสงครามมา(ต่อมาได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นนั่นก็คือคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ในอาณาจักรรัตนโกสินทร์) และต่อมาใน อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ก็มีชาวจีนได้อพยพมาก็เนื่องจากสงคราม และได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้น ซึ่งมีชื่อว่าจีนนิกาย จวบจนปัจจุบัน และในประเทศไทยนั้นมีนิกายและกลุ่มคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "77973#38",
"text": "ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 - 1700 เนื่องมาจากการทำสงครามกับชาวมุสลิมที่เข้ามารุกรานอินเดีย ซึ่งทำให้การนับถือพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมลงด้วย ในช่วงเวลานั้น การค้าขายทางทะเลระหว่างตะวันออกกลางไปยังจีนผ่านทางศรีลังกาเริ่มเฟื่องฟูขึ้น และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการฟื้นฟูนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีที่ศรีลังกาอีกครั้ง นิกายนี้จึงแพร่หลายไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "110770#0",
"text": "พระพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล เริ่มต้นขึ้นเมื่อได้มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศเซเนกัล และได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ในกลุ่มชาวพุทธทั้งหมดในเซเนกัลมีอยู่ประมาณ 0.01% ในจำนวนนี้ จะเป็นชาวเวียดนาม 99% พวกเขาจะสวดมนต์ \"Nam mô A Di Đà Phật\" เพื่อระลึกถึงพระอมิตาภะพุทธะ และชาวเวียดนามมีความเชื่อเกี่ยวกับ พระโพธิสัตว์และกวนอิมเป็นต้น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล"
},
{
"docid": "78608#0",
"text": "พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโคกูรยอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา 20 ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว 9 วัด ประเทศเกาหลีในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย 3 อาณาจักรคือ โคกูรยอ แพ็กเจ และชิลลา แต่ผู้นำทั้ง 3 อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่าง ๆ อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา",
"title": "ศาสนาพุทธในเกาหลี"
},
{
"docid": "105705#0",
"text": "พระพุทธศาสนาในประเทศอียิปต์เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งมคธได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างอาณาจักร โดยอาณาจักรไกริน ซึ่งอยู่ใกล้กับอียิปต์ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย พร้อมกันนนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่ด้วย ในบริเวณเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ด้วย แต่ก็สูญหายไป",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศอียิปต์"
}
] |
1105 | จักรพรรดิผู่อี๋เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "12892#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ () พระราชสมภพ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 มีพระนามเต็มว่า () หรือ เฮนรี่ ผู่อี๋ (พระนามอังกฤษที่เรจินัล จอนสตันถวายให้) เป็นจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ชาวแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (นับเริ่มแต่จักรพรรดิซุ่นจื้อ) และเป็นองค์สุดท้าย (末代皇帝) ของประเทศจีนมีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง จากปี พ.ศ. 2451 จนกระทั่งสละราชสมบัติใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 และในช่วงระยะเวลาการฟื้นฟูราชวงศ์สั้นๆในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยขุนศึก จาง ซวิน ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ก็ได้สถาปนาเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ ในประเทศแมนจูกัว ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นโดย จักรวรรดิญี่ปุ่น พระองค์ครองราชย์ที่แมนจูกัวจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 ต่อมาภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 ผู่อี๋ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนกระทั่งสวรรคตเยี่ยงสามัญชนในปี พ.ศ. 2510",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
}
] | [
{
"docid": "12892#2",
"text": "พระอัยกา (ปู่) ของผู่อี๋ อี้ซวน เจ้าชายฉุนที่ 1 (2383 - 2434) เป็นโอรสองค์ที่ 7 ของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง และเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกันกับสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง ภายหลังจากพระจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์ จักรพรรดิถงจื้อ (ครองราชย์ 2404-2418) โอรสองค์เดียวในพระจักรพรรดิเสียนเฟิงได้ขึ้นสืบราชสมบัติ",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "294850#1",
"text": "เมื่ออายุสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋มีพระชนมายุครบ 16 ปี วั่นหรงได้ถูกเลือกจากพระสนมผู้ใหญ่ในวังโดยมีการคัดเลือกหญิงสาวจากตระกูลมั่งคั่งหลาย ๆ คนเป็นรูปภาพ ส่งไปให้พระจักรพรรดิซวนถง (ผู่อี๋)ซึ่งเป็นจักรพรรดิที่ไม่มีอำนาจแต่ยังได้สิทธิ์ในการดำรงพระอิสริยศและพำนักอยู่ในพระราชวังต้องห้าม สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ทรงไม่รู้ว่าพระองค์จะเลือกใครดีกว่ากัน เพราะว่าพระองค์ไม่สามารถแยกหน้าตาของหญิงสาวในรูปภาพที่มีคุณภาพต่ำออกได้ พระองค์จึงทรงเลือกเหวินซิ่ว แต่พระสนมเก่าในวังกลับไม่พอใจในการตัดสินใจครั้งนี้ของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระสนมเก่าจึงจัดการประชุมขึ้นในวังและสุดท้ายสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋จึงต้องทรงยอมเลือกวั่นหรง เพราะว่าหน้าตาของวั่นหรงนั้นดีกว่าและวั่นหรงก็เกิดมาจากตระกูลที่มั่งคั่งร่ำรวยเงินทองมากกว่า นางจึงเหมาะสมกับตำแหน่งจักรพรรดินีมากกว่าเหวินซิ่ว พระนางเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับผู่อี๋โดยมีพระชนมายุ 16 พรรษาเท่ากัน โดยมีเหวินซิ่วซึ่งมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก่อนวั่นหรงได้ทำการต้อนรับวั่นหรงกับการอภิเษกครั้งนี้การอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในเวลาตีสามของวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ในการแต่งงานนั้นไม่ได้ราบรื่นนัก เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แสดงออกในความสนใจในตัวสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรงในคืนสมรสอย่างน้อยนิด มีบันทึกว่าผู่อี๋ได้กลับไปบรรทม โดยไม่ได้มีอะไรกันกับวั่นหรงเลย ในพิธีแต่งงานมีของขวัญราคาแพงจำนวนมากที่มอบให้แก่เจ้าสาวและครอบครัวของสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรง ถึงแม้ผู่อี๋จะไม่เคยแสดงความสนใจทั้งตัวของสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรงเองและสนมเหวินซิ่ว เลยก็ตาม",
"title": "จักรพรรดินีวั่นหรง"
},
{
"docid": "12892#17",
"text": "ผู่อี๋ หรือ ถูกเลือกให้เป็นจักรพรรดิโดยพระนางซูสีไทเฮาในขณะที่ประชวรหนักอยู่บนพระแท่นบรรทม ผู่อี๋ขึ้นเป็นจักรพรรดิในขณะที่มีพระชนมายุ 2 พรรษากับอีก 10 เดือน ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2451 มีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง ชีวิตในการเป็นจักรพรรดิของพระองค์เริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักราชวังมายังตำหนักเจ้าชายฉุนเพราะนำตัวพระองค์ไปเป็นจักรพรรดิ โดยผู่อี๋ได้ทำการขัดขืนหรือกรีดร้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของพระราชวังสั่งให้ขันทีอุ้มพระองค์ ฉุนชินอ๋อง พระบิดาของพระองค์ ได้ขึ้นเป็นองค์ชายผู้สำเร็จราชการ(摄政王) ในระหว่างพิธีราชาภิเษกที่พระที่นั่งไท่เหอ พระบิดาได้อุ้มจักรพรรดิที่ยังทรงเยาว์ขึ้นไปยังบนบัลลังก์ ผู่อี๋ได้ตกใจฉากที่อยู่ต่อหน้าและเสียงอึกทึกของกลองและเสียงเพลงในพิธีราชาภิเษก และหลังจากนั้นผู่อี๋ก็เริ่มร้องไห้ พระบิดาของพระองค์ไม่สามารถที่จะทำสิ่งใดได้นอกจากพูดปลอบพระองค์ด้วยวลีอมตะว่า \"อย่าร้องไห้ เดี๋ยวมันก็จบในอีกไม่ช้านี้\"",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "294850#8",
"text": "ข่าวลือในปี พ.ศ. 2483 สมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรงทรงครรภ์กับคนรับใช้ของพระองค์ซึ่งเป็นคนขับรถและยังเป็นคนหาฝิ่นมาให้วั่นหรงอีกด้วย ผู่อี๋มีอำนาจที่จะสั่งประหารก็ได้แต่ผู่อี๋ไม่ทำ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋เพียงแค่เนรเทศคนขับรถนั้นออกไปเท่านั้น พอสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรงให้กำเนิดเด็กหญิงคนนั้นขึ้นมา แพทย์ทำคลอดชาวญี่ปุ่นได้ฉีดยาให้เด็กคนนั้นเสียชีวิตทันทีที่เกิด แต่ในบันทึกของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋กล่าวว่า สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ได้ฆ่าเด็กคนนั้นด้วยการโยนใส่เตาไฟ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ก็ได้เขียนสิ่งเหล่านี้ลงในหนังสือชีวประวัติของตนเอง แต่ได้ถูกลบข้อความนี้ออกก่อนที่หนังสือจะถูกตีพิมพ์ และหลังจากนั้นสมเด็จพระจักรพรรดินีวันหรงก็ทรงติดฝิ่นอย่างหนัก โดยพระนางสูบฝิ่นถึงวันละ 2 ออนซ์ เป็นจำนวนปริมาณมหาศาลในช่วงระหว่าง กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2482 โดยคำกล่าวของหมอ เอ็ดเวิร์ด เบอฮ์ (Edward Behr) สมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรงได้สูบฝิ่นไปทั้งสิ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเต็มไปกว่า 740 ออนซ์",
"title": "จักรพรรดินีวั่นหรง"
},
{
"docid": "12892#9",
"text": "พระราชมารดาของผู่อี๋คือ โย่วหลัน (2427-2464) เป็นลูกสาวของ หรงลู่ (2379-2446) รัฐบุรุษและนายพลจากเผ่ากวาเอ่อร์เจีย โดยยงลู่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำของสายอนุรักษนิยมในราชวงศ์ชิง และเป็นผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ของพระนางซูสีไทเฮา โดยพระนางได้ตอบแทนความซื่อสัตย์ของหรงลู่ จึงได้ให้บุตรสาวของเขา (พระมารดาของผู่อี๋) เสกสมรสเพื่อเข้ามาในกลุ่มราชวงศ์",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "12892#4",
"text": "ผู่อี๋ จึงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี โดยผู่อี๋เป็นโอรสองค์โตของฉุนชินอ๋อง ซึ่งเป็นโอรสของ อี้ซวน เจ้าชายฉุนที่ 1 โดยเจ้าชายฉุนและพระสนมของพระองค์ ท่านผู้หญิงหลิงกิยา (2409-2468) ท่านผู้หญิงหลิงกิยาเคยเป็นคนรับใช้ที่ตำหนักของเจ้าชายฉุน พื้นเพเป็นชาวฮั่นแซ่หลิว (劉) และเปลี่ยนเป็นชื่อแมนจูว่า หลิงกิยา เมื่อเป็นสนมของเจ้าชายฉุนที่ 1 เพราะฉะนั้นไจ้เฟิง ฉุนชินอ๋อง จึงเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นทายาทสืบราชบัลลังก์ที่อยู่ในลำดับแรก",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "12892#7",
"text": "ผู่เริ่น (2461-2558) พระอนุชาของพระองค์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจีน คือ จิน โหย่วจือ อาศัยอยู่ที่ประเทศจีน โดยในปี 2549 จิน โหยว่จือได้ยืนฟ้องดำเนินคดีต่อศาลเกี่ยวกับสิทธิในรูปของผู่อี๋และความเป็นส่วนตัว โดยได้กล่าวอ้าวว่าสิทธิของเขาได้ถูกละเมิดจากงานจัดแสดง \"จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายและราชวงศ์\"",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "12892#18",
"text": "แม่นมของผู่อี๋ เหวิน เฉาหว่าง เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ เพราะฉะนั้นเธอจึงได้ตามพระองค์เข้าพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ไม่ได้เจอแม่ผู้ให้กำเนิดพระองค์ เป็นระยะเวลาถึง 7 ปี โดยเขาได้ผูกพันกับ เหวิน เฉาหว่าง และยอมรับว่าเธอเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ แต่เธอก็ได้ออกจากพระราชวังต้องห้ามเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ภายหลังจากที่ผู่อี๋อภิเษกสมรส ในบางโอกาสพระองค์ก็พาแม่นมของเธอมาที่พระราชวังต้องห้าม รวมทั้งที่แมนจูกัว เพื่อมาเยี่ยมพระองค์ ภายหลังผู่อี๋ได้รับอภัยโทษจากรัฐบาลในปี พ.ศ. 2502 พระองค์ได้ไปเยี่ยมบุตรบุญธรรมของเธอและได้เรียนรู้ว่าเธอนั้นได้อุทิศตนเพื่อเป็นแม่นมของเขาแต่เพียงเท่านั้น",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
},
{
"docid": "12892#24",
"text": "หลังจากที่ถูกขับไล่ออกจากพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ใช้เวลาสองถึงสามวันอยู่ที่ตำหนักของพระบิดา หลังจากนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่สถานทูตญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราวประมาณ 1 ปีครึ่ง ในปี 2468 ผู่อี๋ได้ย้ายไปยัง Quiet Garden Villa ในเขตปกครองของญี่ปุ่นในเทียนจินระหว่างช่วงเวลานั้น ผู่อี๋และบรรดาที่ปรึกษาของเขา เฉิน เป่าเซิน,เจิง เสี่ยวซู และ โหล เซินยู่ ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการฟื้นฟูเขาเป็นจักรพรรดิ โดยเจิงและโหลได้เสนอให้ขอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่เฉินไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ในเดือนสิงหาคม 2474 ผู่อี๋ส่งจดหมายถึง จิโร่ มินะมิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม ของญี่ปุ่น บ่งบอกความภายในว่าเขาต้องการที่จะกลับมาเป็นจักรพรรดิ เขายังไปเยี่ยม เคนจิ โดอิฮะระ หัวหน้าหน่วยจารกรรมของกองทัพคันโต ผู้ซึ่งมีความปรารถนาจะให้ผู่อี๋เป็นผู้นำแห่งแมนจูกัว ในเดือนพฤศจิกายน 2474 ผู่อี๋และ เจิง เสี่ยวซูเดินทางไปยังแมนจูเรียเพื่อตกลงเกี่ยวกับแผนการตั้งรัฐแมนจูกัวให้สำเร็จ รัฐบาลจีนออกคำสั่งจับผู่อี๋ข้อหาเป็นกบฏแต่ไม่สามารถที่จะทำได้เพราะไม่สามารถฝ่าการคุ้มครองของญี่ปุ่นได้ เฉิน เป่าเซินเดินทางกลับสู่ปักกิ่งที่ซึ่งเขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2476",
"title": "จักรพรรดิผู่อี๋"
}
] |
1106 | พงศาวดารชวา เรียกอิเหนาว่าอะไร? | [
{
"docid": "10853#3",
"text": "เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี",
"title": "อิเหนา"
}
] | [
{
"docid": "150126#1",
"text": "ดาหลัง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อิเหนาใหญ่ เป็นกลอนบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีเค้าเดิมมาจากนิทานชวา เชื่อกันว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุทธยา หญิงเชลยชาวชวาปัตตานี ซึ่งเป็นข้าหลวงรับใช้เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เล่าถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น ทั้งสองพระองค์จึงทรงแต่งเรื่องขึ้นคนละเรื่องคือ อิเหนาใหญ่ และ อิเหนาเล็ก แต่เรื่องทั้งสองสุญหายไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งอิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก โดยอาสัยเค้าเรื่องเดิมสมัยอยุธยา",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "196184#0",
"text": "นิราศอิเหนา เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จึงน่าจะแต่งถวาย เนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้ว เนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว",
"title": "นิราศอิเหนา"
},
{
"docid": "175280#2",
"text": "เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมักจะฟังนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่าชาวชวา) นางพระกำนัลซึ่งเป็นเชลยจากเมืองปัตตานี ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิงพงศาวดารชวาถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"ดาหลัง\" หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"อิเหนาเล็ก\" มาตั้งแต่นั้น ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต้นฉบับของวรรณคดีก็สูญหายไปบางส่วน เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ในขณะที่ทั้งสองพระองค์นิราศในต่างแดน ก็ทรงเผยแพร่นาฏศิลป์อย่างอยุธยาให้แก่ราชสำนักพม่า และส่งอิทธิพลตกทอดถึงนาฏศิลป์พม่าในยุคปัจจุบัน",
"title": "เจ้าฟ้ากุณฑล"
},
{
"docid": "28284#13",
"text": "พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น ชั่วไก่กินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป",
"title": "หลวงปู่ขาว อนาลโย"
},
{
"docid": "615676#3",
"text": "“มะขามป้อม” ในยุคแรกเป็นกลุ่มงานที่มุ่งทำสื่อสะท้อนเรื่องราวข้อมูลดีๆ เชิงสร้างสรรค์ส่งเสริมสังคม เข้าหาชาวบ้านแบบเรียบง่ายผ่านสื่อ การแสดง สไลด์ โปสเตอร์ แผ่นพับ โดยเน้นที่สื่อละครเป็นหลัก ลักษณะเนื้อหาก็ประยุกต์ให้ทันเหตุการณ์ เช่น การไปเล่าเรื่องที่หมู่บ้านชาวนา จะเล่าว่าห้ามเข้าเมืองนั้นคงไม่มีประโยชน์ จึงเปลี่ยนเป็นเล่าว่าถ้าเข้าเมืองต้องเจออันตรายอะไร ในบางกรณี หน้าที่ของกลุ่มมะขามป้อมก็เปลี่ยนบทบาทเป็นการอบรมเรื่องการทำสื่อการเรียนการสอนให้กับสถาบันการศึกษาที่ติดต่อร้องขอมา",
"title": "วิเชียร ฤกษ์ไพศาล"
},
{
"docid": "10853#29",
"text": "อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมาก แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย นิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "919369#0",
"text": "มังกะยอชวา (พระนามภาษาพม่า: မင်းကြီးစွာ; อักษรโรมัน: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: \"เมงเยจอสวา\") หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช",
"title": "มังกะยอชวา"
},
{
"docid": "10853#42",
"text": "๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้\nจากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "540084#0",
"text": "สะใภ้ไม่ไร้ศักดินา เป็นบทประพันธ์ของ ปิ่นเพชร เป็นภาคต่อของละครเรื่อง สะใภ้ไร้ศักดินา บทโทรทัศน์โดย ภควดี แสงเพชร กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร ผลิตโดย บริษัท ทีวีซีน จำกัด \nปลิวลม และ อาชา หลังจากที่ได้แต่งงานเธอก็มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ ปลาณี / น้ำแข็ง เธอเติบโตมาในครอบครัวที่มีแต่ความรักโดยเฉพาะ คุณนายศรีสอางค์ ผู้เป็นย่า ที่รักเธอมากกว่าใคร น้ำแข็งเธอเป็นสาวสวยเปรี้ยวซ่ามีเพื่อนร่วมกลุ่ม 2 คนคือ พลอย และ แป๋ม กลุ่มสาวสวย รวยเปรี้ยวซ่า",
"title": "สะใภ้ไม่ไร้ศักดินา"
}
] |
1126 | กันดั้มแอสเทรย์ ออกแบบโดยใคร? | [
{
"docid": "84809#0",
"text": "กันดั้มแอสเทรย์ () () เป็นรุ่นของโมบิลสูทซึ่งเป็นมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น มังงะ โมบิลสูทกันดั้มซี้ด แอสเทรย์ กันดั้มแอสเทรย์รุ่นแรกได้รับการออกแบบโดยจุนอิจิ อะคุทสึ",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#1",
"text": "กันดั้มแอสเทรย์เป็นโมบิลสูทที่สถาบันมอเกนเรตของอาณาจักรอ็อบได้พัฒนาอย่างลับๆที่เฮลิโอโปลิสโดยใช้ข้อมูลที่ขโมยมาจากการช่วยพัฒนา GAT-Xซีรีส์ให้กลุ่มพันธมิตรโลก ลักษณะสำคัญของกันดั้มแอสเทรย์ก็คือเกราะที่มีน้ำหนักเบาเพื่อให้มีความคล่องตัวสูงสุด กันดั้มแอสเทรย์ยังมีอาวุธที่จำลองมาจาก GAT-Xซีรีส์อย่างบีมไรเฟิลและบีมเซเบอร์ มอเกนเรตได้ใช้รูปแบบพื้นฐานของกันดั้มแอสเทรย์ในการพัฒนาโมบิลสูทรุ่นผลิตจำนวนมากคือ M1แอสเทรย์และชาวอาณานิคมดาวอังคารยังใช้ข้อมูลของแอสเทรย์ซีรีส์พัฒนา \"GSF-YAM01 เดลต้าแอสเทรย์\" ของตัวเอง นอกจากนี้ โมบิลสูท \"YMF-X000A เดรดน็อตกันดั้ม\" ยังมีชื่อเล่นว่า \"Xแอสเทรย์\" และเมื่อ \"โลว์ กิล\" ได้ใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ของ \"ZGMF-X12A เทสตาเมนต์กันดั้ม\" มาดัดแปลงเป็นโมบิลสูทตัวใหม่ยังได้ตั้งชื่อว่า \"กันดั้มแอสเทรย์เอาต์เฟรม\" แต่ในทางเทคนิคแล้วทั้งคู่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกันดั้มแอสเทรย์แต่อย่างใด",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#17",
"text": "โมบิลสูทรุ่นผลิตจำนวนมากซึ่งใช้พื้นฐานของกันดั้มแอสเทรย์ซึ่งปรากฏในอะนิเมะโมบิลสูทกันดั้มซี้ด ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
}
] | [
{
"docid": "84809#21",
"text": "โมบิลสูทแบบไม่ติดตั้งอาวุธสำหรับทำงานซึ่งใช้พื้นฐานของ M1แอสเทรย์ พัฒนาโดย \"หยุน เซฟาน\" อดีตนักวิจัยของมอเกนเรตซึ่งได้เป็นสมาชิกของจังค์กิลด์หลังจากที่อาณาจักรอ็อบถูกพันธมิตรโลกยึดครอง ชื่อ \"Raysta\" มาจากการสลับอักษรของคำว่า \"Astray\" จังค์กิลด์ได้นำเรสตาให้ประชาชนเช่าใช้งานโดยมีข้อแม้ว่าห้ามดัดแปลงโดยติดตั้งอาวุธเข้าไปเด็ดขาด จังค์กิลด์เองจะเอาอาวุธมาติดให้เรสตาเพื่อใช้ป้องกันตัวในยามคับขันเท่านั้น เนื่องจากเป็นโมบิลสูทสำหรับทำงานจึงมีกำลังมาก ส่วนขาและเท้าของเรสตาจะมีกลไกให้ใช้เป็นเครนยกของได้ หยุน เซฟานเองใช้เรสตาแบบพิเศษซึ่งติดตั้งคอนเทนเนอร์บรรทุกของที่ด้านหลังและขาทั้งสองข้าง ส่วนหัวยังติดตั้งเสาอากาศสำหรับติดต่อกับดาวเทียมของจังค์กิลด์ เรสตาปรากฏตัวในมังงะ \"โมบิลสูทกันดั้มซี้ด เดสทินีแอสเทรย์\"",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "24460#2",
"text": "การดำเนินเรื่องของกันดั้มซี้ด แอสเทรย์ในช่วงแรกจะมีการข้ามเล่มไปมาระหว่างมังงะโมบิลสูทกันดั้มซี้ด แอสเทรย์ซึ่งวาดโดยโคอิจิ โทคิตะ โมบิลสูทกันดั้มซี้ด แอสเทรย์อาร์ซึ่งวาดโดยโทดะ ยาสึนาริและนิยายประกอบภาพถ่ายโมบิลสูทกันดั้มซี้ด แอสเทรย์บี ซึ่งเมื่อเนื้อเรื่องของโมบิลสูทกันดั้มซี้ด แอสเทรย์จบลงก็ได้มีภาคต่อคือโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เอ็กซ์แอสเทรย์ เมื่ออะนิเมะโมบิลสูทกันดั้มซี้ดเดสทินีออกฉายก็ได้เริ่มภาคใหม่คือโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เดสทินีแอสเทรย์ซึ่งมีทั้งฉบับมังงะและนิยายประกอบภาพถ่าย และโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เดลต้าแอสเทรย์ซึ่งลงตีพิมพ์หลังจากที่กันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ออกฉาย มังงะภาคต่อมาก็คือโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เฟรมแอสเทรย์ ซึ่งเปิดเผยกันดั้มแอสเทรย์เครื่องที่สี่ ภาคปัจจุบันของกันดั้มแอสเทรย์ก็คือโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เวอร์ซัสแอสเทรย์",
"title": "โมบิลสูท กันดั้ม ซี้ดแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#23",
"text": "โมบิลสูทสำหรับทำงานที่จังค์กิลด์พัฒนาโดยดัดแปลงแอสเทรย์พลเรือนของ DSSD ให้มีลักษณะใกล้เคียงกับกันดั้มแอสเทรย์มากที่สุดและสามารถปรับแต่งได้ง่าย โลว์ กิลได้ติดตั้งเกราะมาร์สแจ็คแก็ตของกันดั้มแอสเทรย์เรดเฟรมไว้กับแอสเทรย์พลเรือนเครื่องหนึ่ง เป็น MWF-JG73MJ มาร์สแจ็คเก็ตและยกให้ดิเอโก โลเวลเอาไปใช้ ปรากฏตัวในมังงะ \"โมบิลสูทกันดั้มซี้ด เดลต้าแอสเทรย์\"",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#4",
"text": "ในเนื้อเรื่องของภาค \"เอ็กซ์แอสเทรย์\" โกลด์เฟรมอามัตสึมิน่าได้รับความเสียหายเมื่อไคท์ มาดิแกนได้ใช้ต่อสู้กับ \"ZGMF-Z12A เทสตาเมนต์กันดั้ม\" จึงได้ปรับปรุงอีกครั้งด้วยโอคิตสึโนะคางามิ ซึ่งพัฒนาโดยหยุน เซฟาน โอคิตสึโนะคางามิเป็นอุปกรณ์เอนกประสงค์ติดแขนแทนซึมุฮะโนะทาจิและสามารถใช้สร้างบีมชิลด์หรือมีดบีมก็ได้ ซึ่งโหมดมีดบีมสามารถยิงออกไปแล้วดึงกลับมาด้วยสายเคเบิล ส่วนดาบโทตซึกะโนะซึรุงิถูกถอดออกเป็นแค่อาวุธเสริมเท่านั้น",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#13",
"text": "ในมังงะโมบิลสูทกันดั้มซี้ด เฟรมแอสเทรย์ได้เปิดเผยว่ามี MBF-P04 กันดั้มแอสเทรย์กรีนเฟรมเป็นกันดั้มแอสเทรย์เครื่องที่สี่ ซึ่งทรอยา โนวาล สมาชิกของกองโจรต่อต้านสาธารณรัฐเอเชียตะวันออกได้รับมาจาก แบรี่ โฮ แอสเทรย์กรีนเฟรมมีเซนเซอร์สีเหลืองแตกต่างจากเครื่องก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นสีเขียว อาวุธพิเศษของแอสเทรย์กรีนเฟรมก็คือ \"ทวินซอร์ดไรเฟิล\" ซึ่งเป็นบีมไรเฟิลที่สามารถกางและยืดออกเป็นดาบสองปลายได้ แอสเทรย์กรีนเฟรมยังมีระบบปัญญาประดิษฐ์ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ไว้คอยช่วยสนับสนุนในการควบคุม ซึ่งเมื่อระบบนี้สามารถเก็บข้อมูลจนพัฒนาตัวเองได้มากพอก็จะทำให้อัตราตอบสนองต่อนักบินสูงมากกว่ารุ่นก่อนๆ",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#7",
"text": "ในเนื้อเรื่องของภาค \"เดสทินีแอสเทรย์\" โลว์ก็ได้ดัดแปลงเรดเฟรมอีกครั้งในช่วงที่อยู่บนดาวอังคาร โดยติดตั้งเกราะมาร์สแจ็คเก็ต ซึ่งมีรูปร่างคล้ายโมบิลสูทของ ZAFT (ในความเป็นจริงแล้วจะคล้ายกับเกลกุ๊กในภาค Universal Century) เกราะนี้จะคลุมเรดเฟรมไว้ทั้งตัวเพื่อป้องกันชิ้นส่วนของเรดเฟรมจากสภาพแวดล้อมอันทุรกันดารของดาวอังคารและสามารถใช้เข้าสู่บรรยากาศโลกได้ เกราะมาร์สแจ็คเก็ตบางส่วนสามารถปลดออกได้เพื่อเพิ่มความคล่องแคล่ว ด้านหลังมีบีมแคนนอนคู่ซึ่งเป็นปลอกดาบของเกอเบร่าเสตรทด้วย เรดเฟรมมาร์สแจ็คเก็ตถูกชาวอาณานิคมดาวอังคาร \"ดิเอโก โลเวล\" ขโมยไป แต่ได้นำมาคืนให้โลว์หลังเข้าร่วมในเหตุการณ์ \"เบรกเดอะเวิลด์\" โลว์จึงได้ถอดมาร์สแจ็คเก็ตออกแล้วติดตั้งไว้กับแอสเทรย์พลเรือนของจังค์กิลด์แล้วยกให้ดิเอโกไปใช้งานแทน",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#8",
"text": "ในเนื้อเรื่องของภาค \"วีเอสแอสเทรย์\" กลุ่มไลบราเรียนได้สร้างเรดเฟรมเครื่องที่สองและให้คาร์บอนฮิวแมนของอุน โนเป็นนักบิน เรดเฟรมเครื่องที่สองนี้ใช้ดาบคะตะนะที่เรียกว่า \"ไทเกอร์เพียร์ส\" เป็นอาวุธหลัก\nมีอีกชื่อหนึ่งว่า โปรโตซีโร่ทรี MBF-P03 กันดั้มแอสเทรย์บลูเฟรมนี้ได้รับการบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆไว้โดยรอนโด กิน่า ซาฮาคุเมื่อครั้งที่เฮลิโอโปลิสถูกโจมตี กันดั้มแอสเทรย์บลูเฟรมถูกโลว์ กิล ค้นพบพร้อมกับเรดเฟรม แต่ก็มอบให้ \"ไก มุราคุโมะ\" ไป ไกเป็นหนึ่งในทหารรับจ้าง \"เซอร์เพนท์เทล\" ที่มาทำลายหลักฐานเกี่ยวกับโปรเจกต์แอสเทรย์ แต่หลังจากที่ถูกนายจ้างทรยศจึงเก็บบลูเฟรมไว้เป็นโมบิลสูทประจำตัว เนื่องจากมีข้อมูลของอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ไกจึงสามารถปรับแต่งอุปกรณ์ให้บลูเฟรมใช้ได้ กันดั้มแอสเทรย์บลูเฟรมจึงสามารถใช้งานอาวุธหนักอาวุธหนักอย่างบาซูก้าและมิสไซล์ลันเชอร์ หรือ \"สเกลซิสเต็ม\" ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนใต้น้ำของ ZAFT\nในเนื้อเรื่องของนิยายภาพ \"แอสเทรย์บี\" นั้น กันดั้มแอสเทรย์บลูเฟรมได้รับความเสียหายอย่างหนักในการสู้กับ \"GAT-01D ลองแด็กเกอร์\" ของอีเลฟเว่น โซเซียส ซึ่งไกก็ได้ปรับปรุงบลูเฟรมด้วยความช่วยเหลือของโลว์ และ \"เอริก้า ซิมมอนส์\" แห่งมอเกนเรต ซึ่งบลูเฟรมร่างสองนี้ มีสองแบบคือ บลูเฟรมเซคันด์ L โดยสามารถติดตั้ง แท็คติคอลอาร์มส์ ซึ่งเป็นแบ็คแพ็คที่สามารถบินแยกจากบลูเฟรมได้ทั้งยังหุ้มแอนติบีมโค้ตติ้งเพื่อการป้องกันอาวุธบีม แท็คติคอลอาร์มส์นี้ติดตั้งปืนกลแก็ตลิ่ง 90 มม.เอาไว้และสามารถปรับมาเป็นดาบขนาดใหญ่ได้ด้วย เกราะของบลูเฟรมเซคันด์ Lมีสองชั้น ซึ่งชั้นที่สองนั้นเป็นเกราะ PSที่จะทำงานเมื่อเกราะชั้นแรกที่อยู่ภายนอกแตกออก",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
},
{
"docid": "84809#14",
"text": "ปรากฏตัวในนิยายประกอบภาพโมบิลสูทกันดั้มซี้ด วีเอสแอสเทรย์ เป็นกันดั้มแอสเทรย์หมายเลขห้าที่สร้างโดยกลุ่มไลบราเรียนและเป็นโมบิลสูทประจำตัวของคาร์บอนฮิวแมนซึ่งมียีนของ รอนโด กินา ซาฮาคุ มิราจเฟรมนั้นต่างจากกันดั้มแอสเทรย์เครื่องอื่นๆคือใช้เกราะวาริเอเบิลเฟสชิฟท์แทนโฟมโลหะจึงทนทานกว่ามาก มิราจเฟรมยังใช้ระบบพรางตาด้วยอนุภาคมิราจคอลลอยด์ แต่นอกจากใช้พรางตัวแล้วยังสามารถใช้สร้างภาพลวงตาเพื่อให้ศัตรูเข้าใจผิดได้ โดยครั้งแรกที่ปรากฏตัวนั้น รอนโดได้ใช้มิราจคอลลอยด์ปลอมเป็นโกลด์เฟรมเพื่อให้คนอื่นๆเข้าใจผิด",
"title": "กันดั้มแอสเทรย์"
}
] |
1127 | สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 เป็นสถานีโทรทัศน์กองทัพบกของไทยใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "34424#0",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า \"สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7\" (\"ททบ.7\") หรือ \"ช่อง 7\" (\"ขาว-ดำ\") ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "34424#1",
"text": "ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์\nจากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ\"โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท\nสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน)\nต่อมา เมื่อก่อสร้างของอาคารสถานีเสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน\nจากนั้น ททบ.5 ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.5 จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานี และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย\nเมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th พร้อมทั้งจัดทำระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.เป็นผู้ริเริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์ที่ติดตั้งกล้องวิดีโอ และรถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสดและรายงานข่าว เป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินการผลิตและควบคุมการออกอากาศ ด้วยระบบดิจิตอล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 และยังเริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงเป็นสถานีแรกของไทย\nต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ททบ.5 ดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในระบบดิจิตอลไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก ตามโครงการ โดยปัจจุบันสามารถรับชมในกว่า 170 ประเทศ และในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. ปีเดียวกันนั้นเอง การก่อสร้างอาคารที่ทำการ และอาคารหลักของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งรวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุนไว้ในอาคารเดียวกัน รวมทั้งมีห้องส่งโทรทัศน์อันทันสมัย จำนวน 4 ห้อง ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ททบ.เริ่มดำเนินงานก่อสร้าง อาคารสำนักงานเพิ่มเติม และอาคารจอดรถ กำหนดแล้วเสร็จในวาระครบรอบ 50 ปีของ ททบ.5 คือ พ.ศ. 2551\nโดยในปีดังกล่าว ททบ.จัดซื้อระบบออกอากาศภายในห้องส่งใหม่ ประกอบด้วยโรงถ่ายเสมือนจริง (Virtual Studio) และกำแพงวิดีทัศน์ (Video Wall) พร้อมทั้งใช้สีแดง ประกอบการนำเสนอข่าวของสถานีฯ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2552) ททบ.5 เปลี่ยนไปใช้สีเขียว เป็นหลักในการนำเสนอข่าว โดยให้มีนัยสื่อถึงกองทัพบก ล่าสุด ททบ.ดำเนินงานก่อสร้าง อาคารชุดอเนกประสงค์แห่งใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557\nคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกันทดลองออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยมอบหมายให้ ททบ.5 เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 มกราคม จนถึงเวลา 12:59 น. ของวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในย่านความถี่ยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 36 ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ช่องรายการคือ 6 ช่องทวนสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ด้วยความละเอียดมาตรฐานตามปกติ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 , สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สำหรับอีก 2 ช่องรายการ จะทดลองออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง กล่าวคือ ช่องหนึ่งจะกระจายเสียงและแพร่ภาพ รายการโทรทัศน์ความละเอียดสูงซึ่งผลิตโดย ททบ. ส่วนอีกช่องหนึ่งจะทวนสัญญาณ จากช่องรายการของไทยพีบีเอส ซึ่งออกอากาศในระบบความละเอียดสูงผ่านดาวเทียมอยู่แต่เดิม โดยมีรัศมีรอบเสาส่งสัญญาณบนยอดอาคารใบหยก 2 เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล\nต่อมา กสทช.อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแก่ ททบ.5 โดยเริ่มนำสัญญาณภาพและเสียง ออกอากาศคู่ขนานไปจาก โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกทางช่อง 5 เดิม พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก ในประเภทบริการทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ต่อมา ททบ.5 ตั้งชื่อช่องรายการที่ออกอากาศในระบบดิจิทัลว่า ทีวี 5 เอชดี1 (TV5 HD1) (วิธีอ่าน อ่านว่า \"ทีวีไฟว์ เอชดีวัน\") พร้อมกับการปรับเปลี่ยนการปรากฏตราสัญลักษณ์ของสถานีแต่เพียงเล็กน้อย ด้วยการเพิ่มตัวอักษรคำว่า \"HD1\" สีเทาเงิน ประดับติดกับสัญลักษณ์ไว้ทางด้านขวาตรงกลาง โดยเพื่อใช้สำหรับการปรากฏตราสถานีฯไว้อยู่ที่มุมขวาของหน้าจอโทรทัศน์ เมื่อขณะที่กำลังออกอากาศรายการต่างๆอยู่ ทั้งระบบแอนะล็อกและดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้มาจนกระทั่งพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จึงได้ปรับอัตลักษณ์บนหน้าจอใหม่ให้ใหญ่และโดดเด่นขึ้น",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
}
] | [
{
"docid": "63610#1",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า \"โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย\" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)",
"title": "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "59413#0",
"text": "ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "108249#0",
"text": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค () เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 โดยได้แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อคนไทยที่อาศัยอยู่ทั่วโลก 170 ประเทศ และต่างชาติที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทย ก่อนมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงเป็นโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งเดียวที่ ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิงออกไปสู่สายตาของผู้ชมทั่วโลกโดย ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน ส่งสัญญาณ รายการผ่านดาวเทียมถึง 5 ดวง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 177 ประเทศทั่วโลก ผังรายการ TGN เป็นผังรายการที่จัดขึ้นใหม่ แยกจากผังรายการของ ททบ.5 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นรายการที่ TGN เป็นผู้ผลิตเอง, ผู้จัดรายการผลิตรายการขึ้นใหม่เพื่อเช่าเวลา ส่วนที่เหลือเป็นรายการที่เช่าเวลากับ ททบ.5 นำมาเช่าเวลาเพื่อออกอีกรอบทาง TGN รวมถึงรายการถ่ายทอดสดที่รับสัญญาณจากททบ.5 ลและจากสถานีอื่นที่ไม่ใช่ ททบ.5 (เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย,เอ็นบีทีเวิลด์ ฯลฯ)ดังนั้น ผังรายการ TGN จึงมีรายการที่มีความหลากหลายน่าสนใจ\nสามารถรับชม TGN ได้ 170 ประเทศ ทั่วโลก ได้แก่สถานีโทรทัศน์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย\nสถานีโทรทัศน์เพื่อเศรษฐกิจและการลงทุน ดำเนินการโดย บริษัท แฟมมิลี่โนฮาว จำกัด\nช้อป แชนแนล ทีวีช้อปปิ้งอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด",
"title": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก"
},
{
"docid": "43460#9",
"text": "\"สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3\" (ชื่อสากล: HS-TV 3) เป็นสถานีโทรทัศน์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ออกอากาศโดยใช้ช่องความถี่ต่ำ ในระบบวีเอชเอฟ คือช่อง 2 ถึงช่อง 4 โดยในระยะเริ่มแรก ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีขนาด 25 กิโลวัตต์ จำนวนสองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ อัตราการขยายสายอากาศ 13 เท่า กำลังออกอากาศที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร ความถี่คลื่นอยู่ระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ใช้ระบบ ซีซีไออาร์ พาล (CCIR PAL) 625 เส้น เป็นแห่งแรกของไทย โดยส่งออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 3 ซึ่งสามารถให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งหมด 18 จังหวัดเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 20.64 ของพื้นที่ประเทศไทย นับเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่สองของไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "529232#7",
"text": "โดยมีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด \"สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4\" ( ชื่อย่อ: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง \"คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" ประกอบด้วย พลเอก ไสว ไสวแสนยากร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ\"โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท",
"title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "168009#0",
"text": "ช่อง 7 เอชดี (ชื่อเดิม:สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) เป็นช่องโทรทัศน์ที่มีรายการต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงละครที่มีมากมายหลายเรื่องและหลายช่วงเวลา เมื่อมีละครเรื่องหนึ่งจบหรืออวสานไปก็จะมีละครเรื่องใหม่มาออกอากาศแทน โดยละครแต่ละเรื่องจะมีนักแสดงนำและบทละครที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ละครทางช่อง 7 สีที่อวสานไปเมื่อประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีที่แล้ว จะถูกนำมาออกอากาศอีกครั้งในช่วงเวลาตอนบ่ายในวันจันทร์ถึงศุกร์ด้วย",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "492231#6",
"text": "อนึ่ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกที่แสดงตราสัญลักษณ์ฯ ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 13.45 น. ต่อมาคือสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เริ่มแสดงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เวลา 15.45 น. และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในเวลา 17.00 น. ส่วนสถานีโทรทัศน์แห่งอื่นๆ แสดงตราสัญลักษณ์ฯ เป็นครั้งแรก ในวันที่ 8 พฤษภาคม โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มเวลา 00.00 น. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ในเวลา 00.53 น. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อเวลา 17.00 น.",
"title": "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "939148#2",
"text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ \"\"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่องวัน และช่องพีพีทีวี มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย",
"title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์"
},
{
"docid": "467502#0",
"text": "ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม เป็นละครชุดประเภทจบในตอน ผลิตโดย โพลีพลัส ออกอากาศทุกคืนวันเสาร์เวลา 20.20 - 21.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเริ่มตอนแรกวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 ออกอากาศตอนจบไปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ภายหลังได้มีการนำละครเรื่องนี้กลับมาออกอากาศซ้ำอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2559 ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 น. และทุกคืนวันศุกร์ เวลา 22.00 น. โดยออกอากาศทาง ไทยรัฐทีวี เริ่มวันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 (แต่การออกอากาศซ้ำครั้งนี้จะเริ่มออกอากาศตั้งแต่ตอน เจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้นไป) อำนวยการผลิตโดย อรพรรณ วัชรพล ลงเสียงประกอบโดย ปั้น-ปั้น ร่วมเขียนบทโทรทัศน์โดย ทิพสุดา ดวงมะวงศ์/ณัฏฐพล เกษบุญชู/เพียงพัชร/พิมพ์ทิพย์/สุธิสา วงศ์อยู่/ปั้นให้เป๊ะ/สถาพร สุชาติ/กฤษฎา เตชะนิโลบล และอีกมากมาย กำกับการแสดงโดย กฤษฎา เตชะนิโลบล/หลักเขต วสิกชาติ/วัชรา สังข์สุวรรณ และ กิฟท์ สุภานันท์ต่อไปนี้จะเป็นรายชื่อตอนในละครชุด ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม พร้อมข้อมูลวันออกอากาศเมื่อครั้งที่ฉายในสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ชื่อตอนที่มีการพิมพ์ตัวหนาคือตอนที่ได้รับการออกอากาศซ้ำในช่อง ไทยรัฐทีวี ด้วย)",
"title": "ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม"
}
] |
1130 | ภาคใต้ของประเทศไทยประกอบไปด้วยกี่จังหวัด ? | [
{
"docid": "17498#5",
"text": "ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสภา ดังนี้\nนอกจากนี้ ยังมีการแบ่งเป็นภูมิภาคย่อย ได้แก่ การแบ่งตามยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง และการแบ่งตามอุตุนิยมวิทยา แบ่งเป็น ภาคใต้ตะวันออก หรือภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคใต้ตะวันตก หรือภาคใต้ฝั่งอันดามันบริเวณภาคใต้ตอนบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักร 3 อาณาจักร ได้แก่",
"title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)"
}
] | [
{
"docid": "17500#6",
"text": "การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 21 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด) โดยมีพื้นที่ทางเหนือไปจนสุดเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก และทางใต้ลงไปสุดที่อ่าวไทย ยกเว้นจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขา และยกเว้นจังหวัดทางภาคตะวันออก จังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งที่เป็นทางการ ประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 21 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดังตารางข้างล่างนี้",
"title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17498#0",
"text": "ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุงพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร",
"title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17494#2",
"text": "ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17498#3",
"text": "ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ ยอดเขาหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง (จังหวัดนครศรีธรรมราช)",
"title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17633#0",
"text": "ภาคตะวันตก เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยในระบบการแบ่งแบบ 6 ภูมิภาคตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และเป็นภูมิภาคย่อยของภาคกลางของระบบการแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค (ซึ่งรวมภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคกลางทางทิศตะวันออก และติดต่อกับภาคใต้ทางทิศใต้ ภาคตะวันตกประกอบไปด้วยจังหวัดเพียง 5 จังหวัด แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ในภาคตะวันตก แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก",
"title": "ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17498#2",
"text": "ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน",
"title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17604#3",
"text": "การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสภา โดยภาคตะวันออกของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 7 จังหวัด ดังตารางข้างล่าง นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคตะวันออกมีทั้งหมด 9 จังหวัด ประกอบด้วย 7 จังหวัดข้างต้น รวมกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดสมุทรปราการ",
"title": "ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17500#1",
"text": "ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ",
"title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "652076#0",
"text": "ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (; ) เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม ประกอบด้วย 1 เขตเทศบาลคือนครโฮจิมินห์ และอีก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดด่งนาย, จังหวัดบิ่ญเซือง, จังหวัดบิ่ญเฟื้อก, จังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า และจังหวัดเต็ยนิญ อีกสองจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศคือ จังหวัดบิ่ญถ่วนและจังหวัดนิญถ่วน บางครั้งจะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในเวียดนาม ในปี ค.ศ. 2006 ภูมิภาคนี้ทำรายได้เข้าสู่รัฐประมาณ 148,000 ล้านด่ง (9,250,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ) จากรายได้ทั้งหมด 251,000 ล้านด่ง นอกจากนี้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นชุมชนเมืองสูงที่สุดในประเทศ โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเขตเมือง (ในขณะที่อัตราส่วนประชากรในเขตเมืองทั้งประเทศคิดเป็นเพียงร้อยละ 25)",
"title": "ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (เวียดนาม)"
}
] |
1142 | พระเยซูเป็นบุตรของใคร? | [
{
"docid": "212713#7",
"text": "โดยพระเยซูเคยตรัสว่า \"ไม่มีใครรู้จักพระบุตรนอกจากพระบิดา และไม่มีใครรู้จักพระบิดานอกจากพระบุตรและผู้ที่พระบุตรประสงค์จะสำแดงให้รู้\" ซึ่งในพันธสัญญาใหม่เรียกพระเจ้าว่า \"พระบิดา\" 245 ครั้ง และในบทข้าพเจ้าเชื่อซึ่งเป็นบทอธิษฐานที่สำคัญมากบทหนึ่งของคริสต์ศาสนิกชน ส่วนหนึ่งว่า \"ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า ทรงบังเกิดจากพระบิดาก่อนกาลเวลา\" แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระบุตรไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใดเหตการณ์หนึ่งและไม่ได้อยู่ภายใต้กาลเวลา",
"title": "พระเจ้าพระบิดา"
},
{
"docid": "502017#6",
"text": "ศาสนาคริสต์ฝ่ายอตรีเอกภาพนิยม เช่น พยานพระยะโฮวา ถือว่าพระเยซูไม่ใช่พระเจ้าในพระตรีเอกภาพ พระเจ้ามีเพียงบุคคลเดียวคือพระยาห์เวห์ผู้เป็นพระบิดา ส่วนพระเยซูเป็นพระบุตรพระองค์เดียวของพระเจ้า ซึ่งทรงสร้างขึ้นก่อนสิ่งใด ๆ และมอบอำนาจให้พระเยซูสร้างสรรพสิ่งต่อมา พระเยซูก่อนลงมาเกิดคืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล เป็นมหาปุโรหิตสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ เป็นพระผู้ไถ่บาปให้มนุษย์",
"title": "พระเจ้าพระบุตร"
},
{
"docid": "502017#4",
"text": "ในพระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึงพระเยซูว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า อ้างจากเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นเสร็จก็มีพระวจนะดังลงมาจากฟ้าว่า “\"ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก\"”และยังยืนยันว่าพระบุตรดำรงสถานะร่วมกับพระบิดาดังข้อความว่า \"\"ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์\"\"",
"title": "พระเจ้าพระบุตร"
},
{
"docid": "149428#1",
"text": "คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล",
"title": "การประสูติของพระเยซู"
}
] | [
{
"docid": "149460#5",
"text": "ยากอบผู้ชอบธรรม (น้องชายของพระเยซู) เป็นประมุขของพระวิหารในเยรูซาเลมเป็นเวลา 30 ปึก่อนที่จะถูกฆ่าเมื่อปี ค.ศ. 62 การที่สันนิษฐานว่านักบุญยากอบ บุตรอัลเฟอัสเป็นน้องชายของพระเยซูสนับสนุนโดยนักบุญเจอโรมจึงเป็นที่ยอมรับกันในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในขณะที่ฝ่ายออร์ทอดอกซ์และโปรเตสแตนต์ จะแยกระหว่าง “นักบุญยากอบ บุตรอัลเฟอัส” และ “นักบุญยากอบ น้องชายของพระเยซู”",
"title": "ยากอบ บุตรอัลเฟอัส"
},
{
"docid": "1010#10",
"text": "ในการทรงพระราชกิจของพระเยซูนั้น พระองค์ได้ทรงเรียกบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเป็นสาวก เพื่อสั่งสอนและมีส่วนช่วยพระองค์อีก 12 คน ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าอัครทูต ได้แก่ ซีโมนเปโตร อันดรูว์ (น้องชายของซีโมน) ยากอบ บุตรเศเบดี ยอห์น (น้องชายของยากอบ) ฟีลิป บารโธโลมิว โธมัส มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร ยากอบ บุตรอัลเฟอัส เลบเบอัส (ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัดเดอัส) ซีโมนเศโลเท และยูดาส อิสคาริโอท (ผู้ที่อายัดพระเยซู)",
"title": "พระเยซู"
},
{
"docid": "473893#2",
"text": "ในพันธสัญญาใหม่ระบุถึงการเรียกพระเยซูว่า \"พระบุตรของพระเจ้า\" อยู่หลายครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า นับตั้งแต่การเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์จนถึงการถูกตรึงที่กางเขน เช่น เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาเสร็จก็มีพระวจนะของพระเจ้าดังมาจากฟ้าว่า \"ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา\" สาวกของพระเยซูก็เรียกพระเยซูว่าพระบุตรของพระเจ้า",
"title": "พระบุตรพระเป็นเจ้า"
},
{
"docid": "473893#0",
"text": "ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนส่วนมากซึ่งถือแนวคิดแบบตรีเอกภาพนิยมถือว่า พระบุตรพระเป็นเจ้า หรือ พระบุตรของพระเจ้า () หมายถึงพระเยซู โดยมีพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระบิดา โดยนัยนี้ พระเยซูมีสถานะเป็นพระเจ้าพระบุตรด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนกลุ่มอตรีเอกภาพนิยม (เช่น พยานพระยะโฮวา) แม้จะถือว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเป็นเจ้าเช่นกัน แต่ไม่ยอมรับว่าเป็นพระเจ้าพระบุตร",
"title": "พระบุตรพระเป็นเจ้า"
},
{
"docid": "1010#0",
"text": "พระเยซู () หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์",
"title": "พระเยซู"
},
{
"docid": "143547#5",
"text": "“เลวี” ที่กล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิว เป็นผู้เก็บภาษีที่พระเยซูเรียกว่า “บุตรของอัลเฟียส” (Son of Alphaeus) การที่พระเยซูเรียกตัว “เลวี” ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับพวกฟาริสี เพราะไปคลุกคลีกับคนเก็บภาษีและคนบาป อีกข้อหนึ่งที่อาจจะเป็นได้คือยากอบ บุตรเศเบดี ซึ่งชื่อเดิมว่า “เลวี” และยากอบ บุตรอัลเฟอัส อาจจะถูกเรียกตัวไปเป็นสาวกพร้อมกับลูกา",
"title": "มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร"
}
] |
1145 | แรนแดล คีธ ออร์ตัน เริ่มเล่นมวยปล้ำครั้งแรกเมื่อใด? | [
{
"docid": "236659#4",
"text": "ออร์ตันเปิดตัวในวงการมวยปล้ำครั้งแรกในปี 2000 กับ Mid-Missouri Wrestling Association-Southern Illinois Conference Wrestling (MMWA-SICW) ที่เซนต์หลุยส์, หน่อของประวัติศาสตร์ St. Louis Wrestling Club นำโดย แซม มัชนิก ที่นั่นเขาได้รับการฝึกฝนโดยทั้งสองสมาคมและพ่อของเขา \"คาวบอย\" บ๊อบ ออร์ตัน เขาปล้ำอยู่หนึ่งเดือนร่วมกับนักมวยปล้ำเช่น Ace Strange และ Mark Bland ออร์ตันยังเป็นกรรมการการแข่งขันไม่กี่ครั้งกับ World Organized Wrestling ค่ายที่ลุงของเขา แบร์รี ออร์ตัน ทำงานอยู่ ในปี 2001 ออร์ตันได้เซ็นสัญญากับเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์(WWE) และได้ฝึกมวยปล้ำสมาคมโอไฮโอแวลลีย์เรสต์ลิง คว้าแชมป์ฮาร์ดคอร์ OVW 2 สมัย",
"title": "แรนดี ออร์ตัน"
}
] | [
{
"docid": "174473#6",
"text": "จากนั้นต่อมา บาทิสตาได้กลายมาเป็นคู่ปรับกับนักมวยปล้ำหนุ่มผู้กวาดล้างนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานนามว่าแรนดี ออร์ตัน ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเก่าของบาทิสตาในกลุ่มเอฟโวลูชั่น เนื่องจากมีความแค้นส่วนตัวที่ออร์ตันถูกหักหลังและโดนไล่ออกจากกลุ่มนั่นเอง ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) คู่นี้ได้ปะทะกันในรูปแบบแทคทีม 5 คน ในชื่อ อิลิมิเนชั่นแทกแมตช์ ซึ่งใครแพ้ต้องถูกคัดออก ผลปรากฏว่าบาทิสตาเป็นฝ่ายแพ้ให้กับออร์ตัน โดยมีโคดี โรดส์ ลูกน้องของออร์ตัน คอยช่วยอยู่ในฐานะสมาชิกแทคทีมของเขา จนกระทั่งในศึกส่งท้ายปีอย่าง อาร์มาเกดดอน (2008) คู่นี้ก็ได้เจอกันอีกครั้ง คราวนี้ บาทิสตาได้เอาคืนออร์ตัน โดยการเอาชนะล้างตาไปได้ แต่ในรอว์ ออร์ตันก็ได้เล่นงานบาทิสตาสารพัดและจบด้วยการเตะศีรษะบาทิสตาจนต้องพักการปล้ำไปนานถึง 4 เดือน",
"title": "เดฟ บอทิสตา"
},
{
"docid": "236659#0",
"text": "แรนแดล คีธ \"แรนดี\" ออร์ตัน (Randal Keith \"Randy\" Orton; เกิด 1 เมษายน ค.ศ. 1980) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงชาวอเมริกัน ปัจจุบันเซ็นสัญญาปล้ำกับWWEในนามที่รู้จักกันดี แรนดี ออร์ตัน (Randy Orton) เจ้าของท่าไม้ตายชื่อดังอย่าง RKO เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่3 ต่อจากปู่ บ๊อบ ออร์ตัน ซีเนียร์ และพ่อ บ๊อบ ออร์ตัน จูเนียร์ ซึ่ง 2 รุ่นก่อนหน้าก็ประสบความสำเร็จมามากมาย",
"title": "แรนดี ออร์ตัน"
},
{
"docid": "352932#1",
"text": "แดเนียลสันเริ่มสัมผัสกับมวยปล้ำเป็นครั้งแรกในการแข่งขันมวยปล้ำที่สนามหลังบ้านที่มีชื่อว่า แบ็คยาร์ดแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (BCW) โดยได้ใช้ชื่อว่า \"เดอะ แด็กเกอร์\" แล้วแดเนียลสันก็ชนะได้ตำแหน่งแชมป์เฮฟวี่เวท หลังจากที่แดเนียลสันจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพและมีความพยายามที่จะเริ่มต้นในการฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนมวยปล้ำของดีน มาเลนโก แต่ฝึกได้ไม่นานนักโรงเรียนก็ต้องปิดตัวลง แต่เขาก็ได้รับการฝึกอบรมแทนจากชอว์น ไมเคิลส์ ที่เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี แดเนียลสันเปิดตัวครั้งแรกด้วยการสนับสนุนชอว์น ที่เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี (TWA) ในวันที่ 21 มีนาคม 2000 เป็นครั้งแรกที่แดเนียลสันได้แชมป์มวยปล้ำอาชีพของเขา โดยจับคู่กับสปางกี แล้วเอาชนะแชมป์แทคทีม TWA อย่าง เจโรมี เซจ และรูเบน ครัซ ไปได้ หลังจากนั้นแดเนียลสันก็เริ่มทีจะทัวร์ปล้ำไปรอบประเทศ แล้วไม่นานนักแดเนียลสันก็ได้เซ็นสัญญากับสมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชั่น (WWF) หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากัน WWF ก็ได้ส่งตัวเขาไปพัฒนาและปรับแต่งทักษะก่อนที่เมมฟิสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (MCW) ค่ายลูกของ WWF ในตอนนั้น ก่อนทีจะเริ่มเปิดตัวในรายการโทรทัศน์ของ WWF ในตอนนั้นเองที่แดเนียลสัน ได้รับการฝึกฝนจากวิลเลียม รีกัลแล้ว แดเนียลสันก็ได้ใช้ชื่อที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ \"อเมริกัน ดรากอน\"",
"title": "แดเนียล ไบรอัน"
},
{
"docid": "219516#2",
"text": "ชีวิตมวยปล้ำในตอนเริ่มแรกชอว์นได้รับการฝึกฝนกับสุดยอดนักมวยปล้ำเม็กซิโกชื่อดังอย่าง โฮเซ โลทารีโอ และไม่นานก็ขึ้นปล้ำในชื่อ “ชอว์น ไมเคิลส์” โดยการขึ้นปล้ำครั้งแรกในสังกัดของ มิด-เซาท์ เรสต์ลิง และ เทกซัส ออล-สตาร์ เรสต์ลิง ในปี 1984 ในตอนนั้นอายุเขาเพียง 19 ปีเท่านั้น พอเข้าไปอยู่ไม่นานก็ได้เข้าไปแทนที่ นิก กินิสกี ในนาม สายพันธุ์แทคทีมอเมริกัน ร่วมกับ พอล ไดมอนด์ จนได้แชมป์แทคทีม ของสมาคม จาก ชาโว เกอร์เรโร ซีเนียร์ จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อทีมมาเป็น กองทัพอเมริกัน ต่อมาเขาก็ได้ย้ายไปที่ เซนทรัลสเตสเรสต์ลิง ในฐานะคู่แท็กทีมของ มาร์ตี เจนเนตตี ไม่นานก็ได้แชมป์ของสมาคมมาครองอีกเส้น ก่อนจะเสียแชมป์คืนกลับไปให้กับเจ้าของเดิมอย่าง เดอะแบทเทนทวินส์ หลังจากเสียแชมป์เขาก็ไปปรากฏตัวที่ ดัลลัส, รัฐเทกซัส กับสมาคม เวิลด์คลาสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง ในปี 1985",
"title": "ชอว์น ไมเคิลส์"
},
{
"docid": "236659#6",
"text": "ออร์ตันได้กลับมาเป็นฝ่ายอธรรมอีกครั้งในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ออร์ตันได้ปะทะกับสุดยอดนักมวยปล้ำระดับตำนาน และเจ้าของสถิติไม่แพ้ใครในเรสเซิลเมเนีย อย่าง ดิอันเดอร์เทเกอร์ แต่ออร์ตันก็ไม่สามารถทำลายสถิติไม่แพ้ใครในเรสเซิลเมเนียของอันเดอร์เทเกอร์ลงได้ จากนั้นออร์ตันก็ลอบทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ตลอดเวลา และท้าเจอกันในอาร์มาเกดดอน 2005 ในแมตช์เฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์ แต่สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายแพ้ แต่ออร์ตันก็ยังคงโชว์ฝีมือได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการไล่ล่าตำนานคนต่อๆไปอย่าง ฮอง โฮแกน, ร็อดดี ไพเพอร์ และอาจารย์เก่าอย่าง ริก แฟลร์ ซึ่งออร์ตันก็สามารถเล่นงานได้หมดทุกคน และในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ออร์ตันได้ปะทะกับเคิร์ต แองเกิล และเรย์ มิสเตริโอ 3 เส้า ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท สุดท้ายเรย์จัดการออร์ตันด้วยท่า 619 คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไป ในปลายปี 2006 ออร์ตันได้มีโอกาสจับคู่กับเอดจ์ ในนามเรท-อาร์เคโอ เปิดศึกกับดี-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิลเอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์) ซึ่งผลัดแพ้ผลัดชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ทริปเปิลเอชเจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน นอกจากนี้ออร์ตันก็สามารถคว้าแชมป์โลกแท็กทีมคู่กับเอดจ์ จากการเอาชนะนักมวยปล้ำระดับตำนานอย่าง ริก แฟลร์ และร็อดดี ไพเพอร์ อีกด้วย แต่ก็เสียแชมป์ให้กับจอห์น ซีนาและชอว์น หลังจากนั้นก็แตกทีมกัน",
"title": "แรนดี ออร์ตัน"
},
{
"docid": "236659#10",
"text": "ออร์ตันได้เปิดศึกกับเวด บาร์เร็ตต์ ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011)ออร์ตันได้เป็นกัปตันทีมแมตช์ประเพณี 5 ต่อ 5 คัดออก แพ้ให้ทีมบาร์เร็ตต์ ในศึก ออร์ตันได้เอาชนะบาร์เร็ตต์ไปได้ในรูปแบบจับฟาดใส่โต๊ะ โดยออร์ตันใส่ท่า RKO เล่นงานบาร์เร็ตต์กับโต๊ะ ในสแมคดาวน์ส่งท้ายปี 2011 ออร์ตันได้เจอกับบาร์เร็ตต์แบบจับกดที่ไหนก็ได้ สุดท้ายออร์ตันถูกบาร์เร็ตต์เหวี่ยงตกบันได ในสแมคดาวน์ 27 มกราคม ออร์ตันได้กลับมาเล่นงานบาร์เร็ตต์ จนกรรมการและนักมวยปล้ำคนอื่นๆ ต้องออกมาช่วยห้ามแต่เหล่านักมวยปล้ำที่เข้ามาห้ามนั้นก็โดน RKO จนหมด ในสแมคดาวน์ 3 กุมภาพันธ์ เอาชนะบาร์เร็ตต์ไปแบบไม่มีการจับแพ้ฟาล์วล้างแค้นได้สำเร็จ ออร์ตันได้ร่วมปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012)ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่ออร์ตันได้รับบาดเจ็บจนมีอาการกระทบกระเทือนทางสมองจากการถูกแดเนียล ไบรอันทำร้าย ทำให้หมดสิทธิ์",
"title": "แรนดี ออร์ตัน"
},
{
"docid": "47201#4",
"text": "เขาทรายเริ่มหัดชกมวยไทยครั้งแรกกับ ครูปราการ วรศิริ ขณะมีอายุได้ 14 ปี ด้วยน้ำหนักตัว 40 ปอนด์ ขึ้นชกมวยไทยอาชีพครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ใช้ชื่อว่า \"ดาวเด่น เมืองศรีเทพ\" โดยมี ครูมานะ พรหมประสิทธิ์ เป็นเทรนเนอร์ ตระเวนชกในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีปัญหาในการชกมวยไทยเนื่องจากเสียเปรียบความสูง ทำให้ต้องลดน้ำหนักมากเพื่อชกกับมวยรุ่นเล็กกว่า เป็นสาเหตุให้หลายครั้งหมดแรงไม่สามารถชกมวยไทยได้ดีเท่าที่ควร",
"title": "เขาทราย แกแล็คซี่"
},
{
"docid": "236659#5",
"text": "ออร์ตันได้มีโอกาสมาอยู่ WWF/E และเปิดตัวครั้งแรกในสแมคดาวน์ วันที่ 25 เมษายน 2002 โดยการเจอกับฮาร์ดคอร์ ฮอลลี ซึ่งก็ได้การตอบรับจากคนดูได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ต่อมาในเดือนกันยายน ออร์ตันได้ถูกย้ายมาที่รอว์ และได้เอาชนะสตีเวน รีชาร์ด เป็นการเปิดตัวของเขาครั้งแรกในรอว์ นอกจากนี้ออร์ตันยังได้ร่วมกลุ่มกับเอฟโวลูชั่น ซึ่งมีทริปเปิลเอช, ริก แฟลร์ และบาทิสตา อยู่ด้วย หลังจากนั้นออร์ตันก็โด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล โดยการเอาชนะร็อบ แวน แดมได้ในอาร์มาเกดดอน 2003 และยังได้ปราบนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานหลายคน อาทิ เช่น ฮาร์ลีย์ เรซ, ชอว์น ไมเคิลส์, มิค โฟลีย์, จ่าสลอจเตอร์ และอีกมากมาย ในซัมเมอร์สแลม 2004 ออร์ตันได้เอาชนะคริส เบนวา และเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทที่อายุน้อยที่สุด ซึ่งชัยชนะครั้งนี้ของออร์ตัน ทำให้ทริปเปิลเอช หัวหน้ากลุ่มเอฟโวลูชั่น เกิดความอิจฉา เพราะตนก็กำลังพยายามไล่ล่าเข็มขัดแชมป์เส้นนี้กลับมาหลังจากที่เสียไปให้เบนวาในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ออร์ตันจึงถูกหักหลังและต้องออกจากกลุ่มเอฟโวลูชั่น ทำให้กลายเป็นฝ่ายธรรมะ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ในอันฟอร์กิฟเว่น 2004 ทริปเปิลเอชก็กระชากแชมป์จากออร์ตันไปได้",
"title": "แรนดี ออร์ตัน"
},
{
"docid": "365389#3",
"text": "เบนเน็ตต์ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพเมื่ออายุ 21 และได้รับการฝึกฝนโดยจอนริตชีและอัล สโนว์ เขาเปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2004 โดยใช้ชื่อ สตู แซนเดอส์ เขาได้ขึ้นปล้ำในแบทเทิลรอยัล 30 คนที่จัดขึ้นโดย NWA UK Hammerlock Wrestling เขายังเคยปล้ำสมาคม Dropkixx Wrestling, Real Quality Wrestling และ All Star Wrestling เช่นเดียวกับการต่อสู้ในเวลส์ Welsh Wrestling ในเดือนมิถุนายนปี 2005 เขาชนะDanny Beckwith ในการชิงแชมป์ Dropkixx IWC Heavyweight Championship ในปี 2005 เขาเปิดศึกกับ Nick Aldis และ Danny Dexter ใน Dropkixx Wrestling",
"title": "เวด บาร์เร็ตต์"
}
] |
1149 | ลอสแอนเจลิส เป็นเมืองในประเทศอะไร ? | [
{
"docid": "16323#0",
"text": "ลอสแอนเจลิส () หรือที่รู้จักในชื่อ แอลเอ (L.A.) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการบันเทิง ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเริ่มตั้งเป็นเมืองเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ในขณะที่มีประชากร 1,610 คน ในปี พ.ศ. 2543 ตามสำมะโนประชากรลอสแอนเจลิส มีประชากรประมาณ 4 ล้านคนในเขตตัวเมือง และเขตรอบนอกประมาณ 17.5 ล้านคน ลอสแอนเจลิสได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการปะปนของวัฒนธรรมมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เนื่องจากการอพยพของคนหลายเชื่อชาติโดยเฉพาะชาวเอเชีย และอเมริกาใต้ เนื่องจากลักษณะของอากาศที่อบอุ่นสบาย และลักษณะการเป็นอยู่ต่างๆ \nชื่อเมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles) มาจากคำว่า \"โลสอังเคเลส\" () ในภาษาสเปน หมายถึง ทูตสวรรค์หลายองค์ เป็นรูปพหูพจน์ของคำว่า el ángel ซึ่งเป็นเพศชาย ชื่อเมืองจึงมีความหมายว่า \"เมืองแห่งทูตสวรรค์\" \nลอสแอนเจลิสได้เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นที่ตั้งของฮอลลีวูด และปลายทางของถนนสายประวัติศาสตร์ ทางหลวงสหรัฐหมายเลข 66 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย (USC) \nทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในเมือง ได้แก่ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส คลิปเปอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส สปาร์ค (บาสเกตบอลหญิง) ลอสแอนเจลิส ดอดจ์เจอร์ส (เบสบอล) ลอสแอนเจลิส คิงส์ (ฮอกกี้น้ำแข็ง) ลอสแอนเจลิส กาแลกซี (ฟุตบอล) ซี.ดี. ชีวาส ยูเอสเอ (ฟุตบอล) นอกจากนี้ในเมืองลอสแอนเจลิส ได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ในอดีตมีทีมอเมริกันฟุตบอลในชื่อ \"ลอสแอนเจลิส เรดเดอร์ส\" ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปไปประจำเมืองโอคแลนด์ และเปลี่ยนชื่อเป็นโอคแลนด์ เรดเดอรส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538",
"title": "ลอสแอนเจลิส"
},
{
"docid": "939848#0",
"text": "เทศมณฑลลอสแอนเจลิส หรือชื่อทางการว่า เคาน์ตีออฟลอสแอนเจลิส, เป็นเทศมณฑลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ซึ่งมีมากถึง 10 ล้านกว่าคน จากการสำมโนในปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเมื่อเทียบประชากรกับรัฐในสหรัฐจะได้ถึง 41 รัฐ ยังเป็นเมืองนครบาลที่เศรษฐกิจดีที่สุดเป็นอันดับที่ 3 โดยมีค่าจีดีพีถึง 7 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ ใหญ่กว่าเมืองเบลเยียม, ซาอุดีอาระเบีย, นอร์เวย์, ไต้หวัน มีเมืองในเทศมณฑลถึง 88 เมือง และยังมีพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกขึ้นโดยเทศมณฑลอีกมากมาย มีถึง เมืองนี้มีขนาดใหญ่กว่ารัฐเดลาแวร์และรัฐโรดไอแลนด์ในสหรัฐ เทศมณฑลนี้ยังมีที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในสี่ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และยังเป็นเทศมณฑลที่มีหลายเชื้อชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐ",
"title": "เทศมณฑลลอสแอนเจลิส"
},
{
"docid": "206959#0",
"text": "เบเวอร์ลี ฮิลส์ () เป็นเมืองทางด้านตะวันตกของเขตการปกครองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เบเวอร์ลี ฮิลส์และเมืองเพื่อนบ้านของเวสต์ฮอลลีวูดที่รอบล้อมโดยเมืองของลอสแอนเจลิส พื้นที่ที่เรียกว่า \"Platinum Triangle\" (สามเหลี่ยมทองคำขาว) ในเขตพื้นที่คนมีฐานะได้รวมกันในเบเวอร์ลี ฮิลส์ และในเขตลอสแอนเจลิสอย่าง เบล-แอร์ และ โฮล์มบี ฮิลส์ มีประชากร 34,980 คนจากการสำรวจประชากรในปี 2006",
"title": "เบเวอร์ลีฮิลส์"
},
{
"docid": "963754#0",
"text": "ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์ () เป็นทีมกีฬาอีสปอร์ตโอเวอร์วอตช์สัญชาติอเมริกัน มีฐานอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทีมแกลดิเอเตอส์เข้าร่วมการแข่งขันในการแข่งขันโอเวอร์วอตช์ลีก (OWL) ในฐานะสมาชิกของลีกดิวิชั่นแปซิฟิก โดยเป็นหนึ่งในสิบสองทีมสมาชิกก่อตั้งโอเวอร์วอตช์ลีก",
"title": "ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์"
},
{
"docid": "276961#0",
"text": "แซนตามอนิกา () เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของลอสแอนเจลิสเคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ติดกับอ่าวแซนตามอนิกา มีเมืองล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ ลอสแอนเจลิส - แปซิฟิกพาลิเสดส์ทางทิศตะวันออกตกเฉียงเหนือ เมืองเบรนท์วูด ทางทิศเหนือ เวสต์ลอสแอนเจลิสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาร์วิสตาทางทิศตะวันออก และเวนิสติดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และมีทะเลล้อมรอบ 1 ด้าน คือมหาสมุทรแปซิฟิกติดทางทิศตะวันตก",
"title": "แซนตามอนิกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)"
},
{
"docid": "963772#0",
"text": "ลอสแอนเจลิส แวเรียนต์ () หรือเขียนแบบทันสมัยว่า VΛLIΛNT เป็นทีมกีฬาอีสปอร์ตโอเวอร์วอตช์สัญชาติอเมริกัน มีฐานอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทีมแกลดิเอเตอส์เข้าร่วมการแข่งขันในการแข่งขันโอเวอร์วอตช์ลีก (OWL) ในฐานะสมาชิกของลีกดิวิชั่นแปซิฟิก โดยเป็นหนึ่งในสิบสองทีมสมาชิกก่อตั้งโอเวอร์วอตช์ลีก",
"title": "ลอสแอนเจลิส แวเรียนต์"
}
] | [
{
"docid": "195151#5",
"text": "ลอสแองเจิลลิสมีพลเมืองไทยที่ใหญ่ที่สุดนอกประเทศไทย ราวๆ 80,000 คน ของชาวอเมริกันเชื้อสายไทยประมาณ 120,000 คนในรัฐแคลิฟอร์เนีย อาศัยอยู่ในลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทยทาวน์แห่งแรกของโลก ใน พ.ศ. 2545 มีผู้อพยพชาวไทยประมาณ 80,000 คน อาศัยในลอสแอนเจลิส ไทยเชื้อสายจีน ยังถูกรวมในประชากรไทยด้วย บางครั้งลอสแอนเจลิสถูกอ้างเป็นจังหวัดที่ 78 ของประเทศไทย รวมถึงชื่อเมืองลอสแอนเจลิสยังพ้องความหมายกับชื่อเมืองหลวงของไทย (กรุงเทพมหานคร หมายถึง เมืองของนางฟ้า)",
"title": "ไทยทาวน์ (ลอสแอนเจลิส)"
},
{
"docid": "409779#0",
"text": "สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส และ สวนพฤกษศาสตร์ มีเนื้อที่ 113 เอเคอร์ สวนสัตว์แห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1966 และ ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ดินและสิ่งอำนวยความสะดวกและสัตว์ การดูแลสัตว์ การบำรุงรักษาพื้นที่ก่อสร้าง การศึกษา ข้อมูลสาธารณะและคณะผู้บริหารเป็นพนักงานเมือง",
"title": "สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส"
},
{
"docid": "670176#0",
"text": "หอดูดาวกริฟฟิท () เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บนแนวเฉียงของภูเขาด้านทิศใต้ของภูเขาฮอลลีวูด ในสวนสาธารณะกริฟฟิท ของเมืองลอสแอนเจลิส สถานที่แห่งนี้เป็นทิศทัศน์แห่งลุ่มน้ำลอสแอนเจลิส คือสามารถมองเห็นตัวเมืองได้รอบด้าน ได้แก่ ดาวน์ทาวน์ลอสแอนเจลิส ในทิศตะวันออกเฉียงใต้, ฮอลลีวูด ในทิศใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ หอดูดาวนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ภายในหอดูดาวมีการจัดแสดงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และอวกาศ ตั้งแต่หอดูดาวนี้เปิดในปี ค.ศ. 1935 สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นไปตามที่ กริฟฟิท ทรัสต์ ประสงค์ไว้",
"title": "หอดูดาวกริฟฟิท"
},
{
"docid": "18308#0",
"text": "ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส เป็นทีมบาสเกตบอลในลีกเอ็นบีเอ ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตามสถิติเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2004-05 เป็นทีมที่ชนะมากที่สุด (คือ 2,621 เกม) มีเปอร์เซนต์ชนะสูงสุด (61.9%) เล่นในรอบชิงชนะเลิศมากที่สุด (30 ครั้ง) และชนะเลิศในลึกมากเป็นอันดับสอง คือ 16 ครั้ง เป็นรองเพียงทีมบอสตัน เซลติกส์ ซึ่งชนะ 17 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีสถิติชนะติดต่อกันมากที่สุดในฤดูกาลคือ 33 เกม",
"title": "ลอสแอนเจลิสเลเกอส์"
}
] |
1150 | เกมส์เรซิเดนต์อีวิล วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "85159#0",
"text": "เรสซิเดนต์อีวิล () หรือในญี่ปุ่นชื่อ ไบโอ ฮาซาร์ด () เป็นวิดีโอเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตรอด พัฒนาและจำหน่ายโดยแคปคอมสำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน ในปี ค.ศ. 1996 และเป็นเกมแรกในเกมชุด\"เรซิเดนต์อีวิล\" เนื้อเรื่องของเกมเล่าถึงคริส เรดฟิลด์ และจิล วาเลนไทน์ สมาชิกหน่วย S.T.A.R.S. ขณะพวกเขากำลังสอบสวนชานเมืองแร็กคูนซิตี หลังสมาชิกในทีมหลายคนหายตัวไป พวกเขาติดอยู่ในคฤหาสน์แห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยซอมบีและสัตว์ประหลาดตัวอื่น ๆ ตอนเริ่มเกม ผู้เล่นเลือกได้ว่าจะเล่นเป็นคริสหรือจิล และต้องสำรวจคฤหาสน์เพื่อไขความลับต่าง ๆ",
"title": "เรซิเดนต์อีวิล (วิดีโอเกม ค.ศ. 1996)"
}
] | [
{
"docid": "85159#2",
"text": "\"เรสซิเดนต์อีวิล\" ได้รับการตอบรับที่ดีมากทั้งคำวิจารณ์และยอดขาย และเป็นเกมที่กำหนดแนวเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอด ความสำเร็จนำไปสู่แฟรนไชส์สื่อ ประกอบด้วยวิดีโอเกม ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน นวนิยาย และสินค้าอื่น ๆ เกมถูกทำลงเครื่องเซกา แซเทิร์น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และนินเทนโด ดีเอส ในปี ค.ศ. 2002 เกมรีเมกในชื่อเดียวกันออกจำหน่ายบนเครื่องเกมคิวบ์ แสดงให้เห็นกราฟิก เสียง ระบบเกมและเนื้อเรื่องที่ปรับปรุงใหม่ ต่อมาเกมเวอร์ชันเกมคิวบ์ถูกมาสเตอร์ระดับคุณภาพสูงอีกครั้ง ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2015 ในเครื่องเล่นใหม่ ภาคต่อโดยตรงของเกมในชื่อ \"เรซิเดนต์อีวิล 2\" จำหน่ายในปี ค.ศ. 1998 และภาคเล่าย้อนในชื่อ \"เรซิเดนต์อีวิล ซีโร่\" จำหน่ายในปี ค.ศ. 2002",
"title": "เรซิเดนต์อีวิล (วิดีโอเกม ค.ศ. 1996)"
},
{
"docid": "526820#15",
"text": "อย่างไรก็ตาม เกมที่ถือว่าเป็นเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดอย่างแท้จริงคือเกม \"สวีตโฮม\" สำหรับเครื่องแฟมิคอม ออกจำหน่ายปี ค.ศ. 1989 เนื่องจากมีอิทธิพลต่อเกม\"เรซิเดนต์อีวิล\"มากที่สุด เกมสร้างโดยโทะกุโระ ฟุจิวะระ ซึ่งต่อมาเป็นผู้สร้างเกม\"เรซิเดนต์อีวิล\" ระบบเกมของ\"สวีตโฮม\"เน้นที่การแก้ปริศนาหลายรูปแบบโดยใช้สิ่งของที่เก็บไว้ในคลังที่จำกัด ขณะกำลังต่อสู้หรือหนีจากสิ่งมีชีวิตน่ากลัว ซึ่งอาจทำให้ตัวละครคนใดคนหนึ่งตายถาวร เป็นการสร้างความตึงเครียดและเน้นการเอาชีวิตรอด เป็นครั้งแรกที่เกมพยายามสร้างเส้นเรื่องให้น่ากลัวและน่าตกใจ ส่วนใหญ่จะเล่าเรื่องราวผ่านอนุทินที่วางทิ้งไว้เป็นเวลาห้าสิบปีก่อนเหตุการณ์ในเกม เกมพัฒนาโดยแคปคอม เป็นแรงบันดาลใจหลักของเกม\"เรซิเดนต์อีวิล\"ที่ออกจำหน่ายในเวลาต่อมา ภาพสยดสยองในเกมทำให้เกมไม่ได้จำหน่ายในโลกตะวันตก แต่อิทธิพลของเกมสัมผัสได้จากเกม\"เรซิเดนต์อีวิล\" ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะทำเป็นเกมรีเมก บางคนถือว่า\"สวีตโฮม\"เป็นเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดเกมแรกอย่างแท้จริง",
"title": "สยองขวัญเอาชีวิตรอด"
},
{
"docid": "88866#0",
"text": "เรซิเดนต์อีวิล 2 () หรือชื่อญี่ปุ่น ไบโอฮาซาร์ด 2 เป็นวิดีโอเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอด เดิมวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน เมื่อปี ค.ศ. 1998 เกมพัฒนาโดยแคปคอมเป็นเกมที่สองในเกมชุด\"เรซิเดนต์อีวิล\" เหตุการณ์ในเกมเกิดขึ้นสองเดือนหลังเหตุการณ์ในเกมแรก\"เรซิเดนต์อีวิล\" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นที่แร็กคูนซิตี ชุมชนอเมริกันที่ประชาชนกลายเป็นซอมบีหลังเชื้อทีไวรัส อาวุธชีวภาพที่พัฒนาโดยบริษัทเภสัช อัมเบรลลา ในระหว่างหลบหนีออกจากเมือง ตัวเอกสองคนคือลีออน เอส. เคนเนดี และแคลร์ เรดฟิลด์ พบกับผู้รอดชีวิตคนอื่น ๆ และเผชิญหน้ากับวิลเลียม เบอร์กิน ผู้สร้างอาวุธเชื้อโรคที่ร้ายแรงกว่าเดิม เรียกว่า จีไวรัส",
"title": "เรซิเดนต์อีวิล 2"
},
{
"docid": "117318#8",
"text": "วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2004 บนเครื่องเพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์และพีซี ภาคนี้ถูกวางสถานที่ไว้ในเมืองเพื่อนบ้านของไซเลนต์ฮิลล์ เกี่ยวกับชายที่ชื่อเฮนรี่ ทาวแซนด์ ซึ่งพบว่าห้องพักของเขาเองถูกปิดตายไว้ไม่ให้ออกไปไหนได้ หลังจากนั้นไม่นานก็มีโพรงประหลาดเกิดขึ้นในห้องน้ำ เมื่อเขาคลานเข้าไปในรูนั้นก็พบว่าตัวเองถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สยองในอดีตของฆาตกรต่อเนื่องนาม วอลเตอร์ ซุลลิแวน ในตอนแรก ผู้สร้างตั้งใจจะให้เกมภาคนี้แยกออกมาเป็นเอกเทศ แต่ก็ตัดสินใจบรรจุเข้าเป็นเกมภาคต่อของไซเลนต์ฮิลล์ ในภายหลัง ซึ่งสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนๆเกมซีรีส์นี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากตัวเกมมีลักษณะการเล่นที่แตกต่างจากเกมภาคก่อนๆ มากพอสมควร",
"title": "ไซเลนต์ฮิลล์"
},
{
"docid": "137542#9",
"text": "\"เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (The Legend of Zelda) \" ซึ่งเป็นภาคแรกของเกมชุดนี้ วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ในเครื่องแฟมิคอม ส่วนสหรัฐอเมริกาและยุโรปวางจำหน่ายในปีถัดไป ตลับเกมภาคนี้มีความสามารถในการบันทึกการดำเนินของเกมโดยใช้หน่วยความจำที่มีแบตเตอรี เกมนี้สามารถเล่นรอบสองได้โดยการเล่นให้จบผ่านรอบแรก แล้วดันเจี้ยนและไอเท็มต่างๆ ในรอบสองจะเปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิม รวมทั้งศัตรูก็เก่งขึ้นด้วย ในช่วง พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ระหว่างที่เครื่องแฟมิคอมลดความนิยมลง เกมภาคนี้ได้ถูกจัดทำใหม่อีกครั้ง เกมที่จัดทำใหม่เวอร์ชันหนึ่งรู้จักกันในชื่อ \"บีเอส เซลดา โนะ เด็นเซ็ทสึ (BS Zelda no Densetsu) \" โดยใช้ส่วนขยายของแซเทลลาวิว (Satellaview) ที่สามารถเล่นหรือชมภาพจากเกมผ่านดาวเทียม ในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 โดยประเทศญี่ปุ่น และหนึ่งปีให้หลัง \"บีเอส เซลดา (BS Zelda) \" ก็ออกมาอีกเกมหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแผนที่และดันเจี้ยนทั้งหมดในเกม",
"title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)"
},
{
"docid": "381482#18",
"text": "วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ตัวเกมเวอร์ชันเดโมถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทางไคลแม็กซ์สตูดิโอปฏิเสธว่าเป็นแหล่งของไฟล์ที่หลุดรอดออกมา ตัวเกมจริงออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป ส่วนประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นลำดับถัดมาในเดือนธันวาคม (ซึ่งในญี่ปุ่นวางจำหน่ายในชื่อ Silent Hill Zero) ในเดือนเดียวกันนั้น เว็บไซต์ Kotaku ได้รายงานข่าวเรื่องเกมนี้จะถูกพอร์ตลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพื่อเป็นการกระจายตัวเกมให้ถึงผู้เล่นส่วนมากมากขึ้น โดยจะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 เมื่อถึงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เว็บไซต์ แอมะซอน.คอม ก็เริ่มเปิดให้สั่งจองตัวเกมเวอร์ชันเครื่อง PS2 แม้ว่าทางโคนามิและไคลแม็กซ์จะยังไม่ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการในเวลาก็ตาม โดยโคนามิประกาศยืนยันเวอร์ชัน PS2 ในวันที่ 22 มกราคม 2008",
"title": "ไซเลนต์ฮิลล์: ออริจินส์"
},
{
"docid": "15780#1",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซีชุดแรกออกวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อพ.ศ. 2533 รวมทั้งวางขายภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น ทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เครื่องเล่นเกมที่มี ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่าย ได้แก่ แฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม ซูเปอร์นินเทนโด เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน เพลย์สเตชัน 2 เกมคอมพิวเตอร์ เกมบอยแอดวานซ์ พีเอสพี เกมคิวบ์ นินเทนโด ดีเอส เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ วัน เพลย์สเตชัน 4 และโทรศัพท์มือถือ\nในเดือนสิงหาคม 2560 เฟมในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมียอดขายรวมมากกว่า 135 ล้านชุดทั่วโลก นับเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ปัจจุบันมีเกมหลักออกวางจำหน่ายแล้ว 15 ภาค และมีเกมที่เกี่ยวข้องอีกมาก",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี"
},
{
"docid": "134324#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (\"เหล่าอัศวินแห่งสาธารณรัฐเก่า\", ) เป็นเกมสมมติบทบาทที่สร้างโดยบริษัท BioWare และจัดจำหน่ายโดยบริษัท LucasArts ถูกวางจำหน่ายบนเครื่อง Xbox ในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 และบนเครื่อง PC ระบบ Microsoft Windows ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2003 และบนเครื่อง Mac OS X ในเวลาต่อมา เกมนี้เป็นเกมแนวสมมติบทบาทเกมแรกของเกมชุด\"สตาร์ วอร์ส\" ภาคต่อของเกมนี้คือ \"\" ถูกสร้างโดยบริษัท Obsidian Entertainment เนื่องจากบริษัท BioWare ต้องการผลิตเกมที่เป็นสิทธิ์เต็มของตัวเอง",
"title": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (วิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "788725#0",
"text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เบรธออฟเดอะไวลด์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2017 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับวียู และ นินเท็นโดสวิตช์. วางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2017 ทั้งแพลตฟรอม นินเทนโดวียู และ นินเทนโดสวิตช์ ตัวเกมรองรับหลายภาษา และรองรับ ระบบ amiibo",
"title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา บรีทออฟเดอะไวลด์"
},
{
"docid": "57477#0",
"text": "เรสซิเดนต์อีวิล () หรือไบโอฮาซาร์ด ในประเทศญี่ปุ่น เป็นแฟรนไชส์สื่อของบริษัทวิดีโอเกม แคปคอม สร้างโดย ชินจิ มิกามิเป็นชุดวิดีโอเกมเอาชีวิตรอดสยองขวัญ (survival horror) โดยเริ่มต้นจาก \"Resident Evil\" ใน พ.ศ. 2539 นับตั้งแต่นั้น ชุดเกมได้ขยายสาขาออกไปรวมถึงเกมแอ็กชันด้วย และขายได้ 50 ล้านหน่วย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555",
"title": "เรซิเดนต์อีวิล"
}
] |
1154 | เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 จัดขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "703994#0",
"text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของเรสเซิลเมเนียเป็นครั้งที่ 32 จัดโดยดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) โดยมีกำหนดจัดวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2016 ที่สนามเอทีแอนด์ทีสเตเดียม ที่เมืองอาร์ลิงตัน, รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
}
] | [
{
"docid": "703994#3",
"text": "เป็นเรสเซิลเมเนียครั้งที่สามที่จะจัดขึ้นในรัฐเท็กซัสหลังจาก 2001 และ2009 และเป็นครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นในสนาม Dallas-Fort Worth Metroplex เพลงประกอบรายการมี \"My House\" โดย Flo Rida, \"Hello Friday\" โดย Flo Rida feat. Jason Derulo, \"Hail to the King\" โดย Avenged Sevenfold, \"Sympathy for the Devil\" โดย Motörhead และ \"Oh No\" โดย Goodbye June วันที่ 21 มีนาคม ได้ประกาศว่า ฟิฟท์ฮาร์โมนี จะมาร้องเพลง \"America the Beautiful\" ในช่วงเปิดรายการเรสเซิลเมเนีย ในเดือนธันวาคม 2015 WWE ได้ประกาศว่า เดอะร็อก จะมาร่วม เรสเซิลเมเนีย 32",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#8",
"text": "เรื่องราวสู่ เรสเซิลเมเนีย 32 ยังไม่ได้รับการตอบรับดีจากนักวิจารณ์ เจสันพาวเวลของโปรมวยปล้ำ Dot Net เสียใจที่ \"สร้างเพื่อเรสเซิลเมเนีย ได้รับระเบียบความคิดสร้างสรรค์\" และ WWE บัญชีรายชื่อที่ได้รับบาดเจ็บตีไม่ได้แก้ตัว \"บุ๊กกิ้งเลอะเทอะหรือเรื่องราวที่มีช่องว่างใหญ่และช่องว่างตรรกะ\" เจฟฟ์ แฮมลินแห่ง Wrestling Observer criticized \"มีโมเมนตัมสำหรับเรสเซิลเมเนีย ไม่เป็นที่ทั้งหมด กรณีที่ขายตัวเองหมดจดในชื่อแบรนด์ของตน\" เบนทักเกอร์ของโปรมวยปล้ำไฟฉายเขียน \"ไม่ได้ตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 ของ WWE ซูเปอร์โบว์ลมาร่วมกันในการดังกล่าวเป็นแฟชั่นที่แปลกประหลาดกับ WWE ทำให้บางส่วนของมากที่สุดในการตัดสินใจหัวเกาผมเคยเห็นในทุกเพศทุกวัย\" ไคล์ Fowle ของ A.V. Club ประกาศว่า WWE ของ \"เรือมุ่งตรงไปที่โขดหิน\" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง \"ศึกชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเป็นภัย\"",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "648438#0",
"text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของเรสเซิลเมเนีย จัดโดยดับเบิลยูดับเบิลยูอี (WWE) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2015 ที่สนามลีวายส์ สเตเดียม ที่เมืองซานตา คลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย (หลังจากครั้งที่ 2, VII, XII, 2000, และ 21) และเป็นครั้งที่ที่หกที่จัดขึ้นในสนามกลางแจ้ง (หลังจากครั้งที่ 9, 24, 26, 28 และ 29)",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31"
},
{
"docid": "703994#26",
"text": "เดฟเรอร์ของวงโปรมวยปล้ำความเห็นเกี่ยวกับการตอบสนองที่ WrestleMania 32 คือ \"ยิ่งใหญ่\" โต้ตอบว่า \"เว้นแต่คุณจะวางกรอบการทำงานในสถานที่สำหรับอนาคตที่คุณจะไปถึงจุดที่มากที่สุดของทรัพย์สินของคุณจะหายไปและคุณจะอยู่ใน สถานที่ที่เป็นหมัน. \" นี่คือการอ้างอิงว่า \"เสร็จสิ้นและการพัฒนาตัวละคร (หรือขาดมัน)\" ที่เกิดในดาวของคนรุ่นที่ผ่านมา (ออสติน, โฟลีย์, ไมเคิล,เจริโค, ร็อค) ที่ส่องแสงค่าใช้จ่ายของนักมวยปล้ำของคนรุ่นปัจจุบัน (Styles, เดอะนิวเดย์ , ลีกออฟเนชันและไวแอตต์แฟมมิลี่) เชียเรอร์ยังวิพากษ์วิจารณ์วินซ์แม็คมานสำหรับการละเว้น \"การประกาศชัดเจน\" จากแฟน ๆ กับโรแมนคว้าตำแหน่งแชมป์โลก",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#6",
"text": "เดฟ เมลเซอร์ของผู้สังเกตการณ์มวยปล้ำรายงานว่า เรสเซิลเมเนีย 32 ได้ทำลายสถิติของ WWE สำหรับตั๋วที่ขายมากที่สุดอย่างน้อย 84,000 ขายตั๋ว",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#4",
"text": "\"ฟอบส์\" ได้สันนิษฐานว่า เรสเซิลเมเนีย 32 สามารถทำลายสถิติผู้ชม 93,173 คนในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 ที่Pontiac Silverdome ในPontiac, มิชิแกน บันทึกนี้ยืนอยู่ในฐานะผู้เข้าร่วมมากที่สุดสำหรับการแข่งขันในร่มจนกระทั่ง 2010 NBA All-Star Game นอกจากนี้ยังจัดขึ้นที่สนามกีฬา AT&T, คาดว่าจะสามารถดึงคนดูได้ถึง 108,713 คน \"ฟอบส์\" ทำนายพิสูจน์ให้เห็นว่าถูกต้องว่ามีคนดูถึง 101,763 คน",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#27",
"text": "สกอตต์คีธของข่าวกีฬาเขียนว่า Wrestlemania 32 \"จบลงด้วยการหวดห้าชั่วโมง (เจ็ดชั่วโมงกับการแสดง pregame) และเป็นหนึ่งในเรสเซิลเมเนียที่เลวร้ายที่สุดเมื่อทั้งหมดได้พูดและทำ\" เขาเขียนว่า \"โรแมน เรนส์แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าเขาไม่ใช่คนที่จะเป็นดาวบนแม้จะมีความพยายามที่ดีที่สุดทริปเปิล เอชที่จะได้รับการจับคู่ 'คลาสสิก' ออกมาจากเขาและการจับคู่เชน แม็กแมน-ดิอันเดอร์เทคเกอร์จบลงด้วยการเป็น snoozefest 30 นาทีแทน ของระเบียบวุ่นวายที่ทุกคนต้องการ \" คีธ ยกย่องตรงกับชื่อเรื่องของผู้หญิงและแซคไรเดอร์สำหรับการมีเขา \"ช่วงเวลา Wrestlemania\"",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "313907#12",
"text": "บัตรได้จัดจำหน่ายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2010 โดยงานที่จะจัดก่อนถึง เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 มีชื่อเรียกรวมกันว่า \"WrestleMania Week\" โดยมีงาน เรสเซิลเมเนีย แอ๊กซ์เซส สำหรับแฟนๆ ได้มาพบปะ และพูคุยกัน กับ นักมวยปล้ำ ,งาน ฮอลล์ ออฟ เฟม สำหรับการมอบรางวัลให้กับนักมวยปล้ำ ที่ได้เข้าสู่หอเกียรติยศ,งาน เรสเซิลเมเนีย อาร์ต ครั้งที่ 4 สำหรับให้นักมวยปล้ำนำภาพมาแสดง , และงาน Pro-Am Golf tournament. โดยที่เรสเซิลเมเนีย แอ๊กซ์เซส จัดที่ จอร์เจีย เวิร์ด คองเกรส เซ็นเตอร์, ส่วนงาน ฮอลล์ ออฟ เฟม จัดขึ้นที่ ฟิลิปส์ อารีน่า",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27"
},
{
"docid": "703994#5",
"text": "CNET เขียนว่า เรสเซิลเมเนีย 32 จะมี \"สุดยอด\" ของ \"เรื่องที่ใหญ่ที่สุดใน WWE\" ซึ่งก็คือ \"การสร้างโรแมน เรนส์เป็นธรรมะตัวเอกผู้ที่จะเป็นใบหน้าของบริษัทฯ - ถ้า WWE มีวิธีการของ -- ทศวรรษหน้า \". \"ที่ผ่านมาสองปี WWE ได้รับการเคลื่อนย้ายสวรรค์และโลก\" ในความพยายามที่จะได้รับเรนส์ที่ \"ระดับของการรับรู้\" ของ \"ชื่อเหมือน ฮัลค์ โฮแกน, สตีฟ ออสติน, เดอะร็อก และจอห์น ซีนา\" แต่ \"ของมัน ฝ่ายตรงข้ามที่ยากที่สุด \"คือ\" ผู้ชมมวยปล้ำ \"ซึ่งเริ่มมีแฟน\" จลาจล \"ในการต่อต้านการสนับสนุนของ WWE ที่มีต่อเรนส์ แฟนๆเลือกที่จะสนับสนุนดีน แอมโบรสแทน เพื่อต่อสู้กับแนวโน้มนี้ WWE มีมาตรการรวมถึงการปิดฝูงชนโห่และท่อในกระป๋องเชียร์ระหว่างเรนส์' ปรากฏตัวในปี 2016 \"The A.V. Club\" เห็นด้วยว่า \"WWE มีปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับโรแมน เรนส์\" เนื่องจาก \"โดยทั่วไปไม่มีใครอยากเห็นโรแมน เรนส์เป็นคู่เอก\" ของเรสเซิลเมเนีย",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
}
] |
1156 | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.ใด? | [
{
"docid": "37994#0",
"text": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ \"พระองค์ดำ\" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สิริพระชนมายุ 50 พรรษา",
"title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
},
{
"docid": "37994#3",
"text": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ \"พระองค์ดำ\" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)",
"title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
}
] | [
{
"docid": "232768#2",
"text": "ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้าบุเรงนอง (สมภพ เบญจาธิกุล) เสด็จสวรรคต โดยก่อนที่จะสวรรคตพระองค์ได้กระซิบบอกแก่ พระมหาเถรคันฉ่อง (สรพงษ์ ชาตรี) นำความไปบอกยังพระนเรศวรให้ยกทัพมาเอาเมืองหงสาวดี เพราะทรงทราบดีว่าทั้งพระมหาอุปราชานันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และมังสามเกียด (นภัสกร มิตรเอม) ไม่สามารถที่จะรักษาสถานะของความเป็นอาณาจักรตองอูเอาไว้ได้ ต่อมา มหาอุปราชานันทบุเรง ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้านันทบุเรง สืบต่อ หงสาวดีได้มีพระราชสาสน์ส่งไปยังพระพิษณุโลกสองแควให้ส่งตัวแทนมาร่วมพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพที่หงสาวดี พระนเรศวรได้เสนอตัวพระองค์เองแม้จะทรงรู้ว่า จะเป็นการคืนกลับไปอยู่ยังมือศัตรูอีกครั้ง แต่เพราะพระเจ้าบุเรงนองมีบุญคุณต่อพระนเรศวรเฉกเช่นพระราชบิดาแท้ ๆ อีกองค์หนึ่ง พระนเรศวรจึงจำเป็นต้องเสด็จเดินทางไป เมื่อไปถึง พระมหาอุปราชามังสามเกียด (นภัสกร มิตรเอม) พระโอรสของพระเจ้านันทบุเรงที่รังเกียจพระนเรศวรมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และ มางจางปะโร (ชลัฏ ณ สงขลา) พระสหายคนสนิท ต่างเพ็ดทูลให้พระนเรศวรต้องพบกับอันตรายซึ่งจะนำมาซึ่งพระชนม์ชีพ โดยที่งานพระบรมศพครั้งนี้ เมืองคังซึ่งเป็นประเทศราชหงสาวดีมิได้ส่งตัวแทนมา พระเจ้านันทบุเรงจึงมีพระบรมราชโองการให้อุปราชของ 3 เมือง คือ พระนเรศวร, นัดจินหน่อง (จงเจต วัชรานันท์) อุปราชเมืองตองอู และพระมหาอุปราชามังสามเกียด ยกทัพไปปราบเมืองคัง โดยแข่งขันกัน",
"title": "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ"
},
{
"docid": "14197#1",
"text": "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวีไม่ปรากฏพระนาม \"คำให้การชาวกรุงเก่า\" ระบุว่าพระชนนีของพระองค์ชื่อพระสุริยา ส่วน \"คำให้การขุนหลวงหาวัด\" ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวี และหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ระบุพระนามว่าพระนางศิริธิดา และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือกรมหลวงโยธาทิพ (หรือพระราชกัลยาณี)",
"title": "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
},
{
"docid": "4226#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "39365#4",
"text": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ส่วนพระมารดาคือหม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ภายหลังหม่อมเจ้าอาภาพรรณีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี"
},
{
"docid": "37994#31",
"text": "นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้าฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์",
"title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
},
{
"docid": "17503#3",
"text": "สมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 1882 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ประสูติแต่พระมเหสีซึ่งเป็นพระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา) เดิมมีพระอิสริยยศเป็น\"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร\" เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรไปครองราชสมบัติในเมืองลพบุรี",
"title": "สมเด็จพระราเมศวร"
},
{
"docid": "6349#2",
"text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 (ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม สัปตศก) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย",
"title": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"
},
{
"docid": "37994#6",
"text": "หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้หนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาโดยที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยินยอมอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาทรงขอไว้ เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2115 สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชทานนามให้พระองค์ว่า \"พระนเรศวร\" และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช พระชนมายุ 17 พรรษา ไปปกครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา",
"title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
}
] |
1159 | ราชอาณาจักรแฟรงก์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร? | [
{
"docid": "240635#1",
"text": "ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
}
] | [
{
"docid": "240635#0",
"text": "ราชอาณาจักรแฟรงก์ () หรือ ฟรังเกีย () เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "134544#8",
"text": "การต่อสู้กันเองในราชวงศ์และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มชนรอบข้าง คือ ชาวเบรอตงกับชาวแกสคงทางตะวันตก, ชาวลอมบาร์ดทางตะวันออกเฉียงใต้ และชาวอาวาร์ทางตะวันออก ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างของราชอาณาจักรแฟรงก์ แคว้นทางตะวันออกหลายแคว้นถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรออสเตรเชียที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เม็ตซ์ ในทางตะวันตกเกิดนูสเตรียที่มีเมืองหลวงที่แรกอยู่ที่ซวยส์ซงส์และต่อมาย้ายมาเป็นปารีส ในทางใต้ราชอาณาจักรเบอร์กันดีที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ชาลง-ซูร์-ซวนขยายขนาดใหญ่ขึ้น",
"title": "ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง"
},
{
"docid": "240635#7",
"text": "การแบ่งราชอาณาจักรที่ดำเนินต่อไปในหมู่ชาวเมรอวินเจียนส่งผลให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แตกออกเป็นสามส่วน นูเอสเตรียทางตะวันตก, ออสตราเชียทางตะวันออก และเบอร์กันดีทางใต้ พื้นที่รอบนอกอย่างบริตทาเนีย, อากีแตน, อาเลมันนิ, ธูรินเจีย และบาวาเรียมักพยายามกอบกู้เอกราชและการต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างชาวเมรอวินเจียนทำให้พวกเขามีโอกาสทำแบบนั้นได้มากขึ้น ชาวธูรินเจียนได้รับเอกราชหลังการสิ้นพระชนม์ของดาโกแบร์ต์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 639 อากีแตนปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของเมริวินเจียนหลังการฆาตกรรมชิลเดริกที่ 2 ในปี ค.ศ. 675 รัฐที่เป็นเอกราชอยู่แล้วอย่างบริตทานีกับบาวาเรียปลดปล่อยตนเองจากชาวแฟรงก์ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 สุดท้ายอาเลมันนิหาทางจนได้เอกราชมาในปี ค.ศ. 709 – 712 การพิชิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันเทียบไม่ได้กับส่วนที่สูญเสียไป พื้นที่เล็กๆ ในเทือกเขาแอลป์ถูกพิชิตมาจากชาวลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 575 และฟรีสแลนด์ตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 689 แต่ชาวฟรีเชียนก็ทำเหมือนกับพื้นที่ที่อยู่รอบนอกแห่งอื่นๆ พยายามกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาหลายครั้ง",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#2",
"text": "ชาวแฟรงก์โดยดั้งเดิมแล้วคือสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์ที่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 257 เริ่มรุกรานอาณาเขตของโรมัน พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกที่มีอยู่มากมายที่สร้างความเสียหายให้กับจักรวรรดิโรมันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 และสร้างความลำบากให้กับจักรพรรดิโรมันในการรับมือกับการโจมตี ทะเลไม่ได้ปลอดภัยจากการโจมตีของชาวแฟรงก์เนื่องจากพวกเขาเป็นโจรสมลัดที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน แต่ชาวแฟรงก์ยังมีอิทธิพลในทางบวกต่อโรมจากการผลิตทหารให้กับกองทัพโรมัน และในปี ค.ศ. 358 ชาวซาเลียนแฟรงก์ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิจูเลียนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาเขตของโรมันที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสเกลด์กับแม่น้ำเมิซได้ในฐานะฟอยเดราติ (พันธมิตร) ชาวแฟรงก์ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือจักรวรรดิโรมันด้วยการให้กองทหารแลกกับเอกราชอย่างเด็ดขาดในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#3",
"text": "ชาวซาเลียนแฟรงก์ไม่ใช่ชนชาวแฟรงก์กลุ่มเดียวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของโรมัน ในราวปี ค.ศ. 430 ชาวแฟรงก์อีกกลุ่มได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ทางตะวันตกของอาณาเขตของชาวซาเลียนแฟรงก์ ชาวแฟรงก์กลุ่มดังกล่าวมาจากทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์และถูกเรียกว่าชาวริปูอาเรียนแฟรงก์ ครองพื้นที่ระหว่างแม่น้ำเมิซกับแม่น้ำไรน์ ชาวแฟรงก์กลุ่มที่ยังคงอยู่ในอาณาเขตดั้งเดิมของชาวแฟรงก์ทางตะวันอออกของแม่น้ำไรน์ ถูกเรียกว่าชาวแฟรงก์ตะวันออก ชนชั้นผู้นำของชาวแฟรงก์คือชาวซาเลียนแฟรงก์ กษัตริย์ของพวกเขารวมชาวแฟรงก์ทั้งหมดเข้าด้วยกันในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์เหล่านี้เรียกตัวเองว่า เมรอวินเจียน เพราะพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากเมรอเวช ที่ชาวแฟรงก์เชื่อกันว่าเป็นบุตรชายของสิ่งมีชีวิตจากสวรรค์",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#12",
"text": "http://www.tacitus.nu/historical-atlas/francia.htm",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "221552#1",
"text": "ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย",
"title": "ราชวงศ์การอแล็งเฌียง"
},
{
"docid": "240635#8",
"text": "กษัตริย์เมรอวินเจียนไม่ได้เสียแค่อาณาเขตในช่วงยุคนี้ อำนาจของพวกเขาในพื้นที่ที่เหลืออยู่ของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ก็ถูกลดลงเช่นกัน เป็นผลมาจากการมีกษัตริย์ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ ตำแหน่งสมุหราชมณเฑียรถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลราชอาณาจักรจนกว่าพวกเขาจะถึงวัยที่สมควร แต่เมื่อมันกลายเป็นตำแหน่งถาวรและสืบทอดทางสายเลือด ผู้ครองตำแหน่งเหล่านี้ก็กลายเป็นผู้ปกครองที่แท้จริงของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แม้แต่ในตอนที่มีกษัตริย์เป็นผู้ใหญ่ ในสมรภูมิที่เตอร์ตรีในปี ค.ศ. 687 สมุหราชมณเฑียรแห่งนูเอสเตรียกับเบอร์กันดีถูกปราบโดยผู้ที่มีตำแหน่งเดียวกันในออสตราเชีย เปแปงแห่งเฮริสตันที่ภายหลังปกครองราชอาณาจักรแฟรงก์ทั้งหมด",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#11",
"text": "การพิชิตของชาร์เลอมาญนั้นใหญ่มากจนผู้คนมองว่าพระองค์ได้ฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกกลับคืนมา หลังจากนั้นชาร์เลอมาญได้รับการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโดยพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 แต่ธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรกันในหมู่พระโอรสของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวคงอยู่เพียงชั่วคราว ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ยังเป็นรัฐศักดินาร่วมกับการทำสงครามหาผลประโยช์ด้วยการปล้นประเทศเพื่อนบ้าน เมือราชอาณาจักรขยายอาณาเขตออกไป การปล้นหาผลประโยชน์ก็ลดลงพอๆ กับความจงรักภักดีของขุนนางในยามที่มองไม่เห็นโอกาสที่จะได้รางวัลมากมายจากการรับใช้ จึงทำให้จักรวรรดิของชาวแฟรงก์หลังการสิ้นพระชนม์ของชาร์เลอมาญในปี ค.ศ. 814 พังครืนภายใต้แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก จนทำให้แตกออกเป็นรัฐศักดินาเล็กๆ จำนวนมากมาย",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
}
] |
1167 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง สถาบันธัญญารักษ์? | [
{
"docid": "235145#2",
"text": "ผลอันเกิดจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ได้มีคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งสถานพยาบาล และสถานพักฟื้น ให้การรักษาแก่ผู้ติดฝิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่คลอง 5 ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีชื่อว่า “สถานสงเคราะห์คนติดฝิ่น ของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข” (The Government Opium Treatment Centre) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2502 การดำเนินงานระยะเริ่มแรกโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบให้การรักษาผู้ติดฝิ่นขั้นถอนยา รับผู้ป่วยได้ 1,000 คน ส่วนกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาขั้นฟื้นฟู รับผู้ป่วยได้ 3,000 คน",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
}
] | [
{
"docid": "125172#6",
"text": "ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2505 โดยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกด้วยวัยเพียง 29 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และได้รับการยกย่องให้เป็น \"อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง\" หรือ Emeritus (เอเมริตุส) อีกทั้งยังมีอาคารเพื่อเป็นการรำลึกถึงคือ อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไทด้วย",
"title": "เจริญ คันธวงศ์"
},
{
"docid": "77043#1",
"text": "ดร.จั๊คส์ อัมโยต์ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรก (พ.ศ. 2514-2517) สถาบันวิจัยสังคม บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหาร และคณะผู้บริหารสถาบัน นำโดยผู้อำนวยการสถาบันฯ เน้นการทำงานในลักษณะของการประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐและเอกชน ในลักษณะของเครือข่ายทางวิชาการ และงานพัฒนาในระดับประเทศ รวมถึงระดับนานาชาติ อีกทั้งให้บริการฐานข้อมูลทางด้านสังคมแก่ผู้สนใจ ตั้งแต่ก่อตั้งมีผู้อำนวยการทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่ ดร.จั๊ค อัมโยต์ (2514-2517), ศ.ดร.พัทยา สายหู (2517-2521), รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (2521-2529), ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (2529-2536, 2540-2545), ศ.ดร.ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2536-2540), รศ.ดร.สุวัฒนา ธาดานิติ (2546-2550), รศ.สุริชัย หวันแก้ว (2550-2552) ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี (2552-2555) และผู้อำนวยการสถาบันคนปัจจุบัน คือ รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ (2555- ปัจจุบัน)",
"title": "สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "170888#3",
"text": "เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์บูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาโบราณ (CID) ที่ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ \nเป็นผู้ก่อตั้งชมรมมังกรธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในแนวทางบูรณาการสู่สังคม\nปี ค.ศ. 2012 เขียนหนังสือชุดไตรภาค \"บันทึกเนตรฟ้าใจวารี\" ที่บันทึกประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของตัวเองในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้นำเสนอ กรรมฐานเนตรฟ้า สู่สังคมไทยที่บูรณาการลมปราณกรรมฐานกับธาตุกายสิทธิ์ (แก้วบารมี) เข้าด้วยกัน นอกจากงานเขียนไตรภาค บันทึกเนตรฟ้าใจวารี (สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ) แล้ว ยังได้เขียนหนังสือ \"เหนือมะเร็ง\" และ \"ตันตระโยคะศาสตร์เหนือวัย\" (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์) เป็นชุดหนังสือสุขภาพยอดคนออกมาด้วย รวมทั้งหนังสือ \"ซามูไรสอนลูก\" (สำนักพิมพ์โอเพ่นบุกส์)",
"title": "สุวินัย ภรณวลัย"
},
{
"docid": "235145#29",
"text": "พ.ศ. 2551 ได้มีการพัฒนาและรับรองคุณภาพของสถานบำบัดรักษายาเสพติดทุกระบบทั้งสมัครใจ, บังคับบำบัดและต้องโทษให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สถาบันธัญญารักษ์ เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ จัดทำ “ข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานบำบัดรักษายาเสพติดทุกระบบ โดยมีการลงนาม ระหว่างปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
},
{
"docid": "510016#2",
"text": "ศ.นพ.ประสพ รัตนากร คือผู้ริเริ่มก่อตั้ง สถาบันประสาทวิทยา และเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลประสาทขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนจะขยายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ แต่หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า “อาจารย์หมอประสพ” เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเช่นกัน โดยท่านเป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนการก่อตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ปี พ.ศ. 2547 จึงได้มีการจัดตั้ง “กองทุนศาสตราจารย์เกียรติยศ ประสพ รัตนากร” ขึ้น เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานกองทุน ซึ่งนับตั้งแต่ตั้งกองทุนขึ้นมา อาจารย์หมอประสพก็ได้ช่วยเหลือระดมเงินทุนเข้าสู่กองทุนเสมอมา ประกอบกับที่คณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดตั้งหน่วยวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ขึ้น ก็ได้ใช้เงินจากกองทุนนี้สนับสนุนการเชิญนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาแสดงปาฐกถาทางวิชาการหลายครั้ง",
"title": "ประสพ รัตนากร"
},
{
"docid": "235145#12",
"text": "พ.ศ. 2524 สร้างโรงงานอาชีวบำบัดใหม่ เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้วยวิธีฝึกทักษะอาชีพต่างๆ",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
},
{
"docid": "235145#22",
"text": "พ.ศ. 2541 ตึกอำนวยการ 5 ชั้น หลังใหม่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้เปิดดำเนินการ โดยได้ย้ายแผนกผู้ป่วยนอก รวมทั้งหน่วยอื่นๆ ทั้งหมด จากอาคารหลังเดิม",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
},
{
"docid": "790362#7",
"text": "ด้านธุรกิจ นายประสิทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทอนามัยภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ด้วยการร่วมหุ้นกันในหมู่เครือญาติตระกูลณรงค์เดช จำหน่ายและนำเข้าสินค้าประเภทผ้าอนามัยและกระดาษชำระจากสหรัฐอเมริกา และยังก่อตั้งอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทประสิทธิ์อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี พ.ศ. 2513, บริษัทบีดีเอฟ-อินทนิล เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นผู้ผลิตพลาสเตอร์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากประเทศเยอรมนี และบริษัทสุราทิพย์ในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้ผลิตสุราไทยยี่ห้อต่าง ๆ",
"title": "ประสิทธิ์ ณรงค์เดช"
},
{
"docid": "235145#7",
"text": "โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ได้เปิดดำเนินการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2510 เป็นต้นมา โดยมีนายแพทย์ประยูร นรการผดุง เป็นผู้อำนวยการท่านแรก และได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิธีการที่นานาประเทศปฏิบัติกันอยู่ ว่าควรดำเนินการในรูปใดจึงจะสัมฤทธิ์ผลและเป็นที่ยอมรับ ได้มีการพัฒนารูปแบบการบำบัด ตามลำดับ ดังนี้",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
},
{
"docid": "235145#18",
"text": "พ.ศ. 2535 เปิด “ศูนย์การศึกษาธัญญารักษ์” สอนวิชาสายสามัญและสายวิชาชีพ ให้กับผู้ป่วยในระยะ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับการสนับสนุน หลักสูตรการศึกษาสายสามัญจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดปทุมธานี และได้รับการสนับสนุนอาจารย์ประสานงานประจำจาก กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ",
"title": "สถาบันธัญญารักษ์"
}
] |
1170 | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "217869#0",
"text": "กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2523) เป็นนักแสดง, นักเขียนบท และ ผู้กำกับละครจำนวนมากเช่น เฮง เฮง เฮง , บ้านนี้มีรัก , ยีนเด่น , บางรักซอย 9 , เป็นต่อ , ผู้กองเจ้าเสน่ห์ กิตติมีชื่อเสียงจากบทบาท \"วอก\" ในซิทคอมเรื่อง เป็นต่อ เกลือสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการแสดง",
"title": "กิตติ เชี่ยววงศ์กุล"
}
] | [
{
"docid": "217869#1",
"text": "กิตติเข้าในกรุงเทพเพื่อเข้าศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในขณะที่กิตติศึกษาอยู่ปี 1 ทางเอ็กแซ็กท์ไปจัดออดิชั่นที่ ม.กรุงเทพ และเขาได้ไปออดิชั่นจนกระทั่งติดเป็นหนึ่งในนักแสดงละครเวทีเรื่อง \"วิมานเมือง\" และทำให้กิตติเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงแล้วได้แสดงละครจนได้มาเป็นผู้กำกับละครอีกหลายเรื่องกิตติ เชี่ยววงศ์กุลได้แต่งงานแบบเงียบ ๆ กับ จูน แฟนสาวนอกวงการ บุตรชาย 1 คน ชื่อ น้องสายฟ้า ปัจจุบันทั้งคู่หย่าร้างกันแล้ว",
"title": "กิตติ เชี่ยววงศ์กุล"
},
{
"docid": "120716#0",
"text": "กิตติคุณ เชียรสงค์ หรือ กุ้ง กิตติคุณ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 - 28 กันยายน พ.ศ. 2550) นักร้องเพลงโฟล์กซอง เจ้าของฉายา \"ราชาเพลงคันทรี่เมืองไทย\"\nกิตติคุณ เชียรสงค์ เกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนางสุดจิต เชียรสงค์ เติบโตที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนปากพนัง จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบปริญญาตรี บริหารธุรกิจจาก มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศึกษาต่อปริญญาโท บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส สหรัฐอเมริกา โดยในระหว่างเรียนได้ประกอบอาชีพเล่นดนตรีและร้องเพลงสากลตามคลับเป็นอาชีพเสริม สมรสกับนางภัทรพร เชียรสงค์ มีบุตรสาว 2 คนคือ นางสาวพริมา เชียรสงค์ และ นางสาวณัฐณิชา เชียรสงค์",
"title": "กิตติคุณ เชียรสงค์"
},
{
"docid": "450844#1",
"text": "กิตติ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2484 มีชื่อเล่นว่า \"ปี๊ด\" เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของพิศาล อัครเศรณี ซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง โดยกิตติเป็นทั้งผู้กำกับฯและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์หลายเรื่อง โดยมีบริษัทผลิตของตนเองและครอบครัวในนาม \"อัครมีเดีย\" หรือ \"อัครเอ็นเตอร์เทนเม้นท์\" มีผลงานหลายเรื่อง อาทิ \"เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ\" ในปี พ.ศ. 2529, \"พ่อปลาไหล แม่พังพอน\" ในปี พ.ศ. 2531, \"ขุนศึก\" ในปี พ.ศ. 2538 ทางช่อง 9 เป็นต้น ซึ่งได้สร้างนักแสดงที่มีชื่อเสียงต่อมาหลายคน เช่น ยุรนันท์ ภมรมนตรี, บดินทร์ ดุ๊ก, กนกวรรณ ด่านอุดม, วิมลเรขา ศิริราวรรณ, สุภาภรณ์ แสงทอง, ธนายง ว่องตระกูล และพิยดา อัครเศรณี ซึ่งเป็นหลานสาวแท้ ๆ ของตนเอง เป็นต้น",
"title": "กิตติ อัครเศรณี"
},
{
"docid": "517122#1",
"text": "ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2501 เป็นบุตร นาย สุจินต์ กิตยารักษ์ อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดมหาสารคาม กับ นาง เพ็ญศรี นุตสติ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านกฎหมายการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา (ทุน ก.พ.) เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปริญญาโทใบที่สองด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา (ทุนฟูลไบรท์) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (ทุนฟูลไบรท์)",
"title": "กิตติพงษ์ กิตยารักษ์"
},
{
"docid": "327829#1",
"text": "กิตติ ทองลงยา เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของนายดาบเกียรติ (ยูเกียง) ทองลงยา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดกาญจนบุรีกับนางอบ ทองลงยา เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2471 กิตติ ทองลงยา จบการศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2496 หลังจากจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในตำแหน่งผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2500 ได้ลาออกมาประกอบอาชีพอิสระในงานด้านอนุรักษ์วิทยาและศึกษาด้านอนุกรมวิธาน เกี่ยวกับสัตว์ป่าในประเทศไทย ในเวลาเดียวกันก็ได้ร่วมงานกับสมาคมนิยมไพร จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติออกเผยแพร่ ปี พ.ศ. 2505 ได้เข้าร่วมทำงานในสถาบันวิจัยการแพทย์ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียอาคเนย์ (ส.ป.อ.) โดยมีหน้าที่ค้นหาพาหะที่นำโรคและสัตว์ป่าที่เป็นแหล่งสะสมโรคที่เกี่ยวกับมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2508 ได้เข้าทำงานในตำแหน่งภัณฑารักษ์สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวบรวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย กิตติ ทองลงยา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517",
"title": "กิตติ ทองลงยา"
},
{
"docid": "217869#2",
"text": "ในขณะที่เหตุการณ์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ยังคงดำเนินอยู่กิตติได้ออกมาแสดงจุดยืนรวมกับกลุ่มมหาประชาชน กปปส และได้โพสต์บนกลอนผ่านอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อแสดงทัศนะทางการเมือง โดยใช้ชื่อผู้แต่งว่า \"กวีตีสาม\"",
"title": "กิตติ เชี่ยววงศ์กุล"
},
{
"docid": "20262#1",
"text": "เกียรติ กิจเจริญ ชื่อเล่น กิ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของคุณแม่สุชาดา กิจเจริญ ส่วนคุณพ่อสุภาพ (เสียชีวิตแล้ว) มีพี่น้องได้แก่ กฤษณ์ (บ๊อบบี้), กบ, กันทิมา (กุ้ง) กรณ์ (แก้ว) สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก และ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 49 ปีเข้า 2524 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า รุ่นสนิมน้อยฯ",
"title": "เกียรติ กิจเจริญ"
},
{
"docid": "732782#1",
"text": "กีรติ ศิวะเกื้อ ชื่อเล่น โอ๊ค เป็นนักแสดงชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เริ่มสนใจการแสดงและได้รับโอกาสแสดงละครเวทีครั้งแรกเมื่ออายุ 17 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Santa Fe Preparatory School ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อครั้งไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน กีรติกลับมาประเทศไทยและเข้าเรียนในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยชินวัตร ควบคู่กับการเรียนการแสดงในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ โรงเรียนการแสดง บางกอกดรามา ของทางช่อง 3 และการแสดงสำหรับภาพยนตร์ที่ โรงเรียนการแสดงของสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย",
"title": "กีรติ ศิวะเกื้อ"
},
{
"docid": "255127#0",
"text": "จิตติมา เจือใจ ชื่อจริง สุนิสา วงศ์วัจฉละกุล เป็นนักร้องลูกกรุง ชื่อเล่นหน่อย เกิด 25 กรกฎาคม เธอได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในปี พ.ศ. 2522 จากเพลงเหวหินผลงานของ คุณชัยรัตน์ วงศ์เกียรติขจร ผลงานสร้างชื่อเสียง ตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกที่แต่งโดย คุณ ทวีพงศ์ มณีนิล (ซึ่งต่อมาคือคู่ชีวิต:เสียชีวิตแล้ว) ชื่อ ถ้าหัวใจฉันมีปีก ในปี 2519 และได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนมีผลงานออกมาอีกหลายอันบั้ม เช่นหลักไม้เลื้อยในปี 2520 ซึงก็ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน ตามด้วยรักยามจน ของหมอวราห์ วรเวช ผลงานของ ป.ชื่นประโยชน์ พยงค์ มุกดา พรพิรุณ นคร ถนอมทรัพย์ เนรัญชราฯลฯ",
"title": "จิตติมา เจือใจ"
}
] |
1173 | ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11? | [
{
"docid": "28558#0",
"text": "เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ",
"title": "วินาศกรรม 11 กันยายน"
}
] | [
{
"docid": "25141#8",
"text": "ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง",
"title": "คองคอร์ด"
},
{
"docid": "24830#6",
"text": "6 ตุลาคม 2516 มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่น ประตูน้ำ สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลนำโดย พลตำรวจตรีชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล จับได้เพียง 11 คน และจับทั้ง 11 คนนี้ขังไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน และนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน ก่อนหน้านั้นตั้งข้อหามั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนภายหลังจากนั้น ตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้น ได้มีการประกาศจับนาย ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับนาย ไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คน โดยกล่าวหาว่า นาย ไขแสง สุกใส อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น \"13 ขบถรัฐธรรมนูญ\" เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งขณะนั้นกำลังสอบกลางภาค แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า \"งดสอบ\" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่ และพลตรีประกอบ จารุมณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าว ในตอนบ่าย ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "122884#4",
"text": "ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง",
"title": "แอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 4590"
},
{
"docid": "56292#3",
"text": "ผู้เริ่มต้นแนวคิดนี้ คือนายสิบจำนวน 8 คน (ผู้ต้องหาไม่ยอมซัดทอดว่ามีนายทหารหรือใครที่ใหญ่กว่านี้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลจะเชื่อว่าน่าจะมี โดยเฉพาะพยายามให้ซัดทอดพระยาทรงสุรเดชมากที่สุด แต่ไม่เป็นผล)",
"title": "กบฏนายสิบ"
},
{
"docid": "65583#19",
"text": "หลังจากที่การประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม จะไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์ได้ประกาศว่า \"กลุ่มอำนาจเก่า\" อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวว่า \"ตามข้อมูลของรัฐบาลและหน่วยข่าวกรอง มันเป็นงานของกลุ่มคนที่สูญเสียอำนาจ แต่ผมไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง\" โดยไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกกลุ่มที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหาร",
"title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549"
},
{
"docid": "864615#82",
"text": "ตั้งแต่หนังสือ \"9-11\" ของเขาได้กลายเป็นหนังสือขายดีที่สุดเล่มหนึ่งหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ชอมสกีก็ได้ความสนใจเพิ่มขึ้นจากสื่อกระแสหลักอเมริกัน\nยกตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์\"เดอะนิวยอร์กไทมส์\"ได้พิมพ์บทความหนึ่งในเดือนพฤษภาคม 2545 ถึงความนิยมของ \"9-11\"\nในเดือนมกราคม 2547 นิตยสาร\"ไทม์\"ได้พิมพ์บทความปริทัศน์ที่ตำหนิหนังสือ \"ความเป็นเจ้าโลกหรือความอยู่รอด (Hegemony or Survival)\" ของชอมสกีอย่างรุนแรง\nและในเดือนกุมภาพันธ์ติดต่อกัน \"ไทม์\"ก็ได้พิมพ์ความเห็นของชอมสกีเอง ซึ่งตำหนิกำแพงกั้นเวสต์แบงก์ของอิสราเอลเพราะยึดใช้พื้นที่ของปาเลสไตน์",
"title": "มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี"
},
{
"docid": "153664#5",
"text": "ณ ริมคลองแห่งหนึ่ง ชัดเจนยืนเหม่อมองอยู่ที่ราวสะพานและได้พบกับอาตุ๊ขี้เมา ผู้ที่ทำกิจการโรงน้ำแข็งร่วมกับเพื่อนชื่อนพดลแล้วโดนโกงจนล้มละลาย บ้านโดนธนาคารยึดจึงต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านแม่ยายในบางรักซอย 9 อาตุ๊ได้บอกชัดเจนว่าจะแบ่งบ้านให้เช่า ชัดเจนจึงไปตามที่อยู่ที่อาตุ๊ให้ไว้เพื่อที่จะขอเช่าบ้านและได้พบกับแป้ง โดยที่ทั้งคู่ไม่รู้จักกัน",
"title": "ก่อนจะถึง บางรักซอย 9 on stage"
},
{
"docid": "379541#3",
"text": "อรุณี ชำนาญยา เคยนำตัว มินตรา โสรส ผู้ที่เคยถูก กวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข ทำร้ายร่างกาย โดยใช้กำลังกระชากศีรษะ ในเหตุการณ์วันที่ 13 เม.ย.2552 ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า เหตุการณ์สงกรานต์เลือด มาแถลงข่าวที่ห้องแถลงข่าว หลังการปราศัยที่รัฐสภา โดย พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช ได้ฟ้องหมิ่นประมาทอรุณี ชำนาญยา และ สมคิด บางไธสงจากการปราศัยและแถลงข่าวในครั้งนี้",
"title": "อรุณี ชำนาญยา"
},
{
"docid": "259254#3",
"text": "รอบิยะห์ กอดีร์ ถูกทางการจีนกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างชาวอุยกูร์และชาวฮั่นในเมืองอุรุมชี เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 แต่เธอได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้",
"title": "รอบิยะห์ กอดีร์"
},
{
"docid": "353986#22",
"text": "บ่ายวันนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าเกี่ยวกับประเด็นที่สัมคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีนี้ว่า \"...ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ไม่มีใครสิทธิพิเศษ ก็ต้องมีการติดตามคดีอย่างเต็มที่ ส่วนการบังคับใช้กฎหมาย เพราะคนขับที่เป็นต้นเหตุอายุแค่ 16 ปีนั้น...นี่แหละคือสิ่งที่เราพยายามอย่างมากขณะนี้ คือ หนึ่ง การเคารพกฎหมาย สอง ความไม่ประมาท อันนี้เป็นจุดอ่อนมาโดยตลอด และ สาม เราจะต้องเข้มงวดกวดขันมากขึ้น\" และกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่เกี่ยวข้องให้เข้าชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน ในวันที่ 5 มกราคม 2554",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
}
] |
1187 | คณะราษฎร ถูกตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "43051#3",
"text": "และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน โดยมีร้อยโท แปลก ที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ เรียกว่า \"\"กัปตัน\"\" เป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ \"ยึดอำนาจโดยฉับพลัน\" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส",
"title": "คณะราษฎร"
}
] | [
{
"docid": "208246#12",
"text": "ตั้วได้มีบทบาทในทางการเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเข้าร่วมกับคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเข้าร่วมประชุมก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส โดยเป็นสมาชิกฝ่ายพลเรือน ซึ่งเห็นได้ถึงความปรารถนาของคณะราษฎรในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตั้วได้ร่วมเดินทางสู่จุดนัดหมายที่บางซื่อ",
"title": "ตั้ว ลพานุกรม"
},
{
"docid": "8007#44",
"text": "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนได้ร่วมกันทำการปฏิวัติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ในแถลงการณ์ของคณะราษฎรได้กล่าวถึงการปรับปรุงประเทศทางด้านเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติด้วย",
"title": "ประวัติกระทรวงการคลังไทย"
},
{
"docid": "813381#1",
"text": "สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หรือ 4 วันหลังจาก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในวันนั้นได้มติเห็นชอบให้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้า คณะราษฎร สายพลเรือนเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกโดยที่ทำการสำนักงานเลขาธิการในช่วงแรกตั้งอยู่ภายใน วังปารุสกวัน",
"title": "สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร"
},
{
"docid": "406628#2",
"text": "เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลา 14.00 นาฬิกา การประชุมได้เริ่มขึ้น ณ ห้องโถงชั้นบนพระที่นั่งอนันตสมาคม มีการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลม ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันเป็นการชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงได้นำเอาข้อบังคับการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีเฉพาะที่ไม่ขัดกับธรรมนูญมาใช้ไปพลางก่อน",
"title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475)"
},
{
"docid": "116195#1",
"text": "พรรคราษฎร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมีคำขวัญว่า \"พรรคราษฎร เพื่อราษฎร\" มีนายสมชาย หิรัญพฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็น พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ มีเลขาธิการพรรค คือ นายมั่น พัธโนทัย และหัวหน้าพรรคคนต่อมา คือ นายวัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มปากน้ำ\nในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 พรรคราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง จำนวนเพียง 2 คน คือ นางสาวเรวดี รัศมิทัต จากจังหวัดสมุทรปราการ กับ นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล จากจังหวัดนครพนม และได้รับเลือกตั้งเพิ่มเติมอีกในการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คือ นายวิทยา บันทุปา จากจังหวัดอุบลราชธานี แต่ต่อมาถูก กกต.ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ และไม่ได้รับเลือกตั้งอีกและจังหวัดเชียงราย แม่คำหลัก 7 ร.ตอ.มาสพงศ์ ผลประดับวงศ์หรือ สจ.ป้อม อ.เชียงแสน - อ.เถิง แก้ไขทะเบียนราษฎร์โดย.กกต.กรรมการเลือกตั้งจังหวัดน่านแทน ว่าที่เลิศ วัฒนาอัศวเหม กับ ว่าที่วัฒนนท์ อัศวเหมสานต่อในปี 2561 - 2577",
"title": "พรรคมหาชน"
},
{
"docid": "329604#11",
"text": "หลังจากนั้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2560 ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายเอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมและอดีตนักโทษการเมือง นำหมุดคณะราษฎรจำลองที่เตรียมมาไปติดตั้งกลับคืนที่จุดที่อยู่เดิมของหมุดคณะราษฎร ถูกตำรวจจับกุมจากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าไปที่ มทบ.11 ก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับบ้านในเวลา 19.45",
"title": "หมุดคณะราษฎร"
},
{
"docid": "950463#0",
"text": "พรรคราษฎร () พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนจัดตั้ง\nตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 เป็นลำดับที่ ๘/๒๕๑๗ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 มีนาย ไถง สุวรรณทัต อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อดีตเจ้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจ ธนบุรี และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 5 สมัยเจ้าของฉายา ผู้แทนขาเดียว หรือ ไถงขาเดียว เนื่องจากโดนคนร้ายปาระเบิดจนขาขวาขาดเป็นหัวหน้าพรรคและนาย ไพรรัตน์ วิเศษโกสิน เป็นเลขาธิการพรรค",
"title": "พรรคราษฎร (พ.ศ. 2517)"
},
{
"docid": "146657#4",
"text": "ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2498 เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 85 ที่นั่ง เฉพาะในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี อันเป็นเมืองหลวง ได้ถึง 8 ที่นั่ง โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 4 ที่นั่งเท่านั้น คือ พันตรี ควง นาวาโท พระประยุทธชลธี นายไถง นายมนัส และทั่วประเทศได้เพียง 31 ที่นั่งเท่านั้น",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"
},
{
"docid": "43051#9",
"text": "ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว นับว่าคณะราษฎรได้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงในทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย เป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี จนกระทั่งมาหมดบทบาทอย่างสิ้นเชิงในปลายปี พ.ศ. 2490 จากการรัฐประหารของคณะนายทหาร ภายใต้การนำของพลโท ผิน ชุณหะวัณ และจากนั้นได้ให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงแม้จอมพล ป. จะเป็นสมาชิกคณะราษฎรก็ตาม แต่สมาชิกและบุคคลร่วมคณะในรัฐบาลก็มิได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรเลย โดยรัฐประหารครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น และจากนั้นต่อมาแม้สมาชิกคณะราษฎรหลายคนจะยังมีชีวิตอยู่ และยังอยู่ในเส้นทางสายการเมืองก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบาทอย่างสูงเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว",
"title": "คณะราษฎร"
}
] |
1188 | พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "263349#0",
"text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
}
] | [
{
"docid": "444670#17",
"text": "ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ วินัย รอดจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง แบบเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ \"ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล\" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น \"ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก\"",
"title": "การศึกษาในประเทศไทย"
},
{
"docid": "63778#4",
"text": "หลังจาก พานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และพิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ นิวัฒน์ธำรงได้ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการ บมจ.ชินคอร์ป ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยก่อนหน้านั้น เขาได้ขายหุ้นของตนเองทั้งหมด ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 ต่อมาไปอุปสมบทศึกษาพระธรรมอยู่ที่วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2553",
"title": "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล"
},
{
"docid": "374060#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2549 ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นผู้อ้างในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนฟินแลนด์ หรือปฏิญญาฟินแลนด์ ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับธนา เบญจาธิกุล ทนายความจากพรรคไทยรักไทย ได้ยื่นฟ้องสนธิ ลิ้มทองกุล บรรณาธิการ, ขุนทอง ลอเสรีวานิช คอลัมนิสต์, ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้บริหาร, เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรงค์ และเว็บมาสเตอร์ ปัญจภัทร อังคสุวรรณ ในข้อหาหมิ่นประมาท การฟ้องร้องมีเนื้อหากล่าวหาว่าบทความดังกล่าวมีเจตนาทำลายพรรคไทยรักไทยและอนาคตทางการเมืองของทักษิณโดยการทำให้สาธารณชนเชื่อว่าพรรคมีแผนการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การฟ้องร้องดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และอ้างว่า ทักษิณพยายามเซ็นเซอร์สื่อ",
"title": "ปราโมทย์ นาครทรรพ"
},
{
"docid": "65850#0",
"text": "พินทองทา คุณากรวงศ์ (ชื่อเมื่อเกิด พิณทองทา ชินวัตร, ชื่อเล่น: เอม) เกิดวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2527 เป็นธิดาคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ระดับอุดมศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จาก CASS Business School, City University ประเทศอังกฤษ",
"title": "พินทองทา คุณากรวงศ์"
},
{
"docid": "223012#3",
"text": "สมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศได้มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยสมยศได้กล่าวปาฐกถาแสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า",
"title": "สมยศ เชื้อไทย"
},
{
"docid": "588668#1",
"text": "เชิดชัย ตันติศิรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่ใช้คนละนามสกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปริญญาโท แพทย์ศาสตรบัณฑิต (พบ.) สาขาแพทย์ศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาศัลยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (นบ.) สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ซึ่งเป็นอาจารย์พยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตแกนนำคนเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น\nในขณะที่เขาอยู่ระหว่างการศึกษา เคยได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516",
"title": "เชิดชัย ตันติศิรินทร์"
},
{
"docid": "204072#0",
"text": "พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (ผบช.ภ.4) เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2494 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จบปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2538 และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี พ.ศ. 2543 ผ่านการอบรมหลักสูตรโรงเรียนผู้บัญชาการรุ่นที่ 18 (ร.ร.ผบก) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 48 (วปอ 48)",
"title": "สุชาติ เหมือนแก้ว"
},
{
"docid": "33865#0",
"text": "พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดอุบลราชธานี) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (คนที่ 1) สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในอดีตได้รับราชการเป็นรองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และยังเคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย\nพล.ต.อ.ชิดชัย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549",
"title": "ชิดชัย วรรณสถิตย์"
},
{
"docid": "1817#5",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2549 วีระได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทำความผิดตามกฎหมาย ปปช. มาตรา 100 ซึ่งต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ให้จำคุกพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี",
"title": "วีระ สมความคิด"
}
] |
1191 | จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "85986#1",
"text": "เทศบาลนครนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 37.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,430 ไร่ 2 งาน หรือประมาณร้อยละ 4.96 ของพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 755.596 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 0.18 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร)ตำแหน่งของเทศบาลนครนครราชสีมาอยู่ระหว่างละติจูดที่ 14-16 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101-103 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150-300 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 259 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางทางเครื่องบินประมาณ 30 นาที ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียงไปทาง ทิศตะวันออกตอนเหนือ ของตัวเมืองเป็นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง",
"title": "เทศบาลนครนครราชสีมา"
},
{
"docid": "5114#52",
"text": "จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บนที่ราบสูงโคราช ห่างจากกรุงเทพ 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี",
"title": "จังหวัดนครราชสีมา"
}
] | [
{
"docid": "122778#5",
"text": "ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอเมืองนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งสภาพพื้นที่ดังนี้คือ บริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอ มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดชัน ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ และบริเวณทางตอนใต้ค่อนไปทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าสงวนห้วยยางครอบคลุมพื้นที่ ในเขตตำบลไชยมงคล ตำบลหนองจะบก ตำบลบ้านใหม่ และตำบลโคกกรวด ส่วนบริเวณพื้นที่ตอนล่างมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองลำตะคอง คลองส่งน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และส่วนบริเวณทางตอนเหนือมีลักษณะพื้นที่เกือบราบถึงราบ",
"title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา"
},
{
"docid": "386369#103",
"text": "วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประกาศให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย 18 อำเภอในเบื้องต้น จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรายงานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในพื้นที่รวม 79 ตำบล 721 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 19,000 หลังคาเรือน ใน 18 อำเภอของจังหวัด พื้นที่การเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมนับหมื่นไร่ ถนนมากกว่า 70 สายถูกตัดขาด",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "166419#2",
"text": "ตำบลโพธิ์กลางเป็น 1 ใน 25 ตำบลในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของอำเภอเมืองนครราชสีมา มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง 7 แห่งได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เทศบาลตำบลหัวทะเล เทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาและองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมงคล ภูมิประเทศของตำบลโพธิ์กลาง ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเทศบาลนครนครราชสีมา พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบไปด้วยเขตทหาร ลักษณะรูปร่างของพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ราบสูงกว้าง เป็นแนวยาวลาดลงมาจากทางทิศใต้ พื้นที่จึงเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่",
"title": "เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง"
},
{
"docid": "5114#0",
"text": "นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217",
"title": "จังหวัดนครราชสีมา"
},
{
"docid": "378492#0",
"text": "เทศบาลตำบลท่าช้าง เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดนครราชสีมา) \nเทศบาลตำบลท่าช้าง 158 หมู่ที่ 14 ตำบลท่าช้าง อำเภอเลิมพระเกรียรติ\nจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากเมืองนครราชสีมา ประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ \n8 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 10 หมู่บ้าน และมีประชากรทั้งสิ้น 5,028 คน\nโดยแบ่งพื้นที่ เป็น 2 ส่วนดังนี้",
"title": "เทศบาลตำบลท่าช้าง (จังหวัดนครราชสีมา)"
},
{
"docid": "122778#4",
"text": "เนื้อที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 755.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 468,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.69 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดนครราชสีมา\nมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 454,647 คน เป็นชาย 222,724 เป็นหญิง 231,923 คน จำนวนบ้าน 169,878 หลัง ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เท่ากับ 601.70 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ",
"title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา"
},
{
"docid": "574504#0",
"text": "เทศบาลตำบลขามทะเลสอ เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ 5.18 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,243 ไร่ 50 ตารางวา หรือประมาณร้อยละ 2.59 ของพื้นที่อำเภอขามทะเลสอ (อำเภอขามทะเลสอมีพื้นที่ประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 0.025 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร",
"title": "เทศบาลตำบลขามทะเลสอ"
},
{
"docid": "625090#0",
"text": "เทศบาลตำบลวังหิน เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งใน อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ตำบลวังหิน มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๗ ตร.กม หรือประมาณ ๒๙,๕๕๕ ไร่ มีทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย บ้านโนนเพ็ด บ้านหนองบัว บ้านแก บ้านหนองขี้เหล็ก บ้านหนองงูเหลือม บ้านดอนยาวน้อย บ้านทุ่งรี บ้านเตย บ้านหินตั้ง บ้านสำโรงใต้ บ้านสำโรงเหนือ บ้านบุหวาย และบ้านหนองตะเข้",
"title": "เทศบาลตำบลวังหิน (จังหวัดนครราชสีมา)"
}
] |
1201 | จริญญา ศิริมงคลสกุล ชื่อเล่นว่าอะไร ? | [
{
"docid": "280500#0",
"text": "จริญญา ศิริมงคลสกุล (ชื่อเล่น: แก้ว; เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2535) นักร้อง นักแสดง อดีตสมาชิกวง เฟย์ ฟาง แก้ว สังกัดค่าย กามิกาเซ่ ในเครืออาร์เอส ร่วมกับ เฟย์-พรปวีณ์ นีระสิงห์ และ ฟาง-ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
}
] | [
{
"docid": "678967#1",
"text": "กีรติกา จารุรัตน์จามร (ชื่อเล่น: สายเอี๊ยม; สกุลเดิม: สว่างแจ้ง; เกิด: 25 ธันวาคม พ.ศ. 2537) เป็นคนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตำแหน่ง มิสอินเตอร์คอนติเนนตัลไทยแลนด์ จากเวทีการประกวด มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2013 และภายหลังเธอได้รับตำแหน่ง มิสอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2018สายเอี๊ยมเข้าร่วมประกวดเวที มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2013 ได้รับตำแหน่งมิสอินเตอร์คอนติเนนตัลไทยแลนด์ 2013 จากการประกวด",
"title": "กีรติกา จารุรัตน์จามร"
},
{
"docid": "135184#0",
"text": "พิยดา จุฑารัตนกุล (สกุลเดิม: อัครเศรณี; เกิด: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518) มีชื่อเล่นว่า อ้อม เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เป็นบุตรสาวคนที่ 2 ของนักแสดงและผู้กำกับ พิศาล อัครเศรณี กับสุดารักษ์ อัครเศรณี มีพี่น้อง 4 คน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เอกภาษาไทย เข้าสู่วงการครั้งแรกด้วยการแสดง\" มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือละครเรื่อง \"ทอฝันกับมาวิน\" ในปี พ.ศ. 2539",
"title": "พิยดา จุฑารัตนกุล"
},
{
"docid": "280500#5",
"text": "ในปี 2553 จริญญายังได้แสดงภาพยนตร์แนวต่อสู้ กำกับโดย ยุทธเลิศ สิปปภาค เรื่อง \"บางกอกกังฟู\" จริญญาเป็นนางเอกของเรื่อง ชื่อ กอหญ้า คู่กับ รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ แต่ภายหลังจากเรื่องอื้อฉาวด้านพฤติกรรมทางเพศของรัฐภูมิที่ทำให้การเตรียมถ่ายทำภาพยนตร์ล่าช้ามาถึงปีถัดมา วิศว ไทยานนท์ จากวงเค-โอติก จึงได้มาแสดงแทน จริญญากล่าวว่า เธอรู้สึก \"เขิน\" เมื่อต้องเล่นคู่กัน โดยกล่าวว่า \"...ก็อาจจะมีเขินบ้าง สำหรับการทำงานก็สนุกดี ทุกคนทุ่มเทกันเต็มที่ แก้วเชื่อว่าภาพน่าจะออกมาสวยนะ\" อนึ่ง ในระหว่างเตรียมถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว จริญญาฝึกการต่อสู้จนล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลด้วย เธออยู่โรงพยาบาลสองสามวัน ก่อนการทำภาพยนตร์จะดำเนินต่อ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำเสร็จในปลายเดือนมิถุนายน 2554 และฉายในวันที่ 1 กันยายน ปีนั้น",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
},
{
"docid": "280500#10",
"text": "หลังจากที่บรรดาผู้ชื่นชอบในตัวเธอเห็นชอบให้เธอกับ วิศว ไทยานนท์ นักร้องร่วมค่าย และนักแสดงพระเอกเรื่องที่จริญญาเล่นเป็นนางเอก คบหากัน โดยเธอกล่าวถึงความสัมพันธ์ว่าเกิดจากการที่ได้ใกล้ชิดกันในการทำงานเสมอมา ข้อความสัมภาษณ์บางส่วนว่า \"ด้วยความที่อยู่ค่ายเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ทำให้ได้เจอกันอยู่ตลอด แล้วแก้วกับโทโมะก็เลยได้มีโอกาสร่วมงานกันบ่อย ๆ ออกงานคู่กันบ้าง...ต้องขอบคุณทุกคนที่คอยเชียร์เราสองคน...\" ในปี 2554 ค่ายกามิกาเซ่จึงจับคู่ทั้งสองออกผลงานร่วมกัน เป็นเพลงชื่อ \"เพื่อนที่ไม่รู้ใจ\" โดยในมิวสิกวีดิโอเพลงดังกล่าว ทั้งสองยังได้เล่นบทเป็นคู่รักกันด้วย เพลงดังกล่าวเผยแพร่เมื่อ 1 มิถุนายน ปีนั้น",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
},
{
"docid": "280500#7",
"text": "ในปี 2559 ปัจจุบัน จริญญา ไม่ต่อสัญญากับทางค่าย RS หลังหมดสัญญาจึงได้ผันตัวเป็นนักแสดงอิสระและได้ร่วมงานกับค่ายแกรมมี่เล่นซิทคอมเรื่อง สูตรรักชุลมุน ทางช่อง ONE31",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
},
{
"docid": "280500#8",
"text": "จริญญามีความสามารถเล่นเปียโนได้คล่องแคล่ว เธอกล่าวว่า เธอชอบผมของตนเอง เพราะมีผมสวย และสัตว์ที่โปรดปราน คือ จระเข้ เพราะช่วงหนึ่งเธอดัดฟัน ขณะนั้นจึงมีฟันเหมือนจระเข้",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
},
{
"docid": "280500#4",
"text": "ในปี 2553 จริญญาได้รับเชิญแสดงเป็น กะปอม ในละครเรื่อง \"บริษัทสร้างสุข\" ตอน เขาหาว่าหนูเป็นทอม ออกอากาศเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2553 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี",
"title": "จริญญา ศิริมงคลสกุล"
},
{
"docid": "78890#1",
"text": "อาภาพร นครสวรรค์ มีชื่อจริงว่า จันทร์เพ็ญ คงประกอบ มีชื่อเล่นว่า ฮาย น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร เป็นชาว ตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นลูกสาวคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ นายบุญช่วยและนางกิมเล้ง คงประกอบ ที่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ทำสวน และมีฐานะยากจนมาก เธอเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้น ประถมปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนหลวง นครสวรรค์ เธอชื่นชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ และเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอย่างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เคยไปดูเมื่อครั้งพุ่มพวงมาเปิดการแสดงที่อำเภอ อาภาพรได้อาศัยงานวัด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานรื่นเริง เพื่อเป็นเวทีของการขึ้นไปร้องเพลงเพื่อแสดงความสามารถ จนในที่สุดก็ได้เข้าประกวดร้องเพลงในปี พ.ศ. 2528 ที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ.9 ที่นครสวรรค์ ในเวที \"คนเก่งของแม่\"",
"title": "อาภาพร นครสวรรค์"
},
{
"docid": "223436#0",
"text": "จิรวรรณ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง หรือ จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร (ปัจจุบันใช้ชื่อใหม่ว่า ณัชชา เตชะหรูวิจิตร แต่ยังคงใช้ชื่อเก่าในวงการบันเทิงอยู่) มีชื่อเล่นว่า เอิร์น เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เป็นนักร้องหญิงในสังกัดอาร์.เอส. โปรโมชั่น โดยอัลบั้มชุดแรกมีชื่อว่า \"เอิร์น\" และเพลงทีดังคือเพลง \"อ๊ะ...อ๊ะอาย\", \"เคยไหม\" และมีผลงานละครโดยละครเรื่องแรกของเอิร์นคือเรื่อง รักฉันนั้นเพื่อเธอ ประวัติการศึกษา เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ จนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนนานาชาติ ISB ( international school Bangkok). ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดล นานาชาติ (BBA) และระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ โครงการ MIM (Master in Marketing)",
"title": "จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร"
}
] |
1206 | จอร์จ โซรอส เกิดวันที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "271393#0",
"text": "จอร์จ โซรอส (12 สิงหาคม ค.ศ. 1930 - ) เดิมชื่อ จอร์จี ชวาร์ตซ์ () นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี เป็นนักวิเคราะห์ค่าเงิน นักลงทุนหุ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute",
"title": "จอร์จ โซรอส"
}
] | [
{
"docid": "271393#5",
"text": "โซรอสเกิดที่เมืองบูดาเปสต์ เมืองหลวงของประเทศฮังการี\nจอร์จ โซรอส เป็นลูกชายของ Tivarda Soros (หรือ Teodoro) ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Esperantist\nTivarda Soros เป็นชาวฮังการเชื้อสายยิว เคยตกเป็นเชลยศึกเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้หนีจากประเทศรัสสเซียกลับมาอยู่กับครอบครัวที่บูดาเปสต์",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "271393#7",
"text": "โซรอสแต่งงานและหย่าสองครั้ง กับ Annaliese Witschak และ Susan Weber Soros เขามีบุตรทั้งหมด 5 คน\nRobert, Andrea, Jonathan กับภรรยาคนแรก\nAnnaliese และ Alexander, Gregory กับภรรยาคนที่สอง\nSusan พี่ชายของ จอร์จ Paul Soros ผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนส่วนตัว และคนใจบุญ เป็นวิศวกรที่เกษียณแล้ว ได้ก่อตั้ง Paul and Daisy Soros Fellowships for Young Americans และยังเป็นหัวเรือใหญ่ใน Soros Associates ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมนานาชาติที่มีฐานอยู่ในนครนิวยอร์ก\nหลานของจอร์จโซรอส Peter Soros ซึ่งเป็นลูกชายของ Paul Soros ได้แต่งงานกับสตรีที่ชื่อ Flora Fraser ผู้ซึ่งเป็นบุตรีของ Lady Antonia Fraser และ Sir Hugh Fraser และมีพ่อเลี้ยงนั่นคือ นักเขียนรางวัลโนเบล ฮาโรลด์ พินเทอร์",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "271393#6",
"text": "หลังจากนั้นไม่นาน ทางครอบครัวได้เปลี่ยนชื่อจาก Schwartz เป็น Soros เพื่อปรับตัวกับการเติบโตของการต่อต้านชาวยิวและความนิยมของระบบฟาสซิสต์\nTivarda ชอบชื่อนี้ เพราะว่าเมื่อสะกดกลับหลัง แล้ว ก็ยังเหมือนเดิม (S-O-R-O-S ) และเพราะมันมีความหมายในภาษาฮังการีว่า “คนต่อไป”\nและในภาษา Esperanto โซรอสมีความหมายที่แปลได้ว่า “จะทะยานขึ้นไปยังในอากาศ” ตั้งแต่เด็กจอร์จ โซรอส ถูกอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีให้พูดภาษา Esperanto ตั้งแต่เกิด\nจึงทำให้เขาเป็นหนึ่งในจำนวนคนที่หายากที่จะมีภาษา Esperanto เป็นภาษาแม่ จอร์จเคยกล่าวไว้ว่า เขาเติบในครอบครัวยิวพ่อแม่ของเขามักระมัดระวังเกี่ยวกับรากศาสนาของเขา",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "271393#10",
"text": "เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกชายของเขาถูกพวกนาซีจับตัว พ่อของจอร์จโซรอสจ่ายเงินให้กับราชการในกระทรวงกสิกรเพื่อที่จะให้โซรอสไปอยู่ที่นั่นระหว่างฤดูร้อนของปี 1944 ในฐานะลูกบุญธรรม จอร์จ โซรอสต้องซ่อนความเป็นยิวของเขา แม้ว่าทางรัฐบาลกำลังยึดทรัพชาวยิวอยู่ \nในปีต่อมาเขาได้รอดพ้นจากการต่อสู้ในเมืองบูดาเปสต์ โซรอสได้แลกเปลี่ยนเงินตราและเครื่องประดับ เมื่อครั้งที่เงินเฟ้อในประเทศฮังการีช่วงปี 1945-46\nโซรอสย้ายสัญชาติไปอังกฤษเมื่อปี 1947 และจบจาก London School of Economics ในปี 1952\nโซรอสได้ทำงานเสริมเป็นพนักงานเสิร์ฟและเด็กยกกระเป๋าตามสถานีรถไฟ ทั้งๆ ที่เป็นนักศึกษาด้านปรัชญากับ Karl Popper\nทางมหาวิทยาลัยได้ขอให้โซรอสช่วยเป็นติวเตอร์เพื่อแลกกับเงิน 40 ปอนด์จากกองทุน Quaker และสุดท้ายได้ทำงานกับธนาคาร Singer & Friedlander",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "271393#8",
"text": "เมื่อตอนที่นาซีเข้ายึดฮังการี ในเดือนมีนาคม 1944 โซรอสมีอายุได้ 13 ปี เขาเคยได้ทำงานใน Jewish Council ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยที่นาซียึดครองฮังการี\nเพื่อที่จะใช้กำลังในการต่อต้านชาวยิวของนาซีและรัฐบาลฮังการี โซรอสเคยเล่าถึงประสบการสองวันนี้กับนักเขียน Michael Lewis ว่า:",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "335484#4",
"text": "สตีฟ โรเจอร์ส ถือกำเนิดในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ที่โลเวอร์อีสท์ไซด์ของแมนฮัตตัน ในนิวยอร์ก โดยมีพ่อแม่เป็นชาวไอร์แลนด์ที่อพยพเข้าเมือง ซึ่งมีชื่อว่าซาร่าห์ กับโจเซฟ โรเจอร์ส โจเซฟ โรเจอร์สเสียชีวิตลง โดยที่เหลือเพียงสตีฟซึ่งเป็นบุตรเพียงคนเดียวของซาร่าห์ผู้เป็นมารดา จากนั้นในภายหลัง ซาร่าห์ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคปอดบวมในช่วงที่สตีฟอยู่ในวัยหนุ่ม ในช่วงต้นยุค 1940 ก่อนที่อเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง โรเจอร์สเป็นผู้มีร่างกายสูงแต่ผอมบาง เขาเป็นนักเรียนด้านวิจิตรศิลป์ผู้เชี่ยวชาญภาพประกอบ จากเหตุการณ์ที่คุกคามโดยจักรวรรดิไรช์ที่สามนี้ โรเจอร์สได้พยายามที่จะเข้าร่วมเกณฑ์ เพียงเพื่อต้องการที่จะปฏิเสธความยากจน เนื่องด้วยพลเอกเชสเตอร์ ฟีลิปส์แห่งกองทัพสหรัฐกำลังมองหาการทดสอบอยู่พอดี โรเจอส์จึงมีโอกาสที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการมีส่วนร่วมในโครงการป้องกันความลับสุดยอด โอเปอร์เรชั่น: รีเบิร์ธ หรือโครงการการเกิดใหม่จึงได้เกิดขึ้น ซึ่งได้มีความพยายามในการพัฒนาด้านการสร้างซูเปอร์โซลเยอร์ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายอย่างแท้จริง โรเจอร์สอาสาเข้ารับการทดสอบ และภายหลังจากการคัดเลือกอย่างเข้มงวด เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับเซรุ่มเพื่อเป็นซูเปอร์โซลเยอร์จากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า ดร.โจเซฟ ไรน์สไตน์ ซึ่งในภายหลังเขาได้เปลี่ยนชื่อรหัสของนักวิทยาศาสตร์มาเป็น อับราฮัม เออร์สไคน์",
"title": "กัปตันอเมริกา"
},
{
"docid": "779268#0",
"text": "จอร์จ แคมป์เบลล์ สกอตต์ (; 18 ตุลาคม 1927 – 22 กันยายน 1999) เป็นนักแสดง ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองไวส์ รัฐเวอร์จิเนีย เป็นบุตรชายของจอร์จ สกอตต์ ดิวอี และ เฮเลนา อักเนส สกอตต์เข้าเรียนที่โรงเรียนเรดฟอร์ดไฮสกูล และเรียนจบในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี-โคลัมเบีย เอกสื่อสารมวลชนในปี ค.ศ. 1953 เขามีชื่อเสียงครั้งแรกจากบทบาทพลเอกจอร์จ เอส. แพตตัน ในภาพยนตร์เรื่อง \"Patton\" ทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า เขายังเป็นคนแรกที่ปฎิเสธรางวัลออสการ์และจะไม่ไปร่วมงานดังกล่าว โดยสกอตต์ให้เหตุผลว่าการเมืองที่เกี่ยวพันกับออสการ์นั้นโหดร้าย แต่ปรากฏว่าเขาได้รับรางวัลในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ทำให้โปรดิวเซอร์หนังจึงต้องขึ้นรับรางวัลแทน สกอตต์มีผลงานการแสดงภาพยนตร์ 64 เรื่อง ระหว่างปี 1958–1999 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 ครั้ง, เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 5 ครั้ง, เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มมี 8 ครั้ง และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแบฟตา 3 ครั้ง",
"title": "จอร์จ ซี. สกอตต์"
},
{
"docid": "271393#13",
"text": "Black Wenesday (16 กันยายน 1992) กองทุนของโซรอสขายหุ้นมูลค่ากว่า $1,000,000,000 ปอนด์ โดยเก็งกำไรว่าจะซื้อกลับด้วยราคาที่ต่ำกว่า\nเพื่อที่จะดูว่าทางธนาคารจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจะได้เทียบเท่ากับค่าเงินยุโรปหรือว่าจะปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว \nในที่สุดธนาคารอังกฤษถอนเงินออกจาก Europen Exchange Rate Mechanism ทำให้ค่าเงินตก\nในการกระทำครั้งนี้ โซรอสสร้างกำไรประมาณ 1,100,000,000 เขาขึ้นชื่อว่า “ชายผู้ทำลายธนาคารอังกฤษ”\nThe Times ของวันจันทร์ ที่ 26 ตุลาคม ปี 1992 ได้คัดลอกบทสนทนาของ จอร์จ โซรอส ว่า “ในตำแหน่งของเรา ในวัน Black Wenesday ต้องมีมูลค่าเกือบ $10,000,000,000 แน่ เรากะว่าจะขายมากกว่านั้น ความจริงแล้วตอนที่ Norman Lamont บอกก่อนที่จะค่าเงินตกว่าจะยืมเงินเกือบ $15,000,000,000 เพื่อจะปกป้องค่าเงินของเขา เราก็นึกสนุกขึ้นมาเพราะนั่นคือจำนวนที่เรากะว่าจะขายอยู่พอดี”\nStanley Druckenmiller ที่ทำการแลกเปลี่ยนภายใต้การดูแลของโซรอส เป็นผู้เห็นจุดอ่อนในค่าเงินปอนด์ สิ่งที่โซรอสทำคือดันเขาให้ทำให้มันใหญ่ขึ้น \nในปี 1997 ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของเอเชีย นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮาหมัด กล่าวหาโซรอสว่าเขาใช้ความมั่งคั่งลงโทษกลุ่มอาเซียนที่รับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิก\nแต่โซรอสก็ปฏิเสธคำกล่าวหานั้น\nในหนังสือของเขาที่ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 The New Paradigm for Financial Markets กล่าวถึงกลุ่มที่เรียกว่า “Supperbubble” ซึ่งได้ก่อตัวขึ้นภายใน 25 ปีที่ผ่านมา\nนี่เป็นหนังสือเล่มที่สามที่เขาได้เขียนที่พยากรณ์ความหายนะ \nโซรอสได้กล่าวไว้ว่า เขาเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงแกะ หนังสือเล่มแรก The Alchemy of Finance ในปี 1987 แล้วก็ The Crisis of Global Capitalism ในปี 1998 แล้วก็เล่มนี้ เพราะฉะนั้นก็มีหนังสือทั้งหมดสามเล่มที่ทำนายว่าจะมีหายนะเกิดขึ้น หลังจากเด็กเลี้ยงแกะบอกว่าหมาป่ามาสามครั้ง หมาป่าก็มาจริงๆ",
"title": "จอร์จ โซรอส"
},
{
"docid": "271393#1",
"text": "นิตยสาร ฟอร์บส์ ได้จัดให้ จอร์จ โซรอส อยู่ในอันดับที่ 35ของบุคคลที่รวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ\nเขาได้บริจาคเงิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการกุศลตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา",
"title": "จอร์จ โซรอส"
}
] |
1238 | ตัวรับแรงกล หมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "879409#0",
"text": "ตัวรับแรงกล () เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง\nมีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ)\nในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending \nและผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม\nในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule\nในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง\nแม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย\nซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ",
"title": "ตัวรับแรงกล"
},
{
"docid": "571376#5",
"text": "ตัวรับความรู้สึกทำกิจเฉพาะที่เรียกว่า ตัวรับแรงกล () มักจะหุ้มปลายของใยประสาทนำเข้าเป็นแคปซูลคือเป็นถุงหุ้ม เพื่อช่วยปรับใยประสาทนำเข้าให้ตอบสนองกับตัวกระตุ้นทางกายประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว ตัวรับแรงกลยังลดระดับขีดเริ่มเปลี่ยนในการสร้างศักยะงานในใยประสาทนำเข้า และดังนั้น โอกาสที่จะยิงสัญญาณของประสาทนำเข้าจึงมีเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นความรู้สึก",
"title": "เซลล์ประสาทรับความรู้สึก"
}
] | [
{
"docid": "563366#2",
"text": "ความไม่สมดุลของภาวะธำรงดุลแบบต่าง ๆ เป็นเหตุสำคัญ (และเป็นตัวกระตุ้น) ในความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย ตัวรับความรู้สึกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็น\"ตัวรับแรงกล\"ที่ตอบสนองต่อความกดดันเชิงกลจะมีการติดตามตัวกระตุ้นจำพวกนี้อย่างละเอียด ตัวอย่างของตัวรับแรงกลก็อย่างเช่น ตัวรับความดัน (baroreceptors) ซึ่งตรวจจับความเปลี่ยนแปลงในความดันโลหิต, Merkel's discs ซึ่งตรวจจับการสัมผัสและความกดดันแบบคงที่, และเซลล์ขน (hair cells) ซึ่งตรวจจับตัวกระตุ้นคือเสียง ความไม่สมดุลของภาวะธำรงดุลที่สามารถเป็นตัวกระตุ้นภายในรวมทั้งสารอาหารและไอออนในโลหิต ความดันโลหิต ระดับออกซิเจน และระดับน้ำ ระบบประสาทกลางเป็นตัวตรวจจับและรวบรวมความผิดปกติทุกอย่าง และจะยังร่างกายให้ทำการตอบสนองที่เหมาะสม",
"title": "ตัวกระตุ้น"
},
{
"docid": "912564#40",
"text": "ตัวรับแรงกลจะอยู่ที่ผิวหนังซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยเลือดเป็นอย่างดี และจะมีที่ผิวหนังทั้งเกลี้ยงและมีขน\nตัวรับแรงแต่ละอย่างจะไวสิ่งเร้าในระดับต่าง ๆ กัน และจะส่งศักยะงานต่อเมื่อได้รับพลังงานที่ถึงขีดเริ่มเปลี่ยนของตน ๆ\nแอกซอนของตัวรับความรู้สึกแต่ละตัว ๆ เหล่านี้ จะรวมกันเป็นเส้นประสาท\nซึ่งส่งสัญญาณผ่านไขสันหลังไปยังระบบรับความรู้สึกทางกายในสมอง",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "879409#19",
"text": "อย่างไรก็ดี กิจกรรมในชีวิตประจำวันหลาย ๆ อย่างต้องอาศัยตัวรับแรงกลหลายอย่างรวมกันส่งความรู้สึกที่อำนวยให้ทำกิจกรรมได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเราจะจับวัสดุที่วางอยู่ ยกขึ้น แล้วย้ายไปวางอีกที่หนึ่งได้ ก็อาจจะต้องอาศัยความรู้สึกจากตัวรับแรงกลหุ้มปลายพิเศษทั้ง 4 อย่าง ซึ่งให้ความรู้สึกรวมทั้งรูปร่างของวัตถุ การถูกมือ/นิ้วเมื่อกำลังจับ ตำแหน่งที่ถูกมือ/นิ้ว ความหยาบเกลี้ยงของผิววัสดุ ความอ่อนแข็งของวัตถุ ความเสียดทานของวัสดุกับมือ แรงที่ใช้เพื่อจับวัสดุ (ทั้งแนวตั้งและแนวขนานกับผิว) ตำแหน่งรูปร่างของมือและนิ้ว ความสั่นสะเทือนเมื่อวัสดุยกพ้นจากที่วาง การลื่นหลุดของวัสดุเมื่อกำลังดำเนินการ ความสั่นสะเทือนเมื่อวัสดุวางถึงที่วางใหม่ เป็นต้น ความเสียหายหรือการหยุดทำงานของตัวรับแรงกลเหล่านี้ อาจทำให้กิจกรรมเช่นนี้ทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ",
"title": "ตัวรับแรงกล"
},
{
"docid": "885632#11",
"text": "ลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล ก็คือบริเวณพื้นที่ที่เซลล์ประสาทตอบสนองต่อสิ่งเร้า\nโดยคร่าว ๆ แล้ว ถ้ามีการสัมผัสผิวหนังสองที่ภายในลานรับสัญญาณเดียวกัน บุคคลนั้นจะไม่สามารถจำแนกจุดสองจุดจากการสัมผัสที่จุดเดียวได้ (เป็นการทดสอบที่เรียกว่า Two-point discrimination)\nและถ้ามีการสัมผัสภายในลานสัญญาณที่ต่างกัน บุคคลนั้นก็จะจำแนกได้\nดังนั้น ขนาดลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล จึงเป็นตัวกำหนดการจำแนกสิ่งเร้าที่ละเอียดได้\nยิ่งมีลานสัญญาณเล็กเท่าไรมีกลุ่มลานรับสัญญาณที่อยู่ใกล้ ๆ กันเท่าไร ก็จะสามารถจำแนกละเอียดยิ่งขึ้นเท่านั้น\nเพราะเหตุนี้ ปลายประสาทเมอร์เกิลและ Meissner's corpuscle จึงรวมกลุ่มอยู่อย่างหนาแน่นที่ปลายนิ้วมือซึ่งไวความรู้สึก แต่หนาแน่นน้อยกว่าที่ฝ่ามือและหน้าแขนที่ไวสัมผัสน้อยกว่า",
"title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล"
},
{
"docid": "912564#41",
"text": "ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) \nในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม \nในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "571376#6",
"text": "ตัวรับอากัปกิริยา () เป็นตัวรับแรงกลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งโดยบทของคำในภาษาอังกฤษแล้วหมายถึง \"ตัวรับความรู้สึกเกี่ยวกับตน\" ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้แสดงข้อมูลที่ตั้งในปริภูมิของแขนขาและส่วนของร่างกายอื่น ๆ",
"title": "เซลล์ประสาทรับความรู้สึก"
},
{
"docid": "879409#1",
"text": "งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร\nปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบหุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Pacinian corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ\nเมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่น แรงสั่นความถี่สูง) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na และ Ca ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง\nตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง\nความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "ตัวรับแรงกล"
},
{
"docid": "879409#15",
"text": "ให้สังเกตว่า ลานรับสัญญาณของใยประสาทประเภท I โดยมากจะเล็กกว่าวัตถุที่อยู่ในมือมาก ดังนั้น แต่ละใยจึงรับรู้สัมผัสเพียงส่วนเดียวของวัตถุ และจึงต้องอาศัยสมองเพื่อรู้ลักษณะต่าง ๆ รวม ๆ ของวัตถุ โดยรวบรวมประมวลข้อมูลที่ได้จากใยประสาทแต่ละเส้น ๆ\nปลายประสาทรับแรงกลสามารถจำแนกตามอัตราการปรับตัวเมื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า คือ",
"title": "ตัวรับแรงกล"
}
] |
1242 | นิชคุณ หรเวชกุล มีพี่น้องกี่คน? | [
{
"docid": "201475#1",
"text": "นิชคุณเกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ที่เมืองแรนโค คูคามอนกา (Rancho Cucamonga) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวไทยและนับถือศาสนาพุทธ บิดาเป็นชาวไทยชื่อ ธีรเกียรติ หรเวชกุล และมารดาเป็นชาวไทยชื่อ เย็นจิต หรเวชกุล นิชคุณเป็นลูกคนที่ 2 จาก 4 คนในครอบครัว มีพี่ชาย 1 คน คือ ณิชฌาน หรเวชกุล จบการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ ที่ University of California riverside และมีน้องสาวอีก 2 คน คือนิธิกานต์ ญาณิน หรเวชกุล จบการศึกษาแล้วจาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ ณัฐจารี หรเวชกุล ผู้เข้าประกวดในรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9 ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ",
"title": "นิชคุณ หรเวชกุล"
},
{
"docid": "518007#1",
"text": "ณัฐจารี หรเวชกุล เกิดวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของ นายธีรเกียรติ หรเวชกุล กับ นางเย็นจิต หรเวชกุล โดยมีพี่ชาย 2 คน คือ ณิชฌาน หรเวชกุล และ นิชคุณ หรเวชกุล หนึ่งในสมาชิกวง ทูพีเอ็ม วงบอยแบนด์ชื่อดังของ เกาหลีใต้ และมีพี่สาว 1 คน คือ นิธิกานต์ หรเวชกุล ก่อนเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว เชอรีนเคยรวมกลุ่มกับเพื่อนๆเต้นคัฟเวอร์ (Cover Dance) ศิลปินเกาหลี โดยใช้ชื่อวงว่า BELiiZE เพื่อเข้าประกวด และเต้นโชว์ตามงานต่าง ๆ",
"title": "ณัฐจารี หรเวชกุล"
}
] | [
{
"docid": "325959#2",
"text": "นายผินมีภรรยาสองคน คือ สุเนตร คิ้วคชา และ อาภา เตชะรัตนไชย มีบุตร 9 คน คือ โสภิดา เชิดชัย กิตติกร คิ้วคชา (ดูแลกิจการภูเก็ตแฟนตาซี) อัมพรศรี คิ้วคชา ธนะ คิ้วคชา (ดูแลกิจการบางกอกฟาร์ม) สมหวัง คิ้วคชา โชค คิ้วคชา ฤทธิ์ คิ้วคชา (ดูแลกิจการไอศครีมสฟรี) เดช คิ้วคชา ดวง คิ้วคชา",
"title": "ผิน คิ้วคชา"
},
{
"docid": "201475#0",
"text": "นิชคุณ หรเวชกุล นักร้องชาวไทย เชื้อชาติไทย-จีน เป็นหนึ่งในสมาชิกในหกคน ของวงดนตรีเกาหลีใต้ \"ทูพีเอ็ม\" สังกัดเจวายพีเอ็นเตอร์เทนเมนท์ นอกจากนั้น ยังเป็นพิธีกรในหลายรายการโทรทัศน์ของเกาหลี",
"title": "นิชคุณ หรเวชกุล"
},
{
"docid": "201475#16",
"text": "ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 7 ในสุดยอดหนุ่มหน้าสวยประจำปี 2009 หรือ Mnet Super 100 Flower Boys! (2009) ที่จัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ Mnet อยู่ในลำดับที่ 16 จากการจัดอันดับ Mnet Super 100 Endorphins Star หรือ \"ดาราสร้างความสุข\" ดาราอารมณ์ดีที่เห็นกี่ทีก็มีความสุข จากผลสำรวจของ Bugs กับหัวข้อ 'ศิลปินที่คุณอยากไปเที่ยวพักผ่อนในฤดูร้อนมากที่สุดคือใคร?' จากผู้ร่วมตอบคำถามในโพลกว่า 4,130 คน นิชคุณติดอยู่อันดับ 3",
"title": "นิชคุณ หรเวชกุล"
},
{
"docid": "620562#1",
"text": "พาณิภัคเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 3 คน พี่คนโต คือ เรืออากาศเอกหญิงกรวิกา วงศ์พัฒนกิจ (ชื่อเล่น \"โบว์ลิ่ง\") อาจารย์สอนนักเรียนนายร้อยที่โรงเรียนเตรียมทหาร อดีตนักกีฬาว่ายน้ำไปแข่งขันกีฬาอาร์ราฟูร่าเกมส์ ที่ประเทศออสเตรเลีย และนายศราวิน วงศ์พัฒนกิจ (ชื่อเล่น \"เบสบอล\") อดีตนักกีฬาว่ายน้ำไปแข่งขันกีฬาอาร์ราฟูร่าเกมส์ ที่ประเทศออสเตรเลีย อดีตนักกีฬาเทควันโดได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ที่จังหวัดสุโขทัย และกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ที่จังหวัดขอนแก่น",
"title": "พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ"
},
{
"docid": "131372#2",
"text": "นายไกรศรีมีพี่ชายคนที่ 3 คือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ \"ซูเปอร์เค\" อดีตผู้ว่าการคนแรกของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายไกรศรีเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ มัธยมศึกษาตอนต้นที่ วชิราวุธวิทยาลัย และสำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โดยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ",
"title": "ไกรศรี จาติกวณิช"
},
{
"docid": "201475#6",
"text": "นิชคุณเข้าฝึกที่หอพักฝึกของบริษัทเจวายพี ที่มีการเรียน การเต้น การแสดงและเรียนภาษาเกาหลี โดยเรียนตั้งแต่ 11 โมงถึง 3 ทุ่ม โดยทุกเดือนจะมีการทดสอบวัดความสามารถ มีอาร์ตทิสเทรนนิงเป็นผู้รายงานพัฒนาการของเด็กที่ฝึกหัด และยังดูเรื่องมนุษยสัมพันธ์ หอฝึกมีกฎห้าม อย่างห้ามกินเหล้า ห้ามมีแฟน ใครฝ่าฝืนโดนไล่ออก มีคนอยู่ร่วมโครงการเดียวกับนิชคุณ 5 คน ส่วนด้านการเรียนต่อระดับอุดมศึกษานิชคุณ พักการเรียนไว้ก่อนเนื่องจากความยุ่งยากในการเรียนที่เกาหลี แต่ก็ฝันว่าอยากจะเรียนต่อด้านการทำอาหาร",
"title": "นิชคุณ หรเวชกุล"
},
{
"docid": "213930#3",
"text": "สาวิณี มีบุตรกับนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ จำนวน 3 คน หนึ่งในนั้นเป็นบุตรชาย คือ นายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ \"หมูแฮม\" ที่ขับรถยนต์พุ่งเข้าชนป้ายรถเมล์ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2550 และจำคุกในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นเวลา 2 ปี 1เดือนตามคำสั่งศาลฎีกา อีกหนึ่งคนคือ แบมบี้ สิรินโสพิศ ปัจฉิมสวัสดิ์ 8 คนสุดท้าย เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9\nปัจจุบันหย่าขาดกันแล้ว",
"title": "สาวิณี ปะการะนัง"
},
{
"docid": "386285#1",
"text": "วรรณีเป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดเจ็ดคนของพลตำรวจโท ฉัตร หนุนภักดี กับประยงค์ (สกุลเดิม: วิชิตกลชัย) มีพี่น้อง ได้แก่ ประยงค์ฉัตร ผุดผาด, พยอม เศรษฐบุตร, พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี, ต้อย หนุนภักดี, ณรงค์ศักดิ์ หนุนภักดี และอัครฉัตร หนุนภักดี ตามลำดับ โดยเฉพาะพี่ชายคือพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นญาติกับพลเอก ชัยณรงค์ หนุนภักดี ลูกพี่น้องคนหนึ่งซึ่งเป็นนายทหารเช่นกัน และพลตรี ทวีศักดิ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหาร",
"title": "วรรณี คราประยูร"
}
] |
1245 | ไดอานาเสียชีวิตเมื่ออายุเท่าไหร่? | [
{
"docid": "12911#0",
"text": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ () มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ",
"title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
}
] | [
{
"docid": "359045#10",
"text": "โดดี ฟาเยด ที่นั่งอยู่ที่เก้าอี้ผู้โดยสารด้านหลังซ้าย ซึ่งเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงพยายามกู้ชีพเขา แต่ต่อมาแพทย์ผู้หนึ่งยืนยันว่าเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อ เวลา 1.32 น. ส่วนอองรี ปอล คนขับรถ ถูกประกาศว่าเสียชีวิตเมื่อร่างถูกย้ายออกจากซากรถ ศพทั้งสองถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บศพของกรุงปารีส แอ็งสตีตืตท์ เมดีโก-เลกาล ผลการชันสูตรพลิกศพออกมาว่า ทั้งโดดีและอองรี เสียชีวิตจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาแตกและกระดูกสันหลังร้าว อองรีไขสันหลังแตก และโดดีเสียชีวิตจากไขสันหลังที่บริเวณต้นคอแตก สภาพของทั้งสองศพแหลกเละจนจำเค้าเดิมไม่ได้",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "359045#0",
"text": "วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ภายหลังทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ภายในอุโมงค์ทางลอดสะพานปองต์เดอลัลมา กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดดี ฟาเยด พระสหาย และอองรี ปอล คนขับรถ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวคือ เทรเวอร์ รีส์–โจนส์ ผู้ทำหน้าที่องครักษ์",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "359045#21",
"text": "ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 6 ปีหลังการสิ้นพระชนม์ คดีสิ้นพระชนม์ของไดอานาและการเสียชีวิตของโดดี อัล ฟาเยด ถูกรื้อฟื้นมาไต่สวนใหม่อีกครั้งที่กรุงลอนดอน ภายใต้การนำขอวไมเคิล เบอร์เจส เจ้าหน้าที่ไต่สวนคดีมรณกรรมของสมเด็จพระราชินีและคณะพิจารณาคดีได้ขอให้เซอร์จอห์น สตีเว่นส์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากหน่วยตำรวจนครบาลลอนดอน เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยว่าไดอานาไม่ได้สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุ และทีมโอเปอเรชั่นพาเก็ตได้ทำการสรุปผลการสืบสวนลงในผลรายงานในเดือนธันวาคม 2548",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "359045#25",
"text": "ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นิตยสารรายสัปดาห์ของอิตาลี Chi ตีพิมพ์ภาพถ่ายของไดอานาในนาทีสุดท้ายของชีวิต แม้ว่าจะได้มีการสั่งห้ามมิให้เผยแพร่ภาพชุดดังกล่าว ภาพชุดนี้ถูกถ่ายหลังจากเกิดอุบัติเหตุได้ไม่นาน และภาพแสดงให้เห็นไดอานาที่ทรุดตัวลงที่เบาะหลัง ขณะที่หน่วยกู้ชีพได้พยายามสวมเครื่องช่วยหายใจให้พระองค์ และภาพนี้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร, หนังสือพิมพ์ภาษาอิตาลีและสเปนหลายสำนักพิมพ์",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "359045#4",
"text": "7 เมษายน พ.ศ. 2551 คณะลูกขุนแถลงคำตัดสินปิดคดีว่า การสิ้นพระชนม์ไดอานาและการเสียชีวิตของโดดีเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของอองรี ปอล และความประมาทอย่างร้ายแรงกลุ่มช่างภาพปาปารัสซีที่ไล่ติดตาม นอกจากนี้คณะลูกขุนยังระบุถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเติมที่มีส่วนให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ 1) คนขับรถบกพร่องในการตัดสินใจเนื่องจากตกอยู่ภายใต้ฤทธิ์แอลกอฮอล์ 2) ข้อเท็จจริงที่ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัยอาจเป็นเหตุหรือมีส่วนทำให้ถึงแก่ความตาย 3) ข้อเท็จจริงที่รถเบนซ์พุ่งชนตอม่อภายในถนนลอดอุโมงค์สะพานปองต์เดอลัลมา และไม่ได้พุ่งชนวัตถุหรือสิ่งอื่นใด",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "979725#1",
"text": "ไดอานา เวลสลีย์ ดัชเชสแห่งเวลลิงตัน เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 1 พฤสจิกกายน 2553 สิริอายุรวม 88 ปี",
"title": "ไดอานา เวลสลีย์ ดัชเชสแห่งเวลลิงตัน"
},
{
"docid": "359045#5",
"text": "หลังเสร็จสิ้นการพักผ่อนล่องเรือยอชท์ในเฟรนช์และอิตาเลียนริเวียราเป็นเวลา 9 วัน ไดอานาจึงเสด็จออกจากเกาะซาร์ดิเนีย ประเทศอิตาลี พร้อมกับโดดี ฟาเยด ด้วยเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวและเสด็จถึงสนามบินเลอบูเฌ กรุงปารีส เพื่อแวะพักค้างคืนที่อะพาร์ตเมนท์บนถนนอาร์แซน อูเซ ในย่านช็องเซลีเซ ก่อนเดินทางต่อไปยังกรุงลอนดอน",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "359045#28",
"text": "การสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันของไดอานาสร้างความตกตะลึงให้กับชาวโลก ประชาชนชาวอังกฤษต่างตกอยู่ในอาการโศกเศร้าและร้องไห้คร่ำครวญต่อเจ้าหญิงในดวงใจ พิธีพระศพถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยมีประชาชนราว 3 ล้านคนมาร่วมไว้อาลัยและยืนรอบนถนนเพื่อชมขบวนพระศพที่ดำเนินผ่านในกรุงลอนดอน และพิธีนี้ได้มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก กลายเป็นข่าวสำคัญกว่าการเสียชีวิตของแม่ชีเทเรซาที่เสียชีวิตในสัปดาห์เดียวกันนั้น",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "12911#3",
"text": "ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ทั้งก่อนอภิเษกสมรสและภายหลังหย่าร้าง สื่อมวลชนทั่วโลกต่างเกาะติดชีวิตของไดอานาและนำเสนอข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพระองค์อยู่ตลอดเวลา ไดอานาทรงหย่าขาดจากพระสวามีในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2539 การสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างกะทันหันในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ยิ่งทำให้สื่อทุกแขนงล้วนแต่นำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์และภาพประชาชนที่แสดงความเศร้าโศกเสียใจต่อการจากไปของพระองค์ หนึ่งสัปดาห์ต่อมาพระราชพิธีพระศพถูกจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และมีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีไปยังเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วโลก",
"title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
},
{
"docid": "12911#106",
"text": "การพิจารณีคดีละเมิดลิขสิทธิ์นี้ถูกนำขึ้นไต่สวนที่ศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่การฟ้องร้องในกรณีที่เกี่ยวกับการนำภาพถ่ายบุคคลซึ่งเจ้าของงานนั้นเสียชีวิตไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ฝ่ายโจทก์สามารถดำเนินคดีแทนผู้เสียชีวิตได้ หากก่อนถึงแก่ความตาย ผู้เสียชีวิตได้พำนักอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเวลานานต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป แต่ไดอานาไม่ทรงเข้าเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ประทับอยู่ในรัฐแห่งนี้ก่อนสิ้นพระชนม์ ฉะนั้นศาลจึงถือว่าการฟ้องร้องคดีครั้งนี้ กองทุนเป็นผู้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นเหตุให้ศาลไม่รับฟ้อง และกองทุนฯ แพ้คดีในที่สุด",
"title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
}
] |
1251 | จักรวรรดิแฟรงก์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "263984#1",
"text": "จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” (\"Frankish Kingdoms\" หรือ \"Frankish Realm\") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9",
"title": "จักรวรรดิการอแล็งเฌียง"
},
{
"docid": "240635#0",
"text": "ราชอาณาจักรแฟรงก์ () หรือ ฟรังเกีย () เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
}
] | [
{
"docid": "665#7",
"text": "ในค.ศ. 800 ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน และสถาปนาจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ต่อมาในปีค.ศ. 840 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการแย่งชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรสของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา สงครามกลางเมืองครั้งนี้จบลงในปี 843 โดยการแบ่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียงออกเป็นสามอาณาจักรอันได้แก่: \nอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกแผ่ขยายดินแดนอย่างมากมายครอบคลุมถึงอิตาลีในรัชสมัยพระเจ้าออทโทที่ 1 ในปีค.ศ. 962 พระองค์ก็ปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันตามแบบอย่างชาร์เลอมาญ และสถาปนาราชวงศ์ออทโท ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กมีดินแดนในอาณัติกว่า 1,800 แห่งทั่วยุโรป \nเดิมที ปรัสเซียเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยอมรับนับถือจักรพรรดิในกรุงเวียนนาเป็นเจ้าเหนือหัว อย่างไรก็ตาม ปรัสเซียเริ่มแตกหักกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กเมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 เสด็จสวรรคตในปี 1740 ทายาทของจักรพรรดิคาร์ลมีเพียงพระราชธิดาเท่านั้น พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ทรงคัดค้านการให้สตรีครองบัลลังก์จักรวรรดิมาตลอด พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ทรงเปิดฉากรุกรานดินแดนไซลีเซียของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เกิดเป็นสงครามไซลีเซียครั้งที่หนึ่ง และบานปลายเป็นสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่มีอังกฤษและสเปนเข้ามาร่วมอยู่ฝ่ายเดียวกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความเสียเปรียบของฮับส์บูร์ก ราชสำนักกรุงเวียนนาต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่ปรัสเซียและพันธมิตร ราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซียได้ผงาดบารมีขึ้นมาเป็นขั้วอำนาจใหม่ในจักรวรรดิเทียบเคียงราชสำนักกรุงเวียนนา แม้ว่าโดยนิตินัยแล้ว ปรัสเซียจะยังคงถือเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิภายใต้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็ตาม",
"title": "ประเทศเยอรมนี"
},
{
"docid": "255616#5",
"text": "การแบ่งแยกจักรวรรดิแฟรงค์โดยสนธิสัญญาแวร์เดิงมีอิทธิต่อความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุโรปมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะเป็นการแบ่งแยกที่มิได้คำนึงถึงความแตกต่างทางภาษาหรือวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ราชอาณาจักรแฟรงค์กลางเป็นดินแดนที่มีเขตแดนที่ป้องกันยากเพราะมีเทือกเขาแอลป์คั่นอยู่ระหว่างกลางที่ทำให้การปกครองโดยประมุขคนเดียวทำได้ยาก จะมีก็แต่คาร์ลเดอร์ดิคเคอเท่านั้นที่ทรงทำได้แต่ก็เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น ในปี ค.ศ. 855 อาณาบริเวณทางตอนเหนือของราชอาณาจักรแฟรงค์กลางก็แตกแยกจากกัน ที่กลายมาเป็นบริเวณความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนีตลอดมา อาณาจักรที่กลายเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจก็ได้แก่ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกและราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตกที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสตามลำดับ การล่มสลายของราชอาณาจักรแฟรงค์กลางเป็นผลทำให้เกิดความแตกแยกกันในอาณาจักรในคาบสมุทรอิตาลีมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19",
"title": "สนธิสัญญาแวร์เดิง"
},
{
"docid": "221552#1",
"text": "ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย",
"title": "ราชวงศ์การอแล็งเฌียง"
},
{
"docid": "240635#4",
"text": "กษัตริย์เมรอวินเจียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือโคลวิสที่ขึ้นครองบัลลังก์ในราวปี ค.ศ. 482 พระองค์ถูกบีบตั้งแต่ช่วงต้นรัชสมัยให้ต่อสู้กับผู้นำชาวแฟรงก์คู่แข่งที่ถูกพระองค์สังหารอย่างโหดเหี้ยม เศษสุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 486 เมื่อโคลวิสปราบซีอากริอุสที่เคยปกครองกอลตอนเหนือ พื้นที่ส่วนนั้นของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ถูกเรียกว่าเนอุสเตรีย (ดินแดนใหม่) ตรงข้ามกับออสตราเชีย (ดินแดนตะวันออก) ที่เป็นอาณาเขตใจกลางดั้งเดิมของชาวแฟรงก์ ทว่าการพิชิตของโคลวิสไปไกลกว่านั้นมาก พระองค์โจมตีและปราบสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกอาเลมันนิในราวปี ค.ศ. 496 เพิ่มอาณาเขตขนาดใหญ่ให้กับอาณาจักรของตน อิทธิพลจากพระราชินีชาวเบอร์กันเดียน โคลทิลดา โน้มน้าวพระองค์ให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์หลังทำสมรภูมิกับชาวอาเลมันนิ การตัดสินใจเข้าร่วมศาสนจักรคาทอลิกแทนที่จะเป็นนิกายอาเรียนของศาสนาคริสต์เหมือนกับชนชาวเจอร์มานิกคนอื่นๆ มีความสำคัญต่อโคลวิสอย่างมาก เนื่องจากทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชากรในราชอาณาจักรเพื่อนบ้านที่มองว่าชาวอาเรียนเป็นพวกนอกรีต",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "235071#1",
"text": "ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี ค.ศ. 987 พระเจ้าอูก กาแป จึงได้สถาปนาราชวงศ์กาเปเซียง ในขณะนั้นรัฐนี้ยังใช้ชื่อว่าฟรังเกีย และประมุขดำรงพระอิสริยยศเป็น \"พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์\" () ต่อมาในปี ค.ศ. 1190 พระเจ้าฟิลิปที่ 2 จึงเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็น \"พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส\" () ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงซึ่งเป็นมหาสาขาของราชวงศ์กาเปเซียงก็ได้ปกครองอาณาจักรต่อมาจนกระทั่งสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1792",
"title": "ราชอาณาจักรฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "100949#2",
"text": "การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 849-880) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น \"\"โรมใหม่\"\" ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 922-938) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสวรรคตใน พ.ศ. 938 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น \"\"อย่างแท้จริง\"\" เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูส ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเศก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน",
"title": "จักรวรรดิไบแซนไทน์"
},
{
"docid": "267800#1",
"text": "ในความหมายที่กว้างกว่า “ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย” หมายถึงกลุ่มอาณาจักรขุนนาง หรือ เคานท์ไอบีเรียที่ก่อตั้งขึ้นโดยแฟรงก์ที่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงอาณาจักรเดียวคืออันดอร์รา เมื่อเวลาผ่านไปอาณาจักรเหล่านี้ก็รวมตัวกันเป็นอิสระจากอำนาจของจักรวรรดิแฟรงก์",
"title": "ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย"
},
{
"docid": "263790#1",
"text": "เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง",
"title": "อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก"
},
{
"docid": "263785#1",
"text": "เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง",
"title": "อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก"
}
] |
1253 | เมืองหลวงของ สาธารณรัฐยูกันดา คืออะไร? | [
{
"docid": "19824#0",
"text": "ยูกันดา () หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา () เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้วย",
"title": "ประเทศยูกันดา"
}
] | [
{
"docid": "747166#0",
"text": "อันนาศิรียะฮ์ () เป็นนครในประเทศอิรัก ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ตั้งห่างจากกรุงแบกแดดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 225 ไมล์ (370 กม.) อยู่ใกล้กับโบราณสถานเมืองอูร์ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการษีกอร ในปี ค.ศ. 2003 มีประชากรราว 560,000 คน ทำให้เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศอิรัก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ประชากรนับถือหลากหลายศาสนา คือ เป็นชาวมุสลิม ยิว มันดาอี แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะฮ์",
"title": "อันนาศิรียะฮ์"
},
{
"docid": "310527#25",
"text": "ประเทศยูกันดาภายใต้อำนาจการปกครองของอามินได้ดำเนินการส่งเสริมการทหารให้แข็งแกร่งขึ้น เนื่องด้วยการสะสมกองกำลังของประเทศเคนยา ทางการเคนยาได้ทำการยึดเรือสินค้าของโซเวียตลำที่มีเส้นทางเข้าประเทศยูกันดาเอาไว้ที่ท่าเรือมอมบาซ่าของประเทศเคนยา สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูกันดาและเคนยาบรรลุมาถึงจุดแตกหักในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เมื่ออามินประกาศว่าเขาจะสืบสาวเหตุการณ์ในซูดานตอนใต้และภาคตะวันตกกับภาคกลางของเคนยา เข้าไปถึง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) ของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งอาณานิคมของยูกันดา รัฐบาลของเคนยาได้ตอกกลับไปว่าเคนยาไม่เคยเป็นส่วนหนึ่ง\"แม้แต่นิ้วเดียว\" ต่อมาอามินเปลี่ยนใจเนื่องจากเคนยาได้ส่งกองกำลังและยานหุ้มเกราะบรรทุกทหารมาที่บริเวณเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างยูกันดาและเคนยา",
"title": "อีดี อามิน"
},
{
"docid": "310031#0",
"text": "อาดามาวา () เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไนจีเรีย มีเมืองหลวงคือเมืองโยลา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1991 แยกจากรัฐกอนโกลา เป็น 4 เขตการปกครองย่อย เป็น 1 ใน 36 รัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย",
"title": "รัฐอาดามาวา"
},
{
"docid": "249220#0",
"text": "อักกราเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐกานา อยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและด้านเศรษฐกิจ ผลผลิตในประเทศประมาณร้อยละ 70 ผลิตในเมืองนี้ อักกราได้เป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกานา ซึ่งได้เก็บรักษามรดกที่สำคัญของประเทศไว้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน โรงละครแห่งชาติกานาซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยปัจจุบัน",
"title": "อักกรา"
},
{
"docid": "7442#3",
"text": "ยูเครนเป็นรัฐเดี่ยว ประกอบด้วย 24 จังหวัด หนึ่งสาธารณรัฐปกครองตนเอง (ไครเมีย) และสองนครซึ่งมีสถานภาพพิเศษ คือ เคียฟ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุด และเซวัสโตปอลซึ่งเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซียภายใต้ความตกลงเช่า ยูเครนเป็นสาธารณรัฐในระบบกึ่งประธานาธิบดี โดยฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการแยกกัน นับแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย ยูเครนยังเป็นประเทศที่มีทหารมากเป็นอันดับสองในยุโรป รองจากรัสเซีย หากคิดรวมกำลังพลที่เป็นกำลังสำรองและกำลังกึ่งทหารด้วย",
"title": "ประเทศยูเครน"
},
{
"docid": "10998#0",
"text": "ยะโฮร์ (, อักษรยาวี: ) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20\" เหนือ และ 2°35\" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ",
"title": "รัฐยะโฮร์"
},
{
"docid": "14017#0",
"text": "เกอดะฮ์ () หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า \"ดารุลอามัน\" (\"ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ\") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี",
"title": "รัฐเกอดะฮ์"
},
{
"docid": "14017#1",
"text": "พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี",
"title": "รัฐเกอดะฮ์"
},
{
"docid": "628869#0",
"text": "โมซูล () หรือ อัลเมาศิล () เป็นนครในภาคเหนือของประเทศอิรัก และเมืองหลวงของจังหวัดนีนะวา ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 400 กิโลเมตร นครเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไทกริส ตรงข้ามกับนครนีนะวาของอัสซีเรียโบราณที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันพื้นที่มหานครได้เติบโตขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีสะพานห้าแห่งเชื่อมระหว่างสองฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ (โดยมีชนกลุ่มน้อยอัสซีเรีย เติร์กเมนอิรัก และเคิร์ด) เป็นนครขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด",
"title": "โมซูล"
}
] |
1254 | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้เชื้อเพลิงประเภทใด? | [
{
"docid": "20739#0",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย () ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง () ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "360896#2",
"text": "ยูเรเนียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกอัดเป็นเม็ดเซรามิก บรรจุเรียงตัวกันภายในแท่งเชื้อเพลิง จากนั้นจึงนำไปใช้งานในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยาการแตกตัวของยูเรเนียมที่เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะถูกกักเก็บอย่างมิดชิดภายในเม็ดเชื้อเพลิงที่มีปลอกแท่งเชื้อเพลิงห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ภายหลังการใช้งานแท่งเชื้อเพลิงไประยะหนึ่งจะมีกากกัมมันตรังสีเกิดสะสมขึ้นในเม็ดเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ทำให้ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาลูกโซ่ลดลงจึงจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนนำแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว () ออกมาและเติมแท่งเชื้อเพลิงใหม่เข้าไปเพื่อให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้",
"title": "กากกัมมันตรังสี"
},
{
"docid": "726765#18",
"text": "ค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิงคิดเป็นประมาณ 28% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ณ ปี 2013 ครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์ถูกใช้ไปในการเพิ่มสมรรถนะและการผลิต เพื่อให้ค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบของยูเรเนียมเข้มข้นเป็นร้อยละ 14 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การเพิ่มขึ้นราคาของยูเรเนียมเป็นสองเท่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่เพียงประมาณ 10% และมากเพียงประมาณครึ่งหนึ่ง(5%)ที่จะเพิ่มเข้าไปในค่ากระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าในอนาคต",
"title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่"
},
{
"docid": "726765#17",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้เชื้อเพลิงแบบฟิชชันได้ โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นยูเรเนียมแม้ว่าวัสดุอื่น ๆ ก็อาจใช้ได้ (ดูเชื้อเพลิง MOX หรือทอเรียม) ในปี 2005 ราคาในตลาดโลกสำหรับยูเรเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ US$20/ปอนด์ (US$44.09/กิโลกรัม) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2007 ราคาสูงถึง US$113/ปอนด์ (US$249.12/kg) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2008 ราคาได้ตกลงมาอยู่ที่ US$59/ปอนด์",
"title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่"
},
{
"docid": "20739#7",
"text": "การแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดขึ้นทางอ้อม เช่นเดียวกับในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนธรรมดาทั่วไป ความร้อนเกิดจากปฏิกิริยาฟิชชันในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (เครื่องปฏิกรณ์น้ำเบา) ไอของน้ำ (ไอน้ำ) ถูกผลิตขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม จากนั้น ไอน้ำแรงดันสูงมักจะจ่ายให้กับกังหันไอน้ำในหลายขั้นตอน กังหันไอน้ำในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศตะวันตกมักอยู่ในหมู่กังหันไอน้ำที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้าง หลังจากผ่านกังหันไอน้ำ ไอน้ำมีการขยายตัวและบางส่วนก็ควบแน่น ไอน้ำที่เหลือจะควบแน่นในคอนเดนเซอร์ คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งจะเชื่อมต่อกับฝั่งด้านรองเช่นแม่น้ำหรือหอหล่อเย็น จากนั้น น้ำจะถูกสูบกลับเข้ามาในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และวงจรก็เริ่มต้นอีกครั้ง วัฏจักรของน้ำกับไอเป็นไปตามวงจรของ \"Rankine cycle\"",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#17",
"text": "ระบบหล่อเย็นจะระบายความร้อนออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์และลำเลียงมันไปยังอีกพื้นที่หนึ่งของโรงงาน ในพื้นที่นี้พลังงานความร้อนสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าหรือทำงานที่มีประโยชน์อื่นๆ โดยปกติตัวหล่อเย็นที่ร้อน() จะถูกใช้เป็นแหล่งจ่ายความร้อนสำหรับหม้อต้มน้ำ และแรงดันไอน้ำจากหม้อต้มน้ำนั้นจะเป็นกำลังขับกังหันไอน้ำหนึ่งเครื่องหรือมากกว่าที่จะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
}
] | [
{
"docid": "20739#53",
"text": "เทคโนโลยีการนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ได้รับการพัฒนาที่จะแยกและกู้คืนพลูโตเนียมที่สามารถทำฟิชชั่นได้ทางเคมีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผ่านการฉายรังสี. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่มีวัตถุประสงค์หลายอย่างที่ความสำคัญที่เกี่ยวข้องกันมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่แต่เดิมถูกใช้แต่เพียงอย่างเดียวในการสกัดพลูโตเนียมในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์. ด้วยการทำในเชิงพาณิชย์ของพลังงานนิวเคลียร์, พลูโตเนียมที่ถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่จะถูกรีไซเคิลกลับไปเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ MOX สำหรับ'เครื่องปฏิกรณ์ร้อน'. ยูเรเนียมที่ถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่, ซึ่งรวมต้วเป็นกลุ่มของวัสดุเชื้อเพลิงใช้แล้ว, ในหลักการสามารถที่จะถูกนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้เช่นกัน, แต่นั่นเป็นเพียงเพื่อการประหยัดเท่านั้นถ้ายูเรเนียมมีราคาสูงหรือการกำจัดมันมีราคาแพง. ในที่สุดเครื่องปฏิกรณ์แบบ breeder สามารถใช้เชื้อเพลิงไม่เพียงจากพลูโตเนียมและยูเรเนียมที่รีไซเคิลในเชื้อเพลิงใช้แล้วเท่านั้น, แต่ actinides ทั้งหมด, เป็นการปิดท้ายวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และอาจทวีคูณพลังงานที่สกัดจากยูเรเนียมธรรมชาติได้มากกว่า 60 เท่า.",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#22",
"text": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เป็นเรื่องความขัดแย้ง, และการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์นั่งอยู่บนทางเลือกของแหล่งพลังงาน. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง, แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงโดยตรงต่ำ, กับค่าใช้จ่ายของการสกัดเชื้อเพลิง, กระบวนการ, การใช้งานและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้ว. ดังนั้น การเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าอื่นๆจะขึ้นอยู่กับสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดหาเงินลงทุนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. การประมาณการค่าใช้จ่ายจะต้องนำค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและการเก็บรักษากากนิวเคลียร์หรือค่าใช้จ่ายโรงงานรีไซเคิลเข้ามาคิดด้วยถ้าสร้างในสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก'พระราชบัญญัติด้านราคา Anderson'. กับความคาดหวังว่าทั้งหมดของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว/\"กากนิวเคลียร์\"อาจมีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ในอนาคต,เครื่องปฏิกรณ์ generation IV, ที่กำลังออกแบบมาเพื่อปิดวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้อย่างสมบูรณ์.",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#1",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Baseload คือผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับกำลังงานที่ต้องการใช้จริง เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการผลิต (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำด้วยแหล่งพลังงานอื่น สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "396778#0",
"text": "เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เลือกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากของคนไทย โดยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นี้ผลิตจากแร่ยูเรเนียม ที่ผ่านกระบวนการสกัด แปลงสภาพ และทำให้เข้มข้น (Enriched) ก่อนที่จะทำเป็นเม็ดแล้วนำไปบรรจุในท่อ ซึ่งจะนำไปรวมเป็นมัดเชื้อเพลิงบรรจุในแกนปฏิกรณ์เพื่อใช้งาน",
"title": "เชื้อเพลิงนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "7953#8",
"text": "สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว ตั้งแต่ต้นว่า การใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ จะทำให้ปลอดภัยจากภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก ปลอดภัยจากภาวะฝนกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลก ตลอดจนไม่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นมากเหมือนอย่างการใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่น นอกจากนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าและไม่ทำลายพื้นที่ป่าเขา เหมือนอย่างการสร้างเขื่อนสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "20739#23",
"text": "อีกด้านหนึ่ง, ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง, หรือทุนอื่นๆนอกจากนี้, มาตรการเพื่อลดภาวะโลกร้อนเช่นภาษีคาร์บอนหรือการซื้อขายการปลดปล่อยคาร์บอน, ยิ่งเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงานนิวเคลียร์. ประสิทธิภาพที่ก้าวหน้าถูกคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จผ่านการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงยิ่งขึ้น, เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Generation III สัญญาว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านเชื้อเพลิงมากขึ้นอย่างน้อย 17%, และมีค่าใช้จ่ายเงินทุนลดลง, ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์ Generation IV ในอนาคตสัญญาว่าจะมีประสิทธิภาพด้านเชื้อเพลิงมากขึ้น 10,000-30,000% และไม่เกิดกากนิวเคลียร์",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#10",
"text": "เครื่องปฏิกรณ์เป็นหัวใจของโรงไฟฟ้า ในส่วนกลางของมัน ความร้อนของแกนเครื่องปฏิกรณ์ถูกสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการควบคุม ความร้อนนี้ถูกส่งผ่านไปให้น้ำหล่อเย็นขณะที่มันถูกสูบผ่านเครื่องปฏิกรณ์และนี่เองเป็นการดึงเอาพลังงานจากเครื่องปฏิกรณ์ออกมา ความร้อนจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นจะถูกใช้ในการสร้างไอน้ำซึ่งจะไหลผ่านกังหันไอน้ำที่จะส่งกำลังไปที่ใบพัดของเรือหรือไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#20",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการจากสถานีจ่ายด้านนอกที่แตกต่างกันสองแห่งและอยู่ภายในพื้นที่ที่เป็น switchyard ของโรงงานที่อยู่ห่างกันพอสมควรและสามารถรับกระแสไฟฟ้าจากสายส่งหลายสาย นอกจากนี้ในบางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันสามารถให้กำลังไฟกับโหลดบ้านของโรงงานในขณะที่โรงงานต่ออยู่กับหม้อแปลงบริการของสถานีซึ่งต่อพ่วงไฟฟ้ามาจากบัสบาร์เอาต์พุตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อนที่จะถึง step-up transformer (โรงงานเหล่านี้ยังมีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการของสถานีที่รับพลังงานนอกสถานที่โดยตรงจาก switchyard) แม้จะมีความซ้ำซ้อนของแหล่งพลังงานสองแหล่ง การสูญเสียพลังงานนอกสถานที่โดยรวมยังคงเป็นไปได้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินเพื่อรักษาความปลอดภัยในกรณีที่มีการปิดหน่วยและการขาดหายของพลังงานนอกสถานที่ แบตเตอรี่ให้พลังงานสำรองกับเครื่องมือและระบบการควบคุมและวาล์วทั้งหลาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินให้ไฟ AC โดยตรงในการชาร์จแบตเตอรี่และเพื่อให้กำลังไฟกับระบบที่ต้องใช้ไฟ AC เช่นมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนปั๊ม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินไม่ได้กำลังไฟให้กับทุกระบบในโรงงาน เฉพาะระบบที่จำเป็นต้องปิดเครื่องปฏิกรณ์ลงอย่างปลอดภัย เอาความร้อนจากการสลายตัวของเครื่องปฏิกรณ์ออก ระบายความร้อนที่แกนในกรณีฉุกเฉิน, และในโรงงานบางชนิดใช้สำหรับระบายความร้อนในบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้ว () ปั๊มผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นปั๊มจ่ายน้ำหลัก คอนเดนเสท น้ำหมุนเวียน และ (ในเครื่องปฏิกรณ์น้ำแรงดันสูง) ปั๊มตัวหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับการสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซลในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, คนงานยกเว้นผู้บริหารจัดการ, บุคคลากรมืออาชีพ (เช่นวิศวกร) และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีแนวโน้มที่จะเป็นสมาชิกของ'ภราดรภาพของคนงานไฟฟ้านานาชาติ'() หรือ'สหภาพคนงานยูทิลิตี้แห่งอเมริกา'()อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหนึ่งในสหภาพของธุรกิจการค้าต่างๆและสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของช่างเครื่อง, แรงงาน, ผู้สร้างหม้อต้มน้ำ, คนงานโรงสี, คนงานเหล็ก, ฯลฯ",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
}
] |
1255 | ประเทศซิมบับเวมีพื้นที่ประเทศเท่าไหร่? | [
{
"docid": "42557#0",
"text": "ซิมบับเว () มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซิมบับเว () เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
}
] | [
{
"docid": "42557#2",
"text": "ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "42557#7",
"text": "ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003 รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "42557#8",
"text": "เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000 ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "42557#6",
"text": "การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "42557#1",
"text": "ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า \"\"Dzimba dza mabwe\"\" ซึ่งแปลว่า\"บ้านหินใหญ่\"ในภาษาโชนา ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "42557#4",
"text": "นักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น",
"title": "ประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "54154#0",
"text": "โมซัมบิก (; ) มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโมซัมบิก (; ) เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา โดยมีมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางตะวันออก ประเทศแทนซาเนียอยู่ทางเหนือ ประเทศมาลาวีและแซมเบียอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศซิมบับเวอยู่ทางตะวันตก และมีประเทศสวาซิแลนด์และแอฟริกาใต้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้",
"title": "ประเทศโมซัมบิก"
},
{
"docid": "492093#0",
"text": "เซาเทิร์นโรดีเชีย () เป็นชื่อของอาณานิคมปกครองตนเองของอังกฤษ ตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำลิมโปโปกับสหภาพแอฟริกาใต้ พื้นที่ซึ่งเซาเทิร์นโรดีเชียครอบครองอยู่ถูกเรียกว่า \"ซิมบับเว\" มาตั้งแต่ พ.ศ. 2523 หลังการประกาศอิสรภาพฝ่ายเดียวเมื่อ พ.ศ. 2508 ประเทศดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"โรดีเชีย\" จนถึง พ.ศ. 2522 เมื่อโรดีเชียสถาปนาตนเองใหม่ภายใต้การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นรัฐ \"ซิมบับเวโรดีเชีย\" ซึ่งไม่ได้รับการรับรอง ก่อนจะย้อนมาเป็นสถานะอาณานิคมโดยความตกลงแลงคัสเตอร์ในเดือนธันวาคม และกลายมาเป็นรัฐซิมบับเวซึ่งได้รับการรับรองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 มีการใช้นโยบายการทำให้เป็นแอฟริกา (Africanization) ไม่นานหลังจากนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อแทนที่ร่องรอยของอังกฤษ โรดีเชีย และการปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สิน และการตั้งชื่อแบบคนขาวในอดีต ด้วยทางเลือกซึ่งถูกมองว่าพื้นเมืองกว่า",
"title": "เซาเทิร์นโรดีเชีย"
},
{
"docid": "399537#0",
"text": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว เป็นสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์การเงินโลก (รองจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศฮังการี ใน พ.ศ. 2489) เริ่มขึ้นไม่นานหลังการริบทรัพย์ไร่นาเอกชนจากผู้ถือครองที่ดินผิวขาวช่วงปลายสงครามคองโกครั้งที่สอง ในช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อสูงถึงขีดสุดตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2552 การวัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเวทำได้ยากเพราะรัฐบาลซิมบับเวยุติการจัดทำสถิติภาวะเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ ทว่า เดือนภาวะเงินเฟ้อสูงสุดของซิมบับเวประมาณร้อยละ 79,600 ล้านในกลางเดือนพฤศจิกายน 2551",
"title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว"
}
] |
1259 | รอยเลื่อนใต้ทะเลทำให้เกิดสึนามิได้หรือไม่ ? | [
{
"docid": "3554#10",
"text": "เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน",
"title": "คลื่นสึนามิ"
},
{
"docid": "3540#4",
"text": "จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดีย ลึกลงไป จากระดับน้ำทะเล ห่างจาก เกาะซิเมอลูเอ ไปทางทิศเหนือประมาณ ซึ่งตัวเกาะตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวถึง ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและตามด้วยคลื่นสึนามิ ประชาชนในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ และมัลดีฟส์รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที และเกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองล็อกนา (Lhoknga) ใกล้กับเมืองบันดาอาเจะฮ์ จนราบเป็นหน้ากลอง",
"title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547"
}
] | [
{
"docid": "3554#0",
"text": "คลื่นสึนามิ () เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น",
"title": "คลื่นสึนามิ"
},
{
"docid": "363968#6",
"text": "แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นโดยแผ่นแปซิฟิกมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกใต้ฮนชูเหนือ ซึ่งแผ่นเปลือกโลกแผ่นใดที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ แผ่นแปซิฟิก ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตรา 8 ถึง 9 เซนติเมตรต่อปี ลาดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกซึ่งรองรับฮนชู และปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล การเคลื่อนไหวนี้ดึงแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ข้างบนลงจนกระทั่งเกิดความเครียดมากพอที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น การแตกทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นหลายเมตร แผ่นดินไหวความรุนแรงระดับนี้โดยปกติแล้วจะมีความยาวรอยเลื่อนอย่างน้อย 480 กิโลเมตร และมักเกิดขึ้นโดยมีพื้นผิวรอยแยกค่อนข้างตรงและยาว เพราะรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและเขตมุดตัวในพื้นที่ของรอยเลื่อนไม่ตรง ความรุนแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่เกิน 8.5 แมกนิจูดจึงผิดปกติ และสร้างความประหลาดใจแก่นักแผ่นดินไหววิทยาบางคน พื้นที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวขยายจากนอกชายฝั่งจังหวัดอิวะเตะไปจนถึงนอกชายฝั่งจังหวัดอิบาระกิ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ว่า แผ่นดินไหวอาจทำให้เขตรอยเลื่อนแตกออกจากอิวะเตะถึงอิบะระกิ โดยมีความยาว 500 กิโลเมตร และกว้าง 200 กิโลเมตร การวิเคราะห์แสดงว่า แผ่นดินไหวนี้ประกอบด้วยชุดเหตุการณ์สามอย่างประกอบกัน แผ่นดินไหวอาจมีกลไกลคล้ายคลึงกับแผ่นดินไหวใหญ่ใน พ.ศ. 1412 โดยมีขนาดคลื่นพื้นผิวที่ 8.6 ซึ่งได้ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่เช่นกัน แผ่นดินไหวใหญ่ที่ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิอื่น ถล่มพื้นที่ชายฝั่งซานริกุใน พ.ศ. 2439 และ 2486",
"title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "363968#42",
"text": "เขื่อนชลประทานฟูจินูมะในซูกางาวะแตก ทำให้เกิดอุทกภัยและน้ำได้พัดพาบ้านเรือนไปกับกระแสน้ำห้าหลัง มีผู้สูญหายแปดคน และศพผู้เสียชีวิตสี่ศพถูกค้นพบในเช้าวันรุ่งขึ้น ตามรายงาน ประชาชนท้องถิ่นบางคนพยายามซ่อมแซมรอยแตกของเขื่อนก่อนที่เขื่อนจะแตก เมื่อวันที่ 12 มีนาคม เขื่อน 252 แห่งถูกตรวจสอบ และพบว่าเขื่อนทั้งหกแห่งมีรอยแตกตื้น ๆ บริเวณสันเขื่อน อ่างเก็บน้ำที่เขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนักแห่งหนึ่งมีการพังทลายตามลาดที่ไม่น่าวิตกกังวล เขื่อนที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดสามารถดำเนินการต่อไปโดยไม่มีปัญหา สี่เขื่อนในพื้นที่แผ่นดินไหวยังไม่สามารถเข้าถึงได้ เมื่อการติดต่อทางถนนสามารถเข้าถึงได้ ผู้เชี่ยวชาญจะถูกส่งไปตรวจสอบเพิ่มเติม",
"title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "365720#139",
"text": "จำนวนมากของบทเรียนระบบความปลอดภัยปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ที่ชัดเจนที่สุดคือที่ในพื้นที่เกิดสึนามิได้ง่าย กำแพงทะเลของโรงไฟฟ้าจะต้องมีความสูงและแข็งแกร่งอย่างเพียงพอ ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Onagawa ที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคมมากกว่า กำแพงทะเลสูง 14 เมตรและประสบความสำเร็จในการทนต่อเหตุการณ์สึนามิ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายร้ายแรงและการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี",
"title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "390210#2",
"text": "ก่อนหน้านี้ แผ่นดินไหวใหญ่ชิลี พ.ศ. 2503 ได้ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและถล่มเมืองชิซูงาวะในเวลานั้น โดยสูงถึง 2.8 เมตร ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอันมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานทั่วไป ผลคือ มีการสร้างกำแพงท่าเรือสูงเท่ากับตึกสองชั้นจนถึง พ.ศ. 2506 แต่กำแพงท่าเรือดังกล่าวไม่สามารถป้องกันคลื่นสึนามิที่เกิดใน พ.ศ. 2554 ได้ เพราะมีความสูงถึงตึกสี่ชั้น",
"title": "มินามิซังริกุ"
},
{
"docid": "363968#16",
"text": "แผ่นดินไหวดังกล่าวซึ่งเกิดจากการนูนขึ้น 5 ถึง 8 เมตร บนก้นทะเลยาว 180 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งตะวันออกของโทโฮกุ 60 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น และส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตนับหลายพัน และหลายเมืองถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง คลื่นสีนามิยังได้แพร่ขยายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และมีการออกคำเตือนและคำสั่งอพยพในหลายประเทศที่ติดมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งตลิดชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือและใต้ ตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงชิลี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสึนามิจะเดินทางไปถึงหลายประเทศ แต่ก็มีผลกระทบค่อนข้างน้อย ชายฝั่งชิลีส่วนที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอยู่ห่างจากญี่ปุ่นมากที่สุด (ราว 17,000 กิโลเมตร) ส่วนระยะทางบนโลกที่ไกลที่สุดที่เป็นไปได้อยู่ที่ครึ่งเส้นรอบวง ราว 20,000 กิโลเมตร) ก็ยังได้รับผลกระทบเป็นคลื่นสึนามิสูง 2 เมตร คลื่นสึนามิสูง 38.9 เมตรถูกประเมินที่คาบสมุทรโอโมเอะ เมืองมิยาโกะ จังหวัดอิวาเตะ",
"title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "4100#15",
"text": "ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า \"สึนามิ\" (, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล",
"title": "แผ่นดินไหว"
},
{
"docid": "390086#2",
"text": "อ่าวของแนวชายฝั่งอันผิดปกตินี้เหมือนว่าจะช่วยขยายการทำลายล้างของคลื่นสึนามิ เหตุการณ์ที่สำคัญคือ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ซึ่งก่อนหน้านั้น ประวัติศาสตร์สึนามิของซานริกุอาจถูกตีความว่า คลื่นสึนามิทำให้มีผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการป้องกันและวางแผนของมนุษย์ แต่ภัยพิบัติใน พ.ศ. 2554 นั้นสร้างฐานใหม่สำหรับการวิเคราะห์คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นเป็นประจำ",
"title": "ชายฝั่งซันริกุ"
}
] |
1267 | สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1สวรรณคตเมื่อใด? | [
{
"docid": "204618#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (; 22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน () ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "39175#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ( -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า \"ราชินีพรหมจารี\" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "39175#21",
"text": "จากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย การสืบต่อราชบัลลังก์โดย พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลกและช่วงที่เรียกว่าเป็น \"ยุคฟื้นฟูศิลปะของอังกฤษ\" (English Renaissance) การเป็นตำนาน \"พระราชินีพรหมจรรย์\" ของพระองค์ที่พระองค์เองก็มีส่วนสนับสนุนให้เรียกพร้อมกับกวีและนักแต่งบทละครในราชสำนักเพื่อให้คนทั่วไปที่รู้จักไปในทางนั้น กลายเป็นสิ่งบดบังบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นผู้สร้างสำนึกแห่งความเป็นชาติของอังกฤษไปสิ้น",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"
}
] | [
{
"docid": "524853#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน (; 10 ตุลาคม 1830 - 10 เมษายน 1904) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์เดียวของสเปน พระนางเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าเฟร์นันโด และสมเด็จพระราชินีมารีอา คริสตีนา พระนางทรงปกครองสเปนต่อจากพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 พระราชบิดา หลังจากนั้นพระนางก็ทรงถูกถอดจากราชสมบัติในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์เมื่อปี ค.ศ. 1868 และทรงสละราชบัลลังก์ให้พระเจ้าอามาเดโอที่ 1 จากราชวงศ์ซาวอย อย่างเป็นทางการในปี 1870",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน"
},
{
"docid": "204618#11",
"text": "พระนางอิซาเบลได้ถูกฝังพระศพที่เมืองกรานาดาในกาปิยาเรอัล ที่สร้างขึ้งโดยพระนัดดาคือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระศพอยู่คู่กับพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระสวามี พระศพของพระนางฆัวนาพระธิดาและพระเจ้าเฟลิเป พระสวามีของพระนางฆัวนา และพระนัดดาซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จพระราชินีอิซาเบล พระธิดาคือ เจ้าชายมิเกล",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "524853#1",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 เสด็จพระราชสมภพ ณ กรุงมาดริด ในปี 1830 เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน กับสมเด็จพระราชินีมารีอา คริสตีนา พระมเหสีพระองค์ที่สี สมเด็จพระราชินีมารีอา คริสตีนา ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 29 กันยายน 1833 เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 พระราชธิดาของพระองค์ที่มีพระชนมายุเพียง 3 พรรษา ทรงได้รับการประกาศให้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน"
},
{
"docid": "524853#2",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 ได้ครองราชบัลลังก์เพราะพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 เป็นผู้ชักนำให้เกิดกอร์เตสเฆเนราเลส ซึ่งจะช่วยปกป้องพระองค์จากกฎหมายแซลิก และทำให้บูร์บงเป็นที่รู้จักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และยังมีการแก้ไขกฎหมายเก่าของสเปนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ครั้งแรกซึ่งก็คือพระอนุชาของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 เจ้าชายการ์โลส เคานต์แห่งโมลีนา เจ็ดปีระหว่างการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อย สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน กับเจ้าชายการ์โลส เคานต์แห่งโมลินาและเหล่าผู้สนับสนุนในชื่อการ์ลิสต์ พยายามทำสงครามกันอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นสงครามการ์ลิสต์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน"
},
{
"docid": "37665#72",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนให้แก่พระราชโอรส คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และหลังจากเกิดความวุ่นวายไม่สิ้นสุดในสาธารณรัฐสเปนที่ 1 ชาวสเปนส่วนใหญ่ก็ตกลงใจที่ยอมรับการกลับไปสู่ความมีเสถียรภาพของประเทศภายใต้การปกครองของราชวงศ์บูร์บงอีกครั้ง กองกำลังสาธารณรัฐนิยมในสเปนนำโดยพลจัตวามาร์ตีเนซ กัมโปสที่กำลังปราบปรามการก่อการกบฏของพวกการ์ลิสต์อยู่นั้นได้ประกาศสวามิภักดิ์ต่อเจ้าชายอัลฟอนโซในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1874-1875 ต่อมาสาธารณรัฐสเปนก็สลายตัวไปเมื่อเจ้าชายอัลฟอนโซทรงขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน ส่วนอันโตเนียว กาโนบัส เดล กัสตีโย ที่ปรึกษาในพระองค์ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันสิ้นปี ค.ศ. 1874 พวกการ์ลิสต์ถูกปราบลงอย่างราบคาบโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งทรงเข้าไปมีบทบาทในสงครามและทรงได้รับการสนับสนุนจากพสกนิกรส่วนใหญ่ของพระองค์อย่างรวดเร็ว",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "204618#13",
"text": "พระนางอิซาเบลได้มีการปรากฏชื่อครั้งแรกบนเหรียญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหรียญแห่งการระลึกถึงการครบรอบ 400 ปีการเดินทางของโคลัมบัสครั้งแรก และในปีเดียวกันพระนางได้เป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นบนแสตมป์ของอเมริกาซึ่งอยู่ในชุด Columbian Issue ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแด่โคลัมบัสเช่นกัน ภาพพระนางได้ปรากฏในสเปนที่ 15-cent Columbian บนมูลค่า 1 $ และในภาพเต็มซึ่งด้านข้างคือโคลัมบัสและบนมูลค่าอื่น ๆ อีกมากมายพระนางอิซาเบลทรงเป็นลูกหลานของพระเจ้าเอนริเกที่ 2 แห่งกัสติยา พระราชโอรสในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 แห่งกัสติยา กับนางเอเลนอร์แห่งกัสแมน พระสนม สมเด็จพระราชินีแคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์ พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดาของพระนางเป็นพระนัดดาของพระเจ้าปีเตอร์แห่งกัสติยากับพระสนม นางมาเรีย เดอ พาดิลลา พระอัยยิกาผ่ายพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งบรากังซาเป็นพระธิดาในดยุคอัลฟอนโซแห่งบรากังซาผูซึ่งพระมารดาคือ นางอินเนส เปเรส เอสเทเวสเป็นพระสนมในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "204618#10",
"text": "พระนางและพระสวามีได้สร้างอาณาจักรและสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ๆ ด้วยการนำโอรสและธิดาไปสมรสกับบุตรของเจ้าแคว้นอื่นโดยเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรียก่อตั้งสายราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงฆัวนา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่ความคิดของพระนางอิซาเบลล้มเหลวเพราะเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสได้สิ้นพระชนม์หลังการอภิเษกไม่นาน สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสได้สวรรคตหลังให้กำเนิดโอรส และพระโอรสก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 2 ชันษา เจ้าหญิงฆัวนาก็มีปัญหาในการอภิเษกสมรส และพระธิดา เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอนได้กลายเป็นพระมเหสีองค์ที่ 1 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระนางได้ให้กำเนิดพระธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ พระนางอิซาเบลเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2047 ที่เมดินาเดลกัมโป ก่อนที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดเป็นศัตรูกัน",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "204618#1",
"text": "พระนางอิซาเบลประสูติที่เมืองมาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส ประเทศสเปน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 1994 หลังจากนั้น 3 ปี พระอนุชา คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสได้ประสูติตามมา เมื่อพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา พระบิดา เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1997 พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้เนรเทศพระนางและพระอนุชาไปที่เมืองเซโกเบียและเนรเทศพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลไปที่เมืองอาเรบาโล การสมรสครั้งแรกของพระเจ้าเอนริเก (สมรสกับสมเด็จพระราชินีบรานซ์แห่งนาวาร์) ไม่ค่อยราบรื่น จากนั้นได้สมรสกับสมเด็จพระราชินีฌูอานาแห่งโปรตุเกส พระเจ้าเอนริเกถูกกล่าวหาว่าทรงเป็นผู้รักร่วมเพศ พระนางฌูอานาได้ให้กำเนิดพระธิดาคือเจ้าหญิงฆัวนาแห่งกัสติยา เมื่อพระนางอิซาเบลมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระนางและพระอนุชาได้ถูกเรียกตัวมาที่พระราชสำนักเพื่อให้อยู่ใต้การคุมพระองค์เข้มงวดขึ้น เหล่าขุนนางได้เรียกร้องให้พระเจ้าเอนริเกตั้งเจ้าชายอัลฟอนโซเป็นรัชทายาท พระองค์ก็ทรงยินยอมโดยให้เจ้าชายสมรสกับบุตรีของพระองค์ แต่ไม่กี่วันพระองค์ก็เปลี่ยนพระทัย",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "204618#9",
"text": "พระนางอิซาเบลและพระสวามีทรงได้รับถวายพระสมัญญา พระมหากษัตริย์คาทอลิก จากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ให้เป็นคาทอลิกในทางโลกแต่พระนางไม่ยอมรับ ในตลอดการครองราชสมบัติของพระองค์ทำให้สเปนเจริญและเป็นอาณานิคมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเฟื่องฟู หลังจากการปฏิวัติใน พ.ศ. 2042 สนธิสัญญาแห่งกรานาดาถูกเลิกใช้ ชาวมุสลิมต้องทำการล้างบาปแบบศาสนาคริสต์หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศ ฟรันซิสโก ฆิเมเนซ เด ซิสเนโรส อาร์ชบิชอปแห่งโตเลโดได้ทำการคืนศาสนาคริสต์กลับสู่สเปนและการเป็นผู้มีอิทธิพลมากในสเปน",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
}
] |
1269 | ไข้หวัดนก แพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศอะไร? | [
{
"docid": "1915#0",
"text": "ไข้หวัดนก ( หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก\nไข้วก ไข้หวัดนก เอาอีก\nเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461(ค.ศ.1918-1920) เรียกว่า \"ไข้หวัดใหญ่สเปน\" (Spanish Flu) \nเริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา2เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50-100 ล้านคน\nหรือเท่ากับคนจำนวน1ใน3ของประชากรของทวีปยุโรป",
"title": "ไข้หวัดนก"
}
] | [
{
"docid": "1915#3",
"text": "ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1",
"title": "ไข้หวัดนก"
},
{
"docid": "1915#7",
"text": "สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550 ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล",
"title": "ไข้หวัดนก"
},
{
"docid": "114963#12",
"text": "จากประวัติศาสตร์ การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีนในช่วงปี ค.ศ. 1330 กาฬโรคเริ่มระบาดในแถบหูเป่ย ในปี ค.ศ. 1334 และเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในระหว่างปี ค.ศ. 1353-1354 จากบันทึกเก่าแก่ของจีน บันทึกไว้ว่า การแพร่ระบาดได้กระจายไปใน 8 พิ้นที่ของจีน ได้แก่ หูเป่ย เจียงซี ซานซี หูหนาน กวางตุง กวางซี เหอหนาน และซุยยวน เพียงแต่ว่าข้อมูลนี้ได้มาจากผู้ที่รอดชีวิตจากยุคนั้น และยังไม่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเบื้องลึก ซึ่งคาดว่ากองคาราวานพ่อค้าชาวมองโกล จะเป็นผู้นำเอากาฬโรคที่ระบาดที่เอเชียตอนกลาง มายังยุโรป",
"title": "แบล็กเดท"
},
{
"docid": "232651#51",
"text": "มีรายงานการค้นพบไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในเด็กชาวอเมริกันสองคนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 แต่หน่วยงานสาธารณสุขรายงานว่าปรากฏผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ในประเทศเม็กซิโก การระบาดสามารถตรวจพบได้เป็นครั้งแรกในกรุงเม็กซิโกซิตี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งรัฐบาลเม็กซิโกได้ทำการ \"ปิดกรุงเม็กซิโกซิตีอย่างมีประสิทธิภาพ\" โดยก่อนหน้านี้ เม็กซิโกมีผู้ป่วยกรณีที่ไม่รุนแรงก่อนหน้าการค้นพบอย่างเป็นทางการแล้วหลายร้อยคน และกำลังอยู่ในช่วง \"โรคระบาดทั่วเงียบ\" จึงส่งผลให้เม็กซิโกรายงานเพียงผู้ป่วยกรณีที่มีอาการรุนแรงซึ่งแสดงอาการของโรคหนักกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่การคำนวณอัตราการเสียชีวิตที่ผิดพลาด",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "24465#39",
"text": "บันทึกแรกของผู้ป่วยที่อาจป่วยเป็นโรคไข้เด็งกีปรากฏในสารานุกรมการแพทย์จีนจากราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265–420) ซึ่งอ้างถึง \"พิษน้ำ\" ที่เกี่ยวข้องกับแมลงบิน พาหะหลัก \"A. aegypti\" แพร่กระจายออกจากแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 19 บางส่วนเนื่องจากโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น รองต่อการค้าทาส มีคำอธิบายโรคระบาดในคริสต์ศตวรษที่ 17 แต่รายงานการระบาดของเด็งกียุคแรกที่น่าเชื่อถือที่สุดมาจาก ค.ศ. 1779 และ 1780 เมื่อโรคระบาดได้กวาดทั่วเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาเหนือ นับแต่นั้นจนถึง ค.ศ. 1940 เกิดโรคระบาดเด็งกีไม่บ่อยนัก",
"title": "ไข้เด็งกี"
},
{
"docid": "1915#4",
"text": "มีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ในตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และมีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ .2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดโดยมากถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปีพ.ศ. 2549พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี\nพบเด็กเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2555 หนึ่งรายโดยก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วย 10 ราย เสียชีวิตอีก 8 รายใน ช่วงเวลาดังกล่าว",
"title": "ไข้หวัดนก"
},
{
"docid": "491858#4",
"text": "ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ได้มีการค้นพบนกอ้ายงั่วเผือกตัวแรกของโลก ที่มีทั้งตัวเป็นสีขาวล้วน บริเวณวัดห้วยจันทร์ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หลังจากนั้นอีกไม่นาน ไม่มีใครพบนกอ้ายงั่วเผือกตัวนี้ซึ่งเชื่อว่ามีเพียงตัวเดียวในโลกอีกเลย",
"title": "วงศ์นกอ้ายงั่ว"
},
{
"docid": "335682#31",
"text": "การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวระหว่างปี พ.ศ. 2547 ประกอบกับคลื่นสึนามิซึ่งถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันหลังจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2548-2549 ภาคเกษตรกรรมมีจีดีพีลดลงถึง 10%",
"title": "เศรษฐกิจไทย"
},
{
"docid": "356307#6",
"text": "สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ประสบกับปัญหานี้ด้วยเช่นนี้ ได้มีการนำเข้านากหญ้าครั้งแรกมาจากแอฟริกา โดยชาวไต้หวัน โดยถูกเลี้ยงไว้ที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาก็ถูกนำไปเลี้ยงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยทหารบกชั้นประทวนผู้หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะแพร่หลายในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ แต่ทว่าเมื่อได้มีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ปรากฏว่า ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ หรือตะพาบไต้หวัน",
"title": "นากหญ้า"
}
] |
1271 | พระสุตตันตปิฎก ต้นฉบับเขียนด้วยภาษาอะไร ? | [
{
"docid": "35661#6",
"text": "ภาษาต้นฉบับที่จารึกพระสูตรนั้นไม่ปราฏชัด มีข้อเสนอว่า อาจแต่งเป็นภาษาถิ่นปรากฤต จากนั้นจึงแปลเป็นภาษาสันสกฤต ทำให้พระสูตรนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ต่อมามีการแปลเป็นภาษาจีนถึง 6 สำนวน แต่สามฉบับแรกต้นฉบับสาบสูญไปแล้ว เหลือเพียงสามฉบับหลัง คือ เนื้อความของแต่ละฉบับมีใจความหลักเหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยมีความแตกต่างกันในบางส่วน",
"title": "สัทธรรมปุณฑรีกสูตร"
},
{
"docid": "595725#0",
"text": "สุมังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราวพ.ศ. 1,000",
"title": "สุมังคลวิลาสินี"
},
{
"docid": "32550#0",
"text": "พระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม",
"title": "พระสุตตันตปิฎก"
}
] | [
{
"docid": "49447#6",
"text": "พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ซึ่งเป็น สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ จัดไว้เป็น ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ นี้นั้น เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะยังไม่ทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาของคาถาสุภาษิตนั้น ถ้าต้องการทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาโดยละเอียด จะต้องศึกษาในชาตกัฏฐกถาหรืออรรถกถาชาดก คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีความยาวมาก มีถึง ๑๐ เล่ม แต่แม้เช่นนั้นก็มีชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม ๖ เล่มใหญ่ คือฉบับมหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ ค. ศ. ๑๘๙๕ คือ ๘๐ ปีเศษมาแล้ว",
"title": "ชาดก"
},
{
"docid": "800710#1",
"text": "คัมภีร์อนาคตวงศ์มีอยู่ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นกวีนิพนธ์ภาษาบาลียาว 142 คาถา ประพันธ์โดยพระกัสสปเถระชาวอินเดียใต้ผู้มีชีวิตราว พ.ศ. 1703-1773 เนื้อหาเล่าว่าพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระสารีบุตรฟังถึงพระศรีอริยเมตไตรยที่จะมาตรัสรู้ในภายหน้า นอกจากนี้ พระอุปติสสเถระชาวลังกายังได้รจนา \"อมตรสธารา\" ขึ้นอีก 2 ฉบับ เป็นอรรถกถาและฎีกา อย่างละฉบับ เพื่อขยายความอนาคตวงศ์ที่พระกัสสปเถระแต่งไว้",
"title": "อนาคตวงศ์"
},
{
"docid": "595978#0",
"text": "ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว พ.ศ. 1,000 โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหลที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ทั้งนี้ ชื่อคัมภีร์ \"ปปัญจสูทนี\" มีหมายความว่า การไขความกระจ่างแก่อุปสรรคแก่ความก้าวหน้าทางจิต",
"title": "ปปัญจสูทนี"
},
{
"docid": "49771#3",
"text": "ด้านวิชาการ พระมหาโพธิวงศาจารย์ เคยเป็นรองประธานกรรมการตรวจสอบต้นฉบับต้นฉบับพระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ภาษาไทยและภาษาบาลี เป็นรองประธานกรรมการตรวจสำนวนการแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ เป็นกรรมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา กรมการศาสนา ประธานกรรมการจัดทำต้นฉบับพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย นอกจากนี้ยังเคยเป็นประธานกรรมการพิจารณาและดำเนินการจัดตั้งสำนักหุบผาสวรรค์เป็นสถานศึกษาทางพุทธศาสนาอีกด้วย",
"title": "พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)"
},
{
"docid": "178629#1",
"text": "พุทธพยากรณ์เกี่ยวกับ พระศรีอริยเมตไตรย พบในงานเขียนของทุกนิกายของศาสนาพุทธ ดังเช่น หลักฐานจากพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตรซึ่งเป็นพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยถือกันว่ารักษาเนื้อหาได้สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทุกนิกาย ดังนี้\nเมื่อย้อนไปในยุคของพระสิริมัตตพุทธเจ้า พระศรีอริยเมตไตรยเสวยพระชาติเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า \"พระเจ้าสังขจักรแห่งนครอินทปัตต์\" วันหนึ่งทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้ ๆ เมืองอินทปัตต์ทรงดีพระทัยยิ่งจึงรีบเสด็จไปด้วยพระบาท เพียงหนึ่งวันพระบาททั้งสองก็แตกช้ำ วันที่สามพระชงฆ์ก็แตกยับพระโลหิตนอง วันที่สี่ไม่สามารถเสด็จต่อไปได้แต่ด้วยพระวิริยะและจิตมุ่งมั่นที่จะเข้าเฝ้าจึงกระเถิบไปด้วยพระอุระ พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณทิพย์ จึงทรงจำแลงพระวรกายมาเป็นมาณพหนุ่มขับเกวียนมา จะพาพาไปถึงที่พำนักของพระพุทธเจ้า พระอินทร์ และมเหสีทั้งสี่ได้แปลงเป็นหญิงชาย นำห่อข้าวทิพย์และน้ำทิพย์มาให้เสวย",
"title": "พระศรีอริยเมตไตรย"
},
{
"docid": "590120#14",
"text": "\"‘‘ในปีจุลศักราช 1279 ปีดับไก๊ เดือน 8 เหนือ เพ็ญ วันศุกร์ ปีกุน สัปตศก พ.ศ. 2478 เจ้าภาพเขียนต้นฉบับนี้ คือ นายน้อยปิง มารวิชัย บ้านประตูท่าแพเป็นประธานพร้อมทั้งภริยาลูกและญาติทุกคน ได้จ้างคนเขียนธรรม 5 ผูก คือ มลชัย 1 ผูก,อินทนิล 1 ผูก, สังยมาปริตตคลสูตร 1 ผูก, นัครฐาน 1 ผูก และอุปปาตสันติ 1 ผูก พร้อมทั้งสร้างบ่อน้ำถวาย พระครูบาศรีวิชัย (ปฏิคาหก) ทานวัดศรีโสดา และถนนขึ้นดอยสุเทพ ขอกุศลบุญเยี่ยงนี้ จงเป็นปัจจัยค้ำชูตัวแห่งผู้ข้า ฯ (นายน้อยปิง) ทั้งหลายทุกคนตราบถึงนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ ฯ’’\"",
"title": "พระคาถาอุปปาตะสันติ"
},
{
"docid": "598302#4",
"text": "ตัวอย่างเช่นในปฐมโพธิสูตร ในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย หมวดย่อยอุทาน โพธิวรรคที่ 1 ซึ่งว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม และมีขนาดสั้นเพียงไม่ถึง 300 คำ (ตามฉบับแปลของพระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย) แต่พระอรรถกถาจารย์ได้สังวรรณนา หรือให้คำอธิบายโดยพิสดารและลึกซึ้ง เป็นจำนวนกว่า 20,000 คำ ทำการแจกแจงข้อธรรมต่างๆ อย่างกระจ่างแจ่มแจ้ง ไม่เพียงช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจหลักธรรมได้อย่างชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความลึกซึ้งของพระธรรมวินัยแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความสามารถอันเอกอุของผู้รจนารรรถกถานี้อีกด้วย",
"title": "ปรมัตถทีปนี"
},
{
"docid": "222809#8",
"text": "หลักฐานอ้างอิงจากแหล่งอื่น\nนอกจากใน\"คัมภีร์ปาริชาตชาดก\" บทที่ 2 โศลก 21 หน้า 36-37 ซึ่งท่านพันเอก (พิเศษ) ประจวบ วัชรปาณ และเทพย์ สาริกบุตร เรียบเรียงเป็นสยามพากย์จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตโดยปราชญ์ไวทยะนาถ บุตรแห่งโยคีเวงกฎาทริ แล้ว โศลกเดียวกันนั้นบัญญัติไว้เช่นกันโดย เอส.เอ็ม ฐากูร (พ.ศ. 2422) ในพระคัมภีร์ \"มณีมาลา\" หน้า 575 โศลก 79 กล่าวคือ",
"title": "นพรัตน์"
}
] |
1273 | รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "8506#1",
"text": "รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า\"แท็งค์\" (\"tank\") นั้นมาจากคำว่า \"Water tank\" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ",
"title": "รถถัง"
}
] | [
{
"docid": "8506#2",
"text": "ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน \nการพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู",
"title": "รถถัง"
},
{
"docid": "93147#0",
"text": "รถถัง เรโนลต์ เอฟที-17 ถูกสร้างในช่วงปีคริสต์ศักราช 1917 โดยเข้าประจำการในช่วงปีคริสต์ศักราช 1917 โดยเข้าประจำการในกองทัพบกฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1โดยมีการผลิตรถถัง 3177 คันเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 3800 เมื่อรวมทั้งหมด ในช่วงเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรถถังจำนวน 1560 คันยังอยู่ในการประจำการ และมันยังเป็นรถถังแบบแรก ที่ใช้ระบบป้อมปืนหมุนรอบทิศ 360 องศา",
"title": "เรโนลต์ เอฟที-17"
},
{
"docid": "180187#0",
"text": "ในยุคนั้น รถถังถือว่ามีบทบาทมากในเฉพาะสมรภูมิทางด้านยุโรปและในแอฟริกาเหนือ ซึ่งรถถังที่สำคัญในสมัยนั้นก็มี รถถังไทเกอร์,แพนเซอร์ ของกองทัพนาซีเยอรมัน รถถัง T-34 ของสหภาพโซเวียต รถถัง M4 เชอร์แมน ของกองทัพสหรัฐฯ โดยที่อัตราการผลิตรถถังนั้นทางสหภาพโซเวียตได้มีการผลิตรถถังรุ่น T-34 ที่สูงมาก ซึ่งในแต่ละวันนั้นผลิดได้ 60-70 คัน และมีอานุภาพการทำลายล้างสูง(ในระยะกลาง-ใกล้) จนกระทั่งสงครามสิ้นสุด ก็ยังมีประจำการอยู่ประมาณ 50,000 คัน ส่วนของกองทัพสหรัฐฯ เองแม้จะมีอัตราการผลิตสูงก็ตาม แต่อานุภาพการทำลายล้างยังด้อยกว่ารถถังไทเกอร์กับรถถังแพนเซอร์(หลังได้มีการเปลื่ยนปืนเป็ยขนาด76มม.ทำให้สามารถได้สูสีขึ้น) เพราะจำนวนมากนี่เอง ที่ทำให้กองทัพสหรัฐฯและฝ่ายพันธมิตรสามารถเอาชนะกองทัพเยอรมันได้ ส่วนกองทัพเยอรมันแม้ว่าจะมีรถถังที่ทรงอานุภาพมากก็ตาม แต่อัตราการผลิตยังถือว่าน้อยมาก เพราะผลิตออกมาเพียงรุ่นละไม่เกิน 4,500 คันเมื่อเทียบกับ 2 ประเทศยักษ์ใหญ่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธของเยอรมันในสมัยนั้นยังเป็นการผลิตในระยะสั้น จึงทำให้สามารถผลิตรถถังออกมาได้ไม่มาก ส่วนทางญี่ปุ่นนั้น จะไม่ค่อยเน้นการผลิตรถถังเสียเท่าไหร่เนื่องจากทุกๆแนวรบไม่จำเป็นจะต้องใช้รถถัง การรบในจีน รถถังของญี่ปุ่นเป็นต่อกองกำลังรถถังของจีน เนื่องด้วยความทันสมัยของรถถังจำนวน และ ความสามารถของพลขับรถถังที่เก่งกว่า ซึ่งได้รับการพิสูจน์ในหลายๆที่แล้วว่า พลรถถังของจีนยังถูกฝึกให้มีความสามารถสู้พลขับรถถังของญี่ปุ่นไม่ได้ จึงไม่นิยมผลิตรถถังจำนวนมาก การรบในแปซิฟิค ด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนมากในแปซิฟิคเป็นป่า ยานขนส่งทำการรบในป่าได้ลำบาก และส่วนมากจะรบในป่ามากกว่าที่โล่ง จีงเห็นได้ชัดว่าญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้รถถังในภูมิภาคนี้มากสักเท่าไหร่ การต่อสู้กับรถถังอเมริกัน ญี่ปุ่นเห็นควรว่าน่าจะใช้ปืนยิงใหญ่ยิงใส่มากกว่าใช้รถถังเข้าสู้ เพราะรถถังญี่ปุ่นสู้ไม่ได้ และจำนวนยังน้อยกว่า เหล็กส่วนมากมักนำไปผลิตเครื่องบินกับเรือเสียส่วนมาก แต่ก็เหมาะสมต่อกองทัพญี่ปุ่นอยู่แล้ว",
"title": "เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "110167#85",
"text": "สนามเพลาะ ปืนกล การสอดแนมทางอากาศ รั้วลวดหนามและปืนใหญ่สมัยใหม่ซึ่งมีกระสุนลูกปรายมีส่วนให้แนวสู้รบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่อาจเอาชนะกันได้เด็ดขาด อังกฤษมองหาทางออกด้วยการสร้างการสงครามรถถังและยานยนต์ขึ้น รถถังคันแรก ๆ ถูกใช้ระหว่างยุทธการซอมม์เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1916 ความน่าเชื่อถือยานยนต์นั้นเป็นปัญหา แต่การทดลองพิสูจน์ถึงคุณค่าของมัน ภายในหนึ่งปี อังกฤษส่งรถถังเข้าสู่สนามรบหลายร้อยคัน และพวกมันได้แสดงแสงยานุภาพระหว่างยุทธการคัมไบรในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ด้วยการเจาะแนวฮินเดนบูร์ก ขณะที่กำลังผสมจับกุมทหารข้าศึกเป็นเชลยได้ 8,000 นาย และยึดปืนใหญ่ได้ 100 กระบอก สงครามยังได้มีการนำอาวุธกลเบาและปืนกลมือ เช่น ปืนลิวอิส ไรเฟิลอัตโนมัติบราวนิง และเบิร์กทันน์ เอ็มเพ 18",
"title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "458519#1",
"text": "จากความทนทานและความน่าเชื่อถือของ พันเซอร์ 4 เยอรมันได้ใช้รถถังนี้ในทุกๆสมรภูมิที่เยอรมันทำการร่วมรบ และเป็นรถถังที่เยอรมันทำการผลิตตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง ปี ค.ศ. 1943 เป็นจำนวนถึง 8000 คันด้วยกัน\nการปรับปรุงรถถังพันเซอร์ 4 นั้น จะมีการดำเนินการเมื่อเจอกับรถถังของสัมพันธมิตรที่มีสมรรถนะดีกว่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มความหนาของเกราะ หรือติดตั้งอาวุธปืนต่อสู้รถถังแบบใหม่",
"title": "พันเซอร์ 4"
},
{
"docid": "386274#0",
"text": "พันแซร์เฟาสท์ () เป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบแรกของโลก ประกอบด้วยท่อส่งกระสุนขนาดเล็กที่ใช้ยิงหัวรบระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถังซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้โดยทหารเพียงนายเดียว ความรุนแรงของหัวรบระเบิดนั้นทำให้รถถังถูกทำลายลงหรือไม่ก็ทำให้เกิดก่อประกายไฟลุกลามไปทั่วรถถัง อาจทำให้ลุกลามไปถึงห้องคนขับรถถังทำให้คนขับถูกไฟคลอกตายได้ ข้อเสียของพันแซร์เฟาสท์คือเมื่อยิงไปแล้วท่อส่งกระสุนจะใช้การไม่ได้เลยทำให้จำเป็นจะต้องทิ้งไปและต้องใช้อันใหม่แทน, อาจไม่แม่นยำพอสำหรับการยิงทำลายเป้าหมายและไม่เหมาะสำหรับการยิงใส่บุคคลด้วย พันแซร์เฟาสท์ได้ถูกผลิตและนำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปี 1943 กองทัพนาซีเยอรมันได้บุกสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ทหารได้ใช้มันในการต่อสู้ T-34 รถถังของฝ่ายสหภาพโซเวียต หลังจากพันแซร์เฟาสท์ก็ได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและถูกใช้งานตลอดทุกสมรภูมิรบทั้งแนวรบด้านตะวันตกและด้านตะวันออก แต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลง นาซีเยอรมันได้พ่ายแพ้แก่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในยุทธการเบอร์ลิน ทหารรัสเซียได้ยึดพันแซร์เฟาสท์มาหลายกระบอกรวมทั้งโรงงานผลิตด้วย ต่อมาทางวิศวกรรัสเซียได้นำมันมาในการออกแบบเครื่องยิงจรวดรุ่นใหม่จนกลายมาเป็นเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีที่ได้ถูกนำใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน",
"title": "พันแซร์เฟาสท์"
},
{
"docid": "92676#1",
"text": "รถถังรุ่นมาทิลดา 1 (55) และมาทิลดา 2 ได้ถูกใช้ในการรบในประเทศฝรั่งเศสภายใต้สังกัดของกองพลน้อยทหารบกรถถังที่ 1 (British 1st Army Tank Brigade) แห่งกองกำลัง British Expeditionary Force (ฺBEF) กองทัพสหราชอาณาจักร โดยรถทั้งสองรุ่นได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและการโต้กลับกองทัพนาซีเยอรมนีในการยุทธแห่งอาร์ราสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งในการรบครั้งนั้นกองทัพบริเตนสามารถทำให้กองพลรถถังที่ 7 (7th Panzer Division) ภายใต้การบัญชาการของจอมพลเออร์วิน รอมเมล แตกพ่ายไปได้ชั่วขณะหนึ่ง ต่อมาเมื่อกองกำลัง BEF ถอนทำกับเกาะอังกฤษ รถถังมาทิลดา เอ็มเค 1 จึงถูกปลดประจำการเพื่อใช้การฝึกซ้อมแทน",
"title": "มาทิลดา เอ็มเค I"
},
{
"docid": "458519#32",
"text": "ถึงแม้ว่าเยอรมันจะได้รับรถถังรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ก็เทียบไม่ได้กับยุทธภัณฑ์ที่ถูกส่งไปยังอังกฤษ ซึ่งจะถูกนำมาสร้างเป็นรถถังและส่งมารบกับเยอรมันในภายหลัง\nนอกจากนี้รถถัง พันเซอร์ 4 นั้นยังได้นำไปใช้ในการบุกยูโกสลาเวียและกรีซในปี ค.ศ. 1941 อีกด้วย\nเมื่อเยอรมันได้เริ่ม ยุทธการบาร์บารอสซา เยอรมันต้องต่อกรกับรถถังที่มีเกราะหนาอย่าง KV-1 และ T-34 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เยอรมันต้องทำการปรับปรุงรถถังของตนให้มีอาวุธที่มีอานุภาพในการเจาะเกราะที่ดียิ่งขึ้น",
"title": "พันเซอร์ 4"
},
{
"docid": "110167#15",
"text": "อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เทคโนโลยีเริ่มผลิตอาวุธเพื่อการรุกแบบใหม่ อย่างเช่น รถถัง อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นผู้ใช้หลัก และเยอรมนีวางกำลังรถถังฝ่ายสัมพันธมิตรที่ยึดมาได้และรถถังที่ตนออกแบบเองอีกจำนวนหนึ่ง ภายหลังยุทธการมาร์นครั้งที่หนึ่ง ทั้งฝ่ายไตรภาคีและเยอรมนีเริ่มอุบายการตีโอบปีกของกองทัพฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเรียกกันว่า \"การแข่งขันสู่ทะเล\" อังกฤษและฝรั่งเศสพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพเยอรมันในสนามเพลาะเป็นแนวยาวตั้งแต่แคว้นลอร์เรนของฝรั่งเศสไปจนถึงชายฝั่งเบลเยียม อังกฤษและฝรั่งเศสพยายามจะเป็นฝ่ายริเริ่มบุกก่อน ขณะที่เยอรมนีตั้งรับอย่างเข้มแข็งในดินแดนยึดครอง ผลที่สุดคือ สนามเพลาะเยอรมันถูกสร้างขึ้นดีกว่าสนามเพลาะของฝ่ายตรงข้ามมาก ขณะที่สนามเพลาะของอังกฤษ-ฝรั่งเศสมีเจตนาจะใช้เป็นแนวชั่วคราวก่อนที่กองทัพจะตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมนีเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามทำลายสถานการณ์คุมเชิงกันอยู่ด้วยการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้มากขึ้น วันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1915 ในยุทธการอีแปรครั้งที่สอง ฝ่ายเยอรมนีใช้แก๊สคลอรีนเป็นครั้งแรกบนแนวรบด้านตะวันตก อันเป็นการละเมิดอนุสัญญากรุงเฮก กองทัพอัลจีเรียถอยทัพเมื่อถูกรมแก๊สและเปิดช่องว่างขนาดหกกิโลเมตรในแนวรบสัมพันธมิตรซึ่งฝ่ายเยอรมนีเข้ายึดครองอย่างรวดเร็ว กองทัพแคนาดาสามารถอุดรอยแตกดังกล่าวได้ในยุทธการครั้งเดียวกัน และในยุทธการอีแปรครั้งที่สาม กองทัพแคนาดาและแอนแซ็กได้ยึดครองหมู่บ้านพาสเชลเดล\nวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 เป็นวันที่กองทัพอังกฤษสูญเสียกำลังพลไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ สูญเสียรวม 57,470 นาย รวมทั้งเสียชีวิต 19,240 นาย ในวันแรกของยุทธการที่แม่น้ำซอมม์ ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั่วโมงแรกของการโจมตี การรุกซอมม์ทำให้กองทัพอังกฤษสูญเสียทหารไปทั้งสิ้นเกือบครึ่งล้านนาย",
"title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
}
] |
1284 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นใด ? | [
{
"docid": "59193#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานหนึ่งของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเป็นโรงเรียนสาธิตเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มิได้สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากร และเป็นโรงเรียนทดลองเพื่อศึกษาวิจัยการเรียนการสอน",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
}
] | [
{
"docid": "240531#10",
"text": "ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) เปิดดำเนินการสอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) โดยช่วงชั้นที่ 3 เปิดสอน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ในช่วงชั้นที่ 4 เปิดสอน 4 แผนการเรียน 6 หลักสูตร ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติแบ่งเป็น 3 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กับหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส/ภาษาจีน/ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 2 หลักสูตรคือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี จำนวน 1 หลักสูตร",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "240531#8",
"text": "ปีแรกของการเปิดทำการนั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน ผู้บริหารและคณาจารย์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนให้ก้าวหน้าในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านงบประมาณ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยท่านอธิการบดี ภก.ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ให้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "240531#5",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) เริ่มเปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2540 เป็นปีแรก โดยมี รศ.จตุพร เพ็งชัย เป็นประธานโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) และได้ใช้สถานที่เรียนชั่วคราว คือ บริเวณอาคารเรียนของโรงเรียนเทคโนโลยีคณาสวัสดิ์(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง) ซึ่งขณะนั้นคณาจารย์ทุกคนต้องทำงานหนักมาก เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "344620#3",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2547 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 โดยเปิดสอนในระดับชั้นปฐมวัย และระดับชั้นประถมศึกษา โดยมี 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรโครงการ English Science Computer Program(ESC)",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)"
},
{
"docid": "344620#1",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยดำริของ ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล(ราชบัณฑิต) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) มีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงแรกของโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) ทางโรงเรียนได้ขออนุมัติจากทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อทำการปรับปรุงอาคารหอประชุมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(เขตพื้นที่ในเมือง) และได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)"
},
{
"docid": "240531#4",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนการก่อตั้งโรงเรียนได้มีคณะกรรมการศึกษาถึงวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสาธิตตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเรียกว่า \"คณะกรรมการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม\" ประกอบไปด้วยคณาจารย์จากคณะต่างๆ มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่โรงเรียนก่อตั้งใหม่ นอกจากนี้ยังประสบปัญหา อีกหลายประการ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำการบ่อยครั้ง",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "95800#6",
"text": "ปัจจุบัน ทางโรงเรียนมีการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นละ 3 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดประมาณ 780 คน โดยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้มีการเปิดสอนแยกเป็น 2 แผนกการศึกษา คือ แผนกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์และแผนกศิลปศาสตร์และคณิตศาสตร์ตราของโรงเรียนสาธิตฯ เป็นตราของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำความกราบทูลพระกรุณาขอพระราชทาน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สถาบันราชภัฏ ตราสัญลักษณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คือ ตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "โรงเรียนสาธิตมัธยม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "240531#6",
"text": "หลังจากนั้นเมื่อปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ได้ย้ายมาใช้สถานที่ใหม่คือคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง) และมี รศ.จตุพร เพ็งชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ซึ่งทำงานภายใต้นโยบายของคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประธาน",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "240531#9",
"text": "ในปี 2561 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกับระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการบริหารงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออกเป็นประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2561 สาระสำคัญคือ ให้โรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานในกำกับคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
}
] |
1294 | สกุลยศคืออะไร ? | [
{
"docid": "26149#0",
"text": "พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ \"อิสริยยศ\" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง\nและ \"ยศทางสกุล\" โดยชั้นข้าหลวงให้นำหน้าสกุลว่า \"วงค์\" (เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สำหรับเมื่อเป็นสามัญชน) เช่น วงค์ปินตา วงค์สมบูรณ์\nวงค์บวรคง วงค์ปิ่นแก้ว ฯลฯ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
}
] | [
{
"docid": "226631#7",
"text": "ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้ โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป",
"title": "สกุลรองเท้านารี"
},
{
"docid": "26149#21",
"text": "อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราชและอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "472285#1",
"text": "รามเกียรต์ หรือ รามายณะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาวรรณกรรมเอเชีย ภาพการขับเคี่ยวที่พิสดารอลังการของฝ่ายพลับพลากับฝ่ายกรุงลงกา เส้นขนานของธรรมะและอธรรมรามและทศกัณฐ์ จึงเป็นขั้วที่ไม่เพียงยืนหยัด อยู่คนฝ่าย แต่ยังเป็น ศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องฟาดฟันกันให้แหลกลาญ “คนที่เป็นศัตรูกันต้องต่อสู้กันตลอดไปจริงหรือ?” กี่พันปีมาแล้วที่ทศกัณฐ์และพระรามเป็นศัตรูกัน กี่พันปีมาแล้วที่ทหาเอกของพระรามอย่างหนุมานต้องทำหน้าท่าปราบอธรรมให้สิ้นซาก คำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” โดย “ประภาส ชลศรานนท์” โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จและฉายในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาสร้าง 6 ปี",
"title": "ยักษ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "130192#3",
"text": "การกำหนด ยศ หรือ บรรดาศักดิ์ และ ราชทินนาม เป็นของคู่กัน กษัตริย์พระราชทานพร้อมกันในคราวเดียวกัน ยศหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางในตอนต้นอยุธยาเท่าที่ปรากฏหลักฐานพบว่า ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงสุดคือ \"ขุน\" เป็นยศที่ขึ้นอยู่กับระบบบริหารของเมืองหลวง โดยเป็นยศสำหรับขุนนางในระดับเสนาธิบดีประจำจตุสดมภ์ ได้แก่เวียง วัง คลัง นา ส่วนยศทีรองมาคือ หมื่น พัน นายร้อย นายสิบ",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "163379#0",
"text": "ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย (สกุลเดิม: หิญชีระนันทน์; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 31 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักเขียน นักแปล ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงจากหนังสือและบทความเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับกรุณา กุศลาสัย ซึ่งเป็นสามี ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2544",
"title": "เรืองอุไร กุศลาสัย"
},
{
"docid": "26149#20",
"text": "ดังนั้นความหมายที่ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ มาจากสองคำคือ พระบรมวงศ์ (พระภรรยาเจ้าดำรงสถานะชั้นพระมเหสี, เจ้าฟ้าชั้นเอก-โท และ พระองค์เจ้าชั้นเอก) กับ พระอนุวงศ์ (เจ้าฟ้าชั้นตรี,พระองค์เจ้าชั้นโท-ตรี และ หม่อมเจ้า) ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านาย (เจ้า) ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์\nสกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "265921#0",
"text": "รักคืออะไร เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงดิ อินโนเซ็นท์ออกวางแผงครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้ต้อนรับ 2 สมาชิกใหม่ของวงคือไก่ เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ ในตำแหน่งมือกลองที่เข้ามาแทนโหนก เกรียงศักดิ์ที่ได้ลาออกไปและไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์ จากวงฟอร์เอฟเวอร์ ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดและมือกีตาร์ซึ่งก่อนหน้านั้นไชยรัตน์ได้เข้ามาเป็นนักดนตรีรับเชิญระหว่างออกทัวร์คอนเสิร์ตและแสดงทางโทรทัศน์ในอัลบั้ม เพียงกระซิบ และอัลบั้ม อยู่หอ ก่อนจะเข้ามาเป็นสมาชิกหลักของวงในอัลบั้มชุดนี้",
"title": "รักคืออะไร"
},
{
"docid": "26149#9",
"text": "ร.6 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้าชั้นเอก หลานหลวงในร.5) เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กับหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา สะไภ้หลวง) ร. 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) ตั้งเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษเฉพาะพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์ คือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#2",
"text": "\"หมายเหตุ\" เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
}
] |
1297 | ไอซ์แลนด์มีขนาดพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "17218#13",
"text": "ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ทั้งหมด 102,775 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งยาว 4970 กิโลเมตร ระยะทางใกล้ที่สุดไปยังประเทศอื่นๆ คือ 287 กิโลเมตรถึงกรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) 798 กิโลเมตรถึงสกอตแลนด์ (สหราชอาณาจักร) และ 970 กิโลเมตรถึงนอร์เวย์แผ่นดินใหญ่ 62% ของพื้นที่ประเทศเป็นที่รกร้าง มีเพียง 23% ที่พืชเจริญเติบโตได้ อีก 11% เป็นธารน้ำแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของไอซ์แลนด์เป็นที่สูง มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร จุดที่สูงที่สุดคือยอดเขาฮวันนาตัลสนูกือร์ (Hvannadalshnúkur)",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "17218#1",
"text": "ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่มีกองกองทัพเป็นของตนเอง และไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลก",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
}
] | [
{
"docid": "17218#14",
"text": "ในทางธรณีวิทยา ไอซ์แลนด์เป็นผืนดินที่ยังใหม่ โดยไอซ์แลนด์ตั้งอยู่บนจุดร้อนไอซ์แลนด์และเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกแยกตัวระหว่างแผ่นทวีปอเมริกาเหนือและแผ่นทวีปยูเรเชีย ไอซ์แลนด์มีภูเขาไฟมากกว่าร้อยแห่ง หลายแห่งยังคงคุกรุ่นอยู่ เช่น ภูเขาไฟเฮกลา (Hekla) ซึ่งปะทุครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2543 ปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เกิดภูเขาไฟนี้ ยังทำให้ไอซ์แลนด์มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสูง ไอซ์แลนด์มีแหล่งน้ำพุร้อนจำนวนมาก และยังได้ไฟฟ้าพลังน้ำด้วย ไอซ์แลนด์ครอบครองเกาะซึร์ทเซย์ ซึ่งขึ้นมาจากเหนือน้ำทะเลหลังการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลในปี พ.ศ. 2506",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "17218#16",
"text": "พื้นฐานเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์เป็นรูปแบบทุนนิยม แต่ก็สนับสนุนรัฐสวัสดิการอย่างกว้างขวาง ลักษณะเดียวกับประเทศนอร์ดิกอื่นๆ ไอซ์แลนด์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากร (GDP per capita) ในระดับสูง ไอเอ็มเอฟประเมินจีดีพีต่อประชากรที่ราคาปัจจุบัน (nominal) ของปี พ.ศ. 2550 ที่ 62,976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 4 ของโลก) และจีดีพีต่อประชากรเทียบด้วยกำลังซื้อ (\"PPP\") ที่ 41,680 ล้านดอลลาร์สากล (อันดับที่ 5 ของโลก) นอกจากนี้ไอซ์แลนด์ยังมีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจสูง โดยมีดัชนีจีนีเท่ากับ 25 จากข้อมูลของซีไอเอ",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "17218#19",
"text": "ในปี 2551 ไอซ์แลนด์มีถนนยาวทั้งหมด 13,058 กิโลเมตร ไม่มีทางรถไฟหรือแม่น้ำที่เดินเรือได้ ถนนวงแหวน หรือทางหลวงหมายเลข 1 (Hringvegur หรือ Þjóðvegur 1) เป็นถนนสายหลักของประเทศ วนรอบเกาะไอซ์แลนด์ เชื่อมต่อพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประเทศ มีความยาว 1339 กิโลเมตร จากสถิติปี 2550 ไอซ์แลนด์มีรถยนต์ 227,321 คัน โดยเป็นรถยนต์นั่ง 197,305 คัน คิดเป็นประชากร 1.6 คนต่อรถหนึ่งคันไอซ์แลนด์มีสนามบิน 99 แห่ง โดยห้าแห่งเป็นสนามบินที่มีทางวิ่งลาดยาง สนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานนานาชาติเคฟลาวิก ใกล้กับเมืองเคฟลาวิก ห่างจากเรคยาวิก 50 กิโลเมตร ในขณะที่ท่าอากาศยานเรคยาวิกเป็นท่าอากาศยานในประเทศ สายการบินแห่งชาติของไอซ์แลนด์คือไอซ์แลนด์แอร์ (Icelandair)",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "266790#0",
"text": "พรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ () เป็นรัฐของแคนาดา ประกอบด้วยเกาะในชื่อเดียวกัน เป็นรัฐในกลุ่มรัฐภาคพื้นสมุทรและยังเป็นรัฐที่เล็กที่สุดทั้งในแง่พื้นที่และประชากร (ไม่รวมดินแดน) จากข้อมูลในปี 2009 มีผู้อยู่อาศัยอยู่ 140,402 คน มีพื้นที่ 5,683.91 ตร.กม. (2,194.57 ตร.ไมล์) และยังเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 104 ของโลก และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 23 ของแคนาดา เกาะนี้ตั้งชื่อตามเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ออกุสตุส ดยุคแห่งเคนท์และสตราเธิร์น (1767–1820) พระโอรสองค์ที่ 4 ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์"
},
{
"docid": "2083#7",
"text": "สก็อตแลนด์มีพื้นที่น้อยกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักร, ครอบคลุม 78,772 ตารางกิโลเมตร (30,410 ตารางไมล์) และ รวมถึง เกือบแปดร้อยเกาะ ส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตกและทางเหนือของเกาะบริเตนใหญ่; สะดุดตาคือ Hebrides, Orkney Islands และ Shetland Islands. ภูมิประเทศของสกอตแลนด์เป็นที่โดดเด่นด้วย Highland Boundary Fault - รอยแตกหักของหินทางธรณีวิทยา - ซึ่งลัดเลาะในสกอตแลนด์ จาก Arran ทางตะวันตกไป Stonehaven ทางตะวันออก รอยแตกจะแยกสองภูมิภาคที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน, คือไฮแลนด์ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก และที่ราบลุ่มไปทางใต้และ ตะวันออก. ภูมิภาคไฮแลนด์ที่ขรุขระมากขึ้นประกอบด้วยส่วนใหญ่ของแผ่นดินที่เต็มไปด้วยภูเขาของสกอตแลนด์, รวมทั้ง Ben Nevis ที่สูง 1,343 เมตร (4,406 ฟุต), ซึ่งสูงที่สุดในเกาะบริเตนใหญ่อังกฤษ พื้นที่ ลุ่ม, โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแคบของแผ่นดินระหว่าง the Firth of Clyde และ the Firth of Forth ที่รู้จักกันว่าเป็น Central Belt - เป็นที่ราบเรียบ และบ้านของส่วนใหญ่ของประชากร รวมทั้ง กลาสโกว์, เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์, และ เอดินบะระ เมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเมือง",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "17218#11",
"text": "ประเทศไอซ์แลนด์แบ่งออกเป็น 8 เขตหรือภูมิภาค เรียกในภาษาไอซ์แลนด์ว่า landsvæðun (พหู. landsvæði) ได้แก่ในระดับท้องถิ่น ไอซ์แลนด์แบ่งออกเป็นเขตเทศบาล 79 เขต เรียกในภาษาไอซ์แลนด์ว่า sveitarfélagið (พหู. sveitarfélög) นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์ยังมีการแบ่งแบบดั้งเดิมเป็นมณฑล (sýslur) 23 แห่ง เมืองอิสระ (kaupstaðir) 8 แห่ง เมือง (bæir) 7 แห่ง และการแบ่งแยกแบบอื่นๆ อีก 5 แห่ง การแบ่งการปกครองในระดับนี้แทบไม่มีความสำคัญแล้วในปัจจุบัน",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "593860#2",
"text": "เนื้อของอีแลนด์มีโปรตีนมากกว่าเนื้อวัวและไขมันน้อยกว่า และนมของอีแลนด์มีระดับแคลเซียมสูงมาก ด้วยเหตุนี้อีแลนด์จึงได้รับการคัดเลือกว่ามีคุณภาพและปริมาณเนื้อนมในแอสคาเนีย-โนวาสวนสัตว์ในยูเครน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจในยุโรป แต่อีแลนด์ในแอฟริกาบางท้องถิ่นชาวพื้นเมืองได้เลี้ยงไว้เพื่อทำการทำไร่ไถ่นาเหมือนกับควายในทวีปเอเชีย",
"title": "อีแลนด์"
},
{
"docid": "17218#17",
"text": "อุตสาหกรรมหลักของไอซ์แลนด์คืออุตสาหกรรมประมง โดยสินค้าทะเลมีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 1.2 แสนล้านโครนาไอซ์แลนด์ จากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดสามแสนล้านในปี 2550 สินค้าส่งออกสำคัญอื่นๆ ได้แก่อะลูมิเนียม เฟร์โรซิลิคอน ดินเบา และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีประเทศคู่ค้าส่งออกที่สำคัญคือเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และสเปน ไอซ์แลนด์มีสินค้านำเข้าสำคัญคือเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหาร และสิ่งทอ โดยประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ 70% ของแรงงานในไอซ์แลนด์ทำงานในภาคการบริการ",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
}
] |
1301 | รัชนก อินทนนท์ เกิดที่จังหวัดใด? | [
{
"docid": "467087#2",
"text": "รัชนก อินทนนท์เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของวินัสชัย อินทนนท์ และคำผัน สุวรรณศาลา มีน้องชาย 1 คนคือ รัชพล อินทนนท์ เมื่ออายุ 3 เดือน รัชนกย้ายเข้ากรุงเทพมหานครตามบิดาและมารดา ซึ่งมาทำงานที่โรงงานทำขนมบ้านทองหยอด และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น นับแต่นั้น รัชนกยังมีกมลา ทองกร เจ้าของโรงงานบ้านทองหยอด เป็นมารดาบุญธรรมอีกด้วย",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
}
] | [
{
"docid": "467087#0",
"text": "รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้นในปี 2556 เธอได้คว้าแชมป์โลกและสร้างสถิติเป็นแชมป์โลกแบดมินตันอายุน้อยที่สุด",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
},
{
"docid": "33621#0",
"text": "นายอมร อมรรัตนานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่ บ้านหนองเขื่อนข้าง ตำบลหนองยาว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี โดยมีชื่อเดิมว่า อมร อมรรัตนานนท์ หรือ อมรเทพ อมรรัตนานนท์ และต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่ เป็น รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี และล่าสุด ได้เปลี่ยนกับมาใช้ชื่อเดิม และนามสกุลเดิม คือ นายอมร อมรรัตนานนท์ จบประถมต้นที่โรงเรียนบ่านหนองเขื่อนช้าง ประถมปลายโรงเรียนวิหารแดง มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ จากนั้นได้เข้าสู่ขบวนการนักศึกษา จากการขอสมัครเป็นเป็นผู้ปฏิบัติงานของศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ตึกสันทนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล \nถือเป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา ที่มีบทบาทสำคัญ โดยก่อนหน้านั้นเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี พ.ศ. 2519 และนำนักเรียนขาสั้นเข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะหนีเข้าป่า เฉกเช่นนักศึกษาคนเดือนตุลาอื่นๆ ในยุคนั้น โดยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี โดยมีเพื่อนร่วมเขตงานเดียวกันคือ สุวิทย์ วัดหนู หลังจากนั้นเมื่อเกิดวิกฤตป่าแตก จึงกลับเข้าหาครอบครัวทำมาหากิน เหมือนนักศึกษาคนอื่น ๆ ที่ออกจากป่าในช่วงนั้น",
"title": "รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี"
},
{
"docid": "331072#1",
"text": "นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2486 ที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายนิกร กับนางเสมอ อินทรวิทยนันท์ มีพี่น้องทั้งสิ้น 8 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร,โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นสำเร็จการศึกษาวิทยาลัยอนุปริญญา ด้านการบัญชี จากวิทยาลัยกรุงเทพ (รุ่น 1) ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา",
"title": "พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์"
},
{
"docid": "64934#1",
"text": "รัชนก ศรีโลพันธุ์ มีชื่อเล่นว่า นก เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นบุตรเกษตรกรสวนแตงชาว อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะมาเป็นนักร้องอาชีพ และออกผลงาน เธอเคยคว้าตำแหน่งชนะเลิศ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ปี 2546 เธอมาพักอาศัยและร้องเพลงกับวงดนตรีอิเล็กโทนเล็กๆของ อ.ประสพสุข รัตนสุภา ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้น ม.5 ที่ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชเพื่อหาเงินส่งตัวเองเรียนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี",
"title": "รัชนก ศรีโลพันธุ์"
},
{
"docid": "187363#1",
"text": "อานนท์ สังข์สระน้อย เกิดที่บ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายสมโภชและนางจำนงค์ สังข์สระน้อย จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จากนั้นศึกษาต่อในระดับ ปวช.ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ชื่นชอบฟุตบอลมาตั้งแต่ยังเด็ก แต่ช่วงชีวิตการเล่นฟุตบอลระดับนักเรียนของอานนท์ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ในการแข่งขันฟุตบอลระดับนักเรียน อานนท์ไม่เคยลงเล่นในประเภท ก. เลย โดยอานนท์ลงเล่นฟุตบอลนักเรียนรุ่น 18 ปี ประเภท ข. ให้กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา นอกจากพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นประเภท ก. ไม่ได้แล้วทีมยังตกชั้นลงมาเล่นประเภท ค. อีกต่างหาก",
"title": "อานนท์ สังข์สระน้อย"
},
{
"docid": "372833#1",
"text": "\"บานเย็น รากแก่น\" หรือ นาง นิตยา รากแก่น มีชื่อเล่นว่า นิต เกิดวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ที่บ้านกุดกลอย ตำบลโนนสวาง อำเภอตระการพืชผล (ปัจจุบันคือ อำเภอกุดข้าวปุ้น) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายสุดตา และนางเหมือย รากแก่น หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านท่าวังหิน จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้คลุกคลีอยู่กับคณะหมอลำของคุณป้าหนูเวียง แก้วประเสริฐ หมอลำกลอนชื่อดังของจังหวัด โดยฝึกฝนทักษะการลำ และการร่ายรำท่าต่างๆ อย่างสวยงาม จนเป็นที่ชื่นชมของคุณครู ครอบครัว ญาติผู้ใหญ่ และผู้คนในท้องถิ่น",
"title": "บานเย็น รากแก่น"
},
{
"docid": "551003#1",
"text": "นายเอกธนัช อินทร์รอด เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นทายาทของ ปราการ อินทร์รอด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เขต 3 ท่าบ่อ ส.อบจ. 6 สมัย ผู้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่าบ่อปราการก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่แห่งหนองคาย ที่ชาวบ้านเรียกขาน \"ยมทูตส่งวิญญาณ\" เนื่องจากนำรถแห่ศพออกบริการฟรี สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ ทุกหมู่บ้านที่มีงานศพ",
"title": "เอกธนัช อินทร์รอด"
},
{
"docid": "34839#1",
"text": "อาจินต์ ปัญจพรรค เกิดวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรชายของขุนปัญจพรรค์พิบูล (พิบูล ปัญจพรรค์) อดีตนายอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และข้าหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และข้าหลวงจังหวัดนครปฐม กับนางกระแส ปัญจพรรค์ (โกมารทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ พล.ต.ท.ลัดดา ปัญจพรรค์ และวัฒนา ปัญจพรรค์ มีน้องสาวต่างมารดาคือ เยาวรัตน์ ปัญจพรรค์",
"title": "อาจินต์ ปัญจพรรค์"
},
{
"docid": "381775#1",
"text": "นนทนันท์ (ชื่อเดิมว่า โค้ก) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะย้ายพร้อมกับครอบครัวมาที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยรังสิต \nคชามีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีหลายอย่างด้วยกัน เช่น กลองชุด กีตาร์ เปียโน คีย์บอร์ด และ ขิม",
"title": "นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์"
}
] |
1304 | เฟร์นันโด โฆเซ ตอร์เรส ซันซ์ เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "120686#0",
"text": "เฟร์นันโด โฆเซ ตอร์เรส ซันซ์ (; เกิด 20 มีนาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักฟุตบอลชาวสเปน ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าให้กับซางัน โทสุในเจลีก และทีมชาติสเปน",
"title": "เฟร์นันโด ตอร์เรส"
}
] | [
{
"docid": "204317#0",
"text": "เปโดร เฟร์นันเดซ กัสติเยโฆส () หรือ เปริโก เฟร์นันเดซ () หรือ นักมวยสากลชาวสเปน เกิดเมื่อ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่เมืองซาราโกซา ประเทศสเปน สถิติการชก 128 ครั้ง ชนะ 83 (น็อก 48) เสมอ 15 แพ้ 28 \nเปริโก เฟร์นันเดซ เริ่มชกมวยสากลอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2515 และได้ครองแชมป์โลกรุ่นไลท์ฟลายเวต สภามวยโลก เมื่อ พ.ศ. 2517 ชนะไลออน ฟูรุยาม่า ในปีต่อมา เฟร์นันเดซเสียแชมป์โลกให้แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เฟอร์นันเดซขึ้นชกแก้มือกับแสนศักดิ์อีกครั้งใน พ.ศ. 2520 แต่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีก ก่อนที่จะแขวนนวมไปเมื่อ พ.ศ. 2530",
"title": "เปริโก เฟร์นันเดซ"
},
{
"docid": "175596#1",
"text": "โฆเซ เด ซาน มาร์ตินเป็นบุตรคนที่5และคนสุดท้องของฆวน เด ซาน มาร์ติน และ เกรกอเรีย มาร์ตอร์รัส เดล เซอร์ เกิดที่เมืองยาเปยู จังหวัดคอร์เรียนเตส ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินาในปัจจุบัน มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับปีเกิดที่แท้จริงของเขา เช่นเดียวกับการเข้าพิธีศีลล้างบาปที่ไม่มีบันทึกไว้ ต่อมาเอกสารอื่น เช่น พาสปอร์ต บันทึกการแต่งงาน และบันทึกการเป็นทหาร บ่งชี้ว่าปีเกิดของซาน มาร์ตินนั้นอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1777-1778 เมื่อซาน มาร์ตินอายุได้3-4ปี ครอบครัวของเขาย้ายไปยังบวยโนสไอเรส",
"title": "โฆเซ เด ซาน มาร์ติน"
},
{
"docid": "120686#1",
"text": "ตอร์เรสเกิดที่เมืองฟูเอนลาบราดา (Fuenlabrada) เมืองชนบทขนาดย่อมทางใต้ของกรุงมาดริด เดิมตอร์เรสเป็นเด็กฝึกหัดของอัตเลตีโกมาดริดในประเทศสเปน และก้าวขึ้นมาติดทีมชุดใหญ่ รวมถึงการที่ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันของทีม โดยในขณะนั้นตอร์เรสมีอายุเพียง 19 ปี ตอร์เรสได้รับฉายาจากสื่อในสเปนว่า \"เอลนีโญ\" (เด็ก) เพราะหน้าตาของตอร์เรสดูอ่อนวัยกว่าอายุเป็นอย่างยิ่ง",
"title": "เฟร์นันโด ตอร์เรส"
},
{
"docid": "174781#0",
"text": "โรเซนโด โฮเซ อัลบาเรซ เอร์นันเดซ () นักมวยสากลชาวนิการากัว เกิดเมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ที่กรุงมานากัว ประเทศนิการากัว สถิติการชก 42 ครั้ง ชนะ 37 (น็อก 24) เสมอ 2 แพ้ 3 \nอัลบาเรซขึ้นชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 และขึ้นชกชนะรวด 19 ครั้งและเคยชนะน็อกโฮเซ โบนิยา ด้วย อัลบาเรซชิงแชมป์โลกรุ่นมินิมัมเวต สมาคมมวยโลกในไทยเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และเป็นฝ่ายชนะคะคะแนนได้แชมป์มาครอง และยังป้องกันแชมป์ชนะสงคราม ป.เปาอินทร์, เกอร์มิน กัวร์เดีย, อีริก ชาเวซ, ทาคาชิ ชิโอฮามะ ด้วย ต่อมาใน พ.ศ. 2541 อัลบาเรซได้ชกล้มแชมป์กับริคาร์โด โลเปซ แชมป์โลกรุ่นเดียวกันของสภามวยโลก ซึ่งการชกยุติลงในยกที่ 8 เนื่องจากเกิดแผลแตกโดยอุบัติเหตุ และรวมคะแนนปรากฏว่าเสมอกันไป การชกแก้มือเกิดขึ้นในอีกปีต่อมา แต่เนื่องจากอัลบาเรซไม่สามารถทำน้ำหนักได้ จึงถูกปลดจากแชมป์ก่อน ซึ่งการชกปรากฏว่าโลเปซเป็นฝ่ายชนะคะแนน",
"title": "โรเซนโด อัลบาเรซ"
},
{
"docid": "209985#0",
"text": "เฟอร์นันโด ซากราโด () นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ เกิดเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2516 สถิติการชก 23 ครั้ง ชนะ 18 (น็อค 13) เสมอ 1 แพ้ 4 \nเฟอร์นันโด ซากราโด ซากราโดขึ้นชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2538 ชนะคะแนน อาร์เทอร์ การ์เซีย จากนั้นขึ้นชกชนะเป็นส่วนใหญ่ มีเสมอเพียงครั้งเดียว จากนั้นขึ้นชิงแชมป์ฟิลิปปินส์รุ่นซูเปอร์ไลท์เวทเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2540 แพ้น็อค คองคอง ปาเกียว ยก 6 ซากราโดขึ้นชิงแชมป์ฟิลิปปินส์รุ่นเดิมอีกครั้งเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ชนะคะแนน บอย ลิกัส ได้แชมป์มาครอง จากนั้นขึ้นชิงแชมป์ PABA รุ่นซูเปอร์ไลท์เวทเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 แพ้คะแนน กุยเยโม มอสเกรา ที่ นิวซีแลนด์ ไม่ได้แชมป์ จากนั้น ซากราโดเลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นเวลเตอร์เวท และได้ชิงแชมป์ PABA รุ่นเวลเตอร์เวทเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2542 ชนะน็อค โทมัส กุน ยก 3 ที่ ฟิลิปปินส์ ป้องกันแชมป์ได้ 2 ครั้ง ก่อนจะเสียแชมป์ไปเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 แพ้น็อค ดาวิด กอสวารา ยก 5 ที่ อินโดนีเซีย หลังจากเสียแชมป์ไป ซากราโดขึ้นชกชนะอีก 2 ครั้ง ก็ชิงแชมป์ PABA รุ่นเดิมอีกครั้งเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ชนะน็อค เจฟ มัลคอล์ม ยก 3 ที่ ฟิลิปปินส์ได้แชมป์มาครอง จากนั้นก็สละแชมป์และแขวนนวมไป",
"title": "เฟอร์นันโด ซากราโด"
},
{
"docid": "785082#0",
"text": "โคเซ บีเซนเต เฟร์เรร์ เด โอเตโร อี ซินทรอน (; 8 มกราคม ค.ศ. 1912 – 26 มกราคม ค.ศ. 1992) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โคเซ เฟร์เรร์ เป็นนักแสดงและผู้กำกับชาวเปอร์โตริโก ผู้ชนะเลิศรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลโทนี ได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงเชื้อสายฮิสแปนิกคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ จากภาพยนตร์เรื่อง \"Cyrano de Bergerac\" (ค.ศ. 1950)",
"title": "โคเซ เฟร์เรร์"
},
{
"docid": "331879#0",
"text": "โฆเซ อันโตนิโอ โดมิงเกซ บันเดรา () หรือชื่อในการแสดงว่า อันโตนิโอ บันเดรัส () เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1960 เป็นนักแสดงชาวสเปน ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ และนักร้อง เขาเริ่มอาชีพการแสดงเมื่ออายุ 19 ปีกับภาพยนตร์ที่กำกับโดยเปโดร อัลโมโดบาร์ จากนั้นแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวุดอย่างเรื่อง \"มหาประลัยตัดมหาประลัย\", \"Evita\", \"\", \"Philadelphia\", \"Desperado\", \"The Mask of Zorro\", \"Spy Kids\" และ \"Shrek\"",
"title": "อันโตนิโอ บันเดรัส"
},
{
"docid": "240231#0",
"text": "เฟร์นันโด เบร์ดัสโก การ์โมนา () เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวสเปน เกิดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ปัจจุบันเป็นนักเทนนิสมือวางอันดับที่ 2 ของสเปน และเป็นมือวางอันดับที่ 8 ของโลก เบร์ดัสโกเริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุได้เพียง 4 ขวบ และเริ่มมีโค้ชประจำตัวตั้งแต่อายุได้ 8 ขวบ",
"title": "เฟร์นันโด เบร์ดัสโก"
},
{
"docid": "545145#0",
"text": "โฆเซ ฟรันซิโก \"โฆเซบา\" อิตัวร์เต โกเอนากา (; 26 กันยายน ค.ศ. 1970 — ) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวสเปน ในฐานะผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เขาเริ่มทำหน้าที่ใน ค.ศ. 2004 ให้แก่เซเดโรกวยตัส และใน ค.ศ. 2005 เขาก็ได้ย้ายไปยังอูเด อัลเมริอา ที่ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่เป็นระยะเวลาหกปี และต่อมา เขาได้ทำหน้าที่ดังกล่าวร่วมกับสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013",
"title": "โฆเซบา อิตัวร์เต"
}
] |
1305 | ประเทศมาเลเชียมีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "1924#0",
"text": "มาเลเซีย (มาเลเซีย: ) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก",
"title": "ประเทศมาเลเซีย"
}
] | [
{
"docid": "823#55",
"text": "สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "58156#1",
"text": "ประเทศมอริเชียสมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,040 ตารางกิโลเมตรใหญ่เป็นอันดับ 170 ของโลก ประเทศมอริเซียสประกอบด้วยเกาะมอริเซียสและเกาะชั้นนอกอีกหลายเกาะอาทิเกาะรอดรีกส์เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศมีพื้นที่ประมาณ 108 ตารางกิโลเมตรห่างจากเกาะมอริเซียสไปทางตะวันออก 560 กิโลเมตร เกาะแฝดอากาเลกามีพื้นที่ประมาณ 26 ตารางกิโลเมตรและห่างจากเกาะหลักไปทางเหนือ 1000 กิโลเมตร เซนต์แบรนดอนคือกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยดอนทรายใต้น้ำและเกาะเล็กใช้เป็นที่ตั้งการประมงของบริษัท ราฟาเอลฟิชเชอร์ จำกัด (Raphael Fishing Company Limited) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะหลักไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 430 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมอริเชียสนั้นครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรอินเดียกว่า 2.3 ล้านตารางกิโลเมตรและมีพื้นจัดการร่วมกับประเทศเซเชลส์อีกประมาณ 400,000 ตารางกิโลเมตร",
"title": "ประเทศมอริเชียส"
},
{
"docid": "33937#0",
"text": "ประเทศมาลี () หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมาลี () เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันตก ประเทศมาลีมีพรมแดนทางเหนือจดประเทศแอลจีเรีย ทางตะวันออกจดประเทศไนเจอร์ ทางใต้จดประเทศบูร์กินาฟาโซและประเทศโกตดิวัวร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศกินี และทางตะวันตกจดประเทศเซเนกัลและประเทศมอริเตเนีย มีพื้นที่ 1,240,000 กม.² และประชากร 18.5 ล้านคน เมืองหลวง คือ กรุงบามาโก มาลีแบ่งการปกครองเป็นแปดเขต และมีพรมแดนที่เป็นเส้นตรงทางเหนืออยู่ลึกเข้าไปใจกลางทะเลทรายซาฮารา ส่วนทางใต้ของประเทศเป็นที่ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ มีแม่น้ำไนเจอร์และแม่น้ำเซเนกัลไหลผ่าน โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศมีศูนยฺกลางอยู่ที่เกษตรกรรมและการประมง ทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนของมาลีมีทองคำ ยูเรเนียม ปศุสัตว์และเกลือ ราวครึ่งหนึ่งของประชากรมีชีวิตอยู่ใต้เส้นยากจนนานาชาติที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน",
"title": "ประเทศมาลี"
},
{
"docid": "17473#1",
"text": "มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย",
"title": "ประเทศคอสตาริกา"
},
{
"docid": "33329#3",
"text": "ประเทศเลโซโท เป็นประเทศที่มีแอฟริกาใต้ล้อมรอบหมดทุกด้าน มีพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย แต่เลโซโทมีพื้นที่ส่วนมากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400-1,800 เมตร จึงทำให้มีหิมะปกคลุม เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีหิมะ แต่ใช้ประโยชน์จากหิมะที่ละลายเป็นน้ำอุปโภคบริโภคใช้ในประเทศ",
"title": "ประเทศเลโซโท"
},
{
"docid": "4402#1",
"text": "ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2552 ลิเบียมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงที่สุดในแอฟริกา และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (อำนาจซื้อ) สูงสุดเป็นอันดับ 4 ในแอฟริกา ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณปิโตรเลียมสำรองขนาดใหญ่และจำนวนประชากรที่ค่อนข้างน้อย ลิเบียเป็นหนึ่งในสิบประเทศผลิตน้ำมันที่ร่ำรวยที่สุดในโลก",
"title": "ประเทศลิเบีย"
},
{
"docid": "671385#0",
"text": "มาร์กีบี () เป็นเทศมณฑลชายฝั่งตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศไลบีเรียในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก เป็นหนึ่งในเทศมณฑล 15 แห่งที่ประกอบกันเป็นเขตการบริหารระดับบนสุดของประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต มีคาคาตาเป็นเมืองหลักของเทศมณฑลซึ่งมีเนื้อที่ 2,616 ตารางกิโลเมตร (1,010 ตารางไมล์) จากการสำรวจสำมะโนประชากร ณ ปี พ.ศ. 2551 เทศมณฑลมาร์กีบีมีประชากร 199,689 คน จึงเป็นเทศมณฑลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ",
"title": "เทศมณฑลมาร์กีบี"
},
{
"docid": "5177#6",
"text": "พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของประเทศไทย) \nเศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน",
"title": "ประเทศเอธิโอเปีย"
},
{
"docid": "584892#0",
"text": "ลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและทางตะวันตกของเวียดนาม มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ในใจกลางของแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้อมรอบด้วยพม่า จีน ไทย เวียดนามและกัมพูชา โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้มีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า เป็นทางผ่านของการค้า การสื่อสาร การอพยพและความขัดแย้งในระดับนานาชาติ ส่งผลต่อสถานะทางเชื้อชาติและการแพร่กระจายของกลุ่มชนต่างๆภายในประเทศ",
"title": "ภูมิศาสตร์ลาว"
}
] |
1306 | ช็อน ดู-ฮวัน เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "442667#1",
"text": "ช็อน ดู-ฮวันเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2474 ที่ยูลกอกมยอง ในหมู่บ้านเกษตรกรที่ยากจนในเมืองฮับชอน จังหวัดคยองซานใต้ ระหว่างการยึดครองเกาหลีของจักรวรรดิญี่ปุ่น ชอนเป็นบุตรชายคนที่สี่ของ ชอน ซางอูและคิม จองมุน ชอนมีพี่ชาย 2 คน คือ ยอลฮวาน และ คยูกอน ซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุตั้งแต่ยังเป็นทารก ฉะนั้นเมื่อเติบโตขึ้นชอนจึงยังรู้จักและสนิทกับพี่ชายคือ กิฮวาน และ น้องชายคยองฮวาน",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "442667#0",
"text": "ช็อน ดู-ฮวัน (; เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2474) เคยเป็นทหารของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี และเป็นผู้นำของรัฐบาลเผด็จการของประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531 ชอนได้ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากการจัดการกับผู้ชุมนุมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจูอย่างเข้มงวดและรุนแรงเกินเหตุ แต่ในเวลาต่อมาได้รับอภัยโทษจากประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัมด้วยคำแนะนำของประธานาธิบดีคนต่อมาคิม แด-จุง ซึ่งเคยถูกช็อน ดู-ฮวันตัดสินประหารชีวิตเมื่อ 20 ปีก่อน",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
}
] | [
{
"docid": "442667#14",
"text": "ในเดือนธันวาคม ช็อน ดู-ฮวันพร้อมกับโนห์ แทวู,จอง โฮยอง,ยู ฮักซอง,ฮโย ซัมซูและเพื่อนร่วมรุ่น 11 ของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยอาศัยความได้เปรียบจากสถานการณ์การเมืองที่บอบบางและการเติบโตขึ้นของกลุ่มฮานาเฮว การได้ตัวผู้บัญชาการคนสำคัญและการล้มล้างกลุ่มองค์กรของหน่วยข่าวกรองของชาติ",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "442667#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2490 ช็อน ดู-ฮวันได้เข้าเรียนโรงเรียนมัธยมต้นอาชีวศึกษาแดกู ซึ่งห่างจากบ้านของเขาถึง 25 กิโลเมตรและเขาได้ย้ายไปยังโรงเรียนมัธยมปลายอาชีวะศึกษาแดกู ได้รับยกเว้นผลการเรียนเมื่อสงครามเกาหลีปะทุขึ้น",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "442667#36",
"text": "ช็อน ดู-ฮวันเป็นประธานาธิบดีในช่วงที่สงครามเย็นถึงจุดสูงสุด และนโยบายทางด้านการต่างประเทศของเขาทำให้มีการขัดแย้งกับประเทศคอมมิวนิสต์ไปรอบบริเวณ ไม่เพียงจากเกาหลีเหนือเท่านั้นแต่ยังจากสหภาพโซเวียตและจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกด้วย",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "315257#2",
"text": "ช็อน จี-ฮย็อน เกิดที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ มีชื่อแต่แรกเกิดว่า วัง จี-ฮย็อน () ในวัยเยาว์เธอมีความฝันว่าอยากเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน แต่ขณะที่เธอมีอายุ 16 ปี ได้มีบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่นพบเธอโดยบังเอิญที่กลางถนน หลังจากการติดต่อของบรรณาธิการดังกล่าว เธอเริ่มอาชีพเป็นนางแบบถ่ายแบบลงนิตยสารอีโคล (École Magazine) เมื่อปี ค.ศ. 1997 โดยใช้ชื่อ \"ช็อน จี-ฮย็อน\" ภายหลังเธอได้เล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาสาขาการแสดงและภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยทงกุก",
"title": "ช็อน จี-ฮย็อน"
},
{
"docid": "442667#35",
"text": "ความพยายามลอบสังการเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยสายลับชาวเกาหลีเหนือ ระหว่างชอนไปเยือนพม่า ระเบิดในครั้งนั้นได้ทำให้ผู้ติดตามของชอน 17 คน รวมถึงคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ชาวพม่า 4 คน",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "320049#0",
"text": "ช็อน ฮโย-ซ็อง (; เกิด 13 ตุลาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ เป็นที่รู้จักในฐานะสมาชิกวงเกิร์ลกรุปเกาหลีใต้ ซีเครต โดยเธอได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการออดิชั่นกับรายการ \"แบทเทิลชินฮวา\"",
"title": "ช็อน ฮโย-ซ็อง"
},
{
"docid": "442667#2",
"text": "ประมาณปี พ.ศ. 2479 ครอบครัวของชอนย้ายไปยัง แดกู ที่ชอนได้เริ่มเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาโฮรัน พ่อของชอนเคยทะเลาะกับตำรวจของญี่ปุ่น (เก็มเปไต) และพ่อของเขาได้ฆาตกรรมกัปตันของตำรวจญี่ปุ่นในฤดูหนาว พ.ศ. 2482 ทำให้ครอบครัวของเขาต้องหลบหนีไปยังมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน เป็นเวลา 2 ปีจึงได้กลับเกาหลี ซึ่งทำให้เขาได้หยุดเรียนหนังสือไป 2-3 ปี",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "442667#4",
"text": "ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมปลายในปี พ.ศ. 2494 ช็อน ดู-ฮวัน ได้เข้าไปในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงคือ โรงเรียนนายร้อยทหารบกเกาหลี (Korea Military Academy) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้ผูกมิตรไว้กับหลายคนระหว่างนักเรียนด้วยกัน ซึ่งต่อมาจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เขาทำการยึดอำนาจในอีกหลายปีต่อมา เขาสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2498 และได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี โดยสำเสร็จการศึกษาในรุ่น 11",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
}
] |
1313 | วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์สถาปนาขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "320183#1",
"text": "SAIS สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกลุ่มผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสำหรับสหรัฐอเมริกาซึ่งได้กลายเป็นมหาอำนาจของโลกภายหลังสงคราม \nโดย พอล เอ็ช. นิทซ์ (Paul H. Nitze) ซึ่งมีบทบาทในการจัดทำเอกสาร NSC-68 เพื่อกำหนดนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อโซเวียตในยุคสงครามเย็น และ คริสเตียน เฮอร์เทอร์ (Christian Herter) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้าสังกัดกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เมื่อ พ.ศ. 2493",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
}
] | [
{
"docid": "320183#0",
"text": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ ( ตัวย่อ SAIS (อ่านว่า \"ไซส์\")) เป็นบัณฑิตวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำของโลกที่จัดการเรียนการสอนและการวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ การทูต และนโยบายระหว่างประเทศ",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#3",
"text": "ที่ตั้งหลักของ SAIS อยู่บนถนนแมสซาชูเซตส์ใกล้กับวงเวียนดูปองต์ ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน โดยที่ตั้งของ SAIS อยู่บริเวณเดียวกับสถาบันวิจัยทางนโยบายชั้นนำ อาทิ สถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) และสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน (Peterson Institute) รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตอุซเบกิสถาน ชิลี เปรู ตรินิแดดและโตเบโก ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#15",
"text": "เมื่อวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ที่เมืองบัลติมอร์ และ SAIS ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อทรงเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับคณาจารย์ของ SAIS และพระราชทานพระราชวโรกาสให้นักศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ SAIS เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ดร. ซบิกนีเยฟ เบรอซินสกี อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและนักวิชาการอาวุโสของ SAIS และ ดร. วิลเลียม บรอดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์เป็นเจ้าภาพถวายพระกระยาหารค่ำในสองโอกาสด้วย",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#6",
"text": "SAIS เปิดสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษาในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ได้แก่ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประะเทศ (Master's of Arts: MA in International Relations) (หลักสูตร 2 ปี) และ นโยบายสาธารณะระหว่างประเทศมหาบัณฑิต (Master's of International Public Policy: MIPP) (หลักสูตร 1 ปี สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 9 ปี) และระดับปริญญาเอก ได้แก่ ดุษฎีบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Ph.D. in International Relations)",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#11",
"text": "โดยที่ SAIS จัดการเรียนการสอนและการวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และจัดการสอนภาษาไทยเป็นหนึ่งในภาษาต่างประเทศ จึงทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับประเทศไทยเข้าศึกษาที่ SAIS และสำเร็จการศึกษาแล้วเข้าทำงานในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยด้านนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อสารมวลชน และภาคเอกชน",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#17",
"text": "เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปาฐกถาที่ SAIS เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งต่อมานายเฉลิม อยู่บำรุง จากพรรคเพื่อไทย ได้นำข้อมูลในการบรรยายดังกล่าวไปประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกษิต ภิรมย์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#18",
"text": "บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SAIS และประเทศไทยประกอบด้วยนักวิชาการและศิษย์เก่าที่มีบทบาทในหลายภาคส่วนของไทย อาทิ",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#9",
"text": "นักศึกษาสามารถเลือกเรียนแบบปริญญาร่วมกับสถาบันอื่นโดยใช้เวลาศึกษารวมกันน้อยลง โดย SAIS มีความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับหลักสูตรต่างๆ ดังนี้",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "320183#12",
"text": "สำหรับในประเทศไทยศิษย์เก่าจาก SAIS ได้เข้าทำงานในวงการต่างๆ โดยเฉพาะการเมือง ราชการ และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร รวมทั้ง สถาบันการศึกษา องค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และเอกชนในประเทศไทย",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
}
] |
1320 | กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "43391#1",
"text": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลก่อตั้งเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2504 ที่เมืองมอร์เกส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในไทยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยพหลโยธิน 5 มีสำนักงานสาขา เพื่อดำเนินการและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เชิงปลุกจิตสำนึก และให้ความรู้อยู่หลายแห่ง",
"title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล"
}
] | [
{
"docid": "43391#0",
"text": "กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล () เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน ค.ศ. 2010 ได้เกิดกองทุนที่มาจากเงินทุนของประชาชนรวมถึงการยกมรดกให้ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ และ 17 เปอร์เซ็นต์จากแหล่งรัฐบาล (เช่น ธนาคารโลก, กระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ, องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา) และ 11 เปอร์เซ็นต์จากสถาบันการเงินต่างๆ",
"title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล"
},
{
"docid": "43391#2",
"text": "สัญลักษณ์หมีแพนด้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากชิชิ แพนด้ายักษ์เพศเมียที่อยู่ในสวนสัตว์เมืองลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ WWF ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมา เนื่องจากแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ รูปร่างสวย ผู้คนต่างให้ความสนใจ รัก และพร้อมที่จะปกป้อง WWF จึงใช้สัญลักษณ์แพนด้าแทนสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ที่สามารถสร้างการจดจำ ก้าวพ้นกำแพงของภาษา สามารถสื่อสารได้ นอกจากนี้สีดำ-ขาว ยังช่วยประหยัดต้นทุนในการพิมพ์ด้วย\nWWF โดนกล่าวหาโดยผู้รณรงค์ของคอร์ปอเรทวอทช์ (Corporate Watch) ว่าการรณรงค์มีการใกล้ชิดกับธุรกิจต่างๆ มากเกินไป WWF อ้างว่าการเป็นพันธมิตรกับบริษัทอย่างโคคา-โคล่า, ลาฟาร์จ (Lafarge), บริษัทของการ์โลส สลิม และ อิเกีย จะช่วยลดผลกระทบของบริษัทเหล่านี้ ต่อสิ่งแวดล้อม WWF ได้รับเงิน 56 ล้านยูโร (80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,260 ล้านบาท) จากบริษัทต่างๆ ในพ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้น 8% จากพ.ศ. 2552) นับเป็น 11% ของรายได้ทั้งหมดในหนึ่งปี",
"title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล"
},
{
"docid": "168991#1",
"text": "สวนรุกขชาติทุ่งค่าย เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2529 โดยกรมป่าไม้ ตามนโยบายของนายชวน หลีกภัย (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ - สัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป",
"title": "สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)"
},
{
"docid": "43391#8",
"text": "WWF สำนักงานประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2538 ในฐานะสำนักงานโครงการวิจัย ก่อนเริ่มพัฒนาโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกหลายโครงการ จนยกสถานะขึ้นเป็นสำนักงานโครงการ เมื่อปี 2542 และรวมเข้ากับสำนักงานในกลุ่มประเทศอินโดจีน (กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม) ภายใต้ชื่อ WWF Greater Mekong เมื่อปี 2548",
"title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล"
},
{
"docid": "103236#1",
"text": "สภาพป่าไม้ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทากเมื่อครั้งอดีตเริ่มก่อตั้ง (พ.ศ. 2520) ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ขณะนั้นประชากรในพื้นที่ที่มีจำนวนน้อย และมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ การทำมาหากินในสมัยนั้นก็ได้อาศัยทรัพยากรจากป่าไม้เพื่อการยังชีพเป็นหลักเรื่อยมา โดยไม่ได้ทำความเสียหายต่อผืนป่าแต่อย่างใด จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทำให้ทราบว่า ในสมัยอดีตเมื่อยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ถนนพหลโยธินซึ่งเป็นถนนสายหลักของประเทศ ที่ทอดแนวยาวผ่านพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นถนนแคบๆ คดโค้งไปตามขอบเขา ในแต่ละวันจะมีรถยนต์วิ่งผ่านเพียงไม่กี่คัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานสองล้อ (รถถีบ) เป็นยานพาหนะ และใช้เกวียนเทียมวัวหรือความเป็นยานพาหนะขนส่ง วิถีชีวิตของชาวบ้านมีการดำรงชีพอย่างเรียบง่าย แบบพอเพียง จัดหาเท่าที่พออยู่พอกิน สภาพภูมิอากาศมีฝนตกต้องตามฤดูกาลในลำห้วยสายสำคัญๆทุกสายจะมีน้ำไหลสม่ำเสมอทั้งปีมีสัตว์น้ำชุกชุม ในป่ามีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่น และต่างก็ได้ทำหน้าที่ดีที่สุดในระบบนิเวศของตนเอง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมของพื้นที่อยู่ในสภาวะที่ดีตลอดมา ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่นสัตว์ป่าก็มีมากมาย ผู้เฒ่าบางท่านยังจำได้ดีว่าในครั้งนั้นขณะนอนหลับอยู่ที่บ้านยังได้ยินเสียงของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง เก้ง มาปลุกให้ตื่นยามดึกถึงหน้าบ้าน",
"title": "พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก-ห้วยทาก"
},
{
"docid": "43391#6",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเคยเป็นประธานบริษัทเกียรติคุณของ WWF ในประเทศสเปน และเป็นผู้ที่ชื่นชอบการล่าสัตว์ ในพ.ศ. 2505 ขณะอายุ 24 ปี เขาถูก Baron Werner ชาวเยอรมันเชิญชวนไปล่าสัตว์ที่ประเทศโมซัมบิก ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ร่วมล่าสัตว์ในทวีปแอฟริกาและยุโรปตะวันออก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เขาเป็นสมาชิกกลุ่มกล่าสัตว์ในประเทศโรมาเนียซึ่งฆ่าหมาป่าหนึ่งตัว และหมีสีน้ำตาลถึงเก้าตัว รวมไปถึงตัวที่กำลังตั้งท้อง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โรมาเนีย (). เขายังถูกกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่ชาวรัซเซียว่าได้ทำการฆ่าหมีที่ชื่อว่า มิโทรฟาน (Mitrofan) หลังจากให้วอดก้ากับมัน เรื่องนี้จุดประเด็นในประเทศสเปนแม้ความจริงจะไม่เคยถูกพิสูจน์ก็ตาม ในปีเดียวกัน \"เดอะการ์เดียน\" ระบุว่ารัฐบาลประเทศโปแลนด์อนุญาตให้เขาฆ่าควายป่ายุโรป (European bison) ในได้ แม้มันจะอยู่ในสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 พระองค์เข้าร่วมล่าช้างในประเทศบอตสวานา ซึ่งตกเป็นข่าวเนื่องจากต้องบินกลับประเทศสเปนฉุกเฉินหลังลื่นล้มจนกระดูกที่เอวแตก กลุ่มนักธรรมชาติวิทยาและพรรคฝ่ายซ้ายวิจารณ์งานอดิเรกของพระมหากษัตริย์ และ WWF ได้ทำการถอนตำแหน่งเกียรติคุณในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยได้รับผลโหวดจากสมาชิกถึง 94%",
"title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล"
},
{
"docid": "3981#9",
"text": "ในปี พ.ศ. 2529 สืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่งเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบได้ช่วยอพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างอยู่ในแก่งเพราะปัญหาการสร้างเขื่อนจนเกิดน้ำท่วม ช่วยเหลือสัตว์ได้ 1,364 ตัว ส่วนมากที่เหลือถึงแก่ความตาย สืบจึงเข้าใจว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยพิทักษ์ป่าซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติได้ ในภายหลังจึงได้ร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น คัดค้านรัฐบาลในการที่จะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี สืบยังได้รายงานผลการอพยพสัตว์ต่อสาธารณชนเพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักภัยป่า โดยยืนยันว่าการสร้างเขื่อนมีโทษมากกว่าคุณ เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ชดเชยภายหลังมิได้ แต่ความพยายามของสืบนั้นไร้ผล จนกระทั่งนักอนุรักษ์ได้รวมกลุ่มสนับสนุนสืบ โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนจึงระงับไป",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "237190#21",
"text": "โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือที่เรียกทั่วไปว่า โครงการผ้าป่าช่วยชาติ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 เนื่องจากท่านเดินทางไปแจกสิ่งของตามโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดารทำให้ทราบว่าโรงพยาบาลต่าง ๆ มีหนี้สินเป็นอันมากซึ่งเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เปลี่ยนไป อันเป็นผลมาจากวิกฤติทางการเงินของประเทศ ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอันมากจึงดำริที่จะช่วยชาติโดยน้อมนำให้ชาวไทยทั่วประเทศร่วมกันบริจาคทองคำ เงินดอลลาร์ เงินสกุลต่างประเทศ และเงินบาท เพื่อช่วยชาติบ้านเมืองที่กำลังประสบสภาวะเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำให้ฟื้นฟูและผ่านพ้นไปด้วยดี โดยเงินทองที่ได้มาจากการบริจาคนี้จะยกให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อนำเข้าบัญชีฝ่ายออกบัตร (คลังหลวง) ทั้งหมด\nโครงการช่วยชาติได้รับเงินบริจาคเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นเงิน 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ และเริ่มดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงเป็นประธานเปิดโครงการ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มอบเงินเข้าคลังหลวงรวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง รวมเป็นทองคำแท่ง 967 แท่ง 12,079.8 กิโลกรัม หรือ 388,000 ออนซ์ ส่วนเงินตราต่างประเทศประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมเป็นเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท",
"title": "พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)"
},
{
"docid": "475200#1",
"text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีลักษณะเป็นผืนป่าที่มีความยาวจากเหนือจรดใต้วัดเป็นเส้นทางตรงมากกว่า 100 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า 1,737,587 ไร่ แต่ได้ผนวกรวมเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้ง จนขยายเป็นประมาณ 1,800,000 ไร่ หรือ 2,880 ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางเหนือติดกับอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางรวมถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในจังหวัดตากและกาญจนบุรี และทิศใต้ติดกับอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี มีเพียงพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเท่านั้นที่อยู่ติดกับชุมชน 3 อำเภอ คือ อำเภอบ้านไร่, อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"
}
] |
1326 | พิรุณพร่ำรัก เป็นบทประพันธ์ของใคร ? | [
{
"docid": "718707#0",
"text": "พิรุณพร่ำรักเป็นละครโทรทัศน์แนว แอ็กชั่น โรแมนติก ดราม่าทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จากบทประพันธ์ของ กลื่นเอื้อง ผลิตโดยบริษัท ยูม่า 99 จำกัด โดยผู้จัดยุวดี ไทยหิรัญ กำกับการแสดงโดย ชูชัย องอาจชัย นำแสดงโดย ธนิน มนูญศิลป์ และอามีนา กูล",
"title": "พิรุณพร่ำรัก"
}
] | [
{
"docid": "945430#0",
"text": "เพชรร้อยรักเป็นละครแนวโรแมนติก\nดราม่า สืบสวน\nบทประพันธ์โดยน้ำดอกไม้ บทโทรทัศน์วรพันธ์ รวีผลิตโดย บริษัท ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด โดยผู้จัดละคร สยม สังวริบุตร กำกับการแสดงโดย ณพธันกรณ์ รัตนระวีโชติ นำแสดงโดย กฤตฤทธิ์ บุตรพรม อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล นนทพันธ์ ใจกันทา ธีร์ วณิชนันทธาดา อนิสา นูกราฮา แพร เอมเมอรี่ มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ อภิรดี ภวภูตานนท์ และนักแสดงอีกมากมาย ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มตอนแรกวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จนถึง วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 20.05 น. เสาร์ และ อาทิตย์ เวลา 20.15 น. ต่อจากละคร สัมปทานหัวใจ",
"title": "เพชรร้อยรัก"
},
{
"docid": "311878#0",
"text": "เหลี่ยมรัก เป็นบทประพันธ์ของเทพิตา บทโทรทัศน์ น้องนุช ชวาลา เป็นละครที่ ขวัญ อุษามณี พิสูจน์ฝีมือให้ชมกันถึง 2 บทบาท โดยรับบท ตะวัน กับ ฟ้า พี่น้องฝาแฝด ที่นิสัยแตกต่างกันคนละขั้ว 2 อารมณ์ 2 บุคลิก คนหนึ่งเรียบร้อยราวกับผ้าพับไว้ ส่วนอีกคน ห้าว แก่น สู้คน ใครอย่าเผลอมารังแกให้จี๊ดใจเชียว ละครเรื่องนี้ถือว่าเป็นละครที่แสดงศักยภาพของ ขวัญ อุษามณี ได้เป็นอย่างดี ทำให้ใครหลายๆคนได้เห็นถึงฝีมือการแสดงที่ยอดเยี่ยมของเธอ โดยละครเรื่องนี้มีเรตติ้งตอนจบอยู่ที่ 14 เฉลี่ยรวมประมาณ 11",
"title": "เหลี่ยมรัก"
},
{
"docid": "718707#1",
"text": "บทประพันธ์โดย : กลิ่นเอื้อง\nบทโทรทัศน์โดย : วิลักษณา\nกำกับการแสดงโดย : ชูชัย องอาจชัย\nผลิตโดย : บริษัท ยูม่า 99 จำกัด\nควบคุมการผลิตโดย : ยุวดี ไทยหิรัญ\nออกอากาศ : ทุกวันศุกร์ เวลา 20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 น ทางไทยทีวีสีช่อง 3\nเริ่มตอนแรก : 8 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559",
"title": "พิรุณพร่ำรัก"
},
{
"docid": "625190#0",
"text": "หัวใจเถื่อน เป็นบทประพันธ์ของ บุษยมาส เป็นเรื่องราวของครอบครัวพิชิตพงษ์ อดีต รมต.กวี และคุณหญิงอำภา พิชิตพงษ์ มีลูกชายสองคนคือ ภาคย์ และ ภากร แต่ภาคย์กลับไม่ได้รับความรักจากทั้งพ่อและแม่ มีเพียงนมพริ้งและอมาวสีเท่านั้นที่รักภาคย์ อมาวสีสูญเสียพ่อแม่จากอุบัติเหตุ ท่านกวีจึงรับเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็กๆ ภาคย์และอมาสีมีความรักและผูกพันต่อกัน จนวันหนึ่งภาคย์ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน ผ่านไปสิบปีไม่มีใครคิดว่าภาคย์ยังมีชีวิตอยู่ จนวันหนึ่ง อมาวสีได้พบกับ ราช รัชภูมิ ชายหนุ่มที่ดูคล้ายภาคย์มาก แต่ทว่าเขากลับปฏิเสธแข็งขัน จนวันที่อมาวสีถูกบังคับให้แต่งงานกับภากรนั่นเอง ราชวางแผนลักพาตัวเธอไปไว้ยังบ้านไร่ ทั้งนี้เพื่อแก้แค้นคนในตระกูลพิชิตพงษ์ หรืออาจเป็นเพราะเค้าไม่อยากสูญเสียอมาวสีให้กับภากร",
"title": "หัวใจเถื่อน"
},
{
"docid": "281315#0",
"text": "พรุ่งนี้ก็รักเธอ เป็นละครโทรทัศน์ รักโรแมนติกดราม่าของบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด บทประพันธ์และบทโทรทัศน์โดย พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, ศุภกร เหรียญสุวรรณ, ชวนนท์ สารพัฒน์, อภิศรา วงศร, วรรณวิภา สามงามแจ่ม อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ และ นิพนธ์ ผิวเณร และกำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ และ พิยดา อัครเศรณี ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกฉายวันแรกวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552",
"title": "พรุ่งนี้ก็รักเธอ"
},
{
"docid": "718707#4",
"text": "เมื่อโลแกนก้าวเข้ามาในชีวิตของชามินต์ เธอจึงรู้สึกเหมือนได้รับการเติมเต็มในช่องว่างที่ขาดหายไป ชามินต์พบว่าชีวิตเธอเริ่มมีความหมาย และมีความสำคัญกับใครบางคน ทุก ๆ วันที่มีโลแกนอยู่ข้าง ๆ เป็นทุกวันที่เธอมีความสุข และสดชื่น ตาบ๊องสมองเสื่อมคอยทำให้เธอหวั่นไหว ใจสั่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่นเดียวกับโลแกนที่ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าได้รักเธอ หลายครั้งที่ชามินต์ พยายามหักห้ามใจตัวเองไม่ให้สนใจเขามากไปกว่าที่ควรจะเป็นเพราะกลัวว่าสักวันเมื่อเขาจำอะไรได้ เขาจะจากเธอไป",
"title": "พิรุณพร่ำรัก"
},
{
"docid": "631048#0",
"text": "ผู้พิทักษ์รักเธอ เป็นละครโทรทัศน์ แนวโรแมนติก-แอ็กชั่น-คอมเมดี ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด บทประพันธ์โดย เบญจมาศ ดาลหิรัญรัตน์ บทโทรทัศน์โดย เบญจมาศ ดาลหิรัญรัตน์, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ กำกับการแสดงโดย สุชีวิน แนวสูง นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, อคัมย์สิริ สุวรรณศุข ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น.",
"title": "ผู้พิทักษ์รักเธอ"
},
{
"docid": "718707#15",
"text": "หลังจากเกิดเรื่องกับชามินต์ โลแกนแสดงความเป็นห่วง และคอยดูแลเธอไม่ให้คลาดสายตาเขาเปิดใจให้เธอรู้ว่าเขาชอบเธอไม่ใช่นีล่า และเล่าเรื่องความเป็นมาของตระกูลมาเฟียให้เธอฟัง รวมถึงเรื่องของไลลาผู้เป็นน้องสาว และปริศนาการตายของไลลา และพ่อแม่ ชามินต์ได้เจอกับคลากค์ และเริ่มสงสัยในตัวคลากค์จนกระทั่งสืบจนรู้ว่าแท้จริงแล้วคลากค์คือผู้ชายที่ทำให้ไลลาท้อง และเขาคือพ่อของคอลินน์ แต่เธอไม่ได้บอกเรื่องนี้ให้ใครรู้แม้กระทั่งโลแกน",
"title": "พิรุณพร่ำรัก"
},
{
"docid": "718707#17",
"text": "ทุกครั้งที่โลแกนหลับเขามักจะฝันถึงเหตุการณ์ที่ตัวเองเคยอยู่กับชามินต์ที่แมนชั่นแต่ในความฝันเขาไม่รู้ว่าเธอคือใคร เมื่อโลแกนมาหาชามินต์บ่อย ๆ เขาสัมผัสได้ถึงความคุ้นเคยที่เขามีต่อเธอ และพบว่าเขามีกุญแจห้องสำรองของห้องพักเธอ โลแกนเก็บความสงสัยนี้ไว้ในใจ และเริ่มลอบสังเกตพฤติกรรมของชามินต์ที่มีต่อเขา จนกระทั่งวันนึงที่ชามินต์ไม่สบายหนัก และเขานั่งเฝ้าไข้ ชามินต์เพ้อตัดพ้อพูดถึงสัญญาที่เขาให้ไว้กับเธอว่าจะมารับเธอในวันฝนตกแต่เขาไม่กลับมา โลแกนจึงได้รู้ว่าความทรงจำที่ขาดหายไปนั้นอยู่ที่ชามินต์นั่นเอง",
"title": "พิรุณพร่ำรัก"
}
] |
1337 | กิมย้งมีชื่อจริงว่าอะไร? | [
{
"docid": "1231#0",
"text": "กิมย้ง () หรือชื่อจริง จา เหลียงยง (; ) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่",
"title": "กิมย้ง"
}
] | [
{
"docid": "425006#0",
"text": "หมี เสว่ (; ; นิยมเรียกว่า หมี เซียะ) มีชื่อจริงว่า มิเชล ยิม ไหว่หลิง (嚴慧玲, Michelle Yim Wai-ling) นักแสดงหญิงฮ่องกงที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 มีชื่อเสียงจากการแสดงบทบาท อึ้งย้ง จากละครโทรทัศน์ของซีทีวี เรื่อง \"มังกรหยก\" จากบทประพันธ์ของ กิมย้ง",
"title": "หมี เสว่"
},
{
"docid": "425068#67",
"text": "1.กิมย้ง ผู้ประพันธ์เรื่อง มังกรหยก เคยให้สัมภาษณ์ กับสื่อว่า มีผู้คนมากมายกล่าวว่า นักแสดงที่เล่นบทอึ้งย้งได้ดีที่สุดคือ อง เหม่ยหลิง แต่ในสายตาของเขาซึ่งเป็นผู้แต่ง กลับคิดว่า หมีเซียะ แสดงอารมณ์ของตัวละครอึ้งย้งออกมาได้ลึกกว่า แต่ถึงกระนั้น ตัวกิมย้งเองก็ยอมรับว่า อง เหม่ยหลิง เป็นอึ้งย้งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ด้วยการแสดงที่แปลกแตกต่างจาก หมีเซียะ ด้วยบุคลิกของ อง เหม่ยหลิง เองที่ดูสดใสน่ารัก ซุกซนและมีแววตาที่แสดงถึงความฉลาดเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่ประทับใจของคนดูมาจนถึงทุกวันนี้ อ้างอิงจาก",
"title": "อง เหม่ยหลิง"
},
{
"docid": "94283#0",
"text": "เล่งฮู้ชง () เป็นตัวเอกของ เรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร นิยายของกิมย้ง เป็นตัวละครที่มีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง คือ แม้เป็นคนที่อารมณ์เฮฮา แต่ในใจเขานั้นถวิลหาความสุขอันแท้จริงอย่างคำว่า ยิ้มเย้ยยุทธจักร อันหมายถึง หัวเราะความเป็นไปแห่งโลกความจริง บุคคลเช่นนี้หาได้ยากยิ่งในทุกสังคม จิตใจคนเราต้องการความยิ่งใหญ่ ชื่อเสียง เงินทอง ฯลฯ \"หากแต่มีใครที่คิดหาความสงบอันแท้จริง และ ยิ้มเย้ยยุทธจักร\"",
"title": "เล่งฮู้ชง"
},
{
"docid": "179271#0",
"text": "เจียวขิม (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งง่อก๊ก เป็นชาวเมืองฉิวฉุน มีชื่อรองว่า กงอี๋ เป็นคนรอบคอบซื่อตรง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ช่ำชองการรบทางเรือ เจียวขิมเดิมเป็นโจรร่วมกับจิวท่าย ต่อมาทั้งสองได้ร่วมมือกับซุนเซ็กก่อตั้งแคว้นกังตั๋ง เจียวขิมได้ทำการรบมีความชอบหลายครั้ง ซุนกวนจึงตั้งให้เป็นตั้งโค้วเจียงจวิน (นายพล)เจียวขิมถึงแก่กรรมระหว่างยกกองเรือรบกลับจากอำเภอเหมี่ยน",
"title": "เจียวขิม"
},
{
"docid": "78890#1",
"text": "อาภาพร นครสวรรค์ มีชื่อจริงว่า จันทร์เพ็ญ คงประกอบ มีชื่อเล่นว่า ฮาย น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร เป็นชาว ตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นลูกสาวคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ นายบุญช่วยและนางกิมเล้ง คงประกอบ ที่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ทำสวน และมีฐานะยากจนมาก เธอเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้น ประถมปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนหลวง นครสวรรค์ เธอชื่นชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ และเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอย่างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เคยไปดูเมื่อครั้งพุ่มพวงมาเปิดการแสดงที่อำเภอ อาภาพรได้อาศัยงานวัด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานรื่นเริง เพื่อเป็นเวทีของการขึ้นไปร้องเพลงเพื่อแสดงความสามารถ จนในที่สุดก็ได้เข้าประกวดร้องเพลงในปี พ.ศ. 2528 ที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ.9 ที่นครสวรรค์ ในเวที \"คนเก่งของแม่\"",
"title": "อาภาพร นครสวรรค์"
},
{
"docid": "170805#0",
"text": "เล่าอิ้ว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นชาวตำบลโหมวผิง เมืองตงไหล มณฑลซานตง เป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่น มีชื่อรองว่าเจิ้งหลี่ เป็นคนรักความยุติธรรม มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นผู้คงแก่เรียน มีความรู้ความสามารถในการปกครอง ได้ครองแคว้นหยังโจว ภายหลังถูกอ้วนสุดโจมตีขับไล่ สู้ไม่ได้จึงหนีมาอยู่ที่ตำบลฉี่อา พอซุนเซ็กตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในง่อก๊ก ยกทัพมาขับไล่เล่าอิ้วสู้รบกันช้านาน เล่าอิ้วแตกหนีไปอยู่เมืองวี่จาง มณฑลเจียงซี อยู่ตำบลเพิ๋งเจ๋อ จนกระทั่งถึงแก่กรรม",
"title": "เล่าอิ้ว"
},
{
"docid": "27548#0",
"text": "จอมใจจอมยุทธ์ หรือ ตำนานอักษรกระบี่ (; ) เป็นผลงานเรื่องแรกของ กิมย้ง หรือในชื่อ จือเกี่ยมอึ้งชิ้วลก (Shu Jian En Chau Lu : จอมใจจอมยุทธ์) ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรกราว ๆ พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ซึ่งเนื้อเรื่องเรื่องนี้ ได้เค้าจากตำนานที่เล่าขานกันว่า พระจักรพรรดิ์เคี่ยนหลงฮ่องเต้ (เฉียนหลงฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ชิง มีสายเลือดจีน (ชาวฮั่น) แสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างอำนาจกับเชื้อชาตินิยม นิยายเรื่องนี้ทำให้กิมย้ง ติดอันดับในยุทธจักรนิยายกำลังภายในทันที เป็นพื้นฐานความสำเร็จในเรื่องต่อ ๆ ไป แต่มีข้อด้อยที่ตัวละครเอกไม่เด่น ความเด่นกลับไปตกอยู่กับหัวหน้าหน่วยพรรค ดอกไม้แดงทั้งหมด 14 คน ซึ่งมี ตั้งแกลก (เฉินเจียลั่ว)ตัวเอกของเรื่อง เป็นหัวหน้าใหญ่ แม้ผู้แต่งจะพยายามเน้นให้ประมุขพรรค คือ ตั้งแกลก เด่นกว่าคนอื่นก็ตาม แต่ไม่ถึงกับประทับใจผู้อ่านมากนัก แต่กระนั้นก็ยังจัดเป็นวรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง",
"title": "จอมใจจอมยุทธ์"
},
{
"docid": "844019#0",
"text": "จั๊กจั่น ดาวไพร มีชื่อจริงว่า บานเย็น มุกดาม่วง ชื่อเล่น เย็น เป็นนักร้องและนักแสดงหมอลำหนึ่งในสี่สาวดาวรุ่งจากคณะเสียงอิสาน อดีตเคยเป็นหางเครื่องในวงมาก่อน ปัจจุบันเป็นนักแสดงมากความสามารถ รับบทบาทเป็นดาวร้ายของวงซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รักและชื่นชอบ น่าเคารพนับถือของแฟนเพลง",
"title": "จั๊กจั่น ดาวไพร"
},
{
"docid": "525441#0",
"text": "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม มีชื่อจริงว่า สมชาติ ทรงกลด หรือ ยอดยุทธ์ ทรงกลด ปัจจุบันมีชื่อจริงว่า นรเศรษฐ์ ทรงกลด (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ที่ คลองสามวา เขตมีนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตคลองสามวา) กรุงเทพมหานคร) เป็นนักแสดงและนักแสดงตลกชาวไทยคณะ เชิญยิ้ม ในครอบครัวที่พ่อและแม่ขายก๋วยเตี๋ยวเริ่มเข้าวงการจากการชักชวนของ ธงชัย งามจันทร์ หรือ ตู่ ตาหวาน นักแสดงตลกที่เห็นแววของจั๊กกะบุ๋มจากบุคลิกที่เป็นคนตลกสนุกสนานจึงได้นำเขามาฝึกเล่นตลกให้พ้นจากวงจรยาเสพติดก่อนจะเป็นที่รู้จักจากรายการก่อนบ่ายคลายเครียด และโด่งดังจากซิตคอมยอดฮิต บุญดีผีคุ้มก่อนจะมีผลงานต่อมาอีกมากมาย เช่น ,ผู้พิทักษ์รักเธอ,เล่ห์ภูมเรศ,วิญญาณหฤหรรษ์,ฝนสามฤดู,สังข์ทอง,บ้านนี้มีรัก",
"title": "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม"
}
] |
1339 | สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่อะไร ? | [
{
"docid": "152224#1",
"text": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา",
"title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย"
}
] | [
{
"docid": "127751#7",
"text": "พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535"
},
{
"docid": "587537#1",
"text": "สภาผู้แทนรัฐเข้าร่วมกระบวนการนิติบัญญัติกับสภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) ซึ่งประชาชนชาวเยอรมนีเลือกตั้งมาโดยตรง บรรดากฎหมายที่กระทบกระเทือนความสามารถของรัฐและการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญจำต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนรัฐ สภาผู้แทนรัฐนั้นมักได้รับการพรรณนาว่าเป็นสภาสูง เพราะมีหน้าที่คล้ายกัน แต่รัฐธรรมนูญเยอรมนี คือ กฎหมายหลักสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Basic Law for the Federal Republic of Germany) ไม่ได้ระบุว่า สภาผู้แทนรัฐและสภาผู้แทนราษฎรจะประกอบกันเป็นรัฐสภาแบบสองสภา อนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว ทั้งสภาผู้แทนรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญกลาง มักจัดว่าเป็นเพียง \"องค์กรตามรัฐธรรมนูญ\" (constitutional body)",
"title": "สภาผู้แทนรัฐเยอรมนี"
},
{
"docid": "34347#11",
"text": "ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุริยะใส กตะศิลา ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแนวคิดใหม่โดยหวังเพื่อลดจำนวนนักการเมืองหน้าเดิมที่คอร์รัปชั่นและดำเนินนโยบายประชานิยม คือ เสนอให้มีการจัดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 70% มาจากการคัดสรรจากภาคและส่วนอื่น แทนการเลือกตั้ง โดยได้ให้สาเหตุว่าการดำเนินงานรัฐสภาปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะพยายามให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วม และพยายามให้มีตัวแทนสาขาอาชีพที่มาจากการเลือกสรรของกลุ่มอาชีพแต่ละอาชีพโดยตรง จึงเสนอสูตร 30/70",
"title": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
},
{
"docid": "573712#8",
"text": "รัฐธรรมนูญ มาตรา 1 อนุมาตรา 1 วรรค 2 ให้แต่ละสภามีอำนาจ \"วางระเบียบการดำเนินงานของตนเอง\" บทบัญญัตินี้ก่อให้เกิดคณะกรรมาธิการของรัฐสภาขึ้นทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายและรับผิดชอบการสืบสวนของรัฐสภาเกี่ยวกับปัญหาระดับชาติ รัฐสภาชุดที่ 108 (ค.ศ. 2003–2005) มีคณะกรรมาธิการสามัญ 19 คณะในสภาผู้แทนราษฎร และ 17 คณะในวุฒิสภา รวมถึงคณะกรรมาธิการร่วมถาวร 4 คณะซึ่งกรรมาธิการมาจากสภาทั้งสองและมีหน้าที่กำดับดูแลหอสมุดรัฐสภา งานสารบรรณ ภาษีอากร และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ แต่ละสภายังสามารถตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาเฉพาะ ปัจจุบัน งานส่วนใหญ่ของรัฐสภาตกเป็นของคณะอนุกรรมาธิการซึ่งมีราว 150 คณะด้วยกัน",
"title": "รัฐบาลกลางสหรัฐ"
},
{
"docid": "602594#5",
"text": "สมชัยกล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรา 56 ของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใด ๆ เพื่อเป็นการให้คุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง กรณีนี้ คสช. ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานของรัฐ) แต่ คสช. สามารถใช้อำนาจหน้าที่ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อำนาจดังกล่าวที่อาจเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง และมาตรา 169 (4) ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง กรณีนี้เป็นการบังคับในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ดังนั้น คสช. ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง",
"title": "สมชัย ศรีสุทธิยากร"
},
{
"docid": "458261#2",
"text": "ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ได้ 56 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ซึ่งผลการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทยตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทย รวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526"
},
{
"docid": "464279#5",
"text": "อัยการสูงสุด เป็นโจท์ฟ้องร้องนายศุภชัย โพธิ์สุ แกนนำพรรคภูมิใจไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในขณะนั้น) ว่าจงใจกระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากการที่นายศุภชัย กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมอาสาสมัครหมอดิน ของสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้อง",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552"
},
{
"docid": "162476#1",
"text": "สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด",
"title": "รัฐสภาสหรัฐ"
},
{
"docid": "3861#1",
"text": "ขณะที่ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 4 หาเสียงด้วยคำขวัญ \"ทวงคืนประเทศไทย\" และรณรงค์ให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ 201 ที่นั่ง เพื่อที่จะตรวจสอบรัฐบาลได้ด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ ได้ 96 ที่นั่ง แต่พื้นที่ภาคใต้ได้ถึง 52 ที่นั่ง จากทั้งหมด 54 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคชาติไทยซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ได้หมายเลข 1 หาเสียงด้วยคำขวัญ \"สัจจะนิยม\" ได้ 26 ที่นั่ง ต่อมาภายหลังได้เข้าร่วมเป็นฝ่ายค้าน และพรรคมหาชน ได้หมายเลข 11 ซึ่งก่อตั้งก่อนหน้าการเลือกตั้งไม่นาน เป็นพรรคที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้ที่นั่งจำนวนมาก กลับได้เพียง 3 ที่นั่ง",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548"
}
] |
1345 | อันเนอ ฟรังค์ เป็นคนรักของฮิตเลอร์ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "44795#18",
"text": "อันเนอกับผู้หญิงคนอื่น ๆ ที่รอดจากการสังหารหมู่ทันทีที่มาถึง ถูกบังคับให้เปลือยกายและฆ่าเชื้อ พวกเธอถูกจับโกนผมและสักหมายเลขประจำตัวไว้บนแขน ในเวลากลางวัน พวกผู้หญิงจะถูกใช้งานเป็นทาส อันเนอต้องทลายหินและขุดพื้น เมื่อตกกลางคืนพวกเขาต้องเบียดเสียดกันอยู่ในคุกแคบ ๆ พยานหลายคนให้ปากคำในภายหลังว่า อันเนอจะหวาดผวาและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นเด็ก ๆ ถูกนำตัวไปยังห้องรมแก๊ส แต่ก็มีพยานอีกหลายคนบอกว่าบางครั้งเธอก็แสดงความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ความอารีและธรรมชาติความเป็นผู้นำในตัวเธอทำให้เธอมักได้รับส่วนแบ่งขนมปังเพิ่มขึ้นสำหรับให้เอดิท มาร์กอท และตัวเธอเอง ในค่ายสกปรกมาก ไม่ช้าเชื้อโรคก็แพร่ระบาด ผิวของอันเนอติดเชื้อหิดอย่างรุนแรง เธอกับมาร์กอทถูกแยกไปห้องผู้ป่วย ที่ซึ่งมีแต่ความมืดสลัวตลอดเวลา และเป็นที่อยู่ของหนู เอดิท ฟรังค์ เลิกกินอาหารส่วนของตน แต่เก็บเอาไว้เพื่อส่งไปให้ลูกสาวทั้งสอง โดยส่งผ่านรูเล็ก ๆ ที่เธอแอบเจาะไว้ทางด้านหลังกำแพงห้องผู้ป่วย",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#0",
"text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ (Annelies Marie \"Anne\" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือแอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
}
] | [
{
"docid": "44795#12",
"text": "ในบันทึกของอันเนอ เธอบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างตัวเธอกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ และความแตกต่างในบุคลิกภาพของพวกเขาทั้งหลาย เธอเห็นว่าตัวเองมีความรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อมากกว่าคนอื่น ๆ พ่อของเธอบอกภายหลังว่า \"ผมเข้ากับอันเนอได้ดีกว่ามาร์กอทซึ่งมักจะติดแม่แจ อาจเป็นเพราะมาร์กอทไม่ค่อยแสดงความรู้สึกของเธอออกมาเท่าไรนัก และดูเหมือนไม่ต้องการการสนับสนุนมากนัก เธอไม่ค่อยหัวเสียกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาเหมือนอย่างที่อันเนอเป็น\" หลังจากมาซ่อนตัว อันเนอกับมาร์กอทก็สนิทกันยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้บางครั้งอันเนอจะรู้สึกอิจฉามาร์กอท เพราะสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านมักตำหนิเธอว่าไม่มีความอ่อนโยนสุภาพเหมือนอย่างพี่สาว แต่เมื่ออันเนอเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สองสาวพี่น้องก็เข้ากันได้ดี ในบันทึกของเธอวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 อันเนอเขียนว่า \"มาร์กอทดีขึ้นมาก พักหลังนี้เธอไม่ทำตัวเป็นแมวหง่าว และเริ่มเป็นเพื่อนจริง ๆ สักที เธอไม่มองฉันเป็นเด็กทารกอีกแล้ว\"",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#22",
"text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#11",
"text": "วันที่ 13 กรกฎาคม ครอบครัวฟัน แป็ลส์ ได้มาอาศัยร่วมกับครอบครัวฟรังค์ ได้แก่ แฮร์มันน์, เอากุสต์ และเปเตอร์ ลูกชายอายุ 16 ปี เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนพวกเขาก็ได้ต้อนรับฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์ ทันตแพทย์และเพื่อนของครอบครัว อันเนอบันทึกว่าเธอดีใจที่มีเพื่อนคุยด้วย แต่การมีคนจำนวนมากอยู่ร่วมกันในที่แคบ ๆ ทำให้เกิดความเครียด อันเนอใช้ห้องร่วมกับพเฟฟเฟอร์ เธอไม่สามารถทนเขาได้และรำคาญที่ต้องรับเขามาอยู่ด้วย เธอยังทะเลาะกับพเฟฟเฟอร์ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าโง่เง่า เธอระบุว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปริมาณอาหารที่ได้รับแบ่งปัน ในเวลาต่อมา เธอเริ่มญาติดีกับเปเตอร์ผู้ขี้อายและเชื่องช้า แล้วทั้งสองก็เริ่มตกหลุมรักกัน อันเนอได้จูบเขาเป็นครั้งแรก ทว่าความรู้สึกหลงใหลดูดดื่มของอันเนอค่อย ๆ เจือจางลง เธอตั้งคำถามกับตัวเองว่าความรู้สึกของเธอต่อเปเตอร์นั้นจริงแท้แค่ไหน หรือเป็นเพียงเพราะพวกเขาได้อยู่ร่วมในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น อันเนอ ฟรังค์ สนิทสนมกับบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือพวกเขามาก ออทโท ฟรังค์ รำลึกเรื่องนี้ในภายหลังว่า เธอตื่นเต้นกระตือรือร้นที่จะได้พบพวกเขาทุก ๆ วัน เขายังสังเกตว่าเพื่อนสนิทที่สุดของอันเนอคือ แบ็ป โฟสเกยล์ \"เลขานุการสาวผู้นั้น... พวกเธอทั้งสองมักยืนกระซิบกระซาบกันอยู่ตรงมุมห้อง\"",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#33",
"text": "ออทโท ฟรังค์ ใช้เวลาที่เหลือในชีวิตคอยดูแลอารักขาเกียรติยศชื่อเสียงของบุตรสาว เขากล่าวว่า \"มันเป็นเรื่องที่แปลก สำหรับครอบครัวทั่วไป ผู้เป็นลูกจะเป็นฝ่ายได้รับเกียรติยศจากการกระทำของพ่อแม่ และคอยรักษาเกียรติยศนั้นให้สืบต่อไป แต่สำหรับผมมันกลับตรงกันข้าม\" เขายังนึกถึงคำกล่าวของผู้จัดพิมพ์ที่อธิบายให้เขาฟังว่า เหตุใดบันทึกจึงเป็นที่นิยมอ่านโดยกว้างขวาง \"เขาบอกว่าบันทึกได้รวบรวมด้านต่าง ๆ ของชีวิตเอาไว้ ผู้อ่านแต่ละคนสามารถค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่ตรงกับใจของตนเอง\" ต่อมาภายหลัง ซีมอน วีเซินทัล ได้อธิบายแนวคิดคล้ายกันนี้ เขากล่าวว่าบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ ทำให้เกิดความตื่นตัวทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องราวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยโดดเด่นยิ่งกว่าเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เนือร์นแบร์กเสียอีก ทั้งนี้เนื่องจาก \"เด็กคนนี้เป็นตัวตนที่เห็นได้เด่นชัดจากหมู่คนจำนวนมาก เป็นผลกระทบจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยตรง เธอมีครอบครัว เหมือนอย่างครอบครัวของผม เหมือนอย่างครอบครัวของคุณ คุณจึงเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ง่าย\"",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#13",
"text": "อันเนอเขียนเรื่องความขัดแย้งกับแม่เอาไว้บ่อย ๆ รวมถึงความขัดแย้งในใจของเธอเองเกี่ยวกับแม่ด้วย วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เธอบรรยายถึง \"ความเสื่อมศรัทธา\" ที่มีต่อแม่ ทั้งยังไม่สามารถ \"ประจันหน้ากับความสะเพร่า เย็นชา และหัวใจที่แข็งกระด้าง\" ของแม่เธอได้ ก่อนจะสรุปว่า \"เขาไม่ใช่แม่สำหรับฉัน\" ต่อมาเมื่อเธอทบทวนสมุดบันทึกของตัวเอง อันเนอรู้สึกละอายกับทัศนคติแย่ ๆ ของตัวเอง เธอบันทึกว่า \"อันเนอ นั่นเธอหรือที่จงเกลียดจงชังขนาดนั้น โอ อันเนอ เธอทำได้อย่างไร?\" อันเนอเริ่มเข้าใจว่า ความแตกต่างของพวกเขาเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจกัน เป็นความผิดของเธอมากเท่า ๆ กับความผิดของแม่ อันเนอยังเห็นว่าเธอได้เพิ่มความทุกข์ใจให้แก่แม่อย่างไม่จำเป็นเลย เมื่อตระหนักดังนี้ อันเนอก็เริ่มปฏิบัติต่อมารดาด้วยความเคารพมากยิ่งขึ้น",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#29",
"text": "กอร์เนลิส เซยก์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ และประธานศูนย์สหรัฐอเมริกาของมูลนิธิการศึกษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ว่า เขาเป็นเจ้าของกระดาษบันทึก 5 แผ่น ซึ่งออทโท ฟรังค์ ดึงออกจากสมุดบันทึกก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เซยก์อ้างว่าออทโท ฟรังค์ มอบกระดาษบันทึกเหล่านั้นให้เขาเอง ไม่นานก่อนที่ออทโทจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เนื้อหาบันทึกส่วนที่หายไปเกี่ยวข้องกับการที่อันเนอ ฟรังค์ วิพากษ์วิจารณ์ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ของเธอ และยังพรรณนาความรู้สึกไม่พอใจต่อแม่ของเธอด้วย ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเซยก์เรียกร้องสิทธิ์ในการตีพิมพ์บันทึก 5 แผ่นนี้ และคิดจะนำไปขายเพื่อระดมทุนให้แก่ศูนย์สหรัฐอเมริกาของเขา สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามแห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของต้นฉบับ เรียกร้องให้เขาคืนบันทึกทั้ง 5 แผ่นนี้ ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ยินยอมบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มูลนิธิของเซยก์ แล้วบันทึกทั้ง 5 แผ่นจึงได้ส่งคืนในปี พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นจึงได้นำบันทึกทั้ง 5 แผ่นผนวกรวมเข้าไปในหนังสือบันทึกฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ ๆ ด้วย",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#10",
"text": "วิคทอร์ คูเกลอร์, โยฮันเนิส ไกลมัน, มีป คีส และแบ็ป โฟสเกยล์ เป็นบรรดาพนักงานที่ล่วงรู้ว่าครอบครัวฟรังค์หลบอยู่ที่นั่น ยัน คีส สามีของมีป และโยฮันเนิส แฮ็นดริก พ่อของโฟสเกยล์ เป็น \"ผู้ให้ความช่วยเหลือ\" ตลอดช่วงเวลาที่ครอบครัวฟรังค์ซ่อนตัว พวกเขานำข่าวจากนอกบ้านมาแจ้งให้ คอยรายงานสถานการณ์สงครามและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ให้แน่ใจว่าครอบครัวฟรังค์สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยและมีอาหารเพียงพอ ซึ่งนับวันจะยิ่งเสาะหาอาหารได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนอเขียนถึงความเสียสละและความพยายามของพวกเขาที่พยายามจรรโลงจิตใจของคนในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาอันแสนอันตรายนั้น ทุกคนต่างตระหนักดีว่า หากถูกจับได้ พวกเขาจะต้องโทษถึงประหารฐานให้ที่พักพิงแก่ชาวยิว",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#17",
"text": "วันที่ 3 กันยายน ทั้งกลุ่มถูกส่งตัวเป็นกลุ่มสุดท้ายไปจากแว็สเตอร์บอร์ก มุ่งสู่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ใช้เวลาเดินทางถึง 3 วัน ในท่ามกลางความวุ่นวายขณะลงจากรถไฟ พวกผู้ชายก็พลัดจากกลุ่มผู้หญิงและเด็ก แล้วออทโท ฟรังค์ ก็ไม่ได้พบครอบครัวของเขาอีกเลย ในจำนวนผู้โดยสาร 1,019 คนที่มาถึง ถูกแยกส่งไปยังห้องรมแก๊สทันที 549 คน (รวมถึงเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี) อันเนอเพิ่งมีอายุครบ 15 ปีมาได้ 3 เดือน และเป็นหนึ่งในบรรดาผู้รอดชีวิตที่อายุน้อยที่สุด ไม่นานเธอก็เริ่มเข้าใจว่า นักโทษส่วนใหญ่ถูกส่งไปรมแก๊สทันทีที่เดินทางมาถึง เธอไม่ทราบเลยว่ากลุ่มที่มาจาก \"อัคเตอร์เฮยส์\" ทั้งหมดรอดชีวิต แต่คิดไปว่าพ่อของเธอซึ่งอายุกว่าห้าสิบปีแล้วและไม่ค่อยแข็งแรงนัก คงจะถูกฆ่าทันทีที่พวกเขาพลัดจากกัน",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "44795#36",
"text": "ปี พ.ศ. 2501 ซีมอน วีเซินทัล ถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ต่อต้านขณะแสดงละคร \"The Diary of Anne Frank\" ที่กรุงเวียนนา พวกเขากล่าวหาว่า อันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง และท้าให้วีเซินทัลพิสูจน์ตัวตนของเธอโดยหาตัวคนที่จับกุมเธอ วีเซินทัลจึงเริ่มออกติดตามหาคาร์ล ซิลเบอร์เบาเออร์ ตำรวจในคณะจับกุม และพบตัวเขาในปี พ.ศ. 2506 จากการสัมภาษณ์ ซิลเบอร์เบาเออร์ยอมรับบทบาทของเขา และระบุตัวอันเนอ ฟรังค์ ได้จากภาพถ่ายว่าเป็นหนึ่งในคนที่เขาจับกุม เขาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนั้น และเล่าถึงการค้นกระเป๋าใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยกระดาษโดยการเทลงบนพื้น คำให้การของเขาสนับสนุนเรื่องราวลำดับเหตุการณ์ที่เล่าโดยพยานคนอื่นมาก่อนหน้านี้ เช่น ออทโท ฟรังค์",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
}
] |
1348 | เมืองหลวงของประเทศกัมพูชามีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "25625#0",
"text": "พนมเปญ หรือ ภนุมปึญ ( \"ภฺนุํเพญ\" ออกเสียง: ; ) อีกชื่อหนึ่งคือ \"ราชธานีพนมเปญ\" เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส",
"title": "พนมเปญ"
},
{
"docid": "353070#3",
"text": "น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า \"การี\" (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย",
"title": "อาหารกัมพูชา"
}
] | [
{
"docid": "94477#2",
"text": "นักปราชญ์ทั้งหลายสันนิษฐานว่า ระหว่างรัฐตรีปุระซึ่งอยู่ทางเหนือ และเมืองอาระกันซึ่งอยู่ทางใต้ มีแคว้นชื่อรัมมเทศ และมีเมืองหลวงชื่อ ศรีจัฏฏละ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 14 คือ บัณฑิตวิหารคณาจารย์ในรัมมเทศก็ได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าบัณฑิตวิหารนอกจากจะเป็นศูนย์การค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสังฆิการาม หรือวัด ในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งพระสงฆ์จากต่างชาติเข้ามาอาศัยศึกษาในบัณฑิตวิหาร หลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายแล้ว สถาบันแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 300 ปี ในกลางพุทธศตวรรษที่ 15 มีบุตรพราหมณ์เมืองจิตตะกองเป็นอาจารย์ใหญ่ของสถาบันนี้ คือ สิทธะปัญญาภัททะ (ติโลปะ) เป็นพระมหายานแบบตันตระ มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า และเวทมนตร์ต่างๆ ท่านได้แต่งคัมภีร์ไว้ศึกษาในสถาบันนี้จำนวนมาก เช่น ศรีสรัชสำพาราธิษฐาน จัตตุโรปเทศ ปาสันนทีป อาจินตามหามุทรานาม มหามุทโรปเทส โทหโกษ และสฬธัมโมปเทส เป็นต้น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ"
},
{
"docid": "765205#2",
"text": "ยุคมหานคร เป็นยุคที่ นครวัต นครธม ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา เป็นยุคที่อารยธรรมของขอมเจริญรุ่งเรืองมาก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทางด้านศาสนา ปรากฏ ว่าพุทธ-ศาสนาฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทคงเป็นที่นับถืออยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางชั้นสูง หรือในราชสำนักนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และถือลัทธิพราหมณ์ ในยุคนี้ได้มีธรรมเนียมถือศาสนาคนละอย่างระหว่างพระราชา กับ ปุโรหิต ถ้าพระราชาเป็นพุทธ ปุโรหิตเป็นพราหมณ์ หรือถ้าพระราชาถือพราหมณ์ ปุโรหิตถือพุทธ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือต่อกันมาหลายร้อยปี\nในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแต่ปี พ.ศ. 1724 ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทรงย้ายราชธานีไปที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามด้วย พระองค์ทรงเอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนามาก ทรงสร้างปราสาท และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ถึง 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ เป็นผู้สอน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงให้ราชกุมารไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วทรงผนวชที่วัดมหาวิหารในปลายยุคมหานคร ศาสนาพราหมณ์ และมหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่เถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากคนทุกระดับ ตั้งแต่กษัตริย์ลงไป.\nยุคหลังพระนครถือว่าเป็นยุคมืดของกัมพูชาด้วยเหตุผล ของความอ่อนแอทางการเมือง ภายในทำให้กัมพูชาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย รัฐทางทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเวียดนาม และทำให้กัมพูชาต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "541563#8",
"text": "เนื่องจากที่อัคบาราบัดนี้เป็นเมืองที่สำคัญที่สุดในอินเดียภายใต้จักรวรรดิโมกุล จึงมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างสำคัญมากมาย สมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ผู้สถาปนาราชวงศ์โมกุล ได้วางแบบแผนสวนแบบเปอร์เซียในบริเวณริมฝั่งของแม่น้ำยมุนา สวนนี้มีชื่อว่า \"อารัม บักห์\" (Arām Bāgh) แปลว่า สวนแห่งความผ่อนคลาย พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร ได้สร้างป้อมปราการสีแดงขึ้นมา นอกจากนั้นยังทำให้อัคระเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศิลปะ การค้า และศาสนา ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีการสร้างเมืองแห่งใหม่บริเวณปริมณฑลของอัคระที่มีชื่อว่า \"ฟาเตห์ปูร์ สิครี\" ซึ่งสร้างในรูปแบบของป้อมค่ายทหารซึ่งสร้างจากหิน",
"title": "อัคระ"
},
{
"docid": "1937#24",
"text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "877781#0",
"text": "กระแจะ () เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดกระแจะ ประเทศกัมพูชา มีประชากร 38,215 คน เป็นเมืองตลาดการค้า และมีตึกเก่าสมัยอาณานิคม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงซึ่งมีชายหาด และยังเป็นแหล่งอาศัยของโลมาอิรวดีอีกด้วย จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2007 โดยโครงการอนุรักษ์โลมาแม่น้ำโขง (CMDCP) พบว่า มีโลมาเหลืออยู่ 66-68 ตัวในกัมพูชา",
"title": "กระแจะ (เมือง)"
},
{
"docid": "468066#1",
"text": "เมืองพระนคร () ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมร ซึ่งเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะถูกทัพสยามรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนต้องมีการอพยพยกย้ายไปตั้งนครหลวงแห่งใหม่ กุญแจสำคัญในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้คือ การที่กษัตริย์เขมรสามารถวางระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงพากันมาอยู่อาศัยทำกิน ทำให้อำนาจและมีบารมีของกษัตริย์หลายรัชสมัยมีความมั่นคงและแผ่ขยายออกไป สิ่งที่ยืนยันความรุ่งเรืองของดินแดนเขมรและอำนาจอันไพศาลของกษัตริย์คือ หมู่เทวสถานที่สร้างขึ้นอย่างหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1992 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกยกย่องให้เมืองแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยในเขตเมืองพระนคร ประกอบด้วย โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง",
"title": "เสียมราฐ (เมือง)"
},
{
"docid": "70992#20",
"text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "373578#8",
"text": "ศิลาจารึกในสมัยต่อมาได้พูดถึงกรุงวยาธบุระ (เมืองของเสด็จคล้องช้าง) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นราชธานีแห่งหนึ่งของฟูนัน จีนเรียกราชธานีฟูนันว่า “โตโม” (T’mo) ซึ่งยอร์จ เซเดส ว่าตรงกับคำขแมร์โบราณว่า “โตเมียะ” หรือ “ตลเมียะ” (คนคล้องช้าง) และเชื่อว่ากรุงวยาธบุระอยู่แถบภูเขาในเขตไปรเวงในปัจจุบัน พระภิกษุปางขัดก็มีความเห็นเดียวกัน และทรงเขียนไว้ว่า “ราชธานีวยาธบุระตั้งอยู่ที่บาพนม ซึ่งน่าจะอยู่ที่พนมขสัจ (ภูเขาทราย) ในปัจจุบัน เพราะมีการค้นพบโบราณสถานและเทวรูปจำนวนมาก ศิลาจารึกที่อยู่ในวัดจักรึต ตรงเชิงเขา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่๑๐ ได้กล่าวถึงการสร้างเทวรูปพระอิศวรเรียกว่า อติรวยาธบุเรศวร สิ่งสำคัญอีกอย่างคือที่บาพนมในปัจจุบันมีหมู่บ้านจำนวนมากที่มีชื่อเกี่ยวกับช้าง คือ โรงช้าง หัวช้าง และป่าช้าง",
"title": "ประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา"
}
] |
1350 | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือรัชกาลที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "4236#7",
"text": "ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า \"\"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว\"\" หรือ \"\"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3\"\"\nเมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า \"เจ้าสัว\" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล",
"title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "4261#43",
"text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า \"โรงเรียนมหาดเล็กหลวง\" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4261#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4261#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า \"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า\" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4253#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคำว่า \"จุฬาลงกรณ์\" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง \"พระเกี้ยว\" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4253#24",
"text": "หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4281#14",
"text": "พระองค์ทรงปฏิบัติราชการโดยพระวิริยะอุตสาหะ ปรากฏพระเกียรติคุณและสติปัญญาจนสามารถรับราชการสำคัญสนองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่วัน",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4261#4",
"text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4249#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า \"เจ้าฟ้ามงกุฎ\" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4261#31",
"text": "อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในราชสำนักของพระองค์ค่อนข้างฟุ่มเฟือย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติต้องถวายเงินเพิ่มขึ้นมากในพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมกมุ่นอยู่กับแต่ศิลปะวิทยาการ ทำให้การคลังของประเทศอ่อนแอ รายจ่ายของแผ่นดินมีสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงในตอนปลายรัชกาล ไปจนถึงในรัชกาลถัดไป",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] |
1353 | เลือดข้นคนจาง เป็นละครที่ประพันธ์บทโดยใคร ? | [
{
"docid": "969192#0",
"text": "เลือดข้นคนจาง () เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวดราม่า-สืบสวนสอบสวน ผลิตโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นาดาวบางกอกและโฟร์โนล็อค ออกอากาศทางช่องวัน บทประพันธ์และกำกับการแสดงโดยทรงยศ สุขมากอนันต์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดความบาดหมางกันในตระกูลจนนำไปสู่การแตกหักภายในครอบครัว จากการที่ลูกชายคนโตของตระกูลซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจและกงสีถูกยิงเสียชีวิต",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "969192#14",
"text": "ทรงยศได้รับแรงบันดาลใจจากละครชุดฮ่องกงยุค 1980 ที่มีเนื้อหาเชือดเฉือนในครอบครัว เขาและทีมเขียนบทจึงพัฒนาโครงเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวไทยเชื้อสายจีนที่มีความขัดแย้งระหว่างรุ่นเกี่ยวกับธรรมเนียมต่าง ๆ มีการหาข้อมูลเรื่องราวครอบครัวที่มีกิจการที่อยู่ในข่ายกงสี เช่น โรงแรม ร้านเสื้อผ้า บริษัทเมล็ดพันธุ์ผัก กิจการรถทัวร์ และกิจการโรงสีข้าวที่ลูกสาวตัดสินใจออกจากตำแหน่ง เพราะพ่อแบ่งกิจการให้ลูกชายทั้งหมด รวมถึงหาข้อมูลเรื่องการฆาตกรรม แต่ทีมงานยืนยันว่าเนื้อเรื่องไม่ได้มาจากเรื่องราวของคดีตระกูลธรรมวัฒนะมาเป็นต้นแบบ นอกจากนี้ยังมี ปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร, กาเหว่า-ชลลดา เตียวสุวรรณ จัส-จัสติน่า สุวรรณวิหค และตัวผู้กำกับเองที่สร้างสรรค์บทให้สมบูรณ์",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
}
] | [
{
"docid": "969192#15",
"text": "ทรงยศเชิญนักแสดงผู้ใหญ่มากประสบการณ์หลายคนมาร่วมแสดง เพื่อรับบทบาทตัวกลางในเรื่องและช่วยดึงดูดกลุ่มผู้ชมที่กว้างขึ้น ตอนเขียนบทอากงและอาม่า ทรงยศวางภาพนพพลและภัทราวดีไว้ในใจ ทรงยศกล่าวว่าละครเรื่องนี้ไม่มีตัวเอก และตัวละครทั้ง 25 คนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน แม้ว่าจะมีเวลาออกอากาศต่างกันก็ตาม เขาพูดถึงเนื้อเรื่องว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเป็นประเด็นหลัก โดยที่ปมฆาตกรรมปริศนาเป็นประเด็นรอง สำหรับนักแสดงหนุ่ม 9 คน ทีมงานเขียนบทเริ่มไปสังเกตนักแสดงตั้งแต่ขั้นตอนเวิร์กชอป เมื่อรู้ว่า 9 คนนี้ได้แสดงอย่างแน่นอนจึงค่อยเขียนบทจากตัวพวกเขา ต่างจากนักแสดงอื่น ๆ อย่างนักแสดงรุ่นใหญ่ทั้งรุ่นอาม่าอากงและรุ่นพ่อแม่ ที่วางตามโครงสร้างบท",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "969192#1",
"text": "ละครเรื่องนี้ได้รวมนักแสดงระดับแถวหน้าของเมืองไทยไว้คับคั่ง ได้แก่ นพพล โกมารชุน, ภัทราวดี มีชูธน, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, โสภิตนภา ชุ่มภาณี, อาภาศิริ นิติพน, ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, คัทลียา แมคอินทอช, พิมรา เจริญภักดี, พลวัฒน์ มนูประเสริฐ, สุพจน์ จันทร์เจริญ, เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม, ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ และชวลิต ชิตตนันท์ พร้อมด้วยนักแสดงรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามองอย่าง ธนภพ ลีรัตนขจร, กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม, ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ, ชลธร คงยิ่งยง, ลภัส งามเชวง, ศิวกร อดุลสุทธิกุล, พาริส อินทรโกมาลย์สุต, จักริน กังวานเกียรติชัย, วชิรวิชญ์ อรัญธนวงศ์ สมาชิกของกลุ่มไอดอล 9x9 (ไนน์บายนาย) รวมถึงกัญญาวีร์ สองเมือง และศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "969192#16",
"text": "ละครมีพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 เริ่มถ่ายทำประมาณเดือนพฤษภาคม จนเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีงานเปิดตัวกับคู่ค้าของทางช่องวันครั้งแรกในงานแถลงข่าว \"ONE สนั่นจอ เดือนกรกฎาคม\" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 การถ่ายทำแต่เดิมทรงยศ จะถ่ายจนกว่าคิดว่าใช่ แต่สำหรับละครเรื่องนี้ เขาตั้งเป้าไว้ว่า แต่ละฉากต้องการถ่าย 3 เทกผ่าน ถ้ามีมุมกล้องเพิ่มขึ้น 5 เทค มากที่สุดไม่เกิน 7 เทก",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "937413#3",
"text": "นอกจากนั้นในปีเดียวกัน ธีรดนย์ได้มีผลงานด้านการแสดง 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกเป็นละครจากค่ายต้นสังกัดชื่อ \"เลือดข้นคนจาง\" และเรื่องที่สองเป็นภาพยนตร์จากค่ายจีดีเอชชื่อ \"โฮมสเตย์\" โดยมีกำหนดฉายในวันที่ 25 ตุลาคม ในปีเดียวกัน ถือเป็นบทพระเอกภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา",
"title": "ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ"
},
{
"docid": "969192#13",
"text": "ทรงยศและอนุวัติ ตั้งใจจะขยายฐานผู้ชมจากกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานตอนต้นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดิมให้มีฐานตลาดที่กว้างและแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้โปรเจกต์ไนน์บายนายสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ทรงยศจึงลงความเห็นว่าจะไม่นำละครเรื่องนี้ไปออกอากาศทางจีเอ็มเอ็ม 25 และได้เสนอละครเรื่องนี้ให้กับถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของช่องวัน และนิพนธ์ ผิวเณร ผู้อำนวยการสายงานการผลิตละคร เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นผู้พิจารณาแทน โดยตนขอฉายในช่วงสามทุ่มเนื่องจากช่วงเวลาที่ได้ฉายปกตินั้นดึกเกินไป เมื่อได้ฟังรายละเอียดคร่าวๆ ถกลเกียรติและ นิพนธ์ จึงตกลงที่จะให้ทรงยศนำละครฉายช่วงเวลาดังกล่าว และขอเป็นผู้ผลิตร่วมเพื่อกำหนดแนวทางของละครและเสนอแนะในรายละเอียดที่ทรงยศควรทำเพื่อให้ละครฉายในช่วงไพรม์ไทม์หลังข่าวภาคค่ำได้",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "969192#12",
"text": "เลือดข้นคนจาง ริเริ่มขึ้นจากโครงการ 5:7:9 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบการก่อตั้ง 11 ปีของโฟร์โนล็อค โดยเลข 5 หมายถึงการพัฒนากลุ่มไอดอลเอสบีไฟฟ์ให้กับค่าย LOVEiS ของบอย โกสิยพงษ์ เลข 7 คือการคว้าสิทธิ์การดูแลศิลปินวงก็อตเซเวนจากเจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว และเลข 9 คือโครงการพิเศษที่โฟร์โนล็อคต้องการที่จะรวบรวมนักแสดงรุ่นใหม่เก้าคนเพื่อตั้งเป็นกลุ่มไอดอลที่มีชื่อว่า ไนน์บายนาย (9by9) ซึ่งจะมีผลงานเพลง คอนเสิร์ต แสดงละครและซีรีส์ทางโทรทัศน์ เพื่อให้งานเดินหน้าไปตามแผน อนุวัติ วิเชียรณรัตน์ ผู้บริหารโฟร์โนล็อค จึงได้ทาบทามทรงยศ สุขมากอนันต์เพื่อร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งเดิมทรงยศวางแผนจะกลับไปทำภาพยนตร์ร่วมกับจอกว้าง ฟิล์มและ จีดีเอช ห้าห้าเก้า หลังจากจบการถ่ายทำมินิซีรีส์ I Hate You, I Love You ทางไลน์ทีวี ซึ่งต่อมาทรงยศได้ตกลงให้ร่วมมือในฐานะผู้ผลิต โดยในช่วงแรกวางแผนให้ 4 ผู้กำกับจากซีรีส์โปรเจกต์ เอส ที่ผลิตเมื่อปีก่อนมาร่วมกำกับ และทรงยศเองตั้งใจจะขึ้นเป็นโปรดิวเซอร์เพื่อให้มีเวลาไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ แต่เมื่อโครงการเริ่มเดินหน้าและขยายขึ้นมากกว่าที่ตั้งใจไว้ ทรงยศก็ตัดสินใจมากำกับละครด้วยตัวเอง",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "969192#2",
"text": "ตระกูลจิระอนันต์เป็นครอบครัวไทยเชื้อสายจีน เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมจิรานันตา กรุงเทพฯ และพัทยา อากง สุกิจ (นพพล โกมารชุน) และอาม่า ปราณี (ภัทราวดี มีชูธน) เป็นผู้ก่อตั้งโรงแรม โดยปัจจุบันโรงแรมบริหารโดยลูกชายคนโต ประเสริฐ (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) และลูกสาวคนที่สามคือ ภัสสร (คัทลียา แมคอินทอช) ส่วนลูกชายคนที่สองคือ เมธ (ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง) เป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว อยู่บ้าน รับ-ส่งลูกหลาน และลูกชายคนสุดท้องคือ กรกันต์ (สุพจน์ จันทร์เจริญ) แต่งงานกับอดีตดาราหนัง น้ำผึ้ง (เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม) และใช้ชีวิตแบบเสเพลไปวัน ๆ โดยไม่ทำการทำงานใด ๆ",
"title": "เลือดข้นคนจาง"
},
{
"docid": "848162#0",
"text": "นางแค้น เป็นละครโทรทัศน์ โรแมนติก-ดราม่า-สยองขวัญ ผลิตโดย บริษัท มอนทาจ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ในเครือ บริษัท โมจิโต้ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ควบคุมการผลิตโดย นัฐฐพนธ์ ลียะวณิช สร้างจากบทประพันธ์ชุดของ สี่ทิศตาย ของ ภาคินัย ที่ประกอบไปด้วย นางครวญ, นางแค้น, นางคุก, นางคอย เขียนบทโทรทัศน์โดย พรรณจิณณ์ กำกับการแสดงโดย ชานนท์ สมฤทธิ์ ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ผ่านระบบฟรีทีวีดิจิตอล ช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.00 - 22.00 น. เริ่มตอนแรกวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560–27 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไปทางสถานีได้ปรับผังรายการเดือนมิถุนายนขึ้นมาใหม่ โดยที่ละครนางแค้นได้ย้ายไปออกอากาศในเวลาใหม่ 22.00 - 23.00 น.และได้เอาฉากที่ไม่ได้ฉายมาลงอีกครั้ง",
"title": "นางแค้น"
}
] |
1356 | เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2 ใครคือผู้ชนะ ? | [
{
"docid": "806789#41",
"text": "ย้อนกลับมาช่วง \"ไฟนัลวอล์ก\" ก่อนที่จะประกาศผล ได้มีการฉายวิดีโอของ อุ๋ย ที่ได้มีการพูดถึงการแสดงในแคมเปญของแต่ละคน ตามด้วยการฉายวิดีโอของ เต๊นท์ กัลป์ กัลย์จาฤก ที่ได้มีการพูดถึงผลงานที่แต่ละคนได้ทำกัน และได้มีการประกาศผลผู้ชนะในช่วงแคมเปญ ซึ่งก็คือ ฟ้า แต่เป็นที่น่าแปลกใจ เมื่อได้มีการประกาศว่าไม่มีใครถูกคัดออกในช่วงนี้ นั่นหมายความว่า ผู้เข้ารอบสี่คนสุดท้ายได้เดินรอบ \"ไฟนัลวอล์ก\" กันทั้งหมดจากนั้นเป็นการเดินแบบของผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้วทั้ง 11 คนซึ่งเรียงลำดับจากผู้ที่ออกจากการแข่งขันคนแรกไปจนถึงคนสุดท้าย โดย ซาบิน่า อจิรภา ไมซิงเกอร์ และ ติช่า กันติชา ชุมมะ ผู้ชนะจากฤดูกาลที่ผ่านมาได้มาร่วมเดินแบบในครั้งนี้ด้วย และวงดนตรี เก็ตสึโนวา (Getsunova) ร้องเพลงประกอบ ต่อด้วยการเดินไฟนัลวอล์กเดี่ยวของสี่คนสุดท้าย ตามด้วยการปรากฏตัวของเมนเทอร์ก่อนที่จะเดินคู่กับลูกทีมของตัวเอง โดยมี มาช่า วัฒนพานิช ร้องเพลง \"Music Lover\" ประกอบ จากนั้นเป็นการประกาศผลผู้ชนะโดย ติช่า ผู้ชนะจากซีซั่น 2 มาพร้อมกับนายแบบและนักแสดงเกาหลี Cho Min-ho และ Kim Jae-young ซึ่งรอบนี้ เกรซ ทำได้ดีที่สุด และกลายเป็นเดอะเฟซคนที่สามของประเทศไทยในการถ่ายทอดสดครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่ทรงมาเป็นแขกกิตติมศักดิ์ในการมอบช่อดอกไม้ให้แก่เดอะเฟซไทยแลนด์คนที่สามและเมนเทอร์ของผู้ชนะ ตามด้วย เต้ ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก ที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก หลังจากนั้น เต้ ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก เดอะเฟซไทยแลนด์คนที่สาม และเมนเทอร์ของผู้ชนะ ได้รับประทานพระอนุญาตฉายพระรูปร่วมกันกับพระองค์ ทีมบี \n ทีมคริส \n ทีมลูกเกด \n ทีมมาช่า",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 3"
},
{
"docid": "743345#32",
"text": "ช่วง \"Final Walk\" ถ่ายทอดสดจากเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ โดยมีโอปอล ปาณิสรา อารยะสกุล เป็นพิธีกรรับเชิญ เริ่มต้นด้วยการประกาศผลผู้ชนะในช่วงแคมเปญ ซึ่งก็คือติช่า และผู้ที่ทำไม่ดีในรอบนี่คือมะปราง จากนั้นเป็นการเดินแบบของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 15 คนโดยเรียงลำดับจากผู้ที่ออกจากการแข่งขันคนแรกไปจนถึงคนสุดท้าย ต่อด้วยการเดิน Final Walk เดี่ยว ตามด้วยเมนเทอร์ และเดินคู่ผู้เข้าแข่งขัน-เมนเทอร์ จากนั้นเป็นการประกาศผลโดยซาบีน่า ผู้ชนะจากซีซั่น 1 ซึ่งรอบนี้ ติช่า ทำได้ดีที่สุด และกลายเป็น The Face คนที่สองของประเทศไทย ทีมลูกเกด \n ทีมบี \n ทีมคริส",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2"
},
{
"docid": "743345#2",
"text": "ในวันที่ 9 มกราคม 2559 ก็ได้ผู้ชนะคนที่สองของรายการคือ ติช่า, กันติชา ชุมมะ",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2"
}
] | [
{
"docid": "736156#8",
"text": "ตัวอักษรหนาคือผู้ที่ชนะจากแต่ละทีมเลือกจากแขกรับเชิญและผู้ที่ชนะใน \"มาสเตอร์คลาส\" ก็คือ ตาลและได้กระเป๋าแต่งหน้าจาก Maybelline และเป็นการชนะครั้งที่สองของเธอในช่วงมาสเตอร์คลาส\nช่วง \"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้เป็นการถ่ายแบบเดินแฟชั่นโดยสวมบทบาทเป็น ม้าลาย, ผีเสื้อ และ เสือ และมี อาร์ต อารยา อินทรา มาเป็นแขกรับเชิญและกรรมการตัดสินในการสวมบทบาทต่างๆ ผู้ที่ชนะรางวัลจากช่วงมาสเตอร์คลาส ก็มาเป็นผู้เลือกลำดับการถ่ายโดยทีมพลอยทีมแรก ทีมหญิงทีมที่สอง และทีมลูกเกดทีมที่สาม เกิดปัญหาในการแต่งหน้าทำผมของทีมหญิง เลยต้องแก้ทรงผมให้เหมาะกับโจทย์ที่ได้รับ ทีมพลอยได้รับโจทย์ผีเสื้อได้รับคำชมจากกรมการมากว่าทำได้ดี และผลการตัดสินทีมพลอยก็ชนะใน \"แคมเปญ\" ครั้งนี้ ทีมที่แพ้ทั้งสองได้ส่งผู้ที่ทำได้ออกมาไม่ดีพอสองคนคือ หงส์จากทีมหญิงซึ่งเป็นครั้งที่สองของหงส์แล้วที่มายืนที่ห้องนี้และเหม่ยจากทีมลูกเกด และเมนเทอร์พลอยที่ชนะก็ได้เลือกเหม่ยให้ออกจากเดอะเฟซเป็นคนที่สี่",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 1"
},
{
"docid": "736156#15",
"text": "ตัวอักษรหนาคือผู้ที่ชนะในรอบแรก โจทย์ในรอบสองคือการแต่งตัวในฐานะซุปเปอร์สตาร์ที่ถูกเชิญไปโชว์ตัวต่างจังหวัดที่หัวเมือง มีเวลา 10 นาทีในการเลือกชุดเช่นเดิม ซึ่งผู้ชนะในช่วงมาสเตอร์คลาสคือ ซาบิน่า โดยได้รางวัลเป็น Gift Voucher ในการช็อปปิ้งในพารากอนดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 10,000 บาท\nช่วง \"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้เป็นการถ่ายแฟชั่นวิดีโอให้กับ \"Maybelline\" โดยแต่ละทีมจะได้ธีมถ่ายทำที่แตกต่างกัน ทีมเมนเทอร์หญิงได้ธีม New York Rock ทีมเมนเทอร์ลูกเกดได้ธีม New York Street Chic และทีมเมนเทอร์พลอยได้ธีม New York Night Sexy ในตอนนี้ บี-น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ มาเป็นเมนเทอร์แทนเมนเทอร์พลอยที่ไม่สามารถมาร่วมแคมเปญนี้ได้ แพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์ เมคอัพอาร์ทิสต์ ก็ได้มาช่วยบอกเทคนิคการแต่งหน้าแต่ละทีมให้เข้ากับโจทย์ ทีมพลอยเป็นทีมที่ชนะในแคมเปญนี้ ซึ่งเมนเทอร์พลอยก็ได้ย้อนดูผลงานของทั้งสามทีมในภายหลังโดย อั๊ต-อัษฎา พานิชกุล เป็นคนเปิด VTR ให้ดู คนที่ต้องถูกส่งตัวเข้ามาในห้องตัดสินคือเบลล์จากทีมหญิงและตาลจากทีมลูกเกด ในที่สุดเมนเทอร์พลอยได้เลือกตาลให้ออกจากเดอะเฟซเป็นคนที่แปด ซึ่งเมนเทอร์ลูกเกดรู้สึกไม่เห็นด้วยในการที่เมนเทอร์พลอยไม่ได้มาร่วมในแคมเปญแต่ยังมีสิทธิ์ที่คัดคนออกจากการแข่งขัน",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 1"
},
{
"docid": "736156#5",
"text": "และผู้ชนะในการถ่ายรูปก็คือตาลได้ รูปของเธอจะได้ลงในอินสตาแกรมของโว้กประเทศไทย\nช่วง \"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้เป็นการถ่ายภาพชนเผ่า ผู้ที่ชนะรางวัลจากช่วง\"มาสเตอร์คลาส\" ก็เป็นผู้เลือกเสื้อผ้าในการถ่ายภาพของแต่ละทีมและลำดับในการถ่ายภาพ ทีมพลอย (Milin:ถ่ายภาพเป็นทีมแรก) ทีมหญิง (Theatre:ถ่ายภาพเป็นทีมที่สอง) ทีมลูเกด (Issue:ภ่ายภาพเป็นทีมสุดท้าย) และในแต่ละทีมก็มีเวลาการถ่ายภาพทีมละ 10 นาที และทีมลูกเกดทำออกมาได้ดีที่สุด ทีมที่แพ้ทั้งสองได้ส่งผู้ที่ทำได้ออกมาไม่ดีสองคนคือ เพนนีจากทีมพลอยและป๋อมแป๋มจากทีมหญิง และเมนเทอร์ลูกเกดที่ชนะก็ได้เลือกป๋อมแป๋มให้ออกจาก\"เดอะเฟซ\"เป็นคนที่สอง",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 1"
},
{
"docid": "743345#14",
"text": "ช่วง\"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้คือการถ่ายแบบแนวเซ็กซี่โดยสวมชุดนอนในคอนเซปท์ \"Bed Side Story\" โดยมี ใหญ่ อมาตย์ นิมิตภาคย์ เป็นช่างภาพในครั้งนี้ และจะมีพร๊อพอยู่ในฉาก 2 ชิ้นซึ่งยังไม่เปิดเผย กวาง ผู้ที่ชนะรางวัลจากช่วง\"มาสเตอร์คลาส\"ได้เลือกให้ทีมเมนเทอร์ลูกเกดได้เริ่มเป็นทีมแรก ตามด้วยทีมเมนเทอร์คริส และทีมเมนเทอร์บี โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมต้องไปคุยคอนเซปท์กับช่างภาพเป็นเวลา 5 นาที และจะมีเวลา 20 นาทีในการถ่ายภาพ โดย 10 นาทีแรกต้องควบคุมกันเอง หลังจากนั้นเมนเทอร์ของแต่ละทีมจะเข้ามาในเซตได้ เวลาต่อมา เมนเทอร์ของแต่ละทีมก็ได้มาพบลูกทีมและได้กำหนดท่าทางในการถ่ายภาพ เมื่อถึงเวลาจริง เป็นที่เปิดเผยว่านายแบบ 2 คนได้มาเป็นพร๊อพในฉาก เมนเทอร์ลูกเกดควบคุมและกำกับลูกทีมอยู่หลังกล้องในขณะที่ยังไม่ได้เข้ามาในเซ็ตจนกระทั่งถึงเวลาที่กำหนด แต่ก็ได้รับคำชมจากช่างภาพว่าทีมเวิร์คดีที่สุด ในขณะที่ทีมอื่นเปลี่ยนท่าอยู่ตลอดเวลา และทีมเมนเทอร์ลูกเกดเป็นทีมที่ชนะใน\"แคมเปญ\"เป็นครั้งที่สอง",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2"
},
{
"docid": "736156#10",
"text": "ภาพที่ดีที่สุด 3 ภาพคือ ซาบิน่า,มิลา,ตาลและผู้ชนะในการถ่ายรูปก็คือตาลได้ รูปของเธอจะได้ลงในเฟซบุ๊กของจีคิวประเทศไทย\nช่วง \"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้เป็นการถ่ายแบบเดินแฟชั่นถ่ายแบบในแนว Sport ร่วมกับนายแบบชาย เพื่อนำเสนอโฆษณาให้กับ AIS โดยมี พรรัตน์ เจนจรัสสกุล มาร่วมตัดสิน และตาลที่ชนะจากมาสเตอร์คลาสถึงสามครั้งก็ได้เป็นทีมแรกที่ถ่ายแบบ และทีมหญิงเป็นทีมที่สอง ตามด้วยทีมพลอย และมี ใหญ่ อมาตย์ นิมิตภาคย์ มาเป็นช่างถ่ายภาพในแคมเปญครั้งนี้ และผลการตัดสินทีมหญิงก็ชนะใค \"แคมเปญ\" ครั้งนี้ ทีมที่แพ้ทั้งสองได้ส่งผู้ที่ทำได้ออกมาไม่ดีพอสองคนคือ แอนจากทีมพลอย และปาร์คจากทีมลูกเกดซึ่งเป็นครั้งที่สองของปาร์คแล้วที่มายืนที่ห้องนี้และเป็นครั้งที่สองที่เธอมาเจอเมนเทอร์หญิง และเมนเทอร์หญิงที่ชนะก็ได้เลือกปาร์คให้ออกจากเดอะเฟซเป็นคนที่ห้า",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 1"
},
{
"docid": "806789#0",
"text": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 3 () รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ เทรนเนอร์ ได้แก่ เมทินี กิ่งโพยม, น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ และ มาช่า วัฒนพานิช โดยมีการรับสมัครในวันที่ 14 สิงหาคม 2559 ณ มีทติ้ง รูม รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน\nในซีซัน 3 นี้ เป็นฤดูกาลแรกที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงข้ามเพศ และผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว สามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้ โดย เมทินี กิ่งโพยม ยังคงเป็นเมนเทอร์ในรายการเป็นปีที่สาม และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีการเปิดเผยโฉมเมนเทอร์ในฤดูกาลนี้อีกสองคนคือ น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ ที่มาเป็นเมนเทอร์อีกครั้ง และ มาช่า วัฒนพานิช ซึ่งเป็นเมนเทอร์คนใหม่ในฤดูกาลนี้ ส่วน ชานนท์ อักขระชาตะ ยังคงรับหน้าที่เป็นพิธีกรต่อไป และในวันที่ 13 กันยายน 2559 ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวรายการอย่างเป็นทางการพร้อมกับการเปิดตัวผู้เข้าแข่งขันจากรอบออดิชั่นทั้ง 50 คน โดยรายการเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 3"
},
{
"docid": "893504#0",
"text": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 4 ออลสตาร์ () หรือ เดอะเฟซออลสตาร์ () เป็นรายการเรียลลิตีประกวดนางแบบ, นายแบบ และนักแสดง โดยมีการประกาศเปิดตัวเป็นครั้งแรกในรอบไฟนอลวอล์คของ เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ซีซัน 1 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ หลังจากนั้น ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก ได้ให้สัมภาษณ์กับทางช่อง 3 ว่าได้กำหนดชื่อสำหรับรายการว่า เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 4 ออลสตาร์ โดยจะนำผู้เข้าแข่งขันใน 3 ซีซันที่ผ่านมา และ\"เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ซีซัน 1\" เข้าแข่งขันอีกครั้ง",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 4"
},
{
"docid": "743345#20",
"text": "ช่วง\"แคมเปญ\" ในสัปดาห์นี้คือ การถ่ายภาพกรุ๊ปช็อต \"Life is Thrilling\" โดยมี ณัฐ ประกอบสันติสุข เป็นช่างภาพและเป็นกรรมการตัดสิน มะปราง ผู้ที่ชนะรางวัลจากช่วง\"มาสเตอร์คลาส\"ได้เลือกให้ทีมเมนเทอร์บีได้ถ่ายภาพเป็นทีมแรก ตามด้วยทีมเมนเทอร์ลูกเกด และทีมเมนเทอร์คริส ทีมแรกมีสิทธิ์ที่จะได้เลือกชุดก่อน แต่ละทีมจะมีเวลา 20 นาทีในการถ่ายภาพ หลังจากนั้นเมนเทอร์ของแต่ละทีมก็ได้มาพบลูกทีมเพื่อเตรียมชุดและฝึกซ้อมการโพสท์ท่า เมื่อถึงเวลาจริง ทุกทีมประสบปัญหาในการถ่ายภาพกันทั้งหมด ส่วนทีมของเมนเทอร์คริส เจสซี่ ประสบปัญหากับซิลิโคนชุดชั้นในหลุดออกซึ่งต้องแก้ไขปัญหาอยู่นานพอสมควร อย่างไรก็ตาม ทีมเมนเทอร์ลูกเกดเป็นทีมที่ชนะใน\"แคมเปญ\"นี้",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2"
}
] |
1358 | แอ๊ด คาราบาวเกิดที่จังหวัดอะไร? | [
{
"docid": "56123#2",
"text": "แอ๊ด คาราบาว เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายฝาแฝดคนสุดท้องของ นายมนัส โอภากุล (แซ่โอ๊ว) และ นางจงจินต์ แซ่อึ๊ง (ปัจจุบันบิดาและมารดาเสียชีวิตแล้ว มารดาไม่แน่ใจว่าเสียชีวิตเพราะสาเหตุใด แต่บิดาเสียชีวิตจากโรคชรา) มีจิตใจรักเสียงเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ จากการที่เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด จึงได้ซึมซ่าบการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง เช่น ลำตัด, เพลงฉ่อย, เพลงอีแซว รวมถึงรำวง และเพลงลูกทุ่ง จากการที่พ่อ คือ นายมนัส เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี \"ชสพ.\" เมื่อปี พ.ศ. 2480 ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่าง ๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "69833#0",
"text": "ยิ่งยง โอภากุล เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน มีชื่อเล่นว่า \"อี๊ด\" เป็นพี่ชายฝาแฝดกับ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว",
"title": "ยิ่งยง โอภากุล"
}
] | [
{
"docid": "134585#1",
"text": "อ๊อด คาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย อ๊อดเล่นกีตาร์เบสอยู่กับวงเพรสซิเดนท์พร้อมกับ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ซึ่งเป็นมือกีตาร์ โดยมีผลงานอัลบั้ม สายลมลวง และ เด็กฮาร์ทฉันไม่สน ที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงเพรสซิเดนท์ ต่อมาทั้งวงจึงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง \"ปล.ผมรักคุณ\" ในปี พ.ศ. 2526 พร้อมกับวงคาราบาวที่กำลังโด่งดังจากอัลบั้ม ท.ทหารอดทน",
"title": "เกริกกำพล ประถมปัทมะ"
},
{
"docid": "55532#12",
"text": "ศยาพร สิงห์ทอง (ชื่อเล่น : น้อง : 19 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม - 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 ( ปี)) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ \"น้อง คาราบาว\" เป็นอดีตสมาชิกวงคาราบาว จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) น้องเคยร่วมงานกับวงดนตรีและนักดนตรีต่าง ๆ มามากมาย อาทิ ฟรีเบิร์ดส , ฤทธิพร อินสว่าง , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ ยิ่งยง โอภากุล หรือ อี๊ด พี่ชายฝาแฝดของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว (หัวหน้าวง) เข้าร่วมวงคาราบาวในฐานะมือกลองเพอร์คัสชั่นและร้องประสานเสียง ตั้งแต่อัลบั้มชุด \"แจกกล้วย\" ในปี พ.ศ. 2538 ชีวิตส่วนตัว น้องสมรสแล้วและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเล่นว่า \"อะตอม\" น้องได้ขอลาออกจากวงไปในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากป่วยเป็นระยะเวลานานและได้เสียชีวิตไปในเวลาเช้าของวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "212271#0",
"text": "ลือชัย งามสม หรือ ดุก คาราบาว เป็นมือคีย์บอร์ด ของวงคาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดชลบุรี ร่วมงานกับวงคาราบาวตั้งแต่อัลบั้ม วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเล่นคีย์บอร์ดในอัลบั้มเดี่ยวชุดหลัง ๆ ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว อีกด้วย",
"title": "ลือชัย งามสม"
},
{
"docid": "759007#0",
"text": "กินลม ชมบาว เป็นคอนเสิร์ตใหญ่เปิดอัลบั้ม \"สวัสดีประเทศไทย\" ของวงคาราบาว จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งตรงกับวันเกิดของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ณ บ้านไร่กูไม่เบื่อของแอ๊ด ตั้งอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จัดขึ้นโดย บริษัท มองโกล จำกัด ซึ่งมี เซน - ณิชา โอภากุล ลูกสาวแท้ ๆ ของแอ๊ดเป็นกรรมการผู้จัดการ โดยมีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตนำเอาไปมอบให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง ภายหลังมีการทำดีวีดีบันทึกการแสดงสดออกมาจำหน่ายด้วย",
"title": "กินลม ชมบาว"
},
{
"docid": "260347#0",
"text": "อาทิวราห์ คงมาลัย เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นนักร้องนำและนักแต่งเพลงของวงบอดี้สแลม อีกทั้งยังมีศักดิ์เป็นหลานของแอ๊ด คาราบาว และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ตั๊ก บงกช อีกด้วย อาทิวราห์เข้าประกวดเวทีฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นสมาชิกวงละอ่อน และได้เซ็นสัญญากับทางค่าย มิวสิค บั๊กส์ ก่อนที่สมาชิกบางส่วนในวงได้ไปศึกษาเรียนต่อต่างประเทศ ในเวลาต่อมา อาทิวราห์ และ ธนดล ช้างเสวก, รัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ก่อตั้งวงดนตรีใหม่ชื่อว่า \"บอดี้แสลม\" และผลิตผลงานเพลงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "อาทิวราห์ คงมาลัย"
},
{
"docid": "56123#5",
"text": "เมื่อแอ๊ด คาราบาว สำเร็จการศึกษาและกลับมาเมืองไทย ได้ทำงานประจำเป็นสถาปนิกในสำนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง และมีงานส่วนตัวคือรับออกแบบบ้านและโรงงาน ต่อมาเมื่อไข่และเขียวกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง 3 ได้เล่นดนตรีร่วมกันอีกครั้งโดยเล่นในห้องอาหารที่โรงแรมวินเซอร์ ซอยสุขุมวิท 20 และต่อมาย้ายไปเล่นที่โรงแรมแมนดาลิน สามย่าน โดยขึ้นเล่นในวันศุกร์และเสาร์ แต่ทางวงถูกไล่ออกเพราะขาดงานหลายวันโดยไม่บอกกล่าว",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "55532#1",
"text": "วงคาราบาวเกิดจากการก่อตั้งโดยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว กรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ 3 คน คือแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ขึ้นที่นั่น ในปี พ.ศ. 2523 โดยคำว่า \"คาราบาว\" เป็นภาษาตากาล็อก คือภาษาพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แปลว่า ควาย หรือคนใช้แรงงาน ซึ่งทางฟิลิปปินส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นเกษตร โดยหมายจะเป็นวงดนตรีที่มีเนื้อหาเพื่อชีวิต",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "55532#11",
"text": "ชูชาติ หนูด้วง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โก้ คาราบาว มือกลองของวงคาราบาว มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นชาวไทยมุสลิม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โก้ ตีกลองในแนวเฮฟวี่ เมทัลและเคยร่วมเป็นสมาชิกในวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลต่าง ๆ มาแล้ว เป็นจำนวนมาก เช่น คาไลโดสโคป, ชัคกี้ ธัญญรัตน์ และ บลู แพลนเน็ต เป็นต้น เข้าร่วมวงคาราบาวในหน้าที่มือกลองในอัลบั้มชุดที่ 11 \"วิชาแพะ\" ในปี พ.ศ. 2534 และเข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในอัลบั้ม \"สัจจะ ๑๐ ประการ\" จนถึงปัจจุบัน",
"title": "คาราบาว"
}
] |
1360 | วรรณกรรมเยาวชนชุด อาณาจักรแห่งกาลเวลา แต่งโดยใคร ? | [
{
"docid": "171289#0",
"text": "ในที่นี้ เจ้าหน้าที่ของบ้าน หมายถึง พลเมืองหรือเด็กของคนเป่าปี่ซึ่งมีหน้าที่ในบ้าน ในวรรณกรรมเยาวชนชุด \"อาณาจักรแห่งกาลเวลา\" ประพันธ์โดยการ์ธ นิกซ์",
"title": "เจ้าหน้าที่ของบ้าน"
},
{
"docid": "98202#26",
"text": "จากบทสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2547 การ์ธ นิกซ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแรงจูงใจที่ทำให้เขาสามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมชุดอาณาจักรแห่งกาลเวลาเอาไว้ดังนี้:",
"title": "อาณาจักรแห่งกาลเวลา"
},
{
"docid": "144889#0",
"text": "บ้าน เป็นขอบเขตพิภพซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลในวรรณกรรมชุด \"อาณาจักรแห่งกาลเวลา\" งานประพันธ์ของการ์ธ นิกซ์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย สิ่งอื่นใดที่อยู่นอกเหนือจากบ้าน คือ เอกภพ จะถูกเรียกว่า \"อาณาจักรชั้นที่สอง\" บ้านประกอบด้วยเจ็ดเขตแดน ได้แก่ บ้านเบื้องล่าง ผืนดินไกล ทะเลกั้นอาณาเขต วงกตยิ่งใหญ่ บ้านเบื้องกลาง บ้านเบื้องบน และสวนไร้ที่เปรียบ",
"title": "บ้าน (อาณาจักรแห่งกาลเวลา)"
},
{
"docid": "103079#0",
"text": "จันทร์มหันตภัย เป็นหนังสือเล่มที่ 1 ในหนังสือชุด \"อาณาจักรแห่งกาลเวลา\" เป็นหนังสือประเภท วรรณกรรมนวนิยายแฟนตาซี ของการ์ธ นิกซ์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย หนังสือในชุดเดียวกัน คือ อังคารอหังการ พุธเพชฌฆาต พฤหัสเจ้าศาสตรา ศุกร์รัตติกาล เสาร์มนตรา และอาทิตย์สิ้นสูญ",
"title": "จันทร์มหันตภัย"
}
] | [
{
"docid": "98202#19",
"text": "อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมที่พาดพึงถึงนิทานและนิยายหลายเรื่อง หัวหน้าผู้รับใช้ของคุณวันจันทร์ สนีซเชอร์ เทียบเคียงกับเนสเตอร์จาก \"การผจญภัยของตินติน\" คนเป่าปี่ก็เป็นการนำมาสร้างใหม่ของ \"\"คนเป่าปี่ผู้ลายพร้อยแห่งเฮมลิน\"\" ผู้ที่ใช้เสียงดนตรีของตนในการนำเอาประชากรหนูออกไปจากเมือง และภายหลังก็นำเด็กๆ ออกไป เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กเหล่านั้นปฏิเสธที่จะจ่ายค่าตอบแทนในการกำจัดหนูซึ่งสัญญากันไว้ ลูกทะเลก็มีส่วนคล้ายกับ \"ลูกทะเล\" ของซามูเอล เทย์เลอร์ คอเลอร์ริดจ์ ลูกทะเลทั้งสองคนต่างก็ยิงนก และมีข้อความจากบทกวี \"แฮมเลต\" ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ปรากฏอยู่ใน \"ศุกร์รัตติกาล\"",
"title": "อาณาจักรแห่งกาลเวลา"
},
{
"docid": "146568#14",
"text": "ประกอบด้วยย่อหน้า 3-7 ถูกยึดครองโดยคุณวันจันทร์และเก็บรักษาไว้บนดาวดับ อยู่ในรูปของกบ ภายหลังหนึ่งหมื่นปีที่มหาสถาปนิกจากไป ย่ำค่ำของวันจันทร์ (ซึ่งตอนนี้ได้เป็นยามเที่ยง) ได้ปลดปล่อยเอามันออกมาโดยให้กล่องยานัตถุ์วิเศษแก่ผู้ตรวจการ แล้วเมื่อผู้ตรวจการสูดเข้าไปในจมูกแล้วจามออกมา มันก็หนีออกมาได้แล้วไปเข้าสิงพ่อบ้านของวันจันทร์ สนีซเชอร์ และพยายามโน้มน้าวให้วันจันทร์มอบกุญแจนาที (กุญแจน้อย) ให้แก่อาเธอร์ในฐานะของทายาทผู้ทรงสิทธิ์ หลังจากนั้นพินัยกรรมส่วนแรกก็ออกจากร่างของสนีซเชอร์และอยู่ในรูปของกบหยก ซึ่งอาศัยอยู่ในคอของซูซี่ และพยายามให้เธอร่วมมือกับอาเธอร์ในการเอาชนะคุณวันจันทร์และปกครองบ้านเบื้องล่าง",
"title": "รายชื่อตัวละครในอาณาจักรแห่งกาลเวลา"
},
{
"docid": "98202#27",
"text": "คนส่วนใหญ่มองว่าอาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเยาวชนประเภทอิงคริสต์ศาสนาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสังเกตได้จากบาปทั้งเจ็ดประการและคุณธรรมทั้งเจ็ดประการ และยังได้เสียงสนับสนุนเป็นจำนวนมาก",
"title": "อาณาจักรแห่งกาลเวลา"
},
{
"docid": "149045#7",
"text": "ในวรรณกรรมเยาวชนชุด \"อาณาจักรแห่งกาลเวลา\" คุณธรรมพื้นฐานนั้นก็มีพื้นฐานมาจากคุณธรรมทั้งเจ็ดประการ (มีคุณสมบัติตามคุณธรรมต่าง ๆ ของพินัยกรรม) ซึ่งถูกใช้ต่อต้านกับบาป 7 ประการ ประกอบด้วย ความอ่อนน้อม ความโอบอ้อมอารี ความรักฉันพี่น้อง ความว่านอนสอนง่าย ความบริสุทธิ์ ความพอประมาณ และความขยันหมั่นเพียร",
"title": "คุณธรรมหลัก"
},
{
"docid": "170007#7",
"text": "พ.ศ. 2553 วรรณคดีลาว อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และ\nสุนทรียภาพเหนือเส้นพรมแดน พิมพ์ในหนังสือ ร่องรอยกาลเวลา โขง \nสายนทีแห่งชีวิต เครือญาติ ชาติพันธุ์วรรณา \nบรรณาธิการ ทองแถม นาถจำนง เดือนมิถุนายน 2553\nพ.ศ. 2554 พลังสร้างสรรค์ในวรรณคดีลาวล้านช้าง \nพิมพ์ในหนังสือ ร่องรอยกาลเวลาร่วมรู้พื้นถิ่น\nสุวรรณภูมิ 450 ปีเวียงจัน สายสัมพันธ์บ่กั้นขวาง \nไทย สยาม ลาว วรรณกรรมสองฝั่งโขง มกราคม 2554 \nแม่น้ำโขงหรือแม่ของผมกันแน่ที่เป็นกวี แต่แม่คือผู้หญิงธรรมดาผู้เป็นแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ \nพิมพ์ในหนังสือ บทนำชีวิต รวมมุมมองและอารมณ์ความรู้สึกจากนักคิดนักเขียน 60 ชีวิต สำนักพิมพ์แม่คำผาง บรรณาธิการบริหาร ปรีดา ข้าวบ่อ ตุลาคม 2554 \nชื่อสุนทรียรส พิมพ์ใน นิตยสาร ไทอีศาน \nฉบับ e-books เดือนเมษายน",
"title": "ชัชวาลย์ โคตรสงคราม"
},
{
"docid": "810102#1",
"text": "เมื่อครั้งบรรพกาล มีของวิเศษอยู่ 12 ชิ้น ที่ถูกเล่าขานเป็นตำนานโด่งดัง เช่น ดาบฟ้าฟื้น, เกราะเพชรเจ็ดสี, ขวานรามสูร, ปี่พระอภัย หากตกในมือเหล่าร้ายจะก่อให้เกิดมหันตภัยครั้งใหญ่ขึ้น ทั้งสรวงสวรรค์ และโลกมนุษย์ มหาธรรมเทพ เทพผู้ยิ่งใหญ่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ ตัดสินใจสร้างกรุเจดีย์ล่องหนเพื่อใช้รวบรวม \"ของวิเศษแห่งโลกธาตุทั้ง 12\" โดยเจดีย์ล่องหนจะอยู่ระหว่างโลกกับสวรรค์เท่านั้น ซึ่งจะปรากฏขึ้นทุก ๆ 400 ปี ท่านได้สละบารมีธรรมของตนเป็น 2 ส่วน คือ ภูติหมัดภูผา ผู้มีพลังในการต่อยสูงจนแผ่นดินทลายได้ และภูติบาทาวายุ ผู้มีพลังในการเตะมากขนาดทำให้เกิดลมพายุได้ ภูติทั้งสองสิงสถิตอยู่ใน แหวนภูผาวายุ ที่อยู่บนยอดเจดีย์ล่องหน เพื่อปกปักษ์ของวิเศษทั้ง 12 ชิ้น",
"title": "แหวนปราบมาร"
},
{
"docid": "199100#5",
"text": "แผนที่ มีการทำงานคล้ายกับ \"เข็มทิศทองคำ\" ในวรรณกรรมชุด \"ธุลีปริศนา\"",
"title": "ของวิเศษในอาณาจักรแห่งกาลเวลา"
}
] |
1364 | มหาวิทยาลัยพะเยาก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "291870#0",
"text": "มหาวิทยาลัยพะเยา (; ชื่อย่อ: มพ / UP) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ตั้งอยู่ในจังหวัดพะเยา เดิมเป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมา มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยพะเยาได้แยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศอย่างเต็มรูปแบบ",
"title": "มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "291870#4",
"text": "ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "มหาวิทยาลัยพะเยา"
}
] | [
{
"docid": "641229#1",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นนโยบายของ ศ. (พิเศษ) ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ต้องการสร้างโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยพะเยาในคราวประชุมครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีมติให้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาขึ้น เป็นส่วนงานระดับกองอยู่ภายใต้สำนักงานอธิการบดี และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โรงเรียนจึงได้นับเอาวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นวันสถาปนาโรงเรียน ในระยะแรกมี รศ.ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ เป็นผู้อำนวยการท่านแรก โดยเปิดรับนักเรียนรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ระดับชั้นละ 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวม 120 คน และมีนักเรียนครบทุกระดับชั้นในปีการศึกษา 2557 รวมแล้วโรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนใน 6 ระดับชั้น ทั้งหมด 12 ห้องเรียน โดยใช้อาคารเรียนซึ่งเดิมเป็นอาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 12 หลัง เป็นอาคารเรียนชั่วคราว และกำลังก่อสร้างอาคารเรียนถารวร บนเนื้อที่ 91 ไร่ บริเวณถัดจากสนามกีฬามหาวิทยาลัยพะเยา โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน อาคารเรียน อาคารปฏิบัติการ โรงอาหาร หอสมุด หอประชุม อาคารกิจกรรมและหอพัก",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "183047#0",
"text": "วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา () ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ ณ อาคารศิวาเทล ต่อ อาคารเวฟเพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร",
"title": "วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "157367#0",
"text": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา () เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องตามเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) \nคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักวิชาการวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร",
"title": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "258199#0",
"text": "คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา () เป็นหน่วยงานวิชาการระดับคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร มาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมในเขตภาคเหนือตอนบน ช่วยสกัดกั้นและลดค่าใช้จ่ายของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในภูมิภาคเหนือตอนบนที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในสาขาวิชาด้านเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่ต้องเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนกลางหรือภูมิภาคอื่น",
"title": "คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "641229#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา (; ย่อ: สธ.มพ./DESUP) เป็นโรงเรียนสหศึกษา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยพะเยา โดยอาศัยการสนับสนุนทางด้านวิชาการจากคณะ และวิทยาลัยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันโรงเรียนมุ่งเป็นโรงเรียนแนวศิลปศาสตร์ (Liberal Arts Education) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบในการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และผลิตนักเรียนให้มีความสามารถ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ และความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "183047#1",
"text": "เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเดิมเป็นวิทยาเขตสารสนเทศมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยการบริหารของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี อธิการบดีและคณะผู้บริหารที่มีความรู้และประสบการณ์ สร้างมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง",
"title": "วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "915380#0",
"text": "คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา () เป็นหน่วยงานวิชาการในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548\nคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เดิมเป็นสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ได้ยกเลิกสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ แล้วแยกสาขาวิชาในสักกัด คือ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม ออกจัดตั้งเป็นสำนักวิชาใหม่คือ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ในสังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา และในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา เพื่อเตรียมการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และมีผลให้สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานวิชาการระดับคณะวิชา ตามบทบัญญัติในมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 คณะพยาบาลศาสตร์ จึงเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยพะเยา ตามประกาศดังกล่าว",
"title": "คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "183054#0",
"text": "คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา () เป็นหน่วยงานวิชาการระดับคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยพะเยา ทำการจัดการศึกษาด้านเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด\nคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ในชื่อสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ในคราวเดียวกันกับที่สภามหาวิทยาลัยนเรศวร มีมติให้เปลี่ยนชื่อวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 13 (4/2550) โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ 2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด และ 3) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งโอนย้ายมาจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเปิดหลักสูตรใหม่อีกหนึ่งหลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา",
"title": "คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "157855#0",
"text": "คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา () จัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยพะเยา เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 จัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาทางด้านการจัดการและบริหารธุรกิจ รวมถึงด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา",
"title": "คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "744133#1",
"text": "ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยพะเยาให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 แต่เดิมศูนย์ฯ เป็นส่วนงานหนึ่งภายในสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยโดยใช้ชื่อว่า ส่วนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา โดยเริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในเวลานั้นมหาวิทยาลัยพะเยาถือเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก",
"title": "ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา"
}
] |
1368 | อาลีเยนอร์แห่งอากีแตนเกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "159473#1",
"text": "พระราชินีอาลีเยนอร์ประสูติเมื่อราว ค.ศ. 1122 ที่ปราสาทเบแล็ง ฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของวิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตนและดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์ เป็นพระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137 ถึงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1152 และพระราชินีของอังกฤษในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1154 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189 นอกจากนั้นก็ยังเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ และทรงมีส่วนร่วมในการเดินทางไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 อาลีเยนอร์แห่งอากีแตนสิ้นพระชนม์เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1204 ที่อารามฟองเทวฟรอด์ ในฝรั่งเศส พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงเป็นสตรีที่มีฐานะดีและอำนาจมากที่สุดในยุโรปในยุคกลาง",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#0",
"text": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หรือ อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งอากีแตนและแกสโคนี และเคานทเทสแห่งปัวตู (ภาษาอังกฤษ: Eleanor of Aquitaine หรือ Aliénor) (ราว ค.ศ. 1122 - 1 เมษายน ค.ศ. 1204)",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
}
] | [
{
"docid": "159473#2",
"text": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตนทรงเป็นธิดาองค์โตของกีโยมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตน และดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์ ผู้เป็นธิดาของไอเมอริคที่ 1 ไวเคานท์แห่งแชเทลเลโรลท์และเคานเทสแดงเกอร์รูสผู้เป็นภรรยาน้อยของกีโยมที่ 9 ดยุกแห่งอากีแตนและพระอัยกีของพระราชินีอาลีเยนอร์ การเสกสมรสของพระบิดาและมารดาเป็นการจัดการโดยดยุกวิลเลียมที่ 9 พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงได้รับการขนานพระนามตามพระมารดาเอเนอร์เป็น “Aliénor” จากภาษาละติน “alia Aenor” ซึ่งแปลว่า “อาลีเยนอร์อีกคนหนึ่ง” พระนามกลายมาเป็น “Eléanor” ในภาษา และ “Eleanor” ในภาษาอังกฤษ",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#4",
"text": "ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1130 เมื่ออาลีเยนอร์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา วิลเลียมพระอนุชาผู้มีพระชนมายุ 4 พรรษาและพระมารดาก็สิ้นพระชนม์ที่ปราสาททาลมองต์ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของอากีแตน อาลีเยนอร์จึงกลายเป็นทายาทของแคว้นอากีแตนซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในฝรั่งเศสในเวลานั้น ปัวตูและอากีแตนรวมกันมีเนื้อที่กว่าหนึ่งในสามของฝรั่งเศสปัจจุบัน อาลีเยนอร์มีน้องที่เป็นธิดาในสมรสเพียงองค์เดียวชื่อเอลิธ (Aelith) แต่มักจะเรียกกันว่าเพโทรนิลลาแห่งอากีแตน พระเชษฐาต่างพระมารดา วิลเลียม และ จอสเซแล็ง ยอมรับกันว่าเป็นบุตรของดยุกวิลเลียมที่ 10 แต่มิได้เป็นมิสิทธิเป็นทายาท ต่อมาระหว่างสี่ปีแรกของรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ พระขนิษฐาและอนุชาสามพระองค์ก็เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนักของพระราชินีอาลีเยนอร์",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#6",
"text": "อาลีเยนอร์มีพระชนมายุได้ 15 พรรษาเมื่อได้เป็นดัชเชสแห่งอากีแตนซึ่งทำให้เป็นผู้ที่เป็นที่ต้องการในการเสกสมรสไปทั้งยุโรป ในสมัยนั้นการลักพาตัวของผู้มีตำแหน่งดีเป็นการกระทำที่ยอมรับกันว่าว่าเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะได้ดินแดนและตำแหน่งใหม่ แต่วิลเลียมบอกพินัยกรรมในวันที่สิ้นชีวิตยกอากีแตนให้อาลีเยนอร์และขอให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส พระนามเล่น “พระเจ้าหลุยส์อ้วน” ให้เป็นผู้ดูแลอาลีเยนอร์ ดยุกวิลเลียมขอให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ทรงดูแลทั้งแผ่นดินอากีแตนและอาลีเยนอร์ และให้หาสามีที่เหมาะสมให้ วิลเลียมสั่งให้รักษาข้อความในพินัยกรรมไว้เป็นความลับจนกว่าจะถึงพระหัตถ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ผู้ถือพินัยกรรมจึงเดินทางอย่างเร่งด่วนข้ามเทือกเขาพิเรนีสโดยแวะที่บอร์โดซ์เพื่อบอกข่าวแก่บาทหลวงแห่งบอร์โดซ์ก่อนที่จะเดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ที่ปารีส",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#3",
"text": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตนทรงได้รับการเลี้ยงดูขึ้นมาในราชสำนักที่ถือกันว่ามีวัฒนธรรมดีที่สุดราชสำนักหนึ่งในยุโรปในสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่กำเนิดของปรัชญารักในราชสำนัก (courtly love) ดยุกวิลเลียมที่ 10 พยายามส่งเสริมให้พระราชินีอาลีเยนอร์มีการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าภาษาแม่ของพระราชินีอาลีเยนอร์จะเป็นภาษาปัวเตแวน (Poitevin) แต่ก็ทรงได้รับการศึกษาในภาษาละติน การดนตรี วรรณคดี การทรงม้า การล่าด้วยเหยี่ยว และการล่าสัตว์ อาลีเยนอร์มีพระลักษณะที่ชอบการสังคม มีพระปรีชาสามารถฉลาดเฉลียว และทรงมีชื่อว่าเป็นผู้มีหัวแข็ง นอกจากนั้นก็ทรงมีชื่อว่ามีพระสิริโฉมงดงามโดยผู้คนร่วมสมัยแต่ไม่มีหลักฐานคำบรรยายความงามของพระองค์หลงเหลืออยู่",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#37",
"text": "ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1173 เฮนรียุวกษัตริย์ หรือ เฮนรีเคานท์แห่งอองจู (พระราชโอรสองค์ที่สอง) ไม่ทรงพอใจที่พระราชบิดาไม่ยอมให้มีอำนาจใดใด และทรงได้รับการยุยงจากผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าเฮนรีให้ก่อการปฏิวัติ เฮนรีทรงหลบหนีไปปารีส ที่ปารีสทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส เฮนรีกลับมาอากีแตนอย่างลับๆ เพื่อมาชักชวนพระอนุชาอีกสองพระองค์ ริชาร์ดและเจฟฟรี ที่ยังประทับอยู่กับพระราชินีอาลีเยนอร์ให้เข้าร่วมด้วย พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงส่งพระโอรสทั้งสององค์ไปฝรั่งเศสเพื่อให้ไปช่วยเฮนรีก่อการปฏิวัติต่อพระราชบิดา เมื่อส่งพระโอรสไปแล้วพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ยุยงให้ขุนนางทางใต้ให้ลุกขึ้นสนับสนุนพระโอรส ระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมพระราชินีอาลีเยนอร์ก็เดินทางจากปัวตีเยไปปารีสแต่ทรงถูกจับระหว่างทางและถูกส่งไปให้พระเจ้าเฮนรีที่รูออง พระเจ้าเฮนรีก็มิได้ทรงประกาศข่าวการจับอย่างเป็นทางการ ปีต่อมาก็ไม่เป็นที่ทราบว่าที่ประทับของพระราชินีอาลีเยนอร์อยู่ที่ใด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1174 พระเจ้าเฮนรีก็เสด็จกลับอังกฤษจากบาร์เฟลอร์ทรงนำพระราชินีอาลีเยนอร์กลับไปด้วย เมื่อเรือถึงท่าที่เซาทแธมตันพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ถูกนำตัวไปกักขังไม่ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ก็ที่ปราสาทเซรัมที่เมืองซอลทบรี",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#29",
"text": "ทีโอโบลด์ที่ 5 เคานท์แห่งบลัวส์บุตรของทีโอโบลด์ที่ 2 เคานท์แห่งชองปาญ และเจฟฟรีที่ 6 เคานท์แห่งอองจูพระอนุชาของเฮนรีที่ เคานท์แห่งอองจูและดยุกแห่งนอร์มังดี พยายามลักตัวพระราชินีอาลีเยนอร์ในระหว่างที่ทรงเดินทางไปปัวตีเย เพื่อแต่งงานด้วยเพื่อจะได้ผนวกดินแดนที่เป็นของพระราชินีอาลีเยนอร์ เมื่อเสด็จถึงปัวตีเยพระราชินีอาลีเยนอร์จึงทรงรีบส่งตัวแทนไปเฝ้าเฮนรีที่ เคานท์แห่งอองจูและดยุกแห่งนอร์มังดีเพื่อขอให้เสด็จมาปัวตีเยเป็นการด่วนเพื่อจะได้มาเสกสมรสกับพระองค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1152 หกอาทิตย์หลังจากการแต่งงานครั้งแรกถูกประกาศให้เป็นโมฆะพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ทรงเสกสมรสกับดยุกเฮนรี ที่ มหาวิหารบอร์โดซ์ ในพิธีอย่างง่าย “โดยไม่มีพิธีรีตองตามที่ควรแก่ตำแหน่ง” พระราชินีอาลีเยนอร์มีพระชนมายุแก่กว่าดยุกเฮนรี 11 พรรษา แต่ทรงมีความใกล้ชิดกับดยุกเฮนรีมากกว่าพระเจ้าหลุยส์ ทั้งสองพระองค์เป็นพระญาติห่างๆ โดยทรงสืบเชึ้อสายมาจาก เออร์แมงการ์ดแห่งอองจู (Ermengarde of Anjou) (ภรรยาของโรเบิร์ตที่ 1 ดยุกแห่งเบอร์กันดี และเจฟฟรี เคานทแห่งเกติเนส์) นอกจากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ยังสืบเชื้อสายมาจากโรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุกแห่งนอร์มังดี (พระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ)",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#8",
"text": "เจ้าชายหลุยส์เสด็จไปถึงบอร์โดซ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พอวันรุ่งขึ้นก็ทรงพบกับเจฟฟรีย์แห่งโลรูซ์บาทหลวงแห่งบอร์โดซ์ผู้ดูแลอาลีเยนอร์และเพโทรนิลลา เจ้าชายหลุยส์และอาลีเยนอร์ทรงเสกสมรสกันที่มหาวิหารแซ็ง-อองเดรแห่งบอร์โดเป็นพิธีใหญ่โตมีผู้เข้าร่วมพิธีราวพันคน แต่ในเรื่องดินแดนมีข้อแม้ว่าดินแดนอากีแตนเป็นอิสระจากฝรั่งเศส และจะรวมกับฝรั่งเศสก็ต่อเมื่ออาลีเยนอร์มีพระโอรส พระโอรสองค์โตที่เกิดกับอาลีเยนอร์จึงจะได้ดำรงพระอิสริยศเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินของฝรั่งเศสและดยุกแห่งอากีแตน ฉะนั้นดินแดนของอาลีเยนอร์จะไม่ได้รับการผนวกกับฝรั่งเศสจนรุ่นพระโอรสถ้าทรงมี ของขวัญที่อาลีเยนอร์ถวายเจ้าชายหลุยส์ในวันเสกสมรสเป็นแจกันทำจากควอตซ์ (rock crystal vase) ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "972705#1",
"text": "เอเลนอร์เสด็จพระราชสมภพในปราสาทที่ดงฟรง ดัชชีนอร์ม็องดี ในปี ค.ศ. 1161 เป็นพระธิดาคนที่สองของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษกับพระมเหสี อาลีเยนอร์ ดัชเชสแห่งอากีแตน และมีอ็องรีแห่งมาร์ซีเป็นผู้ทำพิธีศีลล้างบาป พระเชษฐภคินีต่างบิดาของพระองค์คือเคาน์เตสมารีกับเคาน์เตสอาลิกซ์ ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ เฮนรียุวกษัตริย์, ดัชเชสมาทิลดา, พระเจ้าริชาร์ด, ดยุคเจฟฟรี, พระราชินีโจน และพระเจ้าจอห์น เอเลนอร์มีพระเชษฐาอีกหนึ่งคนคือวิลเลียม พระโอรสคนโตของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 กับอาลีเยนอร์แห่งอากีแตนที่สิ้นพระชนม์ในการยึดปราสาทวอลลองฟอร์ด และถูกฝังในอาสนวิหารเรดิงที่ปลายเท้าของพระปัยกา พระเจ้าเฮนรีที่ 1",
"title": "เอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งกัสติยา"
}
] |
1377 | นิกายเจได ทำหน้าที่อะไร ? | [
{
"docid": "6175#0",
"text": "เจได เป็นสมาชิกของ นิกายเจได ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส นิกายเจไดเป็นนิกายที่ศึกษาและทำหน้าที่และใช้พลังลึกลับของสิ่งที่เรียกว่าพลังในด้านสว่าง เจไดได้ต่อสู้เพื่อสันติภาพและความยุติธรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยในสาธารณรัฐกาแลคติค รวมทั้งต่อต้านกับ ซิธ ศัตรูที่ร้ายกาจ ผู้ที่เรียนรู้และใช้พลังด้านมืด แม้ว่านิกายนี้เกือบจะถูกทำลายถึงสองครั้ง ครั้งแรกโดยจักรวรรดิซิธของดาร์ธ รีแวน และ ครั้งต่อมาเมื่อผ่านไปอีก 4,000 ปี โดยการชำระบาปครั้งใหญ่ของดาร์ธ ซิเดียส นิกายยังคงอยู่จนกระทั่งรุ่งเรืองขึ้นด้วยความพยายามของ ลุค สกายวอล์คเกอร์ ผู้ก่อตั้งนิกายเจไดใหม่เพื่อปกป้องสาธารณรัฐใหม่ หลังจากนั้นก็ได้เป็นตัวแทนของ สหพันธรัฐพันธมิตรอิสระกาแลกติก (Galactic Federation of Free Alliances)",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "6175#11",
"text": "ในการปฏิบัติตามหลักของเจได การปฏิบัติตัวของเจไดจะต้องไม่สั่นคลอนเพื่อยืนหยัดในระเบียบวินัยของตนเอง มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือสาธารณะ เจไดต้องควบคุมความรู้สึกและความเห็นแก่ตัว พวกเขามีชีวิตที่มีเกียรติ มีหลักเกณฑ์ ในนิกายเจไดความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และศิษย์ เจไดมักช่วยสนับสนุนและปกป้องความอ่อนแอ กฎของการผูกมัด เช่น ความรู้สึก ความคิดเห็น ดั่งความเข้าใจในด้านมืดและสว่างในทุกสิ่ง เรียนรู้ที่จะเห็นอย่างระมัดระวัง เปิดตาของพวกเขาเพื่อรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ชัดแจ้งและปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง แม้กระทั่งสนใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ สำคัญที่สุด เจไดทำหน้าที่เพื่อสาธารณรัฐและเป็นหนึ่งเดียวกับพลัง เหล่าเจไดก่อนที่รูซานน์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบมีหนทางหลายหนทางในการปฏิบัติของพวกเขา นิกายมีการจัดรวมที่หละหลวมและอัศวินเอกชนและปรมาจารย์ยอมให้อิสระส่วนตัวมากกว่า ภายหลัง นิกายมีศูนย์กลางสำคัญคือสภาสูง",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "6175#24",
"text": "นิกายเจไดยังมีส่วนในการตอบโต้กับอาชญากรรมอีกด้วย พวกเขาอาจเป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไปของกาแลคซี,แต่ยังมีกลุ่มของเจไดที่ทำหน้าที่สืบสวนในอาชญากรรมนั้นๆ การสืบสวน การแก้ปัญหา และการป้องกันซิธ เป็นชื่อเรียกของเหล่าอัศวินเจไดที่หลงไปในด้านมืดของพลังซึ่งชวนหลงใหลมากกว่า และเข้าถึงได้ง่ายกว่าพลังด้านสว่าง มักจะเป็นศัตรูกับเจไดที่ภักดีต่อพลังด้านสว่างทำให้ก่อสงครามมากมาย",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "6175#22",
"text": "การเป็นเจไดคือชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ในฐานะนิกายเจไดซึ่งต้องมีตวามรับผิดชอบสูง ขณะที่เจไดส่วนมากเป็นเจไดรักษาการ บางที่อาจทำหน้าที่พิเศษในบริเวณไม่มากก็น้อย แต่ในการเห็นพ้องต้องกันกับความสนใจของพวกเขาและการเลื่อน หรือเพราะพวกเขาถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับพื้ที่ซึ่งต้องการหน่วยพิเศษทำ ด้วยการเป็นหน่วยพิเศษนี้มักกลายเป็นเจไดที่ไม่เหมือนคน ยิ่งกว่านั้น ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของกาแล็กซี่ เจไดบางคนจะทำหน้าที่ทางการทหารและสู้รบเคียงข้างกับกองกำลังของสาธารณรัฐ",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "6175#23",
"text": "ในช่วงสงคราม โดยเฉพาะเมื่อกองกำลังซิธปรากฏตัวขึ้น เจไดอาจต้องปฏิบัติหน้าที่ในทางทหารและบัญชาการกองทัพแห่งสาธารณรัฐ อย่างที่เห็นในสงความแมนดาลอเรี่ยน สงครามกลางเมืองเจไดสงครามซิธใหม่ และสงครามโคลน ดังนั้น เจไดจึงกลายเป็นทหารไม่ใช่แค่ผู้รักษาความสงบในตำแหน่งอื่นๆ ที่เพิ่มมาจากตำแหน่งธรรมดา มีจำนวนของยศและตำแหน่งอยู่บนพื้นฐานของหน่วยพิเศษในพื้นที่ของสงครามและการต่อสู้\nเจไดบางคนอาจเชี่ยวชาญในเรื่องเก่าๆ เช่นในประวัติศาสตร์ของกาแล็กซี่ พลัง และนิกายเจไดสร้างความรู้ที่หาค่ามิได้\nเจไดผู้ระวังภัยจะคอยตรวจตราเจาะจงในเฉพาะระบบและเขต เนื่องจากทำหน้าที่คล้ายกับนายทหารที่ติดต่อระหว่างทั้งสองกองทัพ ระหว่างระบบหรือเขตกับสภาเจได เจไดผู้ระวังภัยมักจะมีทักษะในด้านการทูตและความรู้ด้านวัฒนธรรมศาสนาของระบบหรือเขตนั้นๆ ที่พวกเขาจับตามองอยู่สูง เจไดผู้ระวังภัยมักจะมาจากระบบหรือเขตที่พวกเขาทำหน้าที่ดูแลอยู่นั่นเอง",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "71258#2",
"text": "เมซ วินดูปฏิบัติหน้าที่ให้กับนิกายเจไดมาตลอดทั้งชีวิต ทั้งยังเป็นผู้ฝึกฝนเจไดจำนวนมาก รวมถึงเอชู เชนจอน และเดป้า บิลลาบา อาจารย์วินดูคนนี้นี่เองที่เป็นผู้นำอัศวินเจได 212 คน เข้าร่วมยุทธการจีโอโนซิสและกำราบนักล่าเงินรางวัลแจงโก เฟตต์ ผู้ร้ายกาจลงได้เป็นผลสำเร็จ เขารับใช้สาธารณรัฐตลอดทั้งสงครามโคลน ในสงครามโคลนพวกเจไดได้ถูกไปปฏิบัติภารกิจ ณ สถานที่ต่างและสภาเจไดเหลือเจไดเพียง 2 คนซึ่งได้แก่โยดาและเมซ วินดู ขณะนั้นนายพลกรีวัสได้นำกองทัพบุกนครหลวงคอรัสซังและพวกทหารดรอยได้โจมตีวิหารเจไดโยดาและเมซ วินดูได้ต่อสู้กับทหารดรอยนับแสนจนล่าถอยไปและมักจะเข้าร่วมการสู้รบในแนวหน้าอย่างดุเดือด อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ได้บอกว่าพัลพาทีนคือ ดาร์ธ ซีเดียส เมซ วินดู จึงนำกำลังเข้าจับกุมและได้ประลองกระบี่ไลเซเบอร์ ขณะที่ดาร์ธ ซีเดียสเสียท่า ได้ใช้พลังสายฟ้าฟาดเข้าใส่เมซ วินดู แต่ก็สามารถปัดป้องพลังงานดังกล่าวและได้สะท้อนกลับไปยังดาร์ธ ซีเดียส ส่งผลให้มีร่างกายที่บิดเบี้ยว แต่แล้วเมซ วินดูก็ถูกอนาคิน สกายวอร์คเกอร์หักหลัง โดยการตัดแขนและถูกพลังสายฟ้าจนตาย การเสียชีวิตของเมซ วินดู ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่",
"title": "เมซ วินดู"
}
] | [
{
"docid": "6175#17",
"text": "เส้นทางของเจไดนั้นเป็นชีวิตที่ยืนยาว เจไดมักใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ในนิกาย เรียนรู้เกี่ยวกับนิกายและพลังมากขึ้น และเดินตามเจตนารมณ์ของสภาเจได จนกระทั่งเกิดสงครามโคลน ซึ่งมีเจไดเพียง 20 คนเท่านั้น (ทั้งอัศวินหรือสูงกว่า) กล่าวว่าจะออกจากนิกาย อย่างผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดเคาท์นดูกูและปรมาจารย์ฟาเนียส พวกเขาเหล่านี้ถูกเรียกว่าผู้สูญหายทั้ง 20 หรือเรียกง่ายๆ ว่า\"ผู้หลงทาง\"",
"title": "เจได"
},
{
"docid": "71085#3",
"text": "การมีส่วนร่วมครั้งสำคัญที่สุดของเหล่าเจไดเกิดขึ้นในระหว่างสงครามยูซาน วอง การปกป้องกาแลกซีจากการคุกคามครั้งนี้ทำให้นิกายเจไดใหม่ถูกใส่ความจากประชาชนกาแลกซีและถูกทรยศหักหลังในหลายครั้งหลายครา ทั้งๆ ที่การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ทำให้นิกายต้องสูญเสียอัศวินไปเกือบครึ่งหนึ่ง หลังจากความขัดแย้งครั้งนี้แล้ว นิกายก็เพิ่มความดุดันและรวมศูนย์อำนาจเข้ามากขึ้น จนเริ่มเติบโตและรับใช้กาแลกซีได้ในอีกหลายสิบปีต่อมา จนกระทั่งเข้าสู่สงครามจักรวรรดิ-ซิธซึ่งทำให้นิกายเจไดใหม่ต้องกระจัดกระจายออกไปอีกครั้งและทำให้สมาชิกนิกายหลายคนต้องหลบซ่อนตัว กลายเป็นผู้ลี้ภัยอีกครั้ง",
"title": "นิกายเจไดใหม่"
},
{
"docid": "71309#1",
"text": "โดยปกติแล้ว ตำแหน่งอาจารย์เจไดจะถูกมอบให้กับอัศวินเจไดที่สามารถฝึกฝนพาดาวันจนเป็นอัศวินได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อใดที่ผู้สอนรู้สึกว่าพาดาวันของตนพร้อมแล้วนั้นสภาเจไดก็จะเลื่อนขั้นให้กับทั้งคู่ตราบใดที่ศิษย์คนนั้นสามารถผ่านการทดสอบได้ หลังจากนั้นอาจารย์เจไดสามารถนำผู้ฝึกคนใหม่เข้ามาฝึกฝนได้อีก อัศวินที่ไม่ได้รับฝึกสอนพาดาวันอาจเข้ารับการทดสอบอีกครั้งเพื่อขอรับตำแหน่งอาจารย์เจไดได้ แต่การทดสอบมักจะยากขึ้นกว่าเดิมและมักมีข้อทดสอบมากข้อขึ้น ตำแหน่งอาจารย์เจไดอาจถูกมอบให้กับอัศวินเจไดที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดีกรณีนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และที่ยิ่งไม่บ่อยไปกว่านั้นอีกอย่างในกรณีที่อัศวินเจไดอาจจะถือเอาเองว่าตนเองเป็นอาจารย์เจได เช่นกรณีของโจรุส คับบาออธ อย่างไรก็ดีในกรณีของโจรุสนั้นการถือเอาเองของเขาไม่เป็นข้อกังขาแม้แต่กับสภาเอง (ตัวโคลนของโจรุสก็ถือเอาเองว่าตนเป็นอาจารย์เจไดเช่นกัน) เชื่อกันว่าเจไดพลัดถิ่นอาจจะถือเอาเองว่าตนเป็นอาจารย์เจไดได้ในลักษณะเดียวกัน ตัวลุค สกายวอล์คเกอร์เอง หลังจากต้องฝ่าฟันอุปสรรคจำนวนมากเพื่อก่อตั้งนิกายใหม่ก็ถือเอาตำแหน่งอาจารย์เจไดขึ้นเองหลังจากเขามีพลังมากขึ้นจากการเข้าเป็นผู้ฝึกกับพัลพาทีนคืนชีพ",
"title": "อาจารย์เจได"
},
{
"docid": "71085#2",
"text": "การฟื้นฟูเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในระยะแรกนั้นนิกายเจไดใหม่มีสถานะเป็นกลุ่มของผู้มีสัมผัสแห่งพลังจำนวนหนึ่งที่มีพื้นฐานการฝึกฝนต่างๆ กัน ความพยายามในการฝึกสอนอัศวินใหม่ๆ นั้นถูกทำลายลงโดยจักรพรรดิที่คืนชีพขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ดีลุค สกายวอล์คเกอร์ ก็สามารถก่อตั้งสถาบันฝึกสอนเจไดได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีในชื่อ เจไดพราเซียม บนดวงจันทร์ยาวิน 4 เริ่มแรกด้วยผู้เรียนจำนวน 12 คน นิกายเริ่มเติบโตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณจนกลายเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญของสาธารณรัฐใหม่ที่เป็นผู้ให้การสนับสนุน ทำให้นิกายเจไดใหม่กลายเป็นเป้าโจมตีโดยศัตรูของสาธารณรัฐ อย่างเช่นพลเรือตรีดาลา (Admiral Daala), จักรวรรดิคืนชีพ (The Empire Reborn) และอาณาจักรที่สอง (The Second Imperium) สมาชิกของนิกายได้เข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งครั้งสำคัญๆ ของกาแลกซี รวมไปถึงสงครามนาไก-ทอฟ (Nagai-Tof War), ปฏิบัติการเงื้อมมือเงา (Operation Shadow Hand), วิกฤติการณ์กองยานทมิฬ (Black Fleet Crisis) และการจลาจลคอเรลเลียนครั้งที่หนึ่ง (First Corellian Insurrection)",
"title": "นิกายเจไดใหม่"
}
] |
1380 | โรงพยาบาลแห่งแรกของไทยคือที่ใด ? | [
{
"docid": "39490#0",
"text": "โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์",
"title": "โรงพยาบาลศิริราช"
}
] | [
{
"docid": "347730#1",
"text": "วชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง มอบไว้เป็นสาธารณสถานแก่ประชาชนให้เป็นที่พยาบาลผู้ป่วยไข้ต่อไป พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า \"วชิรพยาบาล\"",
"title": "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"
},
{
"docid": "194511#1",
"text": "โรงพยาบาลราชวิถี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2494 โดยใช้ชื่อว่า \"โรงพยาบาลหญิง\" ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อให้เป็น โรงพยาบาลเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย อำนวยการโดยนายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการ และอีกเดือนต่อมา นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และได้รับความไว้วางใจในการเข้าการรักษาจากประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อการผ่าตัดแฝดสยาม วันดี ศรีวัน แยกออกจากกันสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลอย่างมาก",
"title": "โรงพยาบาลราชวิถี"
},
{
"docid": "284963#2",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 จังหวัดเพชรบุรีก็ได้มีโรงพยาบาลที่ทำการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณวัดไชยสุรินทร์(วัดน้อย) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยมีนายแพทย์ อี.เอ สาติรช เป็นผู้ดูแลคณะแพทย์มิชชันนารี จำนวน 11 คน ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติงาน กิจการของโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการกระทั่งปี 2477 ก็ได้ปิดกิจการลงโดยไม่ทราบสาเหตุ",
"title": "โรงพยาบาลพระจอมเกล้า"
},
{
"docid": "360591#2",
"text": "ในปี พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งศูนย์หัวใจขึ้นเป็นแห่งแรกของโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคตะวันออก ที่ชั้น 3 อาคารบี ต่อมาได้ย้ายไปที่ชั้น 4 อาคารอีให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มเตียงรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหัวใจจาก 8 เตียง เป็น 29 เตียง พร้อมด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน CCU ปี พ.ศ. 2547 ได้รับมาตรฐานการรับรองกระบวนการคุณภาพ Hospital Accreditation ซึ่งเป็นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ด้วยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับรางวัลการจัดการโรงพยาบาลดีเยี่ยมแห่งเอเชีย 3 ปีซ้อน คือ HMA Award : 2004 ในปี พ.ศ. 2547 HMA Award : 2005 ในปี พ.ศ. 2548 HMA Award : 2006 ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2552 ได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับนานาชาติ JCI (Joint Commission International)",
"title": "โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา"
},
{
"docid": "68402#12",
"text": "เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก \"สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม\" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง",
"title": "โรงพยาบาลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "998087#2",
"text": "หอพักสงเคราะห์แห่งแรกในประเทศไทยเชื่อกันว่าคือ \"สะพายเป้ โฮสเท็ล\" บนถนนสุรศักดิ์ เขตบางรัก ซึ่งเปิดทำการมาก่อนปี พ.ศ. 2554 และได้ปิดตัวลงในราวปี พ.ศ. 2559 ธุรกิจหอพักสงเคราะห์ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่แพร่หลายในถนนข้าวสารและบริเวณแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครราวปี พ.ศ. 2557–2558 สังเกตได้จากหอพักสงเคราะห์แห่งแรก ๆ เช่น หลับดีโฮสเท็ล (Lub-D Hostel), เบด สเตชั่น โฮสเท็ล (Bed Station Hostel), เดอะยาร์ดโฮสเท็ล (The Yard Hostel), มอนอเมอร์โฮสเท็ล (Monomer Hostel) เป็นต้น ในปีเดียวกันธุรกิจหอพักสงเคราะห์ก็เริ่มแพร่หลายในจังหวัดท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (โดยเฉพาะบนถนนนิมมานเหมินทร์), เกาะเต่า, เกาะสมุย, พัทยา และภูเก็ต",
"title": "หอพักสงเคราะห์"
},
{
"docid": "76392#10",
"text": "ในปี พ.ศ. 2494 เริ่มจัดตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในพระนครโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ M.S.A. สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยมีเลือดให้ผู้ป่วยเป็นชนิดเลือดสดและน้ำเหลืองแห้งทั้งแข็งและเป็นผง ส่งให้โรงพยาบาลทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ได้เปิดการอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นผู้ชำนาญในการถ่ายเลือด โดยศึกษา 1 ปี ในตำแหน่งชั้นตรี พร้อมกับผลิตตำราเพื่อตั้งและบริหารธนาคารเลือดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพระนครและชนบท จากนั้นได้จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลวิสัญญีทางการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีนี้ ศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ได้ตำแหน่งชั้นตรี มีการสร้างตำราวิสัญญีพยาบาลเป็นคู่มือในการศึกษาจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 44 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนพันกว่ารายทำงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในปัจจุบัน กิจการการสอนการอบรมทางประสบการณ์ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "224603#0",
"text": "โรงพยาบาลรามคำแหง เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาด 450 เตียง ได้เปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ประกอบด้วยอาคารผู้ป่วย 3 หลัง ขณะนี้โรงพยาบาลเข้าเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงพยาบาลในเครือรวม 22 แห่ง \nธุรกิจหลักเป็น ให้บริการรักษาพยาบาลโรคทั่วไป (General Hospital) ในกลุ่มบริษัทร่วมและโรงพยาบาลในเครือที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเหมือนกันจะมีลักษณะต่างฝ่ายต่างประกอบธุรกิจทางด้านการรักษาพยาบาลในพื้นที่ของตนเอง",
"title": "โรงพยาบาลรามคำแหง"
},
{
"docid": "818770#0",
"text": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดในสังกัดสภากาชาดไทย ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า",
"title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา"
},
{
"docid": "104288#13",
"text": "สำหรับงานนิติเวชศาสตร์ภายนอกมหาวิทยาลัย ในขณะที่กรมตำรวจมีชื่อว่า กรมกองตระเวน อยู่นั้น กระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นหลังหนึ่ง ที่ตำบลพลับพลาไชยใน พ.ศ. ๒๔๔๑ แรกเริ่มทำการรักษาผู้ป่วย ที่เป็นกามโรคส่วนใหญ่ จึงเรียกกันว่า \"โรงพยาบาลหญิงหาเงิน\" ต่อมาโรงพยาบาลนี้ช่วยรักษาพยาบาลพลตระเวน (พลตำรวจ) พิสูจน์บาดแผล และชันสูตรพลิกศพเพื่อประกอบการสืบสวนสอบสวนคดีต่างๆ จึงมีผู้เรียกชื่อโรงพยาบาลนี้ว่า \"โรงพยาบาลพล ตระเวน\" และบางคนก็เรียกว่า \"โรงพยาบาลวัดโคก\" (วัดโคกคือวัดพลับพลาไชย) ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ กรมสุขาภิบาลได้รับโอนโรงพยาบาลดัง กล่าว และเปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงพยาบาลกลาง\" และใช้ชื่อนี้มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบัน สังกัดอยู่ในกรุงเทพมหานคร แม้จะโอนจากกรมกองตระเวนแล้ว และกรมกองตระเวนกับกรมตำรวจภูธรได้รวมกัน เป็นกรมตำรวจ ในปีเดียวกันนั้น โรงพยาบาลกลางก็ยังคงทำหน้าที่รับคนไข้ที่เป็นคดีที่ตำรวจส่ง ได้แก่ คนไข้อุบัติเหตุ บาดแผลต่างๆ เป็น ส่วนใหญ่ จึงนับว่าโรงพยาบาลกลางเป็นที่ให้บริการทาง นิติเวชศาสตร์ที่สำคัญก่อนโรงพยาบาลศิริราช สำหรับ ผู้ป่วยโรคจิตที่มีคดีนั้น จะถูกนำตัวเข้าไปตรวจรักษาที่ \"โรงพยาบาลคนเสียจริต ปากคลองสาน\" ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยครั้งแรกได้นำคนเสียจริต ๓๐ คนมา ไว้รวมกัน ต่อมาได้รับการปรับปรุงเป็นโรงพยาบาลที่ ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท และได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา\" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อมา กิจการของโรงพยาบาลแห่งนี้ ก้าวหน้าทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ และได้มีการตรวจรักษาทางโรคระบบประสาท และประสาทศัลยศาสตร์ด้วย เนื่องจากคนไข้โรคจิต ที่มีคดี มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้อง พิสูจน์ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะเป็นโรคจิตและรู้สึกผิด ชอบหรือไม่ ถ้าเป็นโรคจิต ก็ต้องรักษาจนกว่าผู้ป่วยจะ ต่อสู้คดีได้ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ตรวจรักษาคน ไข้ดังกล่าวให้พอเพียง จึงได้มีการก่อตั้ง \"โรงพยาบาลนิติจิตเวช\" ขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่งที่พุทธมณฑล ตำบลทวีวัฒนา อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓",
"title": "นิติเวชศาสตร์"
}
] |
1390 | กระดูกค้อนทำหน้าที่อะไร? | [
{
"docid": "167570#0",
"text": "กระดูกค้อน () เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนค้อน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่งและยึดเกาะกับพื้นผิวด้านในของเยื่อแก้วหู (eardrum) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังกระดูกทั่ง",
"title": "กระดูกค้อน"
},
{
"docid": "167559#3",
"text": "เมื่อคลื่นเสียงเดินทางเข้ามาในหูชั้นนอก และทำให้เยื่อแก้วหูสั่นสะเทือน จะทำให้กระดูกค้อนซึ่งเป็นกระดูกที่ถัดเข้ามาและยึดเกาะกับเยื่อแก้วหูเคลื่อนที่ กระดูกค้อนจะส่งผ่านความสั่นสะเทือน ผ่านกระดูกทั่ง ไปยังกระดูกโกลน และสุดท้ายไปยังเยื่อของช่องรูปไข่ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าสู่เวสทิบูลของหูชั้นใน",
"title": "กระดูกหู"
}
] | [
{
"docid": "167575#0",
"text": "กระดูกทั่ง () เป็นกระดูกหูขนาดเล็กที่อยู่ในหูชั้นกลาง มีรูปร่างเหมือนทั่ง เชื่อมต่อกับกระดูกค้อน (malleus) และกระดูกโกลน (stapes)\nกระดูกชิ้นนี้ค้นพบครั้งแรกโดย Alessandro Achillin of Bologna กระดูกทั่งทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่นสะเทือนจากกระดูกค้อนไปยังกระดูกโกลน กระดูกนี้พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และวิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรบนของสัตว์เลื้อยคลานเรียกว่า กระดูกควอเดรต (quadrate bone)",
"title": "กระดูกทั่ง"
},
{
"docid": "543230#9",
"text": "หลักการเบื้องต้นก็คือ นำน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากๆขึ้นมา แยกสิ่งเจือปนออก แล้วทำให้ความดันและอุณหภูมิลดลง ได้ไอน้ำ เอาแรงอัดของไอน้ำไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า ไอน้ำที่ออกมาจากกังหันจะถูกทำให้เย็นลง แล้วนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปล่อยกลับลงไปใต้ดินใหม่ เทคนิคของแต่ละโรงไฟฟ้า อาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนกว่านี้ ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงกว่า 20% เช่น ให้ไอน้าถ่ายเทความร้อนให้สารอย่างไอโซบิวทีน ที่มีจุดเดือดต่ำกว่า เป็นต้น",
"title": "พลังงานความร้อนใต้พิภพ"
},
{
"docid": "116321#1",
"text": "ระบบแบบวงจรปิด(Close-cycle system) มีหลักการทำงานจากการแลกเปลี่ยนความร้อนจากผิวน้ำทะเลที่อุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ของเหลวทำงาน(Working Fluid) เช่น แอมโมเนียซึ่งจะถูกทำให้เดือดที่อุณหภูมิประมาณ 20 องศาร์ C. ที่ความดันบรรยากาศ จนกลายเป็นไอ ไอที่ขยายตัวนี้ จะไปขับกังหันที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า น้ำทะเลที่เย็นจะไหลผ่านเข้าไปในคอนเด็นเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เปลียนไอของของเหลวทำงานกลับไปเป็นของเหลวอีกครั้งและวนการทำงานทั้งหมดเป็นวงจรปิด",
"title": "พลังงานคลื่น"
},
{
"docid": "167570#1",
"text": "กระดูกค้อนเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรล่างในสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ เรียกว่า กระดูกอาร์ติคิวลาร์ (articular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลาน",
"title": "กระดูกค้อน"
},
{
"docid": "759813#2",
"text": "มีความต้องการหลักหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นพอ ความไม่แน่นอนในชั้นบรรยากาศ ความชื้นสูงในโทรโพสเฟียร์ระดับต่ำถึงกลาง มีแรงคอริโอลิสอย่างเพียงพอในการพัฒนาของศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ พื้นที่ระดับต่ำหรือหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีอยู่เดิม และลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำ แม้เงื่อนไขเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน พวกมันก็ไม่ได้รับประกันว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นเสมอไป",
"title": "การกำเนิดพายุหมุนเขตร้อน"
},
{
"docid": "159866#1",
"text": "หน้าที่ของกระดูกชนิดนี้คือทำหน้าที่ปกป้องเอ็นกล้ามเนื้อและช่วยเพิ่มความได้เปรียบเชิงกล การมีกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อจะช่วยให้เอ็นกล้ามเนื้ออยู่ห่างจากศูนย์กลางของข้อเล็กน้อย ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มความยาวแขนโมเมนต์ในการหมุน นอกจากนั้นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อยังช่วยป้องกันไม่ให้เอ็นแบนเข้าไปในข้อต่อเมื่อความตึงมากขึ้น และช่วยคงให้แขนโมเมนต์คงที่ไม่ว่าจะต้องรับแรงมากเท่าใด กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อแตกต่างจากเมนิสคัส (Meniscus) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายที่ลงบนข้อต่อและช่วยลดแรงเสียดทานขณะที่เคลื่อนไหว",
"title": "กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ"
},
{
"docid": "116321#2",
"text": "ระบบแบบวงจรเปิด(Open cycle system) มีหลักการทำงานจากการที่ใช้น้ำพผิวทะเลที่อุ่นเป็นของเหลว ทำงานน้ำจะถูกทำให้กลายเป็นไอในสภาพเกือบเป็นสูญญากาศ ที่อุณหภูมิผิวน้ำ ไอน้ำที่ขยายตัวขึ้นจะเป็นตัวขับกังหันความดันต่ำที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่ไม่มีเกลือและเกือบจะเป็นน้ำบริสุทธิ์จะกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งจากการนำไปผึ่งกับอุณหภูมิเย็นของน้ำทะเลลึก ถ้าการกลั่นตัวไม่ได้เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงของไอน้ำกับน้ำทะเล น้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวนี้ สามารถนำไปใช้ดื่มกิน หรือใช้ในการชลประทานได้",
"title": "พลังงานคลื่น"
},
{
"docid": "133643#0",
"text": "ค้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายกระดูกของมนุษย์ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้วย",
"title": "ค้อน"
}
] |
1393 | เครือข่ายบิตคอยน์ สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "608027#4",
"text": "ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ชื่อโดเมน \"bitcoin.org\" ถูกตั้งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ลิงค์ไปยังเอกสารในหัวข้อ \"บิตคอยน์:ระบบเงินอิเลคโทรนิคแบบเพียร์ทูเพียร์\" เขียนโดย ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ถูกส่งไปยังกลุ่มรายชื่อของอีเมล์ของวิทยาการเข้ารหัสลับ นากาโมโตะนำซอฟต์แวร์บิตคอยน์มาใช้เป็นโค้ดแบบโอเพนซอร์ซและเปิดตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ขณะนั้นจนถึงตอนนี้ตัวตนของนากาโมโตะยังไม่ถูกเปิดเผย",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#5",
"text": "ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 เครือข่ายบิตคอยน์ถือกำเนิดขึ้นหลัง ซาโตชิ นากาโมโตะ เริ่มขุดบล็อกแรกของเชนที่เรียกว่า \"บล็อกกำเนิด\" ที่ให้รางวัลจำนวน 50 บิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#0",
"text": "บิตคอยน์ () เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง \"ซาโตชิ นากาโมโตะ\" และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี พ.ศ. 2552",
"title": "บิตคอยน์"
}
] | [
{
"docid": "943088#2",
"text": "ความเป็นเจ้าของบิตคอยน์จะระบุได้โดยลำดับธุรกรรมที่ลงนามดิจิทัลเริ่มตั้งแต่การสร้างบิตคอยน์\nเจ้าของบิตคอยน์จะโอนเงินโดยลงนามดิจิทัลเพื่อให้แก่เจ้าของคนต่อไปคล้ายกับการสลักหลังเช็ค โดยผ่านธุรกรรมของบิตคอยน์\nและผู้รับจ่ายก็สามารถตรวจสอบธุรกรรมก่อน ๆ เพื่อยืนยันโซ่ความเป็นเจ้าของ\nแต่ไม่เหมือนกับการสลักหลังเช็ค ธุรกรรมของบิตคอยน์จะย้อนคืนไม่ได้ ซึ่งกำจัดความเสี่ยงการฉ้อฉลโดยการขอเงินคืนจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นคนกลาง เช่น chargeback fraud",
"title": "เครือข่ายบิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#9",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ช่องโหว่ครั้งใหญ่ในโพรโทคอลของบิตคอยน์ถูกพบ การซื้อขายไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อนถูกใส่เข้าไปในบล็อกเชน ทำให้ผู้ใช้สามารถเลี่ยงข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ของบิตคอยน์ และสร้างบิตคอยน์ขึ้นมาได้ในจำนวนไม่จำกัด ในวันที่ 15 สิงหาคม ช่องโหว่นี้ถูกใช้สร้างกว่า 184 ล้านบิตคอยน์ผ่านการซื้อขายหนึ่งครั้ง และส่งไปยังที่อยู่สองที่ในเครือข่าย การซื้อขายถูกพบภายในไม่กี่ชั่วโมง และถูกลบออกจากบันทึกหลังแก้ไขบัคและอัพเดทรุ่นโพรโทคอลของบิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "943088#14",
"text": "โดยกฎแล้ว ธุรกรรมแรกของบล็อกเป็นธุรกรรมพิเศษที่สร้างบิตคอยน์ใหม่ซึ่งผู้สร้างบล็อกจะเป็นเจ้าของ\nซึ่งเป็นแรงจูงใจให้สถานีต่าง ๆ สนับสนุนเครือข่าย\nและยังเป็นวิธีสร้างบิตคอยน์ใหม่เข้าระบบ\nแต่รางวัลการขุดเหรียญจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ 210,000 บล็อก\nโดยเริ่มที่ 50 เหรียญ ลดลงเหรือ 25 เหรียญปลายปี 2012 แล้วเหลือ 12.5 เหรียญในปี 2016\nกระบวนการลดรางวัลครึ่งหนึ่งนี้ ได้โปรแกรมให้เกิด 64 ครั้ง ก่อนจะยุติการสร้างเหรียญใหม่ ๆ อีกต่อไป",
"title": "เครือข่ายบิตคอยน์"
},
{
"docid": "119721#1",
"text": "โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ที่ได้รับสัมปทานจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นรายแรกคือ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือไอบีซี เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 มีอายุสัมปทาน 20 ปี (ถึงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552) โดยให้บริการทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล ผ่านคลื่น, ระบบไมโครเวฟแบบบริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (Multichannel Multipoint Distribution Service) และจานดาวเทียมระบบ KU-Band ต่อมา ไอบีซีขอขยายระยะเวลาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. อีกประมาณ 5 ปี 5 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557",
"title": "โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล"
},
{
"docid": "943088#20",
"text": "แต่ละบล็อกที่ต่อเข้ากับบล็อกเชน เริ่มตั้งแต่บล็อกธุรกรรมที่เป็นประเด็น จะเรียกได้ว่า เป็นการยืนยันธุรกรรมนั้น ๆ \nเพื่อความปลอดภัย ร้านค้าบริการที่ได้รับเงินเป็นบิตคอยน์ ควรจะรอการยืนยันที่ส่งกระจายไปยังเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ก่อนจะสมมุติว่าจ่ายแล้ว\nและยิ่งได้การยืนยันมากขึ้นเท่าไร การใช้ระบบโดยไม่ชอบเพื่อยกเลิกธุรกรรมนั้น ๆ ในบล็อกเชน ก็จะยากขึ้นเท่านั้น ยกเว้นถ้าผู้ทำการไม่ชอบควบคุมกำลังเครือข่ายเกินกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่เรียกว่าการกระทำไม่ชอบโดย 51% (51% attack)",
"title": "เครือข่ายบิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#1",
"text": "บิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วย 'การขุด' (mining, การทำเหมือง) และสามารถแลกเป็นสกุลเงินอื่น สินค้า และบริการ ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มีร้านค้ากว่า 100,000 ร้านยอมรับการจ่ายเงินด้วยบิตคอยน์ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประมาณว่าใน พ.ศ. 2560 มีผู้ใช้เงินตราแบบดิจิทัล 2.9 ถึง 5.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่แล้วใช้บิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "534096#1",
"text": "ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการประกอบธุรกิจให้บริการรับจ้างก่อสร้างบ้านอย่างครบวงจรบนที่ดิน ของลูกค้า และเมื่อปี พ.ศ. 2533 บริษัทได้มีการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าแยกเป็นโครงการที่พักอาศัยให้เช่า และโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า และได้เริ่มประกอบธุรกิจขายบ้านพร้อมที่ดินเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2535 บริษัทได้รับอนุญาตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนและนำหุ้นสามัญเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2534",
"title": "ควอลิตี้เฮ้าส์"
},
{
"docid": "533186#0",
"text": "บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) ( ชื่อย่อ:BTNC) บริษัทจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2512 เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป วันที่ 19 พฤษภาคม 2537 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด มหาชน บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป และเครื่องหนังสตรี ทั้งในลักษณะค้าปลีก (Retail) และค้าส่ง (Wholesale) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากบริษัทจะมีร้านสาขาเป็นของตัวเอง 68 สาขา สินค้าของบริษัทยังจัดจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ",
"title": "บูติคนิวซิตี้"
}
] |
1394 | เทียรี่ เมฆวัฒนา เข้าร่วมวงดนตรีคาราบาวเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "56155#7",
"text": "จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีโอกาสร่วมงานกับวงคาราบาวเป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม \"วณิพก\" โดยรับหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีคอนเสิร์ตแทนที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์โซโล่ตัวจริงของทางวง ที่ติดภารกิจต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเทียรี่เคยไปศึกษาที่นั่น",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "56155#9",
"text": "ปลายปี พ.ศ. 2526 คาราบาว กลับมาบันทึกเสียงที่ห้องอัดของอโซน่าอีกครั้งเพื่อบันทึกเสียงเพลงทั้งหมดในอัลบั้มชุด ท.ทหารอดทน เทียรี่จึงได้เป็นนักดนตรีแบ็คอัพบันทึกเสียงให้คาราบาวในอัลบั้มชุด ท.ทหารอดทน ก่อนที่จะได้รับการเชิญชวนให้ร่วมออกทัวร์คอนเสิร์ตกับทางวงอีกครั้งหนึ่ง",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
}
] | [
{
"docid": "56155#12",
"text": "ในปีเดียวกัน เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับนางเอกสาว จุ๋ม - อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวง ตลอดจนมีดาราอื่น ๆ เช่น ษา - สุพรรษา เนื่องภิรมย์, หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน มาร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าว บริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แต่งเพลง \"รักคุณเท่าฟ้า\" โดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด - สบชัย ไกรยูรเสน เป็นต้น",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "56155#10",
"text": "ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่กลับใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็ได้หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "56155#11",
"text": "หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างยาวนาน เทียรี่ก็ได้เป็นสมาชิกของวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ โดยได้ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง \"นางงามตู้กระจก\" ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และเทียรี่ก็ได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทยและวงคาราบาวที่สนามจักรยานเวโลโดรม ในสนามกีฬาหัวหมาก ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า Made in Thailand in USA",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "56155#0",
"text": "เทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา เกิดวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "759007#3",
"text": "หลังจากนั้นเข้าสู่ไฮไลท์สำคัญของคอนเสิร์ตนี้ คือการแสดงของวงคาราบาว นำโดย แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล, เล็ก - ปรีชา ชนะภัย และ เทียรี่ เมฆวัฒนา โดยขนเพลงมาแสดงเป็นจำนวนมาก เช่น \"มนต์เพลงคาราบาว\", \"เจ้าตาก\", \"วันพ่อ\", \"ซานตาน่าคาราบาว\" เป็นต้น และมาถึงช่วงเซอร์ไพรส์ของงานที่ได้นักร้องชื่อดังอย่าง เสก โลโซ มาร่วมร้องเพลง \"เพื่อชีวิตติดล้อ\", \"วณิพก\" และ \"หำเทียม\" แถมในช่วงท้าย ๆ ยังมี โก๊ะตี๋ อารามบอย มาร่วมร้องด้วย ต่อด้วยบทเพลงอีก 1 ชุดใหญ่ อาทิ \"คนเก็บฟืน\", \"คนล่าฝัน\", \"วิชาแพะ\" และ 2 บทเพลงใหม่ \"ใครว่ะแก๊แก่\" และ \"สวัสดีประเทศไทย\" ต่อด้วยบทเพลงเมดเล่ย์ หลังจากนั้น วงคาราบาวและเหล่าตำนานวงดนตรีร็อกขึ้นเวทีร่วมแจมพร้อมกันในบทเพลงหลักของคอนเสิร์ตนี้ คือเพลง \"กินลม ชมบาว\" ปิดท้ายด้วยเพลง \"บัวลอย\" ก่อนที่คอนเสิร์ตจะปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์",
"title": "กินลม ชมบาว"
},
{
"docid": "56155#14",
"text": "จากนั้น ในปลายปีเดียวกัน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุด อเมริโกย โดยในอัลบั้มนี้เทียรี่ได้ร้องนำ 1 เพลงคือเพลง \"มาลัย\" โดยวงคาราบาวได้กลายเป็นผู้นำแฟชั่นของวัยรุ่นในสมัยนั้นด้วยการแต่งตัวด้วยชุดลายพรางทหารและใส่แว่นดำ ต่อมาได้ร่วมงานกับทางวงในชุด ประชาธิปไตย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 โดยเทียรี่ได้ร้องนำคู่กับแอ๊ดในเพลง \"มหาจำลอง รุ่น 7\"",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "56155#17",
"text": "ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่วงคาราบาวทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม ทับหลัง เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เทียรี่ก็ได้ขอลาออกจากวงและแยกตัวไปพร้อมกับสมาชิกในวงอีก 2 คน คือ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ โดยทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกอัลบั้มในชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ ในปี พ.ศ. 2532 มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น \"สาวดอย สอยดาว\", \"วันเกิด\", \"เงินปากผี\" เป็นต้น",
"title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา"
},
{
"docid": "55532#6",
"text": "ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง \"ปล.ผมรักคุณ\" รวมทั้งสมาชิกแบ็คอัพ คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ด้วย พร้อมกับวงเพรสซิเดนท์ อดีตวงดนตรีที่เล็กและอ๊อดเคยอยู่ และด้วยความโด่งดังของวงคาราบาวนั้น ได้ทำให้เล็กได้รับบทเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง \"หยุดหัวใจไว้ที่รัก\" ในปี พ.ศ. 2527",
"title": "คาราบาว"
}
] |
1396 | เปาปุ้นจิ้น เกิดขึ้นในสมัยใด? | [
{
"docid": "17781#0",
"text": "เปา เจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (; 11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) วรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาบุ้นจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งของจักรวรรดิจีน ตลอดเวลา 25 ปีที่รับราชการนั้น เปา เจิ่ง แสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางอย่างเสมอหน้า ในระหว่าง ค.ศ. 1057 ถึง 1058 เขาได้เป็นผู้ว่าการนครไคเฟิง เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง และได้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลายประการในระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ปวงชนผู้เดือดร้อน ทำให้เขาได้รับยกย่องจนกลายเป็นตำนาน ในช่วงชีวิตราชการของเขา เขายังได้รับฉายาว่า เปาชิงเทียน (包青天; \"เปาผู้ทำให้ฟ้ากระจ่าง\") เพราะได้ช่วยเหลือคนธรรมดาสามัญให้รอดพ้นจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง",
"title": "เปาบุ้นจิ้น"
}
] | [
{
"docid": "877932#0",
"text": "เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม หรือ เปาบุ้นจิ้นวัยหนุ่ม () เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในประเทศจีนช่วงปี ค.ศ. 1995 กล่าวถึงประวัติของเปาบุ้นจิ้นในช่วงวัยหนุ่มที่เพิ่งเข้ารับราชการกับฮ่องเต้ใหม่ๆ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 3 แฟมิลี่ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 16:30 น. นำแสดงโดย เติ้ง เชา, ซื่อ เสี่ยวหลง, จ้าว หยาง,ฉิน ลี่, หยาง หยง ออกอากาศตอนจบในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 ละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง เปาบุ้นจิ้น และเมื่อละครเรื่องนี้จบลง ละครเรื่องต่อไปที่ออกอากาศต่อคือเรื่อง เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2",
"title": "เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม"
},
{
"docid": "964223#0",
"text": "เปาบุ้นจิ้น () เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในประเทศจีนที่สร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2010 กล่าวถึงคดีอันโด่งดังของเปาบุ้นจิ้น ซึ่งได้นำโครงเรื่องจากละครเรื่อง เปาบุ้นจิ้น (2536) มาสร้างใหม่ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 3 แฟมิลี่ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15:30 น. นำแสดงโดย จิน เชาฉฺวิน, เหอ เจียจิ้ง, ฟ่าน หงเซฺวียน, หวัง ซาซา, หลุง หลุง, หยาง นา ในภาคแรกใช้ชื่อว่า เปาบุ้นจิ้น 7 ผู้กล้า 5 ผู้ทรงธรรม ภาค 2 ออกอากาศ ใช้ชื่อว่า เปาบุ้นจิ้น หัวใจคุณธรรม และเมื่อภาค 3 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของละครโทรทัศน์ไตรภาคชุดนี้ ออกอากาศจึงใช้ชื่อว่า เปาบุ้นจิ้น เปิดตำนานศาลไคฟง",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "304508#1",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำมาฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 ครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2549 ต่อมา พอใจแชนเนลนำออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในสองช่วงเวลา คือ 13:00–14:00 นาฬิกา และ 22:00–23:00 นาฬิกา และช่อง 3 กับช่อง 3 เอชดี นำออกฉายอีกครั้งในปี พ.ศ. 2558 ทุกวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี เวลา 18:20–19:05 นาฬิกา และวันศุกร์ เวลา 18:00–18:45 นาฬิกา และเมื่อละครเรื่องนี้จบลง ละครเรื่องต่อไปที่ออกอากาศต่อคือเรื่อง สามก๊ก (เมื่ออกอากาศช่อง 3 เอชดี), เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม (เมื่ออกอากาศช่อง 3 แฟมิลี่)",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)"
},
{
"docid": "964223#8",
"text": "อ้ายหู่ติดตามเปาบุ้นจิ้นและพวกเดินทางกลับเมืองหลวง ระหว่างทางฝนตกติดต่อกันไม่หยุด คันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ที่แม่น้ำไช่เหอ ด้วยความรุนแรงของน้ำจึงพังทลาย ทำให้เรือกสวนไร่นาบ้านเรือนของประชาชนเสียหายและประชาชนตายเป็นจำนวนมาก เหยินจงฮ่องเต้ทรงกริ้วจึงมีพระบัญชาให้เปาบุ้นจิ้นสืบหาสาเหตุที่คันกั้นน้ำพังทลายลงมา",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "964223#18",
"text": "หู่อี้จินแม่ทัพที่รักษาเฉิงโจวได้รับข่าวว่าจะมีการลอบนำดินระเบิดจากญี่ปุ่นเข้ามา แต่นึกไม่ถึงว่ากลับถูกนายอำเภอเฉิงโจวปรักปรำให้ร้าย หูอี้จินเพลี่ยงพล้ำจึงต้องหลบหนีเอาตัวรอดไป เปาบุ้นจิ้นเห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหญ่จึงไปเข้าเฝ้าฮ่องเต้ นึกไม่ถึงว่าเหยินจงฮ่องเต้ทรงรู้เรื่องนี้มาแต่แรกแล้ว และเชื่อว่าเรื่องนี้เกี่ยวพันกับจิงตงอ๋องเสด็จอาของพระองค์ ที่แท้เมื่อครั้งที่เหยินจงฮ่องเต้ยังทรงพระเยาว์ จิงตงอ๋องไม่เคยเห็นเหยินจงฮ่องเต้อยู่ในสายตาเลย อ๋องแปดเสนอแผนการให้ลิดรอนอำนาจทางการทหารแล้วขับไล่ไปจากเมืองหลวง",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "964223#3",
"text": "ผังอี้ลำพองที่พ่อของตนเป็นถึงราชครูและน้องสาวเป็นถึงพระสนม ดังนั้นจึงไม่เห็นเปาบุ้นจิ้นอยู่ในสายตา เปาบุ้นจิ้นได้รับความช่วยเหลือจากกงซุนเช่อที่มีสติปัญญาดีและจั่นเจา จอมยุทธใต้ที่เก่งกล้าสืบหาหลักฐานการกระทำความผิดของผางอี้ จนผังอี้ถูกประหารด้วยเครื่องประหารหัวมังกร ราชครูผังจี๋ และพระสนมผังต่างต่างพากันทูลเหยินจงฮ่องเต้ถึงความร้ายกาจของเปาบุ้นจิ้น จั่นเจาลอบเข้าวังหลวงยามวิกาลเพื่อทูลความจริงต่อเหยินจงฮ่องเต้ นึกไม่ถึงว่าเหยินจงฮ่องเต้ไม่เพียงไม่เอาผิดจั่นเจา ทั้งยังแต่งตั้งจั่นเจาเป็นองครักษ์ขั้นสี่ฉายา “แมวหลวง” อีกด้วย",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "964223#21",
"text": "ตอนที่เปาบุ้นจิ้นเกิดมา แม่ไม่มีนมเลี้ยงดู จึงไปขอน้ำนมจากซ้อใหญ่แม่ของเปาเหมี่ยนซึ่งเกิดมาในเวลาไล่เลี่ยกัน เปาบุ้นจิ้นและเปาเหมี่ยนอาหลานเติบโตมาด้วยกัน เปาบุ้นจิ้นเห็นซ้อใหญ่ดุจดั่งแม่บังเกิดเกล้าโดยเรียกนางว่าแม่",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "964223#19",
"text": "จิงตงอ๋องมีเจตนาก่อกบฏ ที่ผ่านมาจึงแอบซ่องสุมกำลังขุนนางในราชสำนักและบรรดาแม่ทัพนายกอง เปาบุ้นจิ้นได้รับพระบัญชาจากเหยินจงฮ่องเต้ให้สืบหาหลักฐานการกระทำความผิดของจิงตงอ๋อง จั่นเจาเชื้อเชิญไป๋อี้ถังและสี่หนูมาให้ความช่วยเหลือ ในที่สุดก็สืบพบหลักฐานการกระทำความผิดของจิงตงอ๋อง จับกุมตัวจิงตงอ๋องกลับมารับโทษที่เมืองหลวง",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
},
{
"docid": "559464#1",
"text": "ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า มีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปี จะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุตโดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้น จะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ",
"title": "วันเป็งปุ๊ด"
},
{
"docid": "964223#4",
"text": "นึกไม่ถึงว่าฉายา “แมวหลวง” แพร่สะพัดเข้าหูพวกจอมยุทธห้าหนูจนเกิดความอิจฉา ไป๋อี้ถังหนูขนแพรซึ่งทะนงตน มีหรือที่จะยอมรับ จึงขี่ม้ามายังศาลไคฟงเพื่อประลองกับจั่นเจา ฝีมือของจั่นเจาสมดั่งคำร่ำลือ ทำให้ไป๋อี้ถังยิ่งเกิดความไม่พอใจ จึงขโมยตราขุนนางของเปาบุ้นจิ้นไป เพื่อบีบบังคับจั่นเจาให้เดินทางไปที่เกาะเสี้ยนคงประลองกับตนให้รู้ผลแพ้นชนะกัน จั่นเจาไม่มีทางเลือกจึงต้องไปตามที่นัดหมาย และแล้วด้วยไหวพริบของจั่นเจาก็สามารถสยบไป๋อี้ถังลงได้ หลังจากที่ไป๋อี้ถังคืนตราขุนนางของเปาบุ้นจิ้นให้จั่นเจาแล้ว ก็อยู่แต่บนเกาเสี้ยนคง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวในยุทธภพอีก",
"title": "เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)"
}
] |
1411 | ภาพยนตร์เรื่องเฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน ออกฉายเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "176288#0",
"text": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 กำกับโดย ไรท์ เบรนทีม ฝีมือเขียนบทของ เหมี่ยว-ปวันรัตน์ นาคสุริยะ นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ ประกบกับ สายป่าน-อภิญญา สกุลเจริญสุข และนักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง เจ-เจตริน วรรธนะสิน, โอ-วรุฒ วรธรรม, ปอ-ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์, ก้อย-บุญญิตา งามสรรพศิลป์, ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม และดีเจป๋อง-กพล ทองพลับ รวมทั้งนักแสดงหน้าใหม่ ที่คัดเลือกผู้สมัครจากทางบ้าน โดยผ่านเว็บไซต์ www.ontrxclub.net",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
}
] | [
{
"docid": "176288#6",
"text": "ที่มาเริ่มแรกของภาพยนตร์เรื่อง \"เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน\" มาจากบทเพลงที่โด่งดังเพลง \"เพื่อน\" ของวงแกรนด์เอ็กซ์ ที่ทางทีมงานของไร้ท์ บียอนด์ ฟิล์ม เกิด\nแรงบันดาลใจที่จะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องเพื่อให้คนดูได้หวนระลึกถึงความประทับใจสมัยเรียนมัธยมปลาย จากนั้นจึงได้ประชุมและเสร็จเป็นบทภาพยนตร์โดยฝีมือการเขียนของปวันรัตน์ นาคสุริยะ",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#11",
"text": "ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกรอบสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็มีการจัดฉายรอบพิเศษที่โรงภาพยนตร์แกรนด์อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นรอบการกุศลหารายได้ช่วยคนบกพร่องทางการได้ยิน อันเนื่องจากภาพยนตร์มีเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง รายได้มอบให้กับโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ และถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่จะมีการแปลภาษามือบนจอภาพยนตร์",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#20",
"text": "อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ จัดจำหน่ายโดยไรท์บียอนด์ วางขายเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551ดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง \"เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน\" จัดจำหน่ายโดย ไรท์บียอนด์ ออกวางขายวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยออกมา 2 รูปแบบคือ ดีวีดีฉบับปกติ และดีวีดีบ็อกซ์เซ็ต จำนวน 1 แผ่น มีระบบภาพแบบ Widescreen ระบบเสียงแบบ Dolby Digital 5.1 โดยฉบับบ็อกซ์เซ็ตจะมีแถมเสื้อยืด",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#13",
"text": "ณัฐพงษ์ โอฆะพนม จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก วิจารณ์ไว้ว่า \"เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่แล้ว รายละเอียดต่าง ๆ ยังดูเก่า เชย และอาจดูล้าสมัย\" ในด้านการกำกับ \"หนังทั้งเรื่องเดินไปในทิศทางไหนขึ้นอยู่กับผู้กำกับ ซึ่งหนังเรื่องนี้คืออาการแบบลักปิดลักเปิด กั๊ก ๆ ไม่ไปไหนสักทาง\" ส่วนด้านการแสดง \"หนังเรื่องนี้ได้นักแสดงที่เก่งในการบริหารเสน่ห์ ตั้งสายป่าน ... รวมทั้งมาริโอ้ ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถทางการแสดงได้ในระดับหนึ่ง...เขาทำให้ตัว สิงหา ดูเป็นตัวละครที่มีมิติมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ ไม่รวมถึง แจ็ค แฟนฉัน...ที่ช่วยทำให้หนังมีชีวิตชีวาขึ้น\"",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#12",
"text": "ส่วนรอบฉายอย่างเป็นทางการ จากกำหนดเดิมที่หนังเรื่องนี้จะเปิดฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 แต่ทางไร้ท์ บิยอนด์ ฟิล์ม ได้เลื่อนกำหนดฉายให้เร็วขึ้นมาเป็นวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 แทน ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 15.6 ล้านบาท",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#17",
"text": "นอกจากภาพยนตร์แล้ว ยังได้ออกหนังสือ \"เฟรนด์ชิพ เธอกันฉัน\" นวนิยายการ์ตูนที่มีเรื่องราวช่วงที่ขาดหายไปของ สิงหา และมิถุนา ออกโดยสำนักพิมพ์จิณนา เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "133645#10",
"text": "ผลงานภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของมาริโอ้คือเรื่อง \"เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน\" ของค่ายไรท์ บิยอนด์ กำกับโดย ไรท์ เบรนทีมเป็นเรื่องราวเมื่อราว 25 ปีก่อน โดยมาริโอ้รับบทเป็นสิงหา เด็ก ม.6 ที่ชอบนางเอกที่ชื่อ มิถุนา แสดงโดยอภิญญา สกุลเจริญสุข ภาพยนตร์เรื่องนี้มาริโอ้ผ่านการทดสอบบท โดยผู้จัดการส่วนตัวสมัครผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งเรื่องนี้ได้แสดงออกเยอะขึ้นกว่าเรื่องแรก ได้แสดงความรู้สึกหลายอารมณ์ สำหรับคำวิจารณ์การแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล จากเว็บไซต์ thaicinema.org วิจารณ์ไว้ว่า \"ความสำเร็จและคำยกย่องที่เขาได้รับจากหนังเรื่องก่อนหน้าไม่ใช่เรื่องฟลุ๊ค แม้ว่าการแสดงของเขาจะลดความนิ่งลงไป...แต่เขาก็สามารถแสดงอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในใจลึก ๆ และความรักได้เป็นอย่างดี\" และยังเปรียบเทียบมาริโอ้ว่า \"น่าจะเรียกได้ว่ามาริโอ้คืออำพลในรุ่นของเขา\" ณัฐพงษ์ โอฆะพนม จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก พูดถึงการรับบทเป็นสิงหาว่า \"มาริโอ้ทำให้สิงหา เป็นตัวละครที่มีมิติมากที่สุดในหนังเรื่องนี้\" แต่ถึงกระนั้นเขาก็ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแตงกวาดอง ในสาขานักแสดงนำชายยอดแย่ จากการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้\nนิตยสารสตาร์พิกส์ว่า มาริโอ้จะร่วมเล่นแสดงกับอภิญญา สกุลเจริญสุข อีกในภาพยนตร์ของบัณฑิต ฤทธิถกล ในภาพยนตร์บุญชูภาคใหม่ ของค่ายไฟว์สตาร์ ในบท บุญโชค ลูกของบุญชู ซึ่งบัณฑิต ฤทธิถกล ได้ทาบทามมาริโอ้และได้แคสติ้งจนผ่านเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยกเลิกและหานักแสดงหน้าใหม่แทน มาริโอ้ตอบปฏิเสธรับบทลูกของบุญชู พร้อมแจงเหตุผลว่า คิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับบทบาทตัวละครนี้ พร้อมทั้งกราบขอโทษทางผู้ใหญ่แล้วที่ไม่สามารถรับเล่นได้ และยังมีข่าวคราวว่าจะเป็นพระเอกในภาพยนตร์รักสามเส้า ให้กับโมโนฟิล์ม เรื่อง \"รูมเมท\" กำกับโดย ปิติ จตุรภัทร์ ที่มีข่าวว่ามีเนื้อเรื่องแนวภาพยนตร์เรื่อง \"ทรีซัม\" ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2537 กำกับโดย แอนดรู เฟลมมิง รับบทเป็นเด็กวัยรุ่นเล่นดนตรีอย่างกีตาร์ แต่หลังจากถ่ายได้เพียง 10% ก็ถูกปลดออกเนื่องจากเรื่องคิวไม่ลงตัว และวิทวัส สิงห์ลำพอง มารับหน้าที่แสดงแทน",
"title": "มาริโอ้ เมาเร่อ"
},
{
"docid": "176288#1",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้นำ “เพื่อน” เพลงเก่าของ แกรนด์เอ็กซ์ มาเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ โดยมี บอย-ตรัย ภูมิรัตน เป็นผู้ทำดนตรีใหม่ และ บี-เครสเชนโด (พีระพัฒน์ เถรว่อง) รับหน้าที่ขับร้อง \n\"สิงหา\" ได้รับโทรศัพท์จาก\"แจ๊ด\" เพื่อนทอมสมัยเรียน ชวนเพื่อนร่วมกลุ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาทานอาหารร่วมกัน เพื่อนัดหมายจัดงานเลี้ยงรุ่น โดยมี \"ซ้ง\" เถ้าแก่ร้านโชห่วย, \"ป๋อง\" ดีเจรายการวิทยุเล่าเรื่องผี, \"จุดเด่น\" พระเอกหนังที่โด่งดัง, \"กานดา\" ซึ่งปัจจุบันเป็นเมียซ้ง, และ\"แจ๊ด\" สาวหล่อ สไตลิสต์ประจำนิตยสารอันดับหนึ่ง เมื่อกลับมาพบกันอีกครั้ง จึงรำลึกถึงความหลังเมื่อชั้น ม.6 จนสิงหาได้เอ่ยถึง \"มิถุนา\" เพื่อนหญิง ที่ย้ายจากโรงเรียนอื่น และเข้ามาตอน ม.6",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#16",
"text": "ในการมอบรางวัลท็อปอวอร์ดส 2008 มาริโอ้ เมาเร่อ นักแสดงนำ ได้รับรางวัลดาวรุ่งชายยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ จากผลงานการแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
},
{
"docid": "176288#7",
"text": "เมื่อบทหนังผ่านความเห็นชอบจากทีมงานผู้สร้าง จึงเป็นขั้นตอนการคัดเลือกตัวนักแสดง ซึ่งได้คัดตัวในส่วนนักแสดงภาคโตได้อย่างลงตวคือ เจตริน วรรธนะสิน, ยุทธนา บุญอ้อม, วรุฒ วรธรรม, กพล ทองพลับ, บุญญิตา งามศัพพศิลป์, และ ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ จากนั้น จึงได้คัดเลือกตัวนักแสดงรุ่นใหม่ โดยส่วนใหญ่คัดตัวโดยผ่านการสมัครทางเว็บไซต์ รวมทั้ง มาริโอ้ เมาเร่อ, แจ๊ค แฟนฉัน และทีมนักแสดงหน้าใหม่ เอ้ก-คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์, จูน-ภัทราภรณ์ พูนพิริยะพงศ์, โอ๊ค-ธนโชติ อ่อนจันทร์ประเสริฐ, หล้า-ณัฐฐกันย์ ทยุตาจารุวิชญ์ และ ท็อป-จรณ สอโส แต่สำหรับสายป่าน-อภิญญา สกุลเจริญสุขได้รับการติดต่อจากทีมงาน ซึ่งเห็นผลงานจากโฆษณาสินค้าตัวหนึ่ง จึงเรียกไปคุยกัน พร้อมรับบทไปอ่าน ซึ่งคุณแม่ได้อ่านบทก่อน และชื่นชอบมาก ต่อมา ป่านได้อ่านบท จึงตกลงรับแสดง ซึ่งในช่วงที่เปิดตัวนักแสดง ทีมงานจะเปิดตัวนักแสดงรุ่นใหญ่ก่อน",
"title": "เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน"
}
] |
1412 | พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "615594#1",
"text": "พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) ท่านมีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ที่บ้านนาเชือก ตำบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อำเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาชื่อ นายสอ ภูบุตตะ มารดาชื่อ นางบัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวมกัน ๗ ท่าน",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
}
] | [
{
"docid": "615594#0",
"text": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุตินิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระญาณวิสาลเถร เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้วย",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#3",
"text": "ท่านอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า ๒๑ ปี ที่สิมน้ำ ณ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย เมื่อท่านบวชแล้วก็มาอยู่ที่วัดสุวรรณชัยศรี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นที่นั่นการปกครองในคณะสงฆ์ยังไม่ทั่วถึงมากนัก การบวชของคณะธรรมยุตและคณะมหานิกายยังไม่มีการแยกจากกัน ยังคงใช้พระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศว่า พระอุปัชฌาย์สังกัดนิกายอะไรผู้บวชก็ต้องสังกัดนิกายนั้น พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี (ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านจึงได้ขึ้นไปอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ของคณะธรรมยุต ต่อมาเมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ท่านได้ญัติติเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำ ณ วัดบ้านหนองโจด (ปัจจุบันเป็นที่นาชาวบ้าน) ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระใบฎีกาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#2",
"text": "ท่านถือกำเนิดในตระกูลที่มีฐานะดีในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวมากกว่า ๓๐ ตัว มีที่นากว่า ๖๐ ไร่ มารดาเลี้ยงหม่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่สุดในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านมีความขยันหมั่นเพียร และความอุตสาหะ ท่านช่วยโยมบิดามารดาทำงานทุกอย่าง ท่านได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบในสงคราม และท่านได้เข้ารับการฝึกซ้อมรบ ภายหลังก่อนที่ท่านจะไปในสงครามจริงๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้ยุติลงก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้งนึงท่านชอบการต่อยมวยมาก ท่านชอบไปต่อยมวยตามงานวัดต่างๆ ในเวลาว่างจากการทำนาและงานอื่น แต่โยมบิดาของท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยนัก พอช่วงอายุประมาณ ๒๐ ปี คุณยายของท่านก็ได้ปรารภกับท่านว่าอยากจะให้ท่านบวชให้คุณยายของท่านหน่อย อันเป็นที่มาของการออกบวชภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#4",
"text": "เมื่อท่านยังเป็นพระนวกะ (ผู้บวชใหม่) ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และ ในปีพ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นโทที่วัดขวัญเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีโอกาสศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก ท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ท่านจะเรียนบาลีเป็นประจำทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่าเพื่อไปเรียนกรรมฐานจากพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) ที่วัดบรมนิวาส",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#5",
"text": "เมื่อเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคดีซ่าน การเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ระงับไว้ก่อน เมื่ออาการหนักมากจนถึงขั้นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ถึง ๓ เดือน โดยไม่มีท่าทีว่าจะหาย หรือดีขึ้นเลย ท่านจึงทอดอาลัยในชีวิต แล้วตั้งความปรารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือในการรับใช้พระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก โดยท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐาน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) ว่า “หากข้าพเจ้าจะมีชีวิตในการบวช ขอให้โรคหาย ถ้าหากจะไม่มีชีวิตแล้ว ขอให้ตายกับผ้าเหลือง” ท่านมีความคิดว่าหากได้บวชอยู่นานๆ จะได้ทำประโยชน์ในพระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อตั้งต้นดำเนินภารกิจดังที่ตั้งปณิธานไว้ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า “ขอให้ได้อยู่ป่าทำความสงบสบายทางจิต”",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "28341#0",
"text": "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ( 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 - 16 มกราคม พ.ศ. 2535 ) ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน",
"title": "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)"
},
{
"docid": "28430#1",
"text": "หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2468 ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ในตระกูลที่เป็น ชาวฮินดู หลวงปู่สมชาย เป็นบุตรคนที่ 2 ของโยมบิดาชื่อ \"สอน มติยาภักดิ์\" โยมมารดา \"บุญ มติยาภักดิ์\" โยมมารดาของท่านเป็นบุตรตรีคนเล็กของ คุณหลวง เสนา ศาสนาพราหมณ์ในท้องถิ่นนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเพียง 2 คน คือ 1. นายหนู มติยาภักดิ์ 2. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย",
"title": "พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)"
},
{
"docid": "28341#6",
"text": "เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ",
"title": "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)"
},
{
"docid": "765230#1",
"text": "พระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักร มีนามเดิมว่า อินถา พิมสาร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าแพ่ง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายเป็งและนางสาร พิมสาร มีพี่น้องรวมทั้งหมด 13 คน ท่านเป็นคนที่ 6 พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) เป็นคนที่ 7 และพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) เป็นคนที่ 8 โยมบิดามารดาของท่านเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทำวัตร ทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นประจำและได้ปลูกฝังบุตรธิดาทุกคนให้ปฏิบัติตาม",
"title": "พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก)"
}
] |
1418 | ใครเป็นผู้ตั้งชื่อ ศิลป์ พีระศรี? | [
{
"docid": "14722#7",
"text": "ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นเองต้องการสืบให้ทราบว่าชาวอิตาลีกลุ่มนี้ภักดีต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาวอยผู้ซึ่งประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรหรือสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีที่ประกาศขอสู้ต่อกันแน่ ทำให้ศาสราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน แต่รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถท่านและได้ขอควบคุมตัวศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจีเอาไว้เองเพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี โดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจีให้มาเป็น \"นายศิลป์ พีระศรี\" นับแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
}
] | [
{
"docid": "14722#0",
"text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "14722#19",
"text": "นอกเหนือไปจากการจัดทำอนุสาวรีย์แล้วยังได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ศิลป์ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่าน ตั้งอยู่ในกรมศิลปากร มีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของท่าน โดยนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นมาเป็นประธานในพิธี ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สังกัดในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ภายในตัวอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ห้องจัดแสดง คือห้องชั้นนอกตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด อาทิเช่น ผลงานของ เฟื้อ หริพิทักษ์, ชลูด นิ่มเสมอ, เขียน ยิ้มศิริ และ สวัสดิ์ ตันติสุข ซึ่งถือเป็นศิลปินรุ่นแรก ๆ ของศิลปะไทยแบบสมัยใหม่ที่ได้สืบทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และอุดมการณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ได้วางรากฐานไว้ให้ ในส่วนของห้องที่สองหรือห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิต เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น เป็นต้น โดยในห้องที่สองนี้ได้มีการจำลองห้องทำงานแบบดั้งเดิมในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ รวมไปถึงแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญและหนังสือหายากที่ศาสตราจารย์ศิลป์เคยใช้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกซึ่งให้บริการแก่ผู้เข้าชมอีกด้วย",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "14722#17",
"text": "ตลอดชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ท่านได้สร้างผลงานประติมากรรมไว้มากมาย โดยผลงานที่ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันก็อาทิเช่นด้วยคุณูปการที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่าวันศิลป์ พีระศรี โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์พร้อมไปกับการร้องเพลงSanta Lucia และเพลงศิลปากรนิยมเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "14722#3",
"text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่าคอร์ราโด เฟโรชี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "14722#18",
"text": "หลังจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว เหล่าลูกศิษย์ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านที่ได้มีคุณูปการต่อศิลปะไทยและเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เนื่องด้วยกฎหมายของประเทศไทยในตอนนั้นไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์ของคนต่างชาติในประเทศได้ ถึงอย่างนั้นอาจารย์สนั่น ศิลากรณ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ ได้แอบสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ขนาดเท่าคนจริงขึ้น แต่ก็ไม่มีที่ที่จะสามารถจัดตั้งได้จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ในห้องคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ จนกระทั่งในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ นำโดยพิษณุ ศุภนิมิตร ได้เข้าไปนำอนุสาวรีย์ออกมาจากห้องคณบดี ก่อฐานแล้วทำการติดตั้งอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์โดยไม่เกรงกลัวกับการโดนจับ ซึ่งในปัจจุบันอนุสาวรีย์นี้ก็ยังคงตั้งอยู่เช่นเดิม โดยลานแห่งนี้มีชื่อเรียกกันในหมู่นักศึกษาว่า ลานอาจารย์ศิลป์ และยังมีการสร้างเพิ่มเติมในภายหลังที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีอีกด้วย",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "62007#1",
"text": "เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า \"คณะมัณฑนะศิลป์\" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น \"คณะมัณฑนศิลป์\" และศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)",
"title": "คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "11674#25",
"text": "วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศิลปากร\"\nด้วยคุณูปการที่ ศิลป์ พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า \"วันศิลป์ พีระศรี\" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้\nเป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ในวาระครบ 100 ปีเกิดของท่าน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446",
"title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "14722#10",
"text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน ศาสตราจารย์ศิลป์ยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2505 ซึ่งท่านได้ล้มป่วยลงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตรจารย์ศิลป์ พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร",
"title": "ศิลป์ พีระศรี"
},
{
"docid": "190123#1",
"text": "นายประสาน ศิลป์จารุ (ทองแป๊ะ สินจารุ) ผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักจัดรายการข่าววิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ / ที่ปรึกษาศูนย์กิจการลูกเสือชาวบ้าน ในพระบรมราชูปถัมภ์ / อดีตศิลปินตลกยุคแรกของไทยที่รู้จักกันดี \"ทองแป๊ะ\" ซึ่งแสดงร่วมกับ ทองฮ๊ะ ทองแถม ดอกดิน ก๊กเฮง สมพงษ์ บังเละ เป็นต้น / ท่านคือผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราชตั้งแต่สมัยแรกเมื่อปี 2520 ซึ่งครั้งแรกยังใช้ชื่อว่า งาน \"วันร่มเกล้าชาวประชา\" / ปัจจุบันท่านยังทำรายการทีวี โดยเป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วม คุณเก่งกาจ จงใจพระ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี2 ชื่อรายการ \"ขิงแก่ กรุงสยาม\" และรายการ \"อโรคยา\" / และอดีตท่านยังเป็นนักพากษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอีกด้วย ปัจจุบัน ท่านทำรายการชื่อรายการ \"เซียนสยาม\" โดยกลับมาใช้ชื่อ \"ทองแป๊ะ ศิลป์จารุ ร่วมกันจัดกับ ศรีไพร ใจพระ (หรือเก่งกาจ จงใจพระ) โดยเป็นการทำรายการในลักษรณะให้ความรู้เรื่องเก่าๆ ที่เป็นประโยชน์ บอกเล่าความเป็นไปในอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบต่อไป (ท่านสามารถพิมพ์ในกูเกิลว่า \"เซียนสยาม\" หรือ \"ทองแป๊ะ ศิลป์จารุ\" เพื่อดูบันทึกเทปรายการย้อนหลังได้ในยูทูป)",
"title": "ประสาน ศิลป์จารุ"
}
] |
1419 | ซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่ หรือ เมกาแมนซีโร่ เป็นของชาติใด ? | [
{
"docid": "171922#0",
"text": "ร็อคแมนซีโร่ () หรือ เมกาแมนซีโร่ (Mega Man Zero) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่สี่ของเกมชุดร็อคแมน ออกวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) และออกวางตลาดครั้งแรกที่อเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)",
"title": "ร็อคแมนซีโร่"
}
] | [
{
"docid": "171723#0",
"text": "ซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่ () หรือ เมกาแมนซีโร่ (Mega Man Zero) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่สี่ของเกมชุดร็อคแมน โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่อจากซีรีส์ ร็อคแมน X ซึ่งมีซีโร่เป็นตัวเอกของเกม ซีรีส์นี้วางจำหน่ายมาแล้วทั้งหมด 4 ภาค และถูกผลิตสำหรับเล่นบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์",
"title": "ร็อคแมนซีโร่ซีรีส์"
},
{
"docid": "169247#0",
"text": "ร็อคแมน ZX () หรือ เมกาแมน ZX (Mega Man ZX) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่ห้าของเกมชุดร็อคแมน โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่อจากซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่ ซีรีส์นี้ แตกต่างจากซีรีส์ภาคก่อน ตรงที่เปลี่ยนตัวเอกให้เป็นมนุษย์ และสามารถเลือกเล่นได้ว่าจะเล่นเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย สำหรับซีรีส์นี้เป็นเกมที่เล่นบนเครื่องนินเทนโดดีเอสโลหะมีชีวิตไลฟ์เมทัล (หรือ Bio Metals ในภาคอังกฤษ) เป็นวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบตามที่ต่างๆ มีจิตใจเป็นของตัวเอง ว่า จะเลือกใครเป็นผู้สวมใส่\nสร้างขึ้นจากข้อมูลของเหล่าผู้กล้าในอดีตของ นีโออาคาเดีย โดยมีเหตุผลคือ รำลึกถึงเหล่าผู้กล้าในอดีต ผู้สร้างคือ ซีเอล เกือบทุกชิ้น ยกเว้น Model W และ Model A",
"title": "ร็อคแมน ZX ซีรีส์"
},
{
"docid": "231759#1",
"text": "ในเรื่องราวของซีโร่นั้นมีอดีตเก่าๆ ที่เขาลืมไปหมดแล้วแต่ทว่า ในร็อคแมน X4 \"ซิกม่า\"ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเขาเมื่อ หลายปีก่อน ก่อนที่เขาจะมาเป็น\"อีเรกูลาร์ฮันเตอร์\" เขาไปมีเรื่องกับ ซิกม่า \"(ซิกม่าอีเล็กกูล่าฮันเตอร์)\" ซึ่งได้ปะทะกันอย่างไม่ปราณีจนในระหว่างการต่อสู้ ซีโร่ ได้เกิดอาการไวรัสของ Dr.ไวลลี่ ที่ฝังไว้ในชิฟพลังงานที่หัวทำให้ ซิกม่า ต่อยที่หัวทำลายชิพไวรัส แต่ทว่าได้รับพัทธุกรรมไวรัสเขาไปแทน ความจริงแล้วเรื่องราวก็คลายกับ X ก็คือ ซีโร่ได้ถูกสร้างจาก Dr.ไวลลี่ เป็นรหัส DWN-∞ ซึ่ง\"Dr.ไวลลี่\"สร้างไว้เพื่อที่จะช่วยงานกับ Dr.ไลท์ (ในภาค\"ร็อคแมน&ฟอร์เต้\"ได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดีช่วยเหลือDr.ไลท์บ่อยๆ) ซึ่งร่างของซีโร่ถูกดัดแปลงจาก ฟอร์เต้ หุ่นยนต์ที่เคยท้าต่อสู้กับร็อคแมนเป็นประจำ ได้ทำการสร้างใหม่และลงไวรัสลงไปโดยไม่ได่ตั้งใจจนซีโร่ตื่นขึ้นมาและอาละวาดในโลก ศตวรรษที่ 21XX ซึ่งได้ปะทะกับซิกม่าก็ได้ไปอยู่ในอีเล็กกูล่าฮันเตอร์ แต่ทว่าในร็อคแมน Xได้ตายต่อหน้า X และในร็อคแมน X2ได้ต่อสู้กับ X โคนซิกม่าโดยร่างใหม่แต่ทว่าพอผ่านไปถึงภาคที่4ได้หลงรักกับไอริสซึ่งได้เขาทำงานรวมกับซีโร่ด้วยกับซึ่งทำให้โคโน่พี่ชายของเธอเกลียดซีโร่ที่สุดจึงได้ทะเลาะถึงกับสู้กับทำให้ไอริสไม่สบายใจจึงหลังจากนั้นเธอได้รักษาตัวด้วยวัคซีนแต่ทว่าเธอเป็นหุ่นฝาแฝดจึงร่างกายเข้ากับโคโน่ ได้รวมร่างกับโคโน่แน่อาละวาดและพอซีโร่ช่วยเธอ ไอริสก็ได้ตายลงทำให้ซีโร่เสียใจมาก",
"title": "ซีโร่ (ร็อคแมน)"
},
{
"docid": "231731#2",
"text": "ใน ค.ศ. 21XX ได้มีคดีอีเรกูลาร์ก่ออาลาวาดขึ้นในเมืองซึ่งมีซิกม่าเป็นหัวหน้าหน่วยที่ 17 โดย ซีโร่ เป็นอีเร็กกูล่าฮันเตอร์ระดับ A และ เอ็กซ์เป็นอิเรกูลาร์ฮันเตอร์ระดับ B ซึ่งเป็นรุ่นน้องซึ่งเหตุการณ์ขับขันซึ่ง X ไม่ได้ทำอะไรไม่มากจนมีอีกคดีซึ่งลึกลับมีเรฟลิบรอยจำนวนมากถูกฆ่าอย่างปริศนา ซึ่ง X ไม่สงสัยในตัวซิกม่าแต่สุดท้ายซิกม่าได้หักหลัง X แต่ไม่ถึงกับฆ่า แต่ซิกม่าได้ประกาศเป็นศัตรูกับมนุษย์จน X เขาแลกกับดาบเซเบอร์ของซิกม่า จน X จำความเมื่อ 100 ปีก่อนแต่เขาต้องเสียความทรงจำไปเมื่อพลังงานตัวเองหมดไปจน ซีโร่ อยู่ในเหตุการณ์ช่วย X ไว้ได้",
"title": "ร็อคแมน X (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "246964#0",
"text": "ร็อคแมนเอ็กเซ่ 6 () หรือ เมกาแมน แบทเทิลเน็ตเวิร์ค 6 เป็นวิดีโอเกมชุดร็อคแมนเอ็กเซ่ลำดับที่ 6 และเป็นชุดสุดท้ายของซีรีส์หลักร็อคแมนเอ็กเซ่ พัฒนาและผลิตโดยแคปคอม วางจำหน่ายรูปแบบเกมบอยอัดวานซ์ ถูกแบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่นคือ เดนโนจู เกรย์ก้า (Cybeast Grega) และ เดนโนจู ฟอลเซอร์ (Cybeast Falzar) วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005",
"title": "ร็อคแมนเอ็กเซ่ 6"
},
{
"docid": "231347#0",
"text": "ร็อคแมนซีโร่ 3 () หรือ เมกาแมนซีโร่ 3 (Mega Man Zero 3) เป็นวิดีโอเกมซีรีส์ชุดที่ 3 ของซีรีส์ร็อคแมนซีโร่ ออกวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2004 และออกวางตลาดครั้งแรกที่อเมริกาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2004",
"title": "ร็อคแมนซีโร่ 3"
},
{
"docid": "230633#0",
"text": "ร็อคแมนซีโร่ 2 () หรือ เมกาแมนซีโร่ 2 (Mega Man Zero 2) เป็นวิดีโอเกมซีรีส์ร็อคแมนซีโร่ ลำดับที่ 2 ของเกม ออกวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 และออกวางตลาดครั้งแรกที่อเมริกาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2003",
"title": "ร็อคแมนซีโร่ 2"
},
{
"docid": "169196#1",
"text": "ร็อคแมน ZX (Rockman ZX) หรือ เมกาแมน ZX (Mega Man ZX) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่ห้าของเกมชุดร็อคแมน ออกวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และออกวางตลาดครั้งแรกที่อเมริกาในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่อจากซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่",
"title": "ร็อคแมน ZX"
},
{
"docid": "228772#0",
"text": "ร็อคแมน X6 () หรือ เมกาแมน X6 (Mega Man X6) เป็นวิดีโอเกมชุดที่ 6 ของซีรีส์ร็อคแมน X โดยวางจำหน่ายในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ที่ประเทศญี่ปุ่นวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชัน\nในเวลาช่วงปี ค.ศ. 21XX 3 สัปดาห์หลังจากที่โคโลนี่ยูเรเซียตกลงสู่พื้นโลก, เอ็กซ์ได้ปราบซิกม่าลงได้และอิเรกูลาร์ฮันเตอร์ซีโร่ต้องสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องเอ็กซ์ ทำให้มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองไปอย่างมาก ซิกม่าไวรัสที่อบอวนอยู่เต็มพื้นโลก ทำให้มนุษย์ต้องอาศัยอยู่ใต้ดิน เหล่าฮันเตอร์ที่รอดชีวิตอยู่ได้ร่วมมือกันฟื้นฟูโลก โดยมีเอ็กซ์ที่ได้รับ Z-เซเบอร์ มาจากซีโร่เป็นผู้นำ",
"title": "ร็อคแมน X6"
}
] |
1421 | สตาร์ วอร์ส ภาคแรกฉายเมื่อใด ? | [
{
"docid": "6939#3",
"text": "\"ภัยซ่อนเร้น\"ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 นับเป็นเวลา 16 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคล่าสุดคือ\"การกลับมาของเจได\"ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 เสียงตอบรับเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ครอบครองพื้นที่สื่อจำนวนมาก และมีผู้ตั้งตารอคอยภาพยนตร์เรื่องนี้จำนวนมากเนื่องจากผลกระทบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มาจากภาพยนตร์ภาคก่อนๆ เสียงวิจารณ์เป็นไปในทางก้ำกึ่งโดยเสียงชื่นชมมาจากงานภาพและฉากแอกชัน แต่นักวิจารณ์มักชี้ว่ามีจุดบกพร่องในการเขียนบท การสร้างตัวละคร การแสดง และการกำกับการแสดง อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 924.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลกจากการฉายครั้งแรก ทำให้เป็นภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ที่มีรายได้สูงที่สุดหากไม่ปรับตามค่าเงินเฟ้อ ปี ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาปรับปรุงและฉายใหม่อีกครั้งในระบบสามมิติ จึงทำเงินเพิ่มได้อีก 102.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีรายรับรวมทั้งหมดทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัญฯ กลับมาอยู่ใน 10 อันดับภาพยนตร์รายรับสูงที่สุดตลอดกาล แต่คงอยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่\"อัศวินรัตติกาลผงาด\"จะมาชิงตำแหน่งไป",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "11758#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ ()) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ ออกฉายในปี พ.ศ. 2520 เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับแรกสุดของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ทั้ง 6 ภาค โดยมีภาคต่ออีก 2 ภาค ครบสมบูรณ์เป็นไตรภาคเดิม และภาคก่อนอีก 3 ภาคเป็นไตรภาคต้น รวมเป็นมหากาพย์ 6 ภาค ตามลำดับเวลาในเรื่องแล้วถือเป็นลำดับที่ 4 ของการเดินเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้เทคนิกพิเศษในการถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อแบบแหวกแนว และการเล่าเรื่องแนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแรงบันดาลใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล",
"title": "สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "5927#1",
"text": "ภาพยนตร์ชุดแรกออกฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 ในชื่อ โดย 20th Century Fox ได้รับความนิยมสูงทั่วโลก จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ จนมีการสร้างภาคต่ออีก 2 ภาค โดยเว้นระยะห่างแต่ละภาคเป็นเวลา 3 ปี",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
}
] | [
{
"docid": "6939#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น () เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ออกฉายเป็นลำดับที่สี่ของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" เป็นภาคแรกของภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ชุดไตรภาคต้น และเป็นภาพยนตร์ลำดับแรกสุดตามลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลงานกำกับของจอร์จ ลูคัส เรื่องแรกในรอบ 22 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคแรกสุด และเป็นผลงานกำกับเรื่องที่สี่ของเขา",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "5927#2",
"text": "16 ปี ต่อมาหลังฉายไตรภาคเดิม ก็ได้มีการฉายไตรภาคต้น โดยเว้นระยะห่างแต่ละภาคเป็นเวลา 3 ปี เช่นกัน โดยภาคสุดท้ายฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 2012 บริษัท เดอะวอลต์ดิสนีย์ ได้ทำการซื้อบริษัท ลูคัสฟิล์ม เป็นจำนวนเงิน $4.05 พันล้าน และประกาศสร้างไตรภาคใหม่ของสตาร์ วอร์ส โดยภาคแรก \"สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง\", กำหนดฉายในปี ค.ศ. 2015 อย่างไรก็ดีค่าย 20th Century Fox ยังคงได้สิทธิ์ได้การจำหน่ายภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ทั้งสองไตรภาคอยู่ โดยเฉพาะภาค สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ นั้น 20th Century Fox จะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วน ภาค 1-3, 5 และ 6 นั้นจะหมดสัญญาภายใน พฤษภาคม ค.ศ. 2020",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "11760#12",
"text": "ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 20 ปีของการออกฉายของภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคแรก จอร์จ ลูคัสได้ผลิต\"สตาร์ วอร์ส ไตรภาค ฉบับพิเศษ\"ออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันทั้ง 3 ภาค โดย\"การกลับมาของเจได\"ฉบับพิเศษออกฉายเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากฉบับเดิม ได้แก่ ฉากวงดนตรีมนุษย์ต่างดาวร้องเพลงในวังของแจบบาที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ การเพิ่มจงอยปากของหนอนทรายซาร์แลกก์ การเปลี่ยนดนตรีประกอบในฉากจบเรื่อง และฉากเฉลิมฉลองการล่มสลายของจักรวรรดิบนดาวเคราะห์ต่างๆ ในตอนจบ ลูคัสให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์เรือ่งนี้มีฉากที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นภาคที่เดินเรื่องด้วยอารมณ์โดดเด่นกว่าภาคอื่นๆ\nใบปิดแรก (teaser) ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ระบุชื่อเรื่องไว้ว่า \"Revenge of the Jedi\" (การแก้แค้นของเจได) ต่อมาเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 ลูคัสตัดสินใจใหม่ว่า \"Revenge\" (การแก้แค้น) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเจไดไม่ควรจะผูกใจแค้นหรือแสวงหาการแก้แค้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเรื่องกลับเป็น \"Return of the Jedi\" ซึ่งจนกว่าจะถึงการตัดสินใจนั้น ใบปิดที่มีชื่อเรื่องว่า \"Revenge\" (วาดโดยดรูว์ สตรูซาน) ก็ได้รับการผลิตและเผยแพร่ไปแล้วหลายพันใบ บริษัทลูคัสฟิล์มยุติการผลิตและจัดส่งใบปิดดังกล่าวทันที และใบปิดที่คงเหลือราง 6,800 ใบ ก็ถูกขายให้กับสมาชิกแฟนคลับ\"สตาร์ วอร์ส\" ในราคาใบละ 9.50 ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได"
},
{
"docid": "442940#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ () เป็นภาพยนตร์ไตรภาคที่มีการวางแผนว่าจะสร้างมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเป็นภาคต่อ (ตอนที่ 7-9) ของไตรภาคเดิม (ตอนที่ 4-6) ของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" โดยบริษัทลูคัสฟิล์ม แม้ภาพยนตร์ไตรภาคต้นที่เคยได้รับการพูดถึงในลักษณะเดียวกันมาก่อนจะได้รับการผลิตเป็นภาพยนตร์ออกฉายจริง ๆ ในช่วง ค.ศ. 1999-2005 ก็ตาม แต่ทั้งลูคัสฟิล์มและจอร์จ ลูคัสได้ปฏิเสธอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ว่าจะไม่มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อของสตาร์ วอร์ส และเนื้อเรื่องทั้งหมดของสตาร์ วอร์ส จะมีแค่ภาพยนตร์ 6 ตอนเท่านั้น",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ"
},
{
"docid": "11760#3",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 ได้รับเสียงวิจารณ์ไปในทางบวก ผู้สังเกตการณ์บางส่วนเชื่อว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบการณ์สำหรับน้อยกว่าภาคก่อนเล็กน้อย ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้รวม 475 ดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก มีการจัดจำหน่ายเป็นโฮมวิดีโอทั้งฉบับที่ฉายโรงและฉบับปรับปรุงใหม่หลายครั้งในช่วง 20 ปี ต่อมามีการสร้างภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ตอนใหม่คือ\"เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น\"ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตรภาคต้น ปัจจุบันมีกำหนดออกฉายใหม่เป็นฉบับปรับปรุงภาพเป็นระบบสามมิติ กำหนดฉายช่วง ค.ศ. 2017 พอดีกับครบรอบ 40 ปี มหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได"
},
{
"docid": "299451#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดทางโทรทัศน์แบบแอนิเมชัน 3 มิติ ผลิตโดย Lucasfilm Animation, Lucasfilm Animation Singapore และ CGCG Inc. ฉายครั้งแรกในช่อง Cartoon Network ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินเรื่องในจักรวาล\"สตาร์ วอร์ส\" ช่วงเวลาเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนชุด \"\" ที่เคยฉายในปี พ.ศ. 2546 ดำเนินเรื่องตามเวลาในท้องเรื่องช่วงปีที่ 22-20 ก่อนยุทธการยาวิน แต่ละตอนยาวประมาณ 22 นาที ฉายในช่วง 30 นาทีโทรทัศน์ จอร์จ ลูคัสผู้สร้าง\"สตาร์ วอร์ส\"กล่าวว่า \"จะมีทั้งหมดอย่างน้อย 100 ตอน (ประมาณ 5 ซีซั่น)\" มี Dave Filoni เป็น supervising director ในขณะที่ Genndy Tartakovsky ซึ่งเป็นผู้กำกับของการ์ตูนชุด \"Clone Wars\" ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนชุดนี้ แต่ผู้ออกแบบตัวละคร Kilian Plunkett ใช้การออกแบบตัวละครจากการ์ตูนชุดฉบับ 2D เป็นต้นแบบในการออกแบบตัวละครฉบับ 3D นี้ นอกจากนี้ยังมีหนังสือการ์ตูนออนไลน์เล่าเรื่องสั้นๆ ระหว่างแต่ละตอนด้วย",
"title": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส"
},
{
"docid": "769466#2",
"text": "\"ปัจฉิมบทแห่งเจได\" ออกฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่ลอสแอนเจลิสเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และออกฉายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทำรายได้กว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และได้รับเสียงวิจารณ์ในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ นักวิจารณ์ชื่นชมเนื้อเรื่อง นักแสดง ฉากแอกชัน เทคนิกภาพพิเศษ ดนตรีประกอบ และน้ำหนักทางอารมณ์ของภาพยนตร์ บ้างก็ถือว่าเป็นภาพยนตร์ \"สตาร์ วอร์ส\" ภาคที่ดีที่สุด นับตั้งแต่ \"จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ\"",
"title": "สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได"
},
{
"docid": "299451#1",
"text": "ภาพยนตร์ตัวอย่างตัวแรกของการ์ตูนชุดนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ทางการของ\"สตาร์ วอร์ส\" เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เปิดตัวครั้งแรกทางซึ่งฉายครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นหนึ่งในซีรีส์ 4 ซีรีส์ (ร่วมกับ Stoked, Total Drama Action, และ 6teen) ที่ฉายในช่องหลักของ Cartoon Network (ไม่ใช่ Toonami หรือ Adult Swim) ที่ได้เรท TV-PG ซีซั่นใหม่ของภาพยนตร์ชุดนี้ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในขณะที่ฉบับรวมของซีซั่นแรกวางจำหน่ายเป็นดีวีดีและบลูเรย์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ในสหรัฐอเมริกา\nผู้สร้างได้ระบุว่าการเชื่อมต่อกับเนื้อหาในเรื่องแต่งเสริมอื่นๆ นั้นเป็นประเด็นจริงจังที่เหล่าผู้สร้างยึดถือ โดยกล่าวว่า Dave Filoni มีความรู้ในเนื้อหาเรื่องแต่งเสริมเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ลูคัสยังสงวนสิทธิ์ที่จะดัดแปลงเนื้อหาเล็กน้อยเพื่อการเล่าเรื่อง นอกจากนั้นยังต้องปรึกษาลูคัสเสมอเมื่อจะดำเนินเรื่องใดๆ กับตัวละครหลักอีกด้วย ในข้อความโพสต์ทางอินเทอร์เน็ตปี 2006 ของ Randy Stradley บรรณาธิการและผู้แต่งเรื่องของสำนักพิมพ์ Dark Horse Comics กล่าวว่าได้พบกับ Lucas Animation เพื่อพูดคุยถึงการผสานการ์ตูนโทรทัศน์กับหนังสือการ์ตูน \"เดอะ โคลน วอร์ส\" อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์ฉายโรงและภาพยนตร์ชุดนี้ได้ทำให้เกิดความไม่เข้ากันทางการเชื่อมโยงเนื้อหาหลายอย่าง ในจำนวนนี้หลายอย่างมีความขัดแย้งโดยตรงกับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วและจำเป็นต้องมีการแก้เรื่องใหม่เพื่อให้เกิดความเข้ากัน (retcon) รวมทั้งต้องมีการแก้ไขตารางเวลาเดินเรื่องครั้งใหญ่ในเนื้อหาช่วงสงครามโคลน ซึ่งจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับการระบุชัดจาก Leland Chee ผู้เป็น Keeper of the Holocron โดย Leland Chee กล่าวว่าเขาจะรอจนกระทั่งการ์ตูนชุดนี้เสร็จเป็นส่วนใหญ่ก่อนที่จะจัดทำตารางเวลาใหม่",
"title": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส"
}
] |
1427 | ยุคน้ำแข็งคือยุคใด? | [
{
"docid": "183072#0",
"text": "ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย ()เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ\nทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น",
"title": "ยุคน้ำแข็ง"
},
{
"docid": "250209#36",
"text": "โลกต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นระยะๆในอดีตที่ผ่านมารวมทั้งสี่ยุคน้ำแข็งที่สำคัญ ยุคเหล่านี้ประกอบด้วยช่วงน้ำแข็ง () เมื่อสภาวะอากาศจะหนาวเย็นกว่าปกติ แยกจากกันโดยช่วง interglacial period การสะสมของหิมะและน้ำแข็งในช่วงยุคน้ำแข็งจะเพิ่มอัตราส่วนการสะท้อนของพื้นผิว () ซึ่งจะสะท้อนพลังงานของดวงอาทิตย์มากขึ้นออกสู่อวกาศและรักษาอุณหภูมิชั้นบรรยากาศให้ต่ำลง การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกเช่นโดยการระเบิดของภูเขาไฟสามารถเพิ่มอุณหภูมิของโลกและทำให้เกิดยุค interglacial สาเหตุการเกิดของช่วงยุคน้ำแข็งจะรวมถึงตำแหน่งของทวีปรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในวงโคจรของโลกและการเปลี่ยนแปลงในการส่งออกของพลังงานแสงอาทิตย์และภูเขาไฟ",
"title": "ภูมิอากาศ"
}
] | [
{
"docid": "180121#1",
"text": "เมื่อสองหมื่นปีก่อน โลกใบนี้ยังประหลาดมหัศจรรย์ และเป็นยุคก่อนจะจารึกประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยอันตราย ทั้งยังเป็นช่วงก่อนยุคน้ำแข็งเสียด้วยซ้ำ สัตว์โลกน้อยใหญ่จึงต้องหนีเอาตัวให้รอดจากพายุหิมะ - แม้แต่สัตว์ที่เกียจคร้านเป็นที่สุด – ต่างก็อพยพย้ายถิ่นลงใต้กันทั้งนั้น ส่วนพวกผ่าเหล่าก็มี แมนเฟร็ด ช้างแมมมอธขนยาวหนุ่มใหญ่ใจพเนจรที่ทำทุกอย่างตามใจปรารถนา ซิด ตัวซลอธแสนเฉื่อยชาที่วันหนึ่งๆ ไม่ทำอะไรสักอย่าง ก็ตามใจปรารถนาอีกนั่นแหละ เมื่อ ซิด รับ แมนเฟร็ด มาเป็นผู้พิทักษ์ของเขา เจ้าช้างแมมมอธก็พยายามทุกวิถีทางที่จะสลัดภาระหนักอกไปให้พ้น แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องน่าเวียนหัวเท่านั้น แมนนี่ยังถูกดึงตัวเข้าไปช่วยส่งตัวหนูน้อยโรชานกลับคืนสู่ครอบครัวมนุษย์ ทั้งต้องร่วมทางกับ ดีเอโก้ เสือเขี้ยวดาบคิดคดที่เข้ามาตีสนิทกับ ซิด และ แมนนี่ ด้วยความหวังที่จะได้หนูน้อยเป็นอาหารมื้อโอชะ ในขณะที่ ซิด แมนนี่ และ ดีเอโก้ เดินทางข้ามภูมิประเทศเวิ้งว้าง และปกคลุมด้วยน้ำแข็งกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ก็ยังมี สแคร็ท เจ้าสัตว์ก่อนยุคประวัติศาสตร์ที่ดูคล้ายกับหนูผสมกระรอกเข้ามาพัวพันตลอด เส้นทาง พร้อมกับภารกิจสำคัญยิ่งชีวิต นั่นคือการหาจุดฝังกลบผลลูกโอ๊ค ซึ่งท้ายที่สุดแล้วกลายเป็นการสร้างความหายนะให้อุบัติขึ้นเป็นประวัติ ศาสตร์หน้าสำคัญเสียด้วย ระหว่างที่ สแคร็ท ง่วนฝังผลไม้เปลือกแข็งในยุคน้ำแข็ง แมนนี่ ซิด ดีเอโก้ และ หนูน้อยโรชาน ก็ร่วมเดินทางเจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์ไปด้วยกัน พวกเขาเกือบจะเอาตัวไม่รอดจากหิมะถล่ม ต้องต่อสู้แย่งชิงอาหารจากกลุ่มนกโดโด้ ที่ดิ้นรนปกป้องอย่างสิ้นหวัง ค้นพบความลึกลับของผ้าอ้อม ลื่นไหลไปตามถ้ำน้ำแข็งราวกับขี่รถไฟเหาะในโลกยุคน้ำแข็ง และยังต้องข้ามสะพานน้ำแข็งที่ทอดผ่านทะเลลาวาร้อนสุดๆ ซึ่งไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ ทั้งหมดจึงกลายเป็นกลุ่มสัตว์ที่ผ่านการเดินทางสุดมหัศจรรย์ยิ่งกว่ายุคใดๆ เลยเชียวล่ะ ส่วน สแคร็ท นะหรือ อาจจะพยายามขุดหาผลลูกโอ๊คอาถรรพ์อยู่กระมัง",
"title": "ไอซ์ เอจ เจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์"
},
{
"docid": "717748#52",
"text": "เรารู้ตามประวัติของโลกว่า มียุคน้ำแข็ง 12 ยุคที่ได้ผ่านมาแล้ว\nอาจจะมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นอีกภายใน 40,000-100,000 ปี\nซึ่งจะเป็นปัญหารุนแรงกับอารยธรรมเพราะว่า พื้นที่เป็นจำนวนมาก (โดยหลักในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ทางภาคเหนือ) อาจจะไม่สามารถอยู่ได้\nการอยู่ในเขตร้อนจะยังเป็นไปได้ แต่อาจจะในระดับความชื้นและระดับน้ำที่ลดลง\nในขณะปัจจุบัน โลกอยู่ในช่วงคั่นช่วงเวลาธารน้ำแข็ง (Interglacial)\nการขยายตัวของธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย หยุดลงเมื่อประมาณหมื่นปีก่อน\nและอารยธรรมมนุษย์ทั้งหมด เกิดพัฒนาการหลังจากนั้น\nถึงอย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ไม่พยากรณ์ว่า ยุคน้ำแข็งตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นภายในเร็ว ๆ นี้",
"title": "ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก"
},
{
"docid": "684155#14",
"text": "มียุคน้ำแข็งใหญ่ ๆ 11 ยุค และยังมียุคน้ำแข็งน้อย ๆ อีกมากมายในสมัยไพลสโตซีน\nยุคน้ำแข็งใหญ่ภาษาอังกฤษเรียกว่า glacial ส่วนช่วงคั่นยุคน้ำแข็งเรียกว่า interglacial\nแต่ว่าในช่วงยุคน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งก็มีทั้งการขยายและการหดตัวแบบย่อย ๆ\nการขยายตัวแบบย่อย ๆ เรียกว่า stadial (ยุคน้ำแข็งน้อย)\nส่วนช่วงระหว่างการขยายตัวแบบย่อย ๆ เรียกว่า interstadial (ช่วงคั่นยุคน้ำแข็งน้อย)",
"title": "สมัยไพลสโตซีน"
},
{
"docid": "684155#15",
"text": "เหตุการณ์เหล่านี้จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับละติจูด ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ\nแต่ยุคน้ำแข็งใหญ่ในที่ต่าง ๆ ก็ยังมีความสัมพันธ์กันโดยทั่วไป\nดังนั้น ถ้าประวัติยุคน้ำแข็งของที่ที่หนึ่งยังไม่ได้กำหนด ผู้ตรวจสอบอาจจะนำชื่อยุคน้ำแข็งของอีกที่หนึ่งมาใช้\nแต่โดยทั่วแล้ว เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่จะนำชื่อยุคน้ำแข็งของอีกที่หนึ่งมาใช้ในอีกที่หนึ่ง",
"title": "สมัยไพลสโตซีน"
},
{
"docid": "716156#0",
"text": "ยุคไครโอเจเนียน () เป็นยุคที่สองแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 850 ล้านปีมาแล้วถึง 635 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้น้ำแข็งปกคลุมทั่วโลกตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงเส้นศูนย์สูตร สิ่งมีชีวิตในยุคนี้ไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก มีการเคลื่อนที่ของทวีปชื่อโรดิเนีย (Rodinia) นักธรณีวิทยาได้พิสูจน์ว่ามีคลื่นความเย็นจัด 2 ลูกมากระทบกัน จึงทำให้อณหภูมิโลกลดลงมาก โดยเราเรียกวิกฤตการณ์นี้ว่า โลกบอลหิมะ (Snowball Earth)",
"title": "ยุคไครโอเจเนียน"
},
{
"docid": "122807#0",
"text": "ยุคหินญี่ปุ่น เริ่มต้นตั้งแต่ระยะเวลาจากรอบ 35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคแรกในประวัติศาสตร์อารยธรรมญี่ปุ่น และเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่พบตัวอักษรใด ๆ ในยุคนี้ สมัยนั้นเป็นยุคน้ำแข็ง และแผ่นดินญี่ปุ่นยังติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะญี่ปุ่นในสมัยนั้นยังไม่ห่างจากจีนมากนัก และช่วงนั้นเป็นยุคน้ำแข็ง ทำให้เกิดสะพานน้ำแข็งเชื่อมระหว่างจีนกับญี่ปุ่น อารยธรรมและเมืองยังไม่ค่อยมีในยุคนี้ เนื่องจากในช่วงยุคน้ำแข็งอันแร้นแค้น ชาวญี่ปุ่นในยุคนั้นจึงเลือกที่จะทำการออกล่าสัตว์ คิดค้นอาวุธล่าสัตว์ ออกเดินทางไปยังท้องถิ่นต่อไปเมื่อสัตว์ในท้องถิ่นถูกฆ่าหมด และกังวลเรื่องอาหารมื้อต่อไปเสียมากกว่า ญี่ปุ่นในยุคนี้จึงหาอารยธรรมใด ๆ ไม่ง่ายนัก",
"title": "ยุคหินญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "37665#6",
"text": "ในช่วงยุคหินเก่าตอนกลาง (3 แสนปี-3 หมื่นปีมาแล้ว) ได้เกิดยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายขึ้นพร้อมกับวัฒนธรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (\"Homo neanderthalensis\") มีการค้นพบกะโหลกมนุษย์กลุ่มนี้อายุประมาณ 6 หมื่นปีมาแล้วที่ยิบรอลตาร์ รวมทั้งมีการค้นภาพเขียนบนผนังในถ้ำลาร์เบรดาซึ่งเขียนขึ้นในยุคนี้ที่แคว้นกาตาลุญญา และเมื่อประมาณ 16,000 ปีมาแล้ว (ซึ่งอยู่ในช่วงยุคหินเก่าตอนปลาย) วัฒนธรรมแมกดาเลเนียน (Magdalenian; \"Magdaleniense\") ก็ได้กำเนิดขึ้นในแถบแคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นประเทศบาสก์ปัจจุบัน สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณดังกล่าวคือ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงในถ้ำอัลตามีรา ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของศิลปะถ้ำ",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "684155#21",
"text": "ธารน้ำแข็งในสมัยไพลสโตซีนเกิดเป็นวงจรของยุคน้ำแข็ง (glacial) สลับช่วงคั่นยุคน้ำแข็ง (interglacial) และยุคน้ำแข็งน้อย (stadial) สลับช่วงคั่นยุคน้ำแข็งน้อย (interstadial)\nปัจจัยการทำงานของวงจรภูมิอากาศเชื่อว่าเป็นแบบวงจรมิแลนโกวิช (Milankovitch cycles)\nซึ่งเป็นความแตกต่างของการแผ่รังสีดวงทิตย์มาสู่เขตต่าง ๆ ของโลก ที่มีความผันเปลี่ยนอย่างเป็นวงจรเพราะเหตุของวงจรการเคลื่อนย้ายของโลก",
"title": "สมัยไพลสโตซีน"
}
] |
1428 | โรคทาลัสซีเมีย เกิดจากการกลายพันธ์ของอะไร? | [
{
"docid": "761829#5",
"text": "ทาลัสซีเมียแบบเบตาเป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ 11 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกว่า 200 ตำแหน่งบนยีน และปกติจะไม่ใช่เป็นการหลุดหาย (deletion)\nโดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)\nมีผลทำให้มีการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่แบบบีตาของโปรตีน globin ลดลงหรือไม่มี ทำให้มีลูกโซ่แบบแอลฟาเกินในระดับต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์\nซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง\nเมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia)\nดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา"
},
{
"docid": "761829#0",
"text": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา () เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม\nเป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย\nความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000\nเป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)\nความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์\nแต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา"
}
] | [
{
"docid": "761829#8",
"text": "ทาลัสซีเมียแบบบีตาเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อเฮโมโกลบิน\nและเหมือนกับโรกทางกรรมพันธุ์ประมาณครึ่งหนึ่งอื่น ๆ\nการกลายพันธุ์ที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์ทำการสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ซึ่งเป็นการถอดรหัสจากโครโมโซมให้เสียหาย\nดีเอ็นเอมีทั้งส่วนข้อมูล (คือยีน) เพื่อรวมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเป็นโปรตีน และส่วน (noncoding DNA) ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับโปรตีนที่ผลิต",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา"
},
{
"docid": "40388#0",
"text": "โรคเลือดจางทาลัสซีเมีย () เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจางกว่าคนทั่วไป โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่า ๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน",
"title": "ทาลัสซีเมีย"
},
{
"docid": "761829#25",
"text": "การมีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) เป็นทาลัสซีเมียอาจจะช่วยป้องกันมาลาเรีย\nซึ่งเป็นโรคที่ชุกในเขตที่ลักษณะสืบสายพันธุ์เช่นนั้นมีอยู่อย่างสามัญ และดังนั้น การมีจึงให้ความได้เปรียบในการรอดชีวิตโดยเฉพาะกับพาหะ (ดังที่รู้จักกันว่าเป็น heterozygous advantage) ซึ่งช่วยให้การกลายพันธุ์เป็นลักษณะที่ไม่หมดสิ้น\nเพราะเหตุนี้ ทาลัสซีเมียแบบต่าง ๆ จึงคล้ายกับโรคทางพันธุกรรมอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อเฮโมโกลบิน คือ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา"
},
{
"docid": "40388#1",
"text": "ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่เป็นพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ\nทาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสังเคราะห์เฮโมโกลบินที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในอัตราการสร้างสายโปรตีนโกลบิน ที่มีอัตราการสร้างสายโกลบินชนิดหนึ่งๆ หรือหลายชนิดลดลงจะรบกวนการสร้างเฮโมโกลบินและทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้างสายโกลบินปกติอื่น",
"title": "ทาลัสซีเมีย"
},
{
"docid": "761829#12",
"text": "โดยมากคนจะพบ trait ทาลัสซีเมียโดยบังเอิญเมื่อตรวจเลือดโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แล้วพบว่ามีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดเล็ก (microcytic) อย่างเบา ๆ\nซึ่งอาจมีเหตุจากภาวะต่าง ๆ รวมทั้งการขาดธาตุเหล็ก, ทาลัสซีเมีย, ตะกั่วเป็นพิษ, sideroblastic anemia, หรือภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรังอื่น ๆ\nปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV), ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (RDW), และประวัติคนไข้สามารถกันเหตุบางอย่างเหล่านี้ออกไป\nคือ สำหรับทาลัสซีเมีย MCV ปกติจะน้อยกว่า 75 fl และสำหรับการขาดธาตุเหล็ก MCV ปกติจะไม่น้อยกว่า 80 fl ยกเว้นเมื่อฮีมาโทคริตน้อยกว่า 30%\nสำหรับเด็ก Mentzer index คือ อัตรา MCV/red blood cell count สามารถเป็นตัวจำแนก\nคือสำหรับการขาดธาตุเหล็ก อัตราปกติจะสูงกว่า 13 เทียบกับทาลัสซีเมียที่น้อยกว่า 13\nถ้าอยู่ที่ 13 นี่บ่งว่าไม่ชัดเจน",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบบีตา"
},
{
"docid": "773164#5",
"text": "โดยมากคนจะพบ trait ทาลัสซีเมียโดยบังเอิญเมื่อตรวจเลือดโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แล้วพบว่ามีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดเล็ก (microcytic) อย่างเบา ๆ\nซึ่งอาจมีเหตุจากภาวะต่าง ๆ รวมทั้งการขาดธาตุเหล็ก, ทาลัสซีเมีย, ตะกั่วเป็นพิษ, sideroblastic anemia, หรือภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรังอื่น ๆ\nปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV), ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (RDW), และประวัติคนไข้สามารถกันเหตุบางอย่างเหล่านี้ออกไป\nคือ สำหรับทาลัสซีเมีย MCV ปกติจะน้อยกว่า 75 fl และสำหรับการขาดธาตุเหล็ก MCV ปกติจะไม่น้อยกว่า 80 fl ยกเว้นเมื่อฮีมาโทคริตน้อยกว่า 30%\nสำหรับเด็ก Mentzer index คือ อัตรา MCV/red blood cell count สามารถเป็นตัวจำแนก\nคือสำหรับการขาดธาตุเหล็ก อัตราปกติจะสูงกว่า 13 เทียบกับทาลัสซีเมียที่น้อยกว่า 13\nถ้าอยู่ที่ 13 นี่บ่งว่าไม่ชัดเจน",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา"
},
{
"docid": "823904#0",
"text": "ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา ()\nเป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน\nซึ่งสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)\nโดยสัมพันธ์กับหน่วยย่อยของเฮโมโกลบินส่วนเดลตา",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา"
},
{
"docid": "773164#3",
"text": "กลไกของโรคทำให้เกิดการผลิตห่วงโซ่ globin แบบแอลฟาน้อยลง ทำให้ห่วงโซ่แบบบีตามีเกินในผู้ใหญ่ และแบบแกมมาเกินในทารกเกิดใหม่\nลูกโซ่บีตาที่เกินจะประกอบเป็นโมเลกุลมีหน่วยย่อย 4 ส่วน (tetramer) ที่ไม่เสถียรซึ่งเรียกว่า Hemoglobin H (HbH) เป็นห่วงโซ่บีตา 4 ห่วงต่อกัน (β)\nซึ่งเป็นรูปแบบที่ส่งออกซิเจนได้ไม่ดี เพราะว่าสัมพรรคภาพ (affinity) ของโมเลกุลกับออกซิเจนสูงเกินไป และดังนั้น จึงไม่ปล่อยออกซิเจนในที่ที่ควร\nทาลัสซีเมียแอลฟา แบบ homozygote ซึ่งจะมีห่วงโซ่แกมมา มาก (γ) แต่ไม่มีแบบแอลฟาเลย (เรียกว่า Hemoglobin Barts) บ่อยครั้งจะทำให้เสียชีวิตหลังเกิดไม่นาน",
"title": "ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา"
}
] |
1430 | นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีพี่น้องกี่คน ? | [
{
"docid": "63252#5",
"text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
}
] | [
{
"docid": "202656#2",
"text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย",
"title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "530858#1",
"text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร)",
"title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "63252#6",
"text": "ยิ่งลักษณ์เป็นหลานอาของสุเจตน์ ชินวัตร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสุรพันธ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก ชัยสิทธิ์เป็นบุตรชายของพันเอกพิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเลิศ ยิ่งลักษณ์ยังเป็นญาติของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของทักษิณอีกด้วย",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "63252#7",
"text": "ยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มลิงก์เอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีมงคลสมรส แต่มิได้จดทะเบียนสมรส โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ชื่อเล่น: ไปค์)",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "306281#0",
"text": "เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462-23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 28",
"title": "เลิศ ชินวัตร"
},
{
"docid": "63261#2",
"text": "มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ชื่อ นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน)ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์ (ซัน) และ นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์ (ซูน)",
"title": "เยาวเรศ ชินวัตร"
},
{
"docid": "530858#2",
"text": "นางเยาวลักษณ์ สมรสและแยกทางกับ พันเอก (พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ มีบุตร 2 คน คือ น.ส.ปณิตา คล่องคำนวณการ และน.ส.นัทธฤทัย คล่องคำนวณการ ประวัติการทำงาน เคยเป็นเทศมนตรี ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายธุรการและงานคลังเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นผู้พิพากษาสมทบ นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ประจำเชียงใหม่ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ส่งผลให้เป็นอัมพาต ถัดมา 1 ปี ศาลจังหวัดชลบุรี จึงสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของมณฑาทิพย์ ผู้เป็นน้องสาว",
"title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "525813#3",
"text": "ครอบครัวมีอันจะกินครอบครัวหนึ่งซึ่งมีคุณนายรำเภาเป็นหัวหน้าครอบครัว มีลูกสาวสองคน คนพี่ชื่อ รจนาไฉน วิชนี ส่วนคนน้องชื่อ โรมฤทัย วืชนี แต่รจนาไฉนนั้นมีคนรักแล้วคือ ประวุฒิ อันครอบครัวของคุณนายรำเภานี้มีความสนิทสนมอยู่กับครอบครัวของคุณนายเปรม ปัทมกุล ซึ่งอยู่ที่สุโขทัย มีลูกชายคนหนึ่ง คือ ปัทม์ ปัทมกุล ทั้งสองครอบครัวนี้ต่างเคยให้สัญญากันนไว้ว่าถ้ามีลูกจะให้แต่งงานด้วยกันแต่เมื่อโรมฤทัยได้ทราบว่าตัวเองจะต้องหมั้นหมายกับปัทม์ก็ไม่พอใจยิ่งเป็นการกระทำแบบคลุมถุงชนของมารดา โรมฤทัยรู้สึกคับแค้นใจยิ่งนักโดยจะไม่ยอมรับหมั้นอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเห็นว่าปัทม์เป็นเพียงคนบ้านนอกจึงบังคับให้ผู้พี่คือรจนาไฉนรับหมั้นและแต่งงานแทน รจนาไฉนก็ไม่ยินยอมและอ้างว่าตนเองมีคนรักอยู่แล้วแม้คุณนายรำเภาจะขอร้องอย่างไรก็ไม่ประสบผลสำเร็จ\nวันหนึ่งโรมฤทัยได้บอกความจริงแก่รจนาไฉนว่ารจนาไฉนนั้นไม่ใช่ลูกสาวคุณแม่แต่เป็นเด็กที่เก็บมาเลี้ยงและว่ากล่าวอย่างรุนแรง รจนาไฉนตัดสินใจรับหมั้นกับปัทม์ เพื่อทดแทนบุญคุณเมื่อคุณนายเปรมทราบข่าวการตกลงรับหมั้นก็เดินทางเข้ามากรุงเทพพร้อมกับปัทม์ โดยทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเจอกันมาก่อน ปัทม์พบกับรจนาไฉนและทราบว่าเธอไม่ใช่ลูกสาวของคุณนายรำเภาก็รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมากและคิดว่าคุณนายแกล้งหลอกเอาคนอื่นมาแต่งงานเพื่อหวังต้มและหลอกเอาทรัพย์สินเงินทอง แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแต่งงานไปตามเรื่องตามราว ฝ่ายโรมฤทัยนั้นเมื่อได้เห็นปัทม์เข้าก็ไม่คิดว่าคนที่มาจากบ้านนอกจะหล่อเหลาสง่างามถึงเพียงนั้นและพยายามทุกวิถึทางที่จะยั่วยวนแต่ปัทม์ก็ไม่สนใจและตัดสินใจพารจนาไฉนกลับไปบ้านที่สุโขทัย ท่ามกลางความไม่เข้าใจกันของคนทั้งสอง ปัทม์คอยข่มขู่พูดจาดูถูกต่างๆนาๆเสมอ ทั้งคู่สมรสกันเพียงในนามเท่านั้น\nที่สุโขทัยนี่เอง อุรารัตน์ เจียรกุล หญิงสาวผู้หลงรักปัทม์อย่างหลงไหลพร้อมกับเพื่อนชายมาหาปัทม์ที่บ้านพ่อเลี้ยงพูนทวีและปลัดวราห์เพื่อนทั้งสอง เมื่อพบกับรจนาไฉนก็ต่างหลงรักทันทีเพราะต่างเข้าใจว่ารจนาไฉนเป็นน้องสาวของปัทม์โดยปัทม์ก็พยายามสนับสนุนเต็มที่เช่นกัน ต่อมาพ่อเลี้ยงพูนทวีทราบความจริงว่ารจนาไฉนเป็นภรรยาของปัทม์ก็พยายามหักห้ามใจ เมื่อปัทม์ทำไม่สำเร็จจึงหันมาเล่นงานรจนาไฉนต่อไปเพื่อบีบบังคับให้หย่าขาดอยู่เสมอๆ อีกทั้งอุรารัตน์ที่เข้ามาเป็นมือที่สามคอยแทรกระหว่างทั้งสองอยู่เสมอและได้บอกกับรจนาไฉนว่าเธอตั้งท้องกับปัทม์ ทำให้รจนาไฉนสุดจะทานทนและตัดสินใจออกจากปัทมกุลทันที รจนาไฉนได้รับความช่วยเหลือจากพ่อเลี้ยงพูนทวีจึงให้รจนาไฉนอยู่ในความดูแลของแม่ครัว ส่วนตัวเองเปลี่ยนไปพักที่อื่นพร้อมทั้งไปหาปลัดวราห์เพื่อสืบถามความจริงและให้อุรารัตน์พูดความจริงว่าเด็กในท้องนั้นเป็นลูกของปลัดวราห์\nปัทม์พยายามตามหารจนาไฉนอย่างสุดกำลังและได้มาพบกับรจนาไฉนที่บ้านของพ่อเลี้ยงพูนทวีจึงเกิดความเข้าใจผิดกันขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปรจนาไฉนใจอ่อนยอมเดินทางกลับมาหาปัทม์ คนทั้งสองได้รู้จักถึงคำว่ารักและพรัดพราก ทางด้านโรมฤทัยกับประวุฒิเพราะความคึกคะนองและความมึนเมาทำให้ทั้งคู่พลาดทั้งๆที่ไม่ได้รักกันเลยโดยประวุฒิยังหวังจะได้ครองรักกับรจนาไฉนเพราะรู้ว่าแต่งงานกันเพียงในนามเท่านั้น ส่วนโรมฤทัยก็ยังหวังจะได้ครอบครองปัทม์เช่นกัน ทั้งคู่จึงตัดสินใจเดินทางขึ้นมาที่สุโขทัยแต่ทั้งคู่ก็ผิดหวังเมื่อทราบความจริงว่าขณะนี้ปัทม์และรจนาไฉนมีความรัก และมีความสุขดีแล้ว ทั้งโรมฤทัยและประวุฒิรู้สึกผิดหวังอย่างที่สุดจึงเดินทางกลับกรุงเทพและตัดสินใจแต่งงานกันด้วยหวังว่าจะได้เติมเต็มกันและกันต่อไปในวันข้างหน้าเมื่อเห็นว่าความรักนั้นมีค่าแก่การครอบครอง",
"title": "มัจจุราชสีน้ำผึ้ง"
},
{
"docid": "130989#5",
"text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) ซึ่งได้รับการคัดค้านจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง",
"title": "ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร"
}
] |
1440 | ประพจน์ หมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "356642#0",
"text": "ในตรรกศาสตร์และปรัชญา ประพจน์ () หมายถึงประโยคบอกเล่า (หรือประโยคปฏิเสธเชิงบอกเล่า) ที่มีเนื้อหาหรือความหมาย หรือหมายถึงรูปแบบของสัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือเสียงที่ทำให้เกิดประโยคบอกเล่าที่มีความหมาย ความหมายของประพจน์รวมไปถึงสมบัติที่บอกได้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ (ตีความด้วยค่าความจริง) และประพจน์เช่นนั้นถือว่าเป็น truthbearer ส่วนประโยคคำถาม คำสั่ง ขอร้อง คำอุทาน หรือประโยคที่ไม่สามารถระบุค่าความจริงได้ ไม่เป็นประพจน์",
"title": "ประพจน์"
}
] | [
{
"docid": "57347#23",
"text": "“สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”\nการที่จะหายจาก โรคทางวิญญาณ ได้โดยเด็ดขาด คือ การว่างจากการยึดถือใน เรา และ ของเรา และมุ่งไปสู่ “ความว่างที่สุด” (นิพพาน)\nท่านพุทธทาสเห็นว่า อำนาจต้านทานโรค (Immunity) อย่างสูงสุด หรือ หัวใจของพุทธศาสนา ที่จะทำลายพิษร้าย และ นำจิตเราไปสู่ความว่างที่สุด หรือ นิพพาน นั้น คือประโยคสั้นๆว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” (สัพเพ ธรรมา นาลัง อภินิวาสายะ)",
"title": "แก่นพุทธศาสน์"
},
{
"docid": "610487#1",
"text": "ลัทธิอไญยนิยม คือ ทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เราไม่อาจรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ คำว่า “อไญย” หมายความว่า “โดยปราศจากความรู้” ทัศนะอไญยนิยม คือ ทัศนะที่มีเหตุผลต่อยอดขึ้นมาจากลัทธิอเทวนิยม (Atheism) ลัทธิอเทวนิยมไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า – พิสูจน์ไม่ได้ – แต่ลัทธิอไญยนิยมบอกว่าการทรงดำรงอยู่ของพระเจ้าพิสูจน์ไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ว่าพระเจ้าทรงมีอยู่หรือไม่ พูดอีกอย่างคือ ลัทธิอไญยนิยมเชื่อว่าพระเจ้าอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ปักใจเชื่อว่ามี และไม่ปักใจเชื่อว่าไม่มี",
"title": "อไญยนิยม"
},
{
"docid": "763900#8",
"text": "ดร.ป็อปเปอร์ถือว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตั้งอยู่ในมูลฐานด้วยการอนุมานเช่นนี้\nเขาจึงเสนอว่า การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ เป็นการแก้ปัญหาการอุปนัย\nโดยให้ข้อสังเกตว่า แม้ว่า ประพจน์บ่งว่ามีจริงตัวหนึ่งเช่น \"มีหงส์ขาวตัวหนึ่ง\" จะไม่สามารถใช้ยืนยันประพจน์สากล\nแต่ก็สามารถใช้แสดงว่า ประพจน์สากลไม่เป็นจริง \nคือ ประพจน์บ่งว่ามีหงส์ดำตัวหนึ่ง สามารถแสดงว่าประพจน์สากล \"หงส์ทั้งหมดมีสีขาว\" ว่าไม่จริง ในตรรกศาสตร์ รูปแบบการพิสูจน์เช่นนี้เรียกว่า \"modus tollens\"\nคือ \"มีหงส์ดำตัวหนึ่ง\" ให้นัยว่า \"มีหงส์ที่ไม่ใช่สีขาว\" ซึ่งก็ให้นัยว่า \"มีอะไรอย่างหนึ่งที่เป็นหงส์ และไม่ใช่สีขาว\" ซึ่งพิสูจน์ \"หงส์ทั้งหมดมีสีขาว\" ว่าเท็จ เพราะนั่นเท่ากับประพจน์ว่า \"มีอะไรอย่างอื่นที่เป็นหงส์ และไม่ใช่สีขาว\"",
"title": "การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ"
},
{
"docid": "137816#2",
"text": "คำว่า อภิปรัชญา เป็นคำที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้น เมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์ อภิปรัชญามาจากคำว่า “อภิ” หมายถึง ความยิ่งใหญ่ สูงสุด เหนือสุด และปรัชญาหมายถึงความรู้อันประเสริฐเมื่อรวมเข้าด้วยกัน “อภิปรัชญา” จึงหมายถึง ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล",
"title": "อภิปรัชญา"
},
{
"docid": "763900#6",
"text": "อย่างที่สองเป็นประพจน์ที่รวบยอดอะไรอย่างหนึ่งทั้งหมด เช่น \"หงส์ทั้งหมดมีสีขาว\"\nนักตรรกศาสตร์เรียกประพจน์เหล่านี้ว่า ประพจน์สากล \nซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบ \"สำหรับ ก ทุกตัว ถ้า ก เป็นหงส์ตัวหนึ่ง ก ก็จะมีสีขาว\"\nกฎวิทยาศาสตร์ปกติควรจะอยู่ในรูปแบบนี้\nปัญหาสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ก็คือ\nบุคคลจะระบุกฎจากสังเกตการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร คือ บุคคลจะอนุมานประพจน์สากล จากประพจน์ที่บ่งว่ามีจริงไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ได้อย่างไร",
"title": "การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ"
},
{
"docid": "933006#1",
"text": "ในภาษาสันสกฤต \"ปร\" แปลว่า ขั้นสูง สูงสุด \"พรหมัน\" คือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล เริ่มปรากฏในคัมภีร์พระเวท และถูกขยายความในคัมภีร์อุปนิษัท ส่วนคำว่า \"ปรพรหมัน\" ซึ่งหมายถึงพรหมันสูงสุด เริ่มปรากฏในตำราของสำนักอไทฺวตเวทานตะยุคแรก",
"title": "ปรพรหมัน"
},
{
"docid": "237523#1",
"text": "วิภพ เมื่ออยู่ศัพท์เดียวแปลตรงตัวว่า ไม่มีภพ หรือ ความไม่มีอะไร หรือ ไม่มีความอยาก ตรงข้ามกับ ภพ ซึ่งแปลว่าความมีความเป็น (ความมีกิเลสตัณหา มีภพมีชาติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์) ดังนั้นจึงมีผู้กล่าวว่าวิภพเป็นไวพจน์แห่งนิพพาน คือ เป็นสภาวะที่หลุดพ้น ไม่มีความอยาก หลุดพ้นเพราะไม่มีกิเลสตัณหา นั่นเอง",
"title": "วิภพ"
},
{
"docid": "180350#0",
"text": "ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ",
"title": "ปรมัตถธรรม"
},
{
"docid": "600957#0",
"text": "ไวเศษิกะ (Vaisheshika; ) เป็นปรัชญาหนึ่งในศาสนาฮินดู เกิดขึ้นหลังพุทธกาล ผู้สถาปนาลัทธินี้คือฤๅษีกรณาทะ ผู้แต่งไวเศษิกสูตร คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงความแตกต่างหรือคุณลักษณะเฉพาะ เป็นแนวคิดแบบพหุสัจนิยม เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือปรมาณูมีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก พระเจ้าสูงสุดคือพระมเหศวรเป็นผู้สร้างโลก โดยเจตจำนงของพระองค์ จะกระตุ้นให้ปรมาณูมารวมตัวกัน จนเกิดเป็นสิ่งต่างๆและเป็นโลกในที่สุด เมื่อพระมเหศวรมีเจตจำนงที่จะทำลายโลก ปรมาณูแยกตัวออก โลกก็จะสลายไป เป้าหมายในการดำรงชีวิตคือโมกษะ ซึ่งเป็นภูมิของผู้ไม่มีกิเลส เมื่อชีวาตมันหลุดพ้นจากกิเลส ก็เข้าถึงโมกษะ",
"title": "ไวเศษิกะ"
}
] |
1441 | วิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทยคือ ? | [
{
"docid": "608485#0",
"text": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นระยะแรก ราวปี พ.ศ. 2470-2472 โดยพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม โดยทรงตั้งชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” เนื่องจากส่งกระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท และยังทรงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยกองช่างวิทยุ ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นการคู่ขนานกับสถานีส่วนพระองค์ โดยผู้ฟังนิยมเรียกว่า “สถานีวิทยุศาลาแดง” เนื่องจากสถานีส่งกระจายเสียง ตั้งอยู่ในบริเวณย่านที่เรียกว่าศาลาแดง และต่อมาสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เปิดกระจายเสียงอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วยการถ่ายทอดเสียงสด กระแสพระราชดำรัส เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#4",
"text": "พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มใ ห้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยปี พ.ศ. 2470 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ได้ทรงซื้อเครื่องส่งวิทยุเข้ามาเพื่อศึกษายังที่ประทับของพระองค์เองคือวังบ้านดอกไม้ ทั้งศึกษาและทดลองเอาโทรศัพท์และเสียงเพลงมาส่งเสียงพูด พร้อมเสียงดนตรีกระจายออกไป",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "608485#11",
"text": "กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ประกอบพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 อันเป็นวันที่ระลึกฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยการถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร มีใจความว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดั่งที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป”",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#15",
"text": "กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ประกอบพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ (ปลายปี) พ.ศ. 2473 อันเป็นวันที่ระลึกฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยการถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร โดยมีใจความสำคัญว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดั่งที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป”",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#5",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ก็ทรงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาถึงลักษณะของวิทยุกระจายเสียงและทดลองรูปแบบที่สมควรจัดตั้งในสยาม โดยได้สั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงกำลังส่ง 200 วัตต์ ขนาดความยาวคลื่น 36.42 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นสั้นเข้ามา 1 เครื่องทำการทดลองที่กรมไปรษณีย์โทรเลขที่ปากคลองโอ่งอ่าง และเริ่มส่งวิทยุกระจายเสียงอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ใช้สัญญาณเรียกงานประจำสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า \"4 พีเจ\" ซึ่งพีเจย่อมาจาก \"บุรฉัตรไชยากร\" อันเป็นพระนามเดิมของสมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "150446#1",
"text": "กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 โดยพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังเพื่อการค้นคว้าส่วนพระองค์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2471 ทรงสั่งซื้อเครื่องส่งวิทยุ กระจายเสียงคลื่นสั้น 36.42 เมตร ขนาด 200 วัตต์ มาจากต่างประเทศ แล้วทรงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง จากอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ปากคลองโอ่งอ่าง จึงนับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียง ครั้งแรกในประเทศไทย",
"title": "สถานีวิทยุกระจายเสียง"
},
{
"docid": "608485#6",
"text": "จากนั้นกองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ย้ายสถานีจากปากคลองโอ่งอ่าง ไปตั้งที่ศาลาแดงใช้สัญญาณเรียกว่า \" 2 พีเจ\" ช่างวิทยุไทยจึงได้ประกอบเครื่องส่งวิทยุใช้เองอีก 1 เครื่อง ส่งกระจายเสียงโดยใช้สัญญาณเรียกขานว่า \" 11 พีเจ \" (อ่านว่า หนึ่ง หนึ่ง พีเจ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 ประชาชนเริ่มมีความตื่นเต้นในการฟังวิทยุกระจายเสียงกันมากและมีการสร้างเครื่องรับวิทยุ ที่เรียกว่า เครื่องแร่กันมากขึ้น",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#7",
"text": "ดังนั้น สมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงทรงสั่งเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ขนาด 2.50 กิโลวัตต์ และขนาดคลื่น 300 เมตรจากบริษัท ฟิลลิปเรดิโอ จากประเทศฮอลแลนด์ ราคา 80,000 บาท เข้ามาอีก 1 เครื่อง พร้อมให้ห้างเกียร์สัน ดำเนินการสร้างห้องส่งกระจายเสียง เพื่อตั้งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกในประเทศไทยในชื่อว่า \"สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท\" (Radio Bangkok at Phayatai) ตั้งอยู่ในพระราชวังพญาไท บริเวณทุ่งพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) นับว่าประเทศไทยเริ่มตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง หลังจากบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเพียง 7 ปี เครื่องส่งวิทยุโทรเลขครั้งนั้นเป็นแบบประกายไฟฟ้า (Spark) ทำคลื่นวิทยุชนิดคลื่นลด สมัยนั้นยังไม่มีหลอดวิทยุ และยังไม่สามารถทำคลื่นวิทยุชนิดคลื่นต่อเนื่องได้",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#8",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 นายพลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ทรงซื้อเครื่องส่งวิทยุโทรศัพท์ชนิดใช้หลอด 3 อิเลคโตรด ใช้ความถี่สูง (คลื่นสั้น) กำลังส่งประมาณ 200 วัตต์ มาติดตั้งที่วังดอกไม้ ในกรุงเทพฯ เพื่อทรงทดลองค้นคว้า ได้ทรงทดลองส่งเสียงพูด และเสียงดนตรี ด้วยเครื่องส่งวิทยุโทรศัพท์ ทำนองส่งวิทยุกระจายเสียง นับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มมีการส่งวิทยุกระจายเสียงด้วยการบุกเบิกริเริ่ม ของเสด็จในกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#22",
"text": "กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ตั้งสถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ขึ้นที่แผนกช่างวิทยุ ซึ่งย้ายจากสถานีวิทยุศาลาแดง มาอยู่ที่ตึกกรมไปรษณีย์โทรเลขเก่า เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ฝั่งพระนคร และส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ด้วยเครื่องส่งขนาดเล็กใช้ความถี่สูง ภายหลังจึงเพิ่มกำลังส่งเป็น 500 วัตต์ ใช้ความถี่ 4,755 กิโลเฮิรตซ์ 7,022 กิโลเฮิรตซ์ 5,955 กิโลเฮิรตซ์ และ 950 กิโลเฮิรตซ์รวม 4 เครื่อง ส่งวิทยุกระจายเสียงพร้อมกันด้วยรายการเดียวกัน",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "608485#13",
"text": "โดยที่ปรากฏว่า ประชาชนสนใจและนิยมรับฟังวิทยุกระจายเสียงกันมากขึ้น โดยใช้เครื่องรับชนิดแร่ และชนิดหลอดขนาดเล็ก เพียง 2-3 หลอด กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรขึ้นที่บริเวณทุ่งพญาไท กรุงเทพ ฯ ตัวอาคารเครื่องส่งอยู่ในบริเวณทุ่งนา หน้าโฮเตลพญาไท (เดิมคือพระราชวังพญาไท) ส่วนห้องส่งกระจายเสียงอยู่บนชั้นสองของโฮเตลพญาไท (ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ของกองทัพบก)",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
}
] |
1450 | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "17368#1",
"text": "หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
},
{
"docid": "17368#0",
"text": "ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
}
] | [
{
"docid": "17368#19",
"text": "ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ไกรฤกษ์) ธิดาเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม:บางยี่ขัน) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
},
{
"docid": "17368#20",
"text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน โดยได้รับพระทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งศพไว้ที่ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาเสด็จไปสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2539 หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โดยความร่วมมือกันของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประดิษฐานที่บริเวณข้างสำนักงานอธิการบดี ลานหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยกราบบังคมทูลพระกรุณา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์และได้ถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยจัดให้มีการตักบาตร และจุดธูปเทียน วางพวงมาลัยสักการะรำลึกที่บริเวณลานอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งห้องเกียรติยศหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่บริเวณชั้น ๔ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยภายในจัดแสดงหนังสือที่ท่านแต่งขึ้น โต๊ะทำงาน ของสะสม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และครุยวิทยฐานะตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
},
{
"docid": "17368#5",
"text": "ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
},
{
"docid": "86123#2",
"text": "หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ณ วังศุโขทัย เป็นบุตรชายของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ กับหม่อมหลวงประอร จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม: มาลากุล) มีน้องชายร่วมบิดามารดาหนึ่งคนคือ หม่อมหลวงเพิ่มวุทธ์ สวัสดิวัตน์ และน้องชายต่างมารดาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการอาหารคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ มารดาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีซึ่งมีศักดิ์เป็นสมเด็จย่า ขณะหม่อมหลวงศิริเฉลิมมีอายุราว 3-4 ปี หม่อมหลวงประอรผู้มารดาได้หย่าร้างกับบิดาและสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์",
"title": "หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "55104#1",
"text": "หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล(2448 - 2530 :81 ปี) เป็นบุตรของ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) และท่านผู้หญิงนงเยาว์ มาลากุล ณ อยุธยา (นงเยาว์ ธรรมาธิกรณาธิบดี) มีพี่น้องร่วมมารดา ได้แก่",
"title": "หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล"
},
{
"docid": "64756#8",
"text": "นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (บุตรของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ซึ่งเมื่อครั้งท่านยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้เคยเป็นผู้ตรวจการศึกษาและคอยควบคุมดูแลโรงเรียนราชวิทยาลัย และเป็นผู้กราบบังคมทูลรายงานพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ได้ตระหนักถึงปณิธานอันแรงกล้าของชาวราชวิทย์ที่จักจัดตั้งโรงเรียนที่ตนเองรักและเทิดทูนกลับมาให้ได้ ม.ล.ปิ่น ท่านเลือกที่จะให้สมาคมราชวิทยาลัยเข้ามาใช้พื้นแผ่นดินแห่งนี้เพื่อเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย\nในที่สุดความปรารถนาอันแรงกล้าของบรรดาครู และนักเรียนเก่าราชวิทยาลัย ก็บรรลุจุดหมายปลายทาง โดยได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) และประธานกรรมการ ราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษาพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ร่วมกันวางโครงการจัดตั้ง และดำเนินกิจการ โรงเรียนราชวิทยาลัย",
"title": "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์"
},
{
"docid": "170118#0",
"text": "ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล) เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 เป็นธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์กับหม่อมเพิ่ม ถวายตัวในสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ เมื่ออายุได้ 11 ปี เมื่ออายุมากขึ้นรับหน้าที่จัดเครื่องฉลองพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ตลอดจนเก็บเครื่องเพชรและเครื่องทอง ต่อมาเมื่อหม่อมราชวงศ์แป้ว มาลากุล ถึงแก่อนิจกรรม ท่านได้เป็นผู้รับใช้คนสนิทของสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ต้องอยู่ใกล้ชิดพระองค์เพื่อรับพระราชเสาวนีย์ต่างๆ เมื่อประชวรก็ได้อยู่เฝ้าถวายการปรนนิบัติดูแลจนกระทั่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ สวรรคต",
"title": "ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)"
},
{
"docid": "17368#16",
"text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า \"เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ\"",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
}
] |
1477 | เวสเทิร์นสะฮารา มีเนื้อที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "154780#0",
"text": "เวสเทิร์นสะฮารา (; ; เบอร์เบอร์: ; ) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอาอายุน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
}
] | [
{
"docid": "11345#2",
"text": "ทะเลทรายสะฮารา มีความกว้างขวางถึง 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา และเป็นเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกาทั้งหมด แต่นับเป็นทะเลทรายที่ถือกำเนิดได้ราว 2,000 ปีเท่านั้น โดยเกิดจากความแห้งแล้งลงของภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์คล้ายโอเอซิส มีแม่น้ำ และสัตว์ป่าขนาดใหญ่มากมายอาศัยอยู่ โดยปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดี คือ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำของมนุษย์ในยุคนั้น",
"title": "ทะเลทรายสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#1",
"text": "เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสตศวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้ หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "183425#0",
"text": "ในดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา ธงที่ถือว่าเป็นธงชาติของดินแดนนี้มีอยู่ 2 ธง คือ",
"title": "ธงชาติเวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#5",
"text": "เวสเทิร์นสะฮารา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือระหว่างมอริเตเนียและโมร็อกโก และยังมีพรมแดนติดกับแอลจีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#15",
"text": "สหประชาชาติพยายามที่จะระงับข้อพิพาทเหล่านี้ผ่านภารกิจในการไปเยือนเมื่อปลายปี 2518 รวมทั้งคำตัดสินจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) อาจยอมรับได้ว่าเวสเทิร์นสะฮารามีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับโมร็อกโกและมอริเตเนีย แต่ประชากรในดินแดนนี้ก็มีสิทธิในการตัดสินใจการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 โมร็อกโกได้เริ่มปฏิบัติการกรีนมาร์ช (the Green March) ในเวสเทิร์นสะฮารา ชาวโมร็อกโกที่ปลอดอาวุธจำนวน 350,000 คน มารวมกันที่เมือง ทาร์ฟายา (Tarfaya) ในโมร็อกโกตอนใต้และรอสัญญาณจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโกเพื่อข้ามพรมแดนในการเดินขบวนอย่างสันติ แต่เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในวันที่ 31 ตุลาคมกองกำลังโมร็อกโกได้บุกเวสเทิร์นสะฮาราทางตอนเหนือไปแล้ว\n \nในช่วงปลายสมัยการปกครองของนายพลฟรังโก และหลังจากปฏิบัติการกรีนมาร์ช รัฐบาลสเปนได้ลงนามในข้อตกลงไตรภาคีร่วมกับโมร็อกโกและมอริเตเนียในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการถ่ายโอนดินแดนเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2518 ข้อตกลงนี้จะแบ่งการปกครองออกเป็นสองฝ่าย ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียจะแบ่งกันครอบครองดินแดน โมร็อกโกจะครอบครองดินแดนทางตอนเหนือประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ในฐานะจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก และมอริเตเนียจะครอบครองดินแดนในส่วนที่สามในฐานะจังหวัด Tiris al-Gharbiyya สเปนจะยุติบทบาทของตัวเองในสะฮาราของสเปนใน 3 เดือน และจะส่งคนของตัวเองที่ยังเหลืออยู่กลับประเทศ",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#9",
"text": "การตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกของเวสเทิร์นสะฮาราของชนเผ่าอื่นๆ อาจรวมถึงชาวบาฟูร์ (Bafour) และชาวเซเรอร์ ชาวบาฟูร์ต่อมาถูกแทนที่หรือถูกดูดกลืนโดยกลุ่มคนที่พูดภาษาเบอร์เบอร์ ซึ่งในที่สุดก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกับการอพยพของชาวอาหรับเผ่าเบนี ฮัสซัน Beni Ḥassān",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#13",
"text": "เมื่อเวลาผ่านไป การปกครองอาณานิคมของสเปนเริ่มคลี่คลายลงด้วยกระแสทั่วไปของการมอบเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนหรือรัฐในอารักขาในแอฟริกาเหนือและในบริเวณตอนล่างของทะเลทรายสะฮาราเริ่มจะได้รับเอกราชจากมหาอำนาจในทวีปยุโรป การให้เอกราชของสเปนเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่แรงกดดันทางด้านการเมืองและสังคมภายในของสเปนนั้นเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการปกครองของฟรันซิสโก ฟรังโก มันเป็นแนวความคิดที่นิยมไปทั่วโลกที่มีต่อการให้เอกราช สเปนจึงเริ่มที่จะปลดตัวเองออกจากดินแดนอาณานิคมที่เหลืออยู่ ในปี 2517-2518 รัฐบาลได้ออกคำมั่นสัญญาว่าจะลงประชามติเกี่ยวกับการให้เอกราชในเวสเทิร์นสะฮารา",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#12",
"text": "ชาวสเปนเริ่มสนใจในบริเวณสะฮาราเพื่อใช้ในการทำท่าเรือเพื่อการค้าทาส โดยในช่วงทศวรรษที่ 1700 สเปนได้เปลี่ยนกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลสะฮาราไปสู่การจับปลาเชิงพาณิชย์ หลังจากมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมในยุโรปในการประชุมที่เบอร์ลินเมื่อปี 2427 เกี่ยวกับขอบข่ายอาณานิคมในแอฟริกา สเปนได้ยึดอำนาจควบคุมเวสเทิร์นสะฮาราและจัดตั้งเป็นอาณานิคมของสเปน หลังจากปี 2482 และการปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้พื้นที่นี้ถูกปกครองโดยโมร็อกโกของสเปน จากผลดังกล่าวทำให้ อาห์เหม็ด เบลบาเชอร์ ฮัสคูรี (Ahmed Belbachir Haskouri) หัวหน้าคณะรัฐมนตรี เลขาธิการรัฐบาลโมร็อกโกของสเปน ได้ร่วมมือกันกับชาวสเปนเพื่อเลือกผู้ว่าการในดินแดนนั้น บรรดาผู้มีอิทธิพลในสะฮาราซึ่งอยู่ในสถานะที่สำคัญ เช่น สมาชิกของตระกูล มา เอล ไอนาอิน (Maa El Ainain family) ได้เสนอรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าการคนใหม่ เบลบาเชอร์ ได้รับเลือกให้อยู่รายชื่อนี้พร้อมด้วยข้าราชการชั้นสูงของสเปน ในช่วงงานเฉลิมฉลองประจำปีของการประสูติศาสดามุฮัมมัด บรรดาผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ก็ได้แสดงความเคารพต่อกาหลิบเพื่อแสดงความซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์โมร็อกโก",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "154780#3",
"text": "ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่นๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย)",
"title": "เวสเทิร์นสะฮารา"
},
{
"docid": "11345#0",
"text": "ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา () เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า \"สะฮารา\" ในภาษาอาหรับ (, ) หมายถึง \"ทะเลทราย\"",
"title": "ทะเลทรายสะฮารา"
}
] |
1481 | หมีโคอาลา กินพืชอย่างเดียวหรือไม่ ? | [
{
"docid": "965752#1",
"text": "หมีโคอาลาอาศัยอยู่กับอาหารคือพืชยูคาลิปตัส ต้นไม้จำนวนมากเหล่านี้กำลังถูกแผ้วถางในแต่ละปี จุดสนใจหลักของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย คือการได้รับการออกกฎหมายใหม่เพื่อปกป้องต้นไม้ของโคอาลา องค์กรนี้ไม่มีรูปแบบของเงินทุนจากรัฐบาลโดยสมัครใจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียสามารถเสวนาได้อย่างอิสระสำหรับโคอาลาโดยไม่มีข้อจำกัดของรัฐบาล ดังนั้น มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียจึงอาศัยการบริจาค, การสนับสนุน และการระดมทุน เพื่อเป็นเงินทุนในการทำงานที่กำลังดำเนินอยู่ การวิจัยของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียระบุว่า บางแห่ง หมีโคอาลาระหว่าง 52,000 ถึง 87,000 ตัวยังคงอยู่ในป่า การสูญพันธุ์ในท้องถิ่นเกิดขึ้นเป็นประจำ และมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียเชื่อว่าวิธีเดียวที่จะปกป้องและฟื้นฟูประชากรในอนาคตก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา",
"title": "มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย"
},
{
"docid": "54839#7",
"text": "โคอาลากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัสมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 เซนติเมตร ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาลามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ร้อยละ 25 ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาลาไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ ส่วน\nใหญ่โคอาลากินใบยูคาลิปตัสประมาณวันละ 2,000 ถึง 5,000 กรัม โดยปกติมันจะนอนถึง 16–24 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้ ทำให้โคอาลาวิวัฒนาการตัวเองให้มีสมองขนาดเท่ากับมะเขือเทศหนึ่งผลเท่านั้น",
"title": "โคอาลา"
}
] | [
{
"docid": "54839#0",
"text": "โคอาลา () เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้อง จำพวกพอสซัม (ไม่ใช่หมี) ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายสัตว์ในตระกูลหมี ทำให้ส่วนใหญ่นิยมว่า \"หมีโคอาลา\" หรือ \"หมีต้นไม้\"",
"title": "โคอาลา"
},
{
"docid": "965904#1",
"text": "โคอะลา มาร์ช มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบหมีโคอาลา โดยมีภาพหมีโคอาลาอยู่ด้านนอกคุกกี้กำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ มีการบรรจุหลายรสชาติ เช่น น้ำผึ้ง, วานิลลา, ลาเต้ และกล้วย รวมทั้งกล้วยแช่แข็ง สองรสชาติที่พบมากที่สุดคือสตรอว์เบอร์รีและช็อกโกแลต และมีสองรสชาติที่มีอยู่ในสหรัฐ รวมไปถึงคุกกี้ช็อกโกแลตที่เต็มไปด้วยครีมช็อกโกแลตขาวและมัจฉะ ขนมขบเคี้ยวนี้ยังมีในรสสับปะรดซึ่งหายากกว่ารสอื่น ๆ นอกจากนี้ โคอะลา มาร์ช ยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ของประเทศออสเตรเลีย",
"title": "โคอะลา มาร์ช"
},
{
"docid": "965752#14",
"text": "มีพื้นที่กว่า 40,000 ตารางกิโลเมตรที่ได้รับการทำแผนที่สำหรับแผนที่ถิ่นที่อยู่ของโคอาลา ไม่เหมือนโครงการทำแผนที่อื่น ๆ แผนที่นี้ไม่เพียงชี้ตำแหน่งของสายพันธุ์แบบปัจเจกเท่านั้น หากแต่แสดงถึงการเกิดขึ้นของที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาที่เหมาะสม (แม้ว่าจะไม่มีหมีโคอาลาอยู่ในขณะนี้) ซึ่งอาจจะ \"ต่อยอด\" ในอนาคตหากจำเป็น มีมากกว่า 1,000 แห่งที่ได้รับการระบุในเซาท์อีสต์ควีนส์แลนด์",
"title": "มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย"
},
{
"docid": "879427#16",
"text": "สัตว์และพืชที่ปรับตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จะสามารถอยู่ในที่อยู่โดยเฉพาะ ๆ กินอาหารโดยเฉพาะ \nและไม่สามารถรอดชีวิตได้ถ้าไม่มีที่อยู่และอาหารตามที่จำเป็น\nสัตว์กินพืชหลายอย่างจะเป็นแบบนี้\nตัวอย่างสุด ๆ รวมทั้งหมีโคอาลาซึ่งต้องอาศัยยูคาลิปตัส และแพนด้ายักษ์ที่ต้องอาศัยไม้ไผ่\nสัตว์ที่กินอยู่แบบทั่วไปจะสามารถกินอาหารได้หลายหลาก จึงรอดชีวิตได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ\nตัวอย่างรวมทั้งมนุษย์ หนู ปู และสัตว์กินเนื้อหลายอย่าง",
"title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)"
},
{
"docid": "965752#13",
"text": "ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียกับเดอะเรย์กรุ๊ปส่งผลให้เกิดหาดโคอาลา เป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับหมีโคอาลา และเป็นหลักฐานว่าการพัฒนากับการคุ้มครองสัตว์ป่าไม่จำเป็นต้องเข้ากันไม่ได้ มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียเป็นแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยโคอาลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลการวิจัยรวมถึงการบริจาคจากหมีโคอาลาสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย และการศึกษาความเป็นไปได้ของประชากรโคอาลาในภูมิภาคทางชีววิทยาต่าง ๆ",
"title": "มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย"
},
{
"docid": "112184#8",
"text": "ที่เมืองคักโตวิก รัฐอะลาสสกา หมีขาว มีรายงานว่าได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับหมีกริซลีด้วย ได้ลูกที่ออกมามีรูปร่างบึกบึนใหญ่โตและมีใบหูสามเหลี่ยมตั้งตรงอยู่ส่วนบนของหัวเหมือนหมีกริซลี แต่ทว่ามีขนสีขาวเหมือนหมีขาว และมีลำตัวใหญ่โตกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งหมีลูกผสมนี้มีชื่อเรียกว่า \"ซูเปอร์แบร์\" ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น เนื่องจากหมีจะเข้ามาหาอาหารถึงในตัวเมือง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน",
"title": "หมีขาว"
},
{
"docid": "112202#4",
"text": "หมีสีน้ำตาลกินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้งพืชและสัตว์ โดยหากเป็นพืชมักจะเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่ บางครั้งกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง หรือ หนู แต่บางครั้งก็กินสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า, วัวป่า, กวาง รวมถึงซากสัตว์ ในช่วงฤดูกาลที่มีอาหารสมบูรณ์ อาหารที่หมีสีน้ำตาลชอบมาก คือ ปลาแซลมอน และปลาเทราท์",
"title": "หมีสีน้ำตาล"
},
{
"docid": "136807#1",
"text": "มีลักษะเหมือนหมึกผสมกับหอยฝาเดี่ยว เป็นสัตว์ที่ว่องไว ว่ายน้ำได้ดี ตาไม่มีคอร์เนียและเลนส์ เป็นแอ่งบุ๋มจากลำตัวเข้ามา มีน้ำทะเลเข้ามาอาบในชั้นเรตินาจึงรับภาพไม่ได้ เยื่อแมนเทิลมีกล้ามเนื้อหนา มีหนวดที่มากถึง 63-94 เส้น ซึ่งมากกว่าหมึกเสียอีกและมีประสาทสัมผัสที่ทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์สำหรับสัมผัสและรับรู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การหาอาหารและหลบหลีกศัตรู มีเปลือกหุ้มอยู่ภายนอก เปลือกขดเป็นวง มีผนังกั้นภายในตามขวาง แบ่งเป็นช่องอยู่ด้านในคล้ายห้อง ช่องนอกสุดที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นช่องที่ตัวหอยอาศัยอยู่ อากาศที่อยู่ในช่องของเปลือกทำให้หอยงวงช้างลอยตัวได้ เมื่อจะดำน้ำลง หอยจะปล่อยอากาศที่อยู่ในช่องเหล่านี้ออกมา แล้วให้น้ำเข้ามาแทนที่ ทำให้ตัวหนักและจมลงได้ อันเป็นหลักการเดียวกับถังอับเฉาในเรือดำน้ำ",
"title": "หอยงวงช้าง"
},
{
"docid": "667885#3",
"text": "กอริลลาภูเขา เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีชนิดพืชที่กินได้หลากหลาย เมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอุจจาระของมนุษย์ตามสุมทุมพุ่มไม้ต่าง ๆ หรีอบางครั้งอาจถ่ายทิ้งไว้ที่ระหว่างทาง มีพฤติกรรมย้ายที่หากินไปเรื่อย ๆ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน ตัวผู้ในวัยโตเต็มที่จะกินอาหารมากถึงวันละ 30 กิโลกรัม ขณะที่ในตัวเมีย 18 กิโลกรัม ในฝูง ๆ หนึ่งประกอบไปด้วยตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง โดยมีตัวเมียประมาณ 3 ตัว และมีกอริลลาที่ยังไม่โตเต็มวัยซึ่งเป็นลูก ๆ อีกราว 3 ตัว ซึ่งแต่ละฝูงจะมีอาณาเขตเป็นของตัวเองชัดเจน โดยตัวผู้จ่าฝูงจะทำหน้าที่ปกป้องดูแลอาณาเขตของตัวเอง อีกทั้งยังมีพฤติกรรมคล้ายกับมนุษย์มาก กล่าวคือ จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต, มีการแข่งขันกันเองในหมู่พี่น้อง, ลูกตัวผู้มีการต่อสู้กับพ่อ หรือการที่จ่าฝูงที่อายุมากแล้วส่งมอบการเป็นจ่าฝูงให้แก่ตัวที่แข็งแรงกว่าตัวใหม่ขึ้นเป็นจ่าฝูงแทน เป็นต้น",
"title": "กอริลลาภูเขา"
}
] |
1492 | สรีรวิทยา คืออะไร ? | [
{
"docid": "729#12",
"text": "สรีรวิทยาเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพและทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการศึกษาทางชีววิทยา การศึกษาทางสรีรวิทยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่หลักของสรีรวิทยาในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนแต่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์สามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาในเซลล์มนุษย์ได้ สรีรวิทยาของสัตว์เป็นการศึกษาทั้งในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สรีรวิทยาของพืชก็มีวิธีการศึกษาเช่นเดียวกับในสัตว์",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "3886#0",
"text": "สรีรวิทยา () เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี",
"title": "สรีรวิทยา"
}
] | [
{
"docid": "353211#1",
"text": "สรีรวิทยาระบบนิเวศของพืชเป็นวิทยาศาสตร์เชิงทดลองที่พยายามอธิบายกลไกทางสรีรวิทยาพื้นฐานภายใต้ขอบเขตของการสังเกตภายในระบบนิเวศ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านสรีรวิทยาระบบนิเวศจะตอบคำถามเกี่ยวกับการควบคุมการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การอยู่รอด ความอุดมสมบูรณ์และการกระจายทางภูมิศาสตร์ของพืชในฐานะที่กระบวนการเหล่านี้ได้รับผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชกับสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี รูปแบบทางสรีรวิทยาระบบนิเวศเหล่านี้ ช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญและหน้าที่ของลักษณะเฉพาะของพืชและวิวัฒนาการ คำถามทางสรีรวิทยาระบบนิเวศจะได้มาจากการบูรณาการในระดับสูง เช่น \"ระบบนิเวศ\"ในความหมายที่กว้างที่สุดซึ่งรวมถึงเกษตรกรรม พืชสวน การป่าไม้ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามคำอธิบายของสรีรวิทยาระบบนิเวศมักต้องการความเข้าใจกลไกในระดับล่างของการบูรณาการ (สรีรวิทยา ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีววิทยาโมเลกุล) นอกจากนี้ปัญหาสังคมจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ธรรมชาติจะได้รับประโยชน์จากมุมมองของสรีรวิทยาระบบนิเวศ สรีรวิทยาระบบนิเวศสมัยใหม่จึงต้องมีความเข้าใจที่ดีทั้งทางด้านกลไกระดับโมเลกุลและกระบวนการทำงานของพืชทั้งต้นในบริบทของสิ่งแวดล้อม",
"title": "สรีรวิทยาระบบนิเวศ"
},
{
"docid": "353211#0",
"text": "สรีรวิทยาระบบนิเวศ (; มาจากภาษากรีก οἶκος, oikos,\"บ้าน\"; φύσις, physis,\"ธรรมชาติ กำเนิด\" และ λογία, logia ความรู้) หรือ สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม เป็นหัวข้อทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพซึ่งจากการศึกษาการปรับตัวทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตกับสภาวะของสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาวิวัฒนาการและสรีรวิทยาเปรียบเทียบ",
"title": "สรีรวิทยาระบบนิเวศ"
},
{
"docid": "630754#0",
"text": "สรีรวิทยาไต เป็นการศึกษาสรีรวิทยาของไต อันครอบคลุมการทำหน้าที่ทุกอย่างของไต รวมถึงการดูดซึมกลับซึ่งกลูโคส กรดอะมิโน และสารโมเลกุลเล็กอื่น การกำกับแร่ธาตุโซเดียม โพแทสเซียมและอิเล็กโทรไลต์อื่น การกำกับสมดุลของเหลวและความดันเลือด การธำรงสมดุลกรด-เบส การผลิตฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงอีรีโทรปอยอีติน และการปลุกฤทธิ์วิตามินดี",
"title": "สรีรวิทยาไต"
},
{
"docid": "338276#7",
"text": "ปัจจุบัน ป่วยเป็นโรคไวรัสซีที่ตับ และอีกหลายโรค ต้องรับประทานยาเป็นจำนวนมากและเข้ารับตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุกเดือน ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการขายรองเท้ามือสองและเสื้อผ้ามือสองตามตลาดนัดจังหวัดต่าง ๆ และรับจ้างร้องเพลงบ้างตามงานต่าง ๆ แล้วแต่ผู้ว่าจ้าง และได้อยู่กินกับ บูรพา ชินพันธุ์ ภรรยาคนปัจจุบันมานานกว่า 20 ปี ซึ่งทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน ที่บ้านพักส่วนตัวที่ย่านคลองสาม ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยภรรยาไม่ได้ทำงานเนื่องจากเคยป่วยเป็นมะเร็งมาก่อนเหมือนกัน และลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลสุริยาโดยเฉพาะ ทำให้สุริยาต้องเป็นเรี่ยวแรงหลักในการหาเลี้ยงชีพแต่เพียงผู้เดียวและเคยขึ้นคอนเสิร์ต เอกชัย ศรีวิชัย พ.ศ. 2546-2548ฯลฯ",
"title": "สุริยา ชินพันธุ์"
},
{
"docid": "810384#13",
"text": "ทางสรีรวิทยา การถ่ายปัสสาวะเกี่ยวพันกับการประสานงานกันระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง อัตโนวัติ และโซมาติก ในทารก หรือผู้สูงอายุบางคน ที่มีอาการบาดเจ็บของระบบประสาท การถ่ายปัสสาวะอาจเกิดขึ้นในฐานะรีเฟล็กซ์โดยไม่สมัครใจ ศูนย์สมองที่ควบคุมการปัสสาวะ ได้แก่ ศูนย์ถ่ายปัสสาวะพอนทีน (Pontine micturition center), เนื้อเทาพีเรียคืวดักทัล (Periaqueductal gray) และเปลือกสมอง ในระหว่างการแข็งตัว ศูนย์เหล่านี้จะยับยั้งการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อทำหน้าที่แยกทางสรีรวิทยาระหว่างการขับถ่ายและการสืบพันธุ์ขององคชาต และป้องกันปัสสาวะเข้าไปอยู่ในท่อปัสสาวะระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ",
"title": "องคชาตของมนุษย์"
},
{
"docid": "36809#0",
"text": "สรีรวิทยากล้ามเนื้อ เป็นสาขาหนึ่งของวิชาสรีรวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของลักษณะ คุณสมบัติ การทำงานของกล้ามเนื้อ ในร่างกายของมนุษย์ จะมีกล้ามเนื้ออยู่ราว 600 มัด ซึ่งใช้ทำหน้าที่สำคัญในสิ่งมีชีวิต อย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การหายใจ การทรงตัว การย่อยอาหาร หมุนเวียนเลือด และการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น",
"title": "สรีรวิทยาระบบกล้ามเนื้อ"
},
{
"docid": "3886#4",
"text": "สรีรวิทยาของมนุษย์เป็นสาขาวิชาที่ซับซ้อนที่สุดในสรีรวิทยา สาขานี้แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ ซึ่งมีความสอดคล้องกัน สัตว์หลายชนิดมีกายวิภาคคล้ายกับมนุษย์ จึงมีการศึกษาในสาขาเหล่านี้ด้วยเช่นกัน",
"title": "สรีรวิทยา"
},
{
"docid": "36809#37",
"text": "เป็นกล้ามเนื้อซึ่งไม่ลายตามขวาง พบในอวัยวะภายในซึ่งไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ เช่น ผนังทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารส่วนกลางไปจนถึงลำไส้ใหญ่เรียก เรคตัมผนังเส้นเลือด, ผนังมดลูกผนังกระเพาะปัสสาวะ, ม่านตา และกล้ามเนื้อโคนขา เป็นต้น",
"title": "สรีรวิทยาระบบกล้ามเนื้อ"
},
{
"docid": "36809#38",
"text": "มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อลายแต่ไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ โดยจะทำงานหดตัวเป็นจังหวะด้วยตัวเอง เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะแยกเป็นแขนง ทำงานได้ตลอดเวลา จะสิ้นเมื่อหมดอายุไข",
"title": "สรีรวิทยาระบบกล้ามเนื้อ"
},
{
"docid": "3886#3",
"text": "สาขาวิชาอื่น ๆ ที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิทยา",
"title": "สรีรวิทยา"
}
] |
1496 | วัดเบญจมบพิตร เป็นพระอารามหลวงหรือไม่ ? | [
{
"docid": "9689#0",
"text": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "9689#4",
"text": "เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย \"ราชวรวิหาร\" ดังเช่นในปัจจุบัน",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "9689#3",
"text": "เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
}
] | [
{
"docid": "21879#0",
"text": "วิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดอารามหลวงตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดเด่นที่สำคัญคือเป็นวัดเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ที่เสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ด้วยทองสำริดหุ้มทองตามปัจจุบัน",
"title": "วิหารพระมงคลบพิตร"
},
{
"docid": "184771#0",
"text": "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "232281#3",
"text": "ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร์มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชร์ไปจากวัดวังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์",
"title": "หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน)"
},
{
"docid": "82517#0",
"text": "วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ เนื่องจากขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2459 ซึ่งพระสุวรรณมุณี (หลวงพ่อชิด ชิตรัตน์) เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันเจ้าอาวาส คือ พระราชสุวรรณมุนี (แคล้ว อุตฺตโม ป.ธ.7) \nวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหารหลวงของวัดประดิษฐานพระพุทธรุปสำคัญ คือ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือ พระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัด เป็นที่รวมรวมศิลปะ ความเป็นมาต่าง ๆ ของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม",
"title": "วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)"
},
{
"docid": "993667#1",
"text": "วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง หรือที่เรียกทั่วไปว่า วัดหลวงพ่อโต กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า \"วัดบางขุนพรหมนอก\" ต่อมา ชาวลาวที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงกับวัด นามว่า \"เจ้าอินทร์\" ผู้เป็นน้าชายของ\"เจ้าน้อยเขียวค่อม\" พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ได้ทำการบูรณะวัดแห่งนี้ครั้งใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า \"วัดอินทร์\" เพื่อให้เกียรติแด่ผู้บูรณะวัดนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า \"วัดอินทรวิหาร\" ด้วยอาจเกิดสับสนกับ วัดอินทาราม ที่บางยี่เรือ",
"title": "วัดอินทรวิหาร"
},
{
"docid": "63568#0",
"text": "วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 1998 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย",
"title": "วัดโพธารามมหาวิหาร"
},
{
"docid": "289251#0",
"text": "วัดกวิศรารามราชวรวิหาร (อารามหลวงแห่งเมืองลพบุรี) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อันดับ 1 ชนิดราชวรวิหาร ที่ตั้ง ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี คำว่า วัดกวิศราราม แปลว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันมี พระเทพเสนาบดี (ประเทือง อาภาธโร) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรีเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และในวันที่ 9 ตุลาคม ปีพุทธศักราช 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เป็นการส่วนพระองค์ ได้นำมาซึ่งความปราบปลื้มแก่ชาวลพบุรีเป็นอย่างมาก",
"title": "วัดกวิศรารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "27458#0",
"text": "วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า \"ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก\" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย",
"title": "วัดพุทไธศวรรย์"
},
{
"docid": "9689#2",
"text": "เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดแหลม เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด\nเมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ \nมีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ \nในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า \"สวนดุสิต\" (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
}
] |
1501 | เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "685421#1",
"text": "รายการเกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 6 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 ทางช่อง 7 สี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. เป็นเวลา 85 นาที โดยเป็นเกมโชว์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งต่างๆ เช่น ไดโนเสาร์ นก กรุงเทพฯ ในอดีต ฯลฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเข้ามาร่วมสนุกโดยการเขียนจดหมายมาสมัครร่วมรายการ หรือสมัครทางเว็บไซต์ได้อีกด้วย โดยมีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ทางรายการได้นำเอาไดอาน่า จงจินตนาการ มาเป็นพิธีกรของรายการ และเพิ่มเกมใหม่ รวมถึงลดเงินรางวัลลง ต่อมาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศ พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 60 นาที ในวันอาทิตย์ เวลา 12.15 - 13.15 น. และเวลา 12.00 - 13.00 น. ตามลำดับ และยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เกมพันหน้า เอื้ออาทร เกมพันหน้า เดอะฮีโร่ เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น ในปัจจุบัน\nในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการเกมพันหน้านั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือยุคแรก (มกราคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2545) ยุคที่สอง (กุมภาพันธ์ 2545 - กุมภาพันธ์ 2546) ยุคที่สาม (กุมภาพันธ์ 2546 - พฤษภาคม 2546) และยุคสุดท้าย (มิถุนายน 2546 - มกราคม 2548) โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ",
"title": "เกมพันหน้า"
},
{
"docid": "685421#0",
"text": "เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแสบคูณสอง และเป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 และยุติการออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีพิธีกรคือเกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี และ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2546 - 2548)",
"title": "เกมพันหน้า"
}
] | [
{
"docid": "935164#0",
"text": "เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น เป็นรายการเกมโชว์และเรียลลิตีโชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12:00 - 13:30 น. ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยครั้งนี้มีการเปลี่ยนพิธีกรคู่เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยผู้ที่รับหน้าที่พิธีกร คือ ฟรอยด์ - ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ และโบ - ธนากร ชินกูล ส่วนกิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และติ๊ก กลิ่นสี พิธีกรคู่ที่เคยรับหน้าที่นี้มาเป็นเวลา 17 ปี ได้ผันตัวไปเป็นกรรมการประจำรายการ และมีผู้จัดการทีมที่นำชมรมมาแข่งในแต่ละสัปดาห์ คือ บอล เชิญยิ้ม",
"title": "เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น"
},
{
"docid": "859890#0",
"text": "เกมพันหน้า เอื้ออาทร เป็นรายการเกมโชว์และวาไรตี้โชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น.- 13.00 น. ภายหลัง 11:45 - 12:45 น. และ 11:45 - 13:10 น. ตามลำดับ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตรายการโดย บริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด โดยมี กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และ ติ๊ก กลิ่นสี เป็นผู้ดำเนินรายการ",
"title": "เกมพันหน้า เอื้ออาทร"
},
{
"docid": "934171#0",
"text": "เกมพันหน้า เดอะฮีโร่ เป็นรายการเกมโชว์และเรียลลิตีโชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11:45 - 12:45 น. ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยมี กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และ ติ๊ก กลิ่นสี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมี บอล เชิญยิ้ม เป็นผู้กำหนดโจทย์",
"title": "เกมพันหน้า เดอะฮีโร่"
},
{
"docid": "449355#0",
"text": "นักประดิษฐ์พันล้าน เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันที่รักในการประดิษฐ์และมีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มีโอกาสทำรายได้มูลค่ามหาศาลในอนาคต รายการนี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 และออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557แต่ละสัปดาห์ ผู้แข่งขัน (คนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้) นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าดีพอที่จะได้เป็นนักประดิษฐ์พันล้านประจำรายการ โดยนำเสนอที่มาของสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงสาธิตการใช้โดยผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการจะมาร่วมสังเกตและอาจทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวด้วยก็ได้ จากนั้นกรรมการประจำรายการจะซักถามผู้แข่งขัน รวมถึงวิจารณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้แข่งขัน เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ดำเนินรายการจะให้กรรมการแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้แข่งขันนำเสนอ พร้อมทั้งตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว รวมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะจากกรรมการทั้งสอง",
"title": "นักประดิษฐ์พันล้าน"
},
{
"docid": "319820#0",
"text": "ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์ (Honeymoon Fight!) เป็นรายการเกมโชว์รายการแรกและรายการโทรทัศน์รายการแรกของ บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 23.15 - 00.10 น. และทุกวันจันทร์ เวลา 22.30 - 23.30 น. ตามลำดับ ปัจจุบันใช้ชื่อรายการว่า \"น้ำผึ้งพระจันทร์\" ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 16.00 - 17.00 น. ต่อมาเปลี่ยนเวลาเป็นวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.15 น. และตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป เปลี่ยนเวลาใหม่ทุกวันจันทร์ เวลา 20.45 - 21.45 น. ทางช่อง 3 SD มี สมพล ปิยะพงศ์สิริ และ ปาณิสรา พิมพ์ปรุ เป็นพิธีกร ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นเกมโชว์อีกครั้ง และ ได้กลับมาใช้ชื่อรายการว่า \"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"",
"title": "ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์"
},
{
"docid": "850480#0",
"text": "เกมจารชน คู่หูอันตราย เป็นรายการเกมโชว์ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทางเวิร์คพอยท์ทีวี ทุกวันศุกร์ เวลา 22.00 น. - 23.00 น. ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้นงดออกอากาศไปชั่วคราว และกลับมาออกออกอากาศอีกครั้งเมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2560 ดำเนินรายการโดย ตั๊กและป๋อง ในวันที่ 30 มิถุนายน 2560 รายการได้นำเทปเก่าๆมาออกอากาศจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2560 รายการงดออกอากาศ และออกอากาศเทปสุดท้ายในวันที่ 23 มิถุนายน 2560ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้ร่วมรายการ 4 คน รับบทเป็นจารชนฝึกหัดที่จะต้องผ่านด่านอันตราย 3 ด่าน เพื่อกลายเป็นสุดยอดจารชนประจำสัปดาห์",
"title": "เกมจารชน คู่หูอันตราย"
},
{
"docid": "82514#0",
"text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการเกมโชว์ในประเทศไทยออกอากาศครั้งแรกเมื่อ วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันเป็นรายการวาไรตี้โชว์ ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) พิธีกรในปัจจุบัน คือ วรัทยา นิลคูหา และ ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14:30 - 16:00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์",
"title": "ชิงร้อยชิงล้าน"
},
{
"docid": "19536#0",
"text": "แฟนพันธุ์แท้ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 ในตอน คาราบาว มีพิธีกรคู่แรกคือ ปัญญา นิรันดร์กุล และ ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม (สังข์ 108 มงกุฎ) แต่ตั้งแต่เทปที่ 2 เป็นต้นมาทางรายการเหลือพิธีกรเพียงคนเดียวคือ ปัญญา นิรันดร์กุล",
"title": "แฟนพันธุ์แท้"
}
] |
1508 | สามก๊กในภาษาไทยแปลโดยใคร? | [
{
"docid": "9800#34",
"text": "แปลโดย นายวรรณไว พัธโนทัย เป็นสามก๊กฉบับแรกที่พยายามแปลจากต้นฉบับสามก๊กภาษาจีนของ หลอก้วนจง ทำให้เป็นสามก๊กฉบับแปลไทยฉบับแรกที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษของ บริเวตต์ เทย์เลอร์ สามก๊กฉบับวรรณไว พัธโนทัย ยังเป็นฉบับที่ถือว่าแปลตามลักษณะของนิยายตะวันตกคือแปลคำต่อคำ โดยไม่ได้ดัดแปลงสำนวนภาษาแต่อย่างใด จึงค่อนข้างอ่านง่าย สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีรสทางวรรณกรรมเทียบเท่ากับสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ซึ่งใช้สำนวนเป็นภาษาชาววังโบราณ ส่วนฉบับนี้ภาษาที่ใช้ก็เป็นสำนวนปกติทั่วไป อีกจุดหนึ่งที่สามก๊กฉบับนี้ยังคงไว้จากต้นฉบับคือ บทร้อยกรองต่าง ๆ และเนื้อหาของฎีกาหรือข้อความบรรยายบางจุดที่ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตัดออก ในฉบับนี้ก็ยังมีอยู่ครบ แต่กระนั้นก็ยังมีบางจุดที่แปลผิดพลาดอยู่บ้าง",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "9800#30",
"text": "ในประเทศไทย สามก๊กได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์ ดังนั้นเมื่อนำสามก๊กของหลัว กวั้นจงซึ่งเป็นต้นฉบับ นำมาเปรียบเทียบเคียงกับภาษาไทยที่แปลโดย สังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นการแปลออกมาในรูปแบบของตำราพิชัยสงคราม หรือสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ หรือฉบับสามก๊ก ฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ จะเห็นว่าเนื้อและความหมายของบทประพันธ์ในหลายตอนมีคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการคลาดเคลื่อนของความหมายในสามก๊กนั้นเกิดจากผู้แปลโดยตรง อย่างไรก็ดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ได้ตัดสินให้ \"สามก๊ก\" เป็นวรรณคดีประเภทเรียงความยอดเยี่ยมประเภทนิทาน เสมอกับเรื่องราชาธิราช เนื่องจากมีการใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและทอดแทรกแฝงแง่คิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยถือว่าสามก๊กนั้น เป็นตำราสำหรับใช้ในการศึกษากลยุทธ์ในการทำสงครามและประวัติศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "9800#36",
"text": "สามก๊ก ฉบับตำราพิชัยสงคราม แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย สังข์ พัธโนทัย ลักษณะการแปลเป็นการรวบรวมเอาตัวละครเด่น ๆ ของเรื่อง มาสรุปเป็นตัวๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเสื่อมราชวงศ์ฮั่น ตั๋งโต๊ะยึดอำนาจ ฯลฯ ไปจนถึงอวสานยุคสามก๊กและมีการอ้างอิงตัวละครทั้งหมดในท้ายเล่ม มีการเทียบเสียงจีนกลาง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบรายชื่อตัวละครและสถานที่สำคัญในเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประดู่ลาย",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "743196#2",
"text": "เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้",
"title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
},
{
"docid": "121597#0",
"text": "สามก๊ก () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาว ที่แปลมาจาก วรรณกรรรมจีน เรื่องสามก๊ก วาดภาพโดย มิตสึเทรุ โยโกยามะ ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นอะนิเมะ ในปี พ.ศ. 2534 ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียว และสร้างเป็นเกม สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ในปี พ.ศ. 2550 เนื้อเรื่องในการ์ตูน แปลมาจาก หนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่น ของเออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งจะแตกต่างจาก สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)หรือ สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบเล็กน้อย สามก๊กเป็นนิยาย ที่เต็มไปด้วย แผนการรบและกลอุบาย จนมีคำกล่าวว่า \"อ่านสามก๊กครบสามจบ คบไม่ได้\" ในประเทศไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้ จัดพิมพ์สามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่ม",
"title": "สามก๊ก (การ์ตูน)"
},
{
"docid": "9800#31",
"text": "สามก๊กฉบับหลัว กวั้นจงได้มีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2345 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น และแปลพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช เพื่อให้คนไทยได้ใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม โดยมอบหมายให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นผู้อำนวยการแปลสามก๊ก มีความยาวทั้งสิ้น 95 เล่มสมุดไทย ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไม่ได้แปลสามก๊กจากต้นฉบับทั้งหมด เนื่องจากการใช้สำนวน ภาษา และรูปแบบการแปลในตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง สามก๊กฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่งครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล มีจำนวน 4 เล่มจบ เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และถูกนำมากล่าวถึงในบทละครนอกเรื่องคาวี ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ความว่า",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "9800#0",
"text": "สามก๊ก ( ; ) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาและมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศหมิง บทประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง () แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ \"หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา\" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "9800#58",
"text": "เนื้อเรื่องในการ์ตูนสามก๊กฉบับการ์ตูนญี่ปุ่นแปลมาจากหนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่นของเออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งมีความแตกต่างจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือสามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบเล็กน้อย สามก๊กเป็นนิยายจีนอิงประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยแผนการรบและกลอุบาย จนมีคำกล่าวว่า \"อ่านสามก๊กครบสามจบ คบไม่ได้\" ในประเทศไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้เป็นผู้จัดพิมพ์การ์ตูนสามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่มจบ",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "743196#0",
"text": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน",
"title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
}
] | [
{
"docid": "84540#0",
"text": "สามก๊ก มหาสนุก เป็นงานเขียนการ์ตูนเรื่องยาวจากวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก (แต่งโดย หลอกว้านจง) โดย สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2550 ได้พิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสีรวมทั้งหมด 45 เล่ม และบริษัทวิธิตาได้นำเรื่องสามก๊กมาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นมาแล้ว 2 ภาค ออกฉายทางช่อง 7 ล่าสุดได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว ซึ่งจัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอ็มจี โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซัมซุง บุ๊ค พับลิเชอร์",
"title": "สามก๊ก มหาสนุก"
}
] |
1511 | เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 เฮลิคอปเตอร์ลำแรกตกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "383929#1",
"text": "ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานถึงอุบัติเหตุ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้บุกรุกป่าไม้ เนื่องด้วยสภาพอากาศปิด ได้ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวตกลงไปในบริเวณตะเข็บชายแดน ในวันที่ 17 กรกฎาคม มีรายงานการพบศพผู้เสียชีวิต 5 นาย ซึ่งต่อมา ในวันที่ 18 กรกฎาคม ทางกองทัพบกไทยได้ส่งทีมช่วยเหลือไปรับศพโดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์กเป็นพาหนะ และเนื่องด้วยสภาพอากาศปิด จึงเลื่อนภารกิจดังกล่าวออกไปหนึ่งวัน จนมาถึงในวันที่ 19 กรกฎาคม ได้มีการส่งทหาร 8 นายและนักข่าว 1 นายเดินทางไปรับศพ ผลปรากฏว่าเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้ตกลงไปในป่า การกระแทกกับพื้นส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แตกกระจาย และผู้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวเสียชีวิตทั้ง 9 ราย ในเบื้องต้น ได้มีการลำเลียงศพมาบางส่วน และในวันที่ 24 กรกฎาคม ทางหน่วยได้ส่งทีมไปรับศพผู้สูญเสียเจ็ดรายที่เหลือ โดยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 (ฮ.ท.212) (เบลล์ 212) จำนวน 3 ลำ ปรากฏว่าลำสุดท้ายได้ตกลงไปในป่า และเพลิงลุกไหม้ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวสามราย และรอดชีวิตหนึ่งราย ซึ่งทีมช่วยเหลือได้ประสานงานโดยการนำรถไปรับศพมาเพื่อทำพิธีทางศาสนาที่จังหวัดกาญจนบุรีอย่างสมเกียรติ",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
}
] | [
{
"docid": "383929#3",
"text": "ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานความคืบหน้าในการกู้ซากแบล็กฮอว์ก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สูนย์ประสานงาน ได้รับรายงานว่ามีการพบ ELT 96 สีส้ม หรือ กล่องดำ ที่บันทึกการบินของเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว โดยสันนิษฐานว่า จากสภาพของแบล็กฮอว์กที่ตกจนชิ้นส่วนแตกกระจายแต่ล้อยางไม่แตกนั้น อาจเกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงไปแบบหงายท้องเนื่องด้วยหลงสภาพการบิน ส่วนในวันที่ 24 กรกฎาคม ได้มีการชี้แจงว่าเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเหมือนเฮลิคอปเตอร์ที่ตก 2 ลำแรก หากแต่เกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 เสียการทรงตัว และเกิดการสูญเสียการบังคับ เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 จึงตกลงมา",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 เป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำต่อเนื่องกันในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต และนำมาซึ่งความโศกเศร้าของบุคคลในครอบครัว",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#6",
"text": "ทางด้านนักโหราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ย มีความเห็นว่าบริเวณพื้นที่ป่าแก่งกระจานนั้น มีลักษณะฮวงจุ้ยคล้ายกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพถ่ายของอุบัติเหตุครั้งที่ 3 ที่เมื่อเผยแพร่ออกมาแล้ว มีรูปของสิ่งที่ดูคล้ายคน 2 คน นั่งอยู่ในจุดเกิดเหตุท่ามกลางเปลวไฟ อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพบกได้ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้ทำให้กำลังพลของกองทัพเสียขวัญ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจได้มีการทำพิธีทำบุญครั้งใหญ่",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#5",
"text": "อีกทั้ง ในเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งแรก เมื่อพบศพผู้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด 5 ศพ แต่ไม่พบชิ้นส่วนศีรษะที่ขาดหายไป และเมื่อจะนำศพขนกลับ ไม่สามารถกระทำได้เพราะมีฝนตกลงมา เชื่อว่าเป็นเพราะยังหาชิ้นส่วนของร่างกายไม่ครบ นอกจากนี้แล้ว ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เมื่อ พล.ต.ตะวัน เรืองศรี หัวหน้าหน่วยที่ค้นหาเหตุอุบัติเหตุครั้งแรก ก่อนขึ้นเครื่องเริ่มปฏิบัติการณ์ได้เอ่ยประโยคที่เสมือนเป็นลางบอกเหตุว่า \"\"เดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อนำน้อง ๆ ทั้ง 5 กลับมาให้ได้ในวันนี้ (19 ก.ค.) เพราะญาติ ๆ ของพวกเขารออยู่\" \" และเมื่อสื่อมวลชนได้พยายามติดตามขอเข้าไปทำข่าวในพื้นที่ด้วย ปรากฏว่า พล.ต.ตะวัน ได้กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า \"\"อย่าไปเลย เดี๋ยวก็ตกกันหมด\"\"",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#4",
"text": "นายทหารทุกนาย ต่างได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และได้รับการเลื่อนยศจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น แยกเป็น 7 ขั้นที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจการบินทางอากาศ และทุกนายได้ถูกบรรจุกำลังในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ตลอดจนปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ทั้งออกสนามมากกว่า 6 เดือน จึงได้รับเพิ่มอีก 1 ขั้น รวมเป็น 8 ขั้น รวมถึงครอบครัวต่างได้รับการช่วยเหลือทางสวัสดิการประมาณรายละกว่า 2 ล้านบาท และครอบครัวของช่างภาพผู้สูญเสียชีวิตนั้นได้รับการช่วยเหลือจากทางการในระดับเดียวกัน และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งมีดังนี้:\nนอกจากนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลการกุศลของชมรมผู้สื่อข่าวการเมือง ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวช่างภาพประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นี้เช่นกันในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีความเชื่อว่า ที่เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ผู้เสียชีวิตมากมายนั้น เป็นเพราะแรงอาถรรพ์หรือคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนั้น โดยชาวกะเหรี่ยงอาวุโสที่มีอายุกว่า 103 ปี ที่มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า ปู่คออี๋ ซึ่งเป็นผู้นำจิตวิญญาณและเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องคาถาอาคม กล่าวว่าเป็นเพราะแรงคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เจ็บแค้นที่ถูกทหารไทยขับไล่ที่อยู่อาศัยจนมีผู้บาดเจ็บและล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2538 อีกทั้งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ศพ ซึ่งเลข 7 เป็นเลขอาถรรพ์ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากเลข 7 เมื่อเขียนกลับหัวแล้วจะคล้ายกับคำว่าตายในภาษากะเหรี่ยงโบราณ",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "123507#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับคณะนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ จำนวนประมาณ 60 คนที่เดินทางไปตั้งค่ายพักแรม เพื่อฉลองวันเกิด และใช้อาวุธสงครามล่าสัตว์ป่าภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ. 2516 ทั้งที่มีความพยายามขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่อุทยาน สื่อมวลชนและนิสิตนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยหนึ่งในผู้ร่วมคณะ มี พันเอกณรงค์ กิตติขจร และดาราสาว เมตตา รุ่งรัตน์ รวมอยู่ด้วย ต่อมาคณะข้าราชการนี้ได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานครด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก จำนวน 2 ลำ แต่เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง หมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกระหว่างทาง ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่า โดยเฉพาะซากกระทิง เป็นจำนวนมาก",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516"
},
{
"docid": "123391#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่าตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งในขบวนเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 6 ลำ เดินทางจากบ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มุ่งหน้ากลับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เครื่องเกิดขัดข้อง และชนยอดเขา ตกกลางป่าบริเวณเทือกเขาลิจอ บ้านไอปาเกาะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อเวลา 19.45 น.",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่าตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540"
},
{
"docid": "123478#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524 เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524 เฮลิคอปเตอร์แบบเบลล์ 205A-1 ของกรมตำรวจ นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการหลวง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องเกิดขัดข้องจนตกในหุบเขา ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง และไม่มีผู้รอดชีวิต",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524"
},
{
"docid": "123507#1",
"text": "จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ออกมาแถลงว่า เฮลิคอปเตอร์ลำที่ตกได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจลับเกี่ยวกับความมั่นคง และการรักษาความปลอดภัยแก่นายพลเน วิน นายกรัฐมนตรีพม่าซึ่งเดินทางมาเยือนประเทศไทยในเวลานั้นพอดี",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516"
}
] |
1515 | มาร์เวลได้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนชุดไอ้แมงมุมออกมาจำนวนหนึ่ง โดยชุดแรกมีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "96522#12",
"text": "ไม่กี่เดือนหลังจากที่ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนอแมซซิงแฟนตาซี ฉบับที่ 15 (ส.ค. 2505) มาร์ติน กู๊ดแมน จากฝ่ายการพิมพ์ของมาร์เวลคอมมิคส์ ก็ได้พบว่า หนังสือการ์ตูนฉบับดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลที่มียอดขายสูงที่สุด ต่อมา ไอ้แมงมุมก็ได้มีหนังสือการ์ตูนชุดเป็นของตนเอง โดยเริ่มต้นที่ “ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน” ฉบับที่ 1 (มี.ค. 2506) เป็นอันดับแรก ซึ่งต่อมาหนังสือการ์ตูนชุดนี้ก็ได้กลายเป็นหนังสือการ์ตูนชุดที่มียอดขายสูงที่สุดของมาร์เวลไปอีกเช่นกัน และจากการสำรวจคะแนนเสียงนักศึกษามหาวิทยาลัยของสำนักเอสไควร์ (Esquire) เมื่อปี พ.ศ. 2508 ว่าใครเป็นสัญลักษณ์ในดวงใจที่มี “ความขบถ” อยู่ในตัว ของพวกเขามากที่สุด ก็ปรากฏว่า อันดับที่ 1 ก็คือไอ้แมงมุม ส่วนอันดับถัดลงมานั้น ก็คือ มนุษย์ยักษ์จอมพลัง (The Hulk) ที่เป็นตัวการ์ตูนจากสังกัดมาร์เวลเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมีบ็อบ ดีแลน และเช เกบารา ติดอันดับอยู่ด้วย นักศึกษาผู้หนึ่งได้กล่าวถึงเหตุผลที่ลงคะแนนให้ไอ้แมงมุมว่า เพราะเขาถูก “ห้อมล้อมด้วยความทุกข์ ปัญหาทางด้านการเงิน และความสงสัยเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้ว เขาก็คือหนึ่งในพวกเรานั่นเอง”",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#3",
"text": "มาร์เวลได้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนชุดไอ้แมงมุมออกมาจำนวนหนึ่ง โดยชุดแรกมีชื่อว่า \"ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน\" (The Amazing Spider-Man) ในหนังสือการ์ตูนแต่ละชุด จะแสดงให้เห็นพัฒนาการของตัวละครปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ตั้งแต่เป็นนักเรียนขี้อาย นักศึกษามีปัญหา ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ จนถึงสมาชิกของคณะยอดมุนษย์ที่ชื่อ \"อเวนเจอร์ส\" (Avengers) ส่วนในการ์ตูนชุด \"สไปเดอร์เกิร์ล\" (Spider-Girl) ปาร์คเกอร์ยังมีสถานะเป็นนักวิทยาศาสตร์และพ่ออีกด้วย",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
}
] | [
{
"docid": "96522#18",
"text": "ในปี พ.ศ. 2533 ก็มีการวางจำหน่ายหนังสือการ์ตูนชุดของไอ้แมงมุมเป็นชุดที่สี่ โดยคราวนี้ผู้ที่มาเขียนบทและวาดให้คือศิลปินผู้โด่งดังที่ชื่อ ทอดด์ แมคฟาร์เลน (Todd McFarlane) ซึ่งการ์ตูนชุดนี้ สามารถเปิดตัวด้วยยอดขายที่สูงถึง 3 ล้านเล่มด้วยกัน นอกจากนั้น ยังมีการ์ตูนไอ้แมงมุมอีกอย่างน้อย 2 ชุดที่วางจำหน่ายตลอด",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#1",
"text": "ในตอนที่ไอ้แมงมุมได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 60 ในเวลานั้น ตัวละครที่เป็นวัยรุ่นในหนังสือการ์ตูนยอดมนุษย์ของอเมริกา มักจะมีบทบาทเทียบเท่าตัวประกอบเท่านั้น แต่การ์ตูนชุดไอ้แมงมุมได้พังกรอบเหล่านี้ออกไป โดยให้ตัวไอ้แมงมุม ซึ่งยังเป็นวัยรุ่นอยู่ มีบทบาทของวีรบุรุษตัวเอก ที่มี \"ความสนใจเฉพาะตัว พร้อมกับการถูกปฏิเสธ ความขัดสน และความอ้างว้าง\" ด้วยลักษณะเช่นนี้เอง ไอ้แมงมุมจึงสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านอายุน้อยได้",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#22",
"text": "ในปัจจุบันนี้ ไอ้แมงมุมได้กลายมาเป็นตัวการ์ตูนที่สำคัญของมาร์เวล และมักจะถูกนำมาใช้เป็นตัวนำโชคประจำบริษัทอยู่บ่อย ๆ โดยในครั้งที่มาร์เวลได้เข้าสู่ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 วารสารวอลล์สตรีท (Wall Street Journal) ก็ได้ตั้งหัวข้อข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ว่า “ไอ้แมงมุมบุกวอลล์สตรีทแล้ว” (Spider-man is coming to Wall Street) และในวันที่มีการโปรโมทหุ้นของบริษัท สแตน ลี พร้อมด้วยนักแสดงที่ใส่ชุดไอ้แมงมุมก็ได้เดินทางไปร่วมโปรโมทกันที่ตลาดหุ้นด้วย",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#38",
"text": "แอกเซล อลองโซ (Axel Alonso) บรรณาธิการของหนังสือการ์ตูนไอ้แมงมุม ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ว่า ไอ้แมงมุมในหนังสือการ์ตูนจะกลับมาใส่ชุดเครื่องแบบสีดำอีกครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป เพื่อสอดรับกับชุดสีดำที่ไอ้แมงมุมในภาพยนตร์เรื่อง “ไอ้แมงมุม 3” (Spider-Man 3) ที่ได้เข้าฉายทั่วโลกในช่วงเวลานั้น ใส่พอดี",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "76947#0",
"text": "ไอ้แมงมุม 3 () เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 โดยเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 3 ของภาพยนตร์ชุด \"สไปเดอร์แมน\" ที่สร้างจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันของสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ แซม ไรมี่ ซึ่งเคยกำกับภาพยนตร์ตอนก่อนหน้านี้ทั้งสองตอนกลับมากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้งร่วมกับนักแสดงชุดเดิมทั้งหมด ได้แก่ โทบี้ แมคไกวร์, คริสเตน ดันสท์, เจมส์ แฟรงโค และ โรสแมรี่ แฮร์ริส รวมทั้งนักแสดงใหม่ได้แก่ โทเฟอร์ เกรซ, ไบรซ์ ดัลลัส ฮอวาร์ด และ โทมัส เฮเด้น เชิร์ช",
"title": "ไอ้แมงมุม 3"
},
{
"docid": "96522#21",
"text": "ในเดือนมกราคม 2542 ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนก็ได้เริ่มวางจำหน่ายชุดที่ 2 มาเป็นฉบับแรก ซึ่งเมื่อวางจำหน่ายถึงฉบับที่ 59 ในเดือนธันวาคม 2546 จำนวนหนังสือการ์ตูนดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนทั้งชุดที่ 1 และ 2 ก็มีจำนวนรวมกันถึง 500 ฉบับพอดี\nในปี พ.ศ. 2550 ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือการ์ตูนชุดต่าง ๆ ของมาร์เวลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน, นิวอเวนเจอร์ส (New Avengers) , เดอะเซนเซชันแนลสไปเดอร์แมน (The Sensational Spider-Man) , เฟรนลีเนเบอร์ฮูดสไปเดอร์แมน (Friendly Neighborhood Spider-Man) , สไปเดอร์แมนแฟมิลี (Spider-Man Family) , ดิอแมซซิงสไปเดอร์เกิร์ล (The Amazing Spider-Girl) , อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน (Ultimate Spider-Man) , สไปเดอร์แมนเลิฟส์แมรี เจน (Spider-Man Loves Mary Jane) , มาร์เวลแอดเวนเจอรส์สไปเดอร์แมน (Marvel Adventures Spider-Man) , และ (Marvel Adventures: The Avengers) นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงหนังสือการ์ตูนชุดอื่น ๆ ที่ขายอย่างจำกัดจำนวนของมาร์เวลอีกด้วย",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#7",
"text": "ต่อมา ลีได้เข้าไปตีสนิทกับฝ่ายการพิมพ์ของมาร์เวลที่ชื่อ มาร์ติน กู๊ดแมน (Martin Goodman) เพื่อที่จะให้เขาเห็นพ้องกับการกำเนิดการ์ตูนไอ้แมงมุมขึ้นมา หลังจากที่มีการโต้แย้งกันในเรื่องนี้ สุดท้าย กู๊ดแมนก็ตกลงว่าจะให้ลีลองเอาเรื่องไอ้แมงมุมไปลงไว้ในหนังสือ \"อแมซซิงอเดาท์แฟนตาซี\" (Amazing Adult Fantasy) ฉบับสุดท้ายดู ซึ่งฉบับดังกล่าวนั้นเป็นฉบับที่ 15 และได้มีการเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น \"อแมซซิงแฟนตาซี\" อีกด้วย",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "96522#5",
"text": "หลังจากที่มาร์เวลคอมมิคส์ประสบความสำเร็จกับการ์ตูนชุดแฟนแทสติกโฟร์ (Fantastic Four) และตัวการ์ตูนอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2505 แล้ว สแตน ลี บรรณาธิการและหัวหน้านักเขียนของมาร์เวล ก็คิดจะสร้างตัวการ์ตูนยอดมนุษย์ตัวใหม่ขึ้นมาอีก ซึ่งตัวการ์ตูนที่เขาคิดได้ในตอนนั้นก็คือ \"สไปเดอร์แมน\" หรือ \"ไอ้แมงมุม\" ในภาษาไทย ตัวไอ้แมงมุมนี้ เกิดขึ้นมาจากความต้องการบริโภคหนังสือการ์ตูนของวัยรุ่นชาวอเมริกันที่เพิ่มมากขึ้น และความปรารถนาของลีที่จะสร้างตัวการ์ตูนที่วัยรุ่นมีส่วนร่วมด้วยได้ ลีได้กล่าวเอาไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของเขาว่า เขาได้รับอิทธิพลในการสร้างตัวไอ้แมงมุมมาจากนิตยสารเกี่ยวกับนักสู้อาชญากรที่ชื่อ \"เดอะสไปเดอร์\" (The Spider) และการได้เห็นความสามารถของแมลงมุมที่สามารถไต่กำแพงได้",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
}
] |
1521 | จอห์น เบวิส เป็นชาวอะไร? | [
{
"docid": "337983#0",
"text": "จอห์น เบวิส (31 ตุลาคม ค.ศ. 1693 หรือ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1695 โอลด์ซารัม วิลท์เชอร์ — 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1771) เป็นแพทย์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบเนบิวลาปูในปี ค.ศ. 1731 เบวิสยังได้สังเกตการบังดาวพุธของดาวศุกร์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1737 ตลอดจนถึงสังเกตและค้นพบกฎการทำนายการเกิดสุริยุปราคาของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี",
"title": "จอห์น เบวิส"
}
] | [
{
"docid": "779816#0",
"text": "เจสัน แชมเบอส์ () เกิดวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1980 ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เป็นทั้งนักแสดง, นักต่อสู้แบบผสม และผู้บรรยายกีฬาชาวอเมริกัน แชมเบอส์เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบทบาทผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ยอดนิยมประจำสัปดาห์อย่าง\"ฮิวแมนเวปปอน\" ทางช่องฮิสทรี เขาได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์หลายแห่ง ซึ่งรวมถึง\"\", \"เดย์สออฟเอาเออร์ไลฟ์ส\", \"แอสเดอะเวิลด์เทิร์น\" และ\"เดอะมิดเดิลแมน\" แชมเบอส์มีความสำคัญในรายการ\"เอ็กซ์ตรา\" ในฐานะเป็นชายโสด\"ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดของอเมริกา\" และแชมเบอส์ยังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับศูนย์การแพทย์แห่งชาติซิตีออฟโฮป ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยโรคมะเร็ง ที่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้บริหารเมื่อไม่นานมานี้",
"title": "เจสัน แชมเบอส์"
},
{
"docid": "869159#0",
"text": "จอห์น วินดัม ปากส์ ลูคัส เบย์นอน แฮร์ริส (; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1903 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองดอร์ริดจ์ในวอริกเชอร์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเวสต์มิดแลนส์) เป็นบุตรของจอร์จ เบย์นอน แฮร์ริสกับเกอร์ทรูด ปากส์ มีน้องชายที่ต่อมาเป็นนักเขียนเช่นกันคือ วิเวียน เบย์นอน แฮร์ริส วินดัมใช้ชีวิตวัยเด็กในเขตเอดจ์บาสตันในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อเขาอายุได้ 8 ปี บิดาและมารดาของเขาแยกกันอยู่ วินดัมเรียนในหลายโรงเรียนก่อนจะเรียนที่โรงเรียนบีเดลส์ จากนั้นเขาทำงานหลายอย่างรวมถึงเขียนเรื่องสั้นให้นิตยสารอเมริกันหลายฉบับ โดยใช้นามปากกาส่วนใหญ่ว่า \"จอห์น เบย์นอน\" และ \"จอห์น เบย์นอน แฮร์ริส\"",
"title": "จอห์น วินดัม"
},
{
"docid": "709544#0",
"text": "จอห์น ฟอบส์ เคร์รี () เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคนที่ 66, อดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภา นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2547 อีกด้วย ซึ่งเขาก็พ่ายแพ้แก่ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช",
"title": "จอห์น เคร์รี"
},
{
"docid": "340255#0",
"text": "จอห์น ฟิลลิป สเตโมส () เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1963 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในงานแสดงทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบทบาท เจสซี แคตโซโพลิส ในซิตคอมทางช่องเอบีซีเรื่อง \"Full House\" ตั้งแต่รายการได้ยกเลิกไปในปี 1995 สเตโมสได้แสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์และซีรีส์หลายเรื่อง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 to 2009 สเตโมสแสดงในซีรีส์เกี่ยวกับแพทย์ทางช่องเอ็นบีซีเรื่อง \"ER\" รับบทเป็น ดร. โทนี เกตส์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 เขารับบทเป็นอัลเบิร์ตในละครบรอดเวย์เรื่อง \"Bye Bye Birdie\"",
"title": "จอห์น สเตโมส"
},
{
"docid": "356228#0",
"text": "จอห์น เกวิน มัลโควิช () เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1953 เป็นนักแสดง ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างชาวอเมริกันเชื้อสายโครเอเชีย มัลโควิชปรากฏในภาพยนตร์มากกว่า 70 เรื่อง จากผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง \"Places in the Heart\" และ \"In the Line of Fire\" ที่ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ผลงานที่ได้รับเสียงวิจารณ์เช่นเรื่อง \"น้ำตาสีเลือด\", \"ทุ่งสังหาร\", \"Dangerous Liaisons\", \"Con Air\", \"Being John Malkovich\", และ \"กระชากปมปริศนาคดีอำพราง\" รวมไปถึงซีรีส์ประวัติศาสตร์อย่าง \"\"",
"title": "จอห์น มัลโควิช"
},
{
"docid": "754976#0",
"text": "เจเรมี จอห์น ไอเอินส์ (; เกิด 19 กันยายน ค.ศ. 1948) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ หลังจากที่ได้รับการฝึกฝนที่โรงละครบริสตอลโอลด์วิค ไอเอินส์เริ่มแสดงละครเวทีครั้งแรกในปี 1969 รับบทเป็น จอห์น เดอะ แบ็พติส ใน \"Godspell\" หลังจากนั้นเขาก็ร่วมแสดงกับคณะเวสต์เอ็นด์และสแตรตเฟิร์ดอะพอนเอวอน จนมีชื่อเสียงโด่งดังใน \"Richard II\" ของบริษัทรอยัลเชคสเปีย เขาแสดงละครบรอดเวย์เรื่องแรกใน \"The Real Thin\" ของทอม สต็อพพาร์ด ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลดราม่าลีกอวอร์ดและรางวัลโทนี สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม",
"title": "เจเรมี ไอเอินส์"
},
{
"docid": "1000011#0",
"text": "เบนจามิน จอห์น วิชอว์ (อังกฤษ: Benjamin John Whishaw) (เกิด 14 ตุลาคม ค.ศ.1980) หรือชื่อลำลองคือ เบน วิชอว์ (Ben Whishaw) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เขาเป็นที่รู้จักในบท Q จากภาพยนตร์สายลับยอดนิยมอย่าง \"พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007\" \"(Skyfall)\" (2012) และ \"องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre)\" (2015) วิชอว์ยังได้รับบทนำในภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อดัง \"น้ำหอมมนุษย์\" (2006) และได้แสดงนำได้ซีรีย์ที่ออกอากาศทางช่อง BBC หลายเรื่องเช่น \", , \" และ \"\" นอกจากนี้เขายังเป็นผู้พากย์เสียงหมีแพดดิงตัน ตัวการ์ตูนสุดคลาสิคของอังกฤษในภาพยนตร์ \"แพดดิงตัน คุณหมี หนีป่ามาป่วนเมือง\" (2014) และ \"แพดดิงตัน 2 ของขวัญที่หายไป\" (2017) อีกด้วย",
"title": "เบน วิชอว์"
},
{
"docid": "265625#0",
"text": "เจฟฟรีย์ เจคอบ \"เจ.เจ.\" แอบรัมส์ () เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1966 เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ชาวอเมริกัน นักเขียนบท ผู้กำกับ นักแสดง นักประพันธ์ และผู้ก่อตั้งแบดโรบอตโพรดักชัน เขาเคยได้รับรางวัลเอมมีและรางวัลลูกโลกทองคำ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมสร้างหรือผู้สร้างของซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง \"Felicity\", \"Alias\", \"Lost\" และ \"Fringe\" เขากำกับภาพยนตร์เรื่อง \"\" และ \"\"",
"title": "เจ.เจ. แอบรัมส์"
},
{
"docid": "827123#0",
"text": "บารอน เยินส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส (; 20 สิงหาคม ค.ศ. 1779 – 7 สิงหาคม ค.ศ. 1848) เป็นนักเคมีชาวสวีเดน เกิดที่จังหวัดเอิสแตร์เยิตลันด์ บิดามารดาของแบร์ซีเลียสเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเล็ก เขาจึงอยู่ในความดูแลของญาติในเมืองลินเชอปิง แบร์ซีเลียสเรียนหนังสือในเมืองนั้นก่อนจะเรียนต่อวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยอุปซอลา เขาเรียนเคมีกับอันเดอร์ส กุสตาฟ เอเกแบร์ก ผู้ค้นพบธาตุแทนทาลัม แบร์ซีเลียสเป็นผู้ช่วยเภสัชกรและแพทย์ก่อนจะเรียนจบในปี ค.ศ. 1802 หลังจากนั้นเขาทำงานเป็นแพทย์ใกล้กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างปี ค.ศ. 1808–1836 แบร์ซีเลียสร่วมงานกับนักเคมี อันนา ซุนด์สเตริม",
"title": "เยินส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส"
}
] |
1523 | ผู้ตั้งคำว่า พรีออน คือใคร ? | [
{
"docid": "70761#1",
"text": "ผู้ตั้งคำว่า \"พรีออน\" คือนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลปี พ.ศ. 2540 แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ ซานฟรานซิสโก ในปี พ.ศ. 2525 (1982)",
"title": "พรีออน"
}
] | [
{
"docid": "70761#0",
"text": "พรีออน (Prion) คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน ทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็น ทนต่อความแห้ง ทนต่อแสงยูวี ทนต่อการย่อยสลายโดยเอนไซม์ทั้ง protease และ nuclease สามารถติดต่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อโรคได้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า \"pro\"teinaceous \"in\"fectious particle คำว่า พรีออน เป็นคำเรียกที่แบบคำผวนของคำนี้เพราะว่า โพรอีน ฟังสับสนกับสารหลายชนิด",
"title": "พรีออน"
},
{
"docid": "601049#1",
"text": "ควีนมิราจ ผู้นำอาณาจักรชั่วร้ายได้รุกรานโลกด้วยสัตว์ประหลาดที่เรียกว่าไซอาร์คและเหล่าพริตตี้เคียวก็ได้ออกมาต่อสู้เพื่อปกป้องความสงบสุขของผู้คนทั่วโลก มีการออกข่าวโทรทัศน์เกี่ยวกับพริตตี้เคียว จนคำว่า \"พริตตี้เคียว\" กลายเป็นคำที่ผู้คนรู้จักโดยทั่วไป ฮิเมะเจ้าหญิงจากอาณาจักรบลูสกายที่ถูกรุกรานโดยไซอาร์คเช่นกัน ได้เดินทางมายังโลกเพื่อร่วมต่อสู้ พร้อมกับคริสตัลแห่งความรักที่สามารถเปลี่ยนให้ใครเป็นพริตตี้เคียวก็ได้แต่เธอตัดสินใจโยนมันขึ้นฟ้าและบอกว่า \"ใครก็ตามที่ได้คริสตัลนี้ไปคือเพื่อนของฉัน\" และกลายเป็นว่า ไอโนะ เมกุมิ ที่ได้คริสตัลไป",
"title": "แฮปปิเนสชาร์จ พรีเคียว!"
},
{
"docid": "220200#2",
"text": "ประติมากรรม \"คนครุ่นคิด\" เดิมชื่อ \"กวี\" เป็นงานที่จ้างโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะตกแต่ง (Musée des Arts Décoratifs) ในกรุงปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ รอแด็งได้รับแรงบันดาลใจจากไตรภูมิดันเตของดันเต อาลีกีเอรี และตั้งชื่อประตูว่า \"ประตูนรก\" ประติมากรรมแต่ละชิ้นเป็นตัวแทนชองตัวละครจากมหากาพย์ เดิม \"คนครุ่นคิด\" ตั้งใจจะให้เป็นดันเต อาลีกีเอรี หน้า \"ประตูนรก\" ครุ่นคิดถึงมหากาพย์ ในประมากรรมชิ้นสุดท้าย รูปปั้นเล็กนั่งอยู่เหนือประตูคิดถึงชะตาของผู้อยู่ข้างใต้ ประติมากรรมเป็นรูปเปลือยเพราะรอแด็งต้องการสร้างผู้ที่มีลักษณะเป็นวีรบุรุษทำนองเดียวกับมีเกลันเจโล ที่แสดงให้เห็นทั้งด้านสติปัญญาที่เกิดขึ้นจากความยำเกรงในพระเจ้าและความสามารถทางกวีนิพนธ์",
"title": "คนครุ่นคิด (รอแด็ง)"
},
{
"docid": "148445#10",
"text": "ความสนใจของตัวซ้อเจ็ด กับผู้อ่าน ตั้งข้อสังเกตจากความเห็นที่โพสต์ไว้ในเว็บไซต์และความสงสัยใคร่รู้ของคนชอบท่องเว็บฯ ซึ่งมักมีคำถามประเภท 'ซ้อเจ็ด เป็นใคร? ชายหรือหญิง? เกย์หรือกะเทย? ซึ่งเกิดขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ และมีเสียงคาดเดาว่า ซ้อเจ็ดคือใคร เดากันไปบ้างว่า คือ สันติ เศวตวิมล บ้างก็ว่าเป็น ดร. เสรี วงษ์มณฑา หรือบอกว่าเป็น ต้อย แอคเนอร์ ก็มี",
"title": "ซ้อเจ็ด"
},
{
"docid": "810058#1",
"text": "เป็นเรื่องราวชีวิตและความรักของ ภควัต ปวีร์ นนทัช สามเพื่อนรัก ซึ่งมีชีวิต ความคิด ความฝัน และมีพื้นฐานในด้านครอบครัวที่แตกต่างกัน ซึ่งจากความสนิทสนมในฐานะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ก็ทำให้ภควัต ปวีร์ นนทัช ผู้มีความใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียน นักกีฬา และนักร้องที่มีชื่อเสียงต่างมีความพยายามที่จะไปให้ถึงฝั่งของความฝันของแต่ละคน โดยในเส้นทางของการก้าวเดินไปในช่วงสุดท้ายของการเป็นวัยรุ่นก่อนจะก้าวพ้นไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่พวกเขาทั้งสาม ต่างก็ได้พบกับความรัก มิตรภาพ ความขัดแย้ง การหักหลัง การยอมรับ และให้อภัย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าและเป็นแรงผลักดันให้กับชีวิตของพวกเขาได้ก้าวเดินต่อไป",
"title": "เพื่อน (ละครโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "229586#8",
"text": "\"Cognition\" เป็นคำที่กลับไปถึงคริสต์ทศวรรษที่ 15 โดยหมายถึง \"ความคิดและความสำนึก\" (thinking and awareness)\nแม้จะเป็นเรื่องที่ได้ความสนใจตั้งแต่ก่อน 1,800 ปีก่อนเริ่มตั้งแต่อาริสโตเติล ผู้สนใจในการทำงานของจิตใจและอิทธิพลของมันต่อประสบการณ์ชีวิต\nอาริสโตเติลได้เล็งความสนใจไปในด้านความจำ การรับรู้ (perception) และจินตภาพ\nโดยเน้นความสำคัญว่า การศึกษาจะต้องมีมูลฐานจากหลักฐานเชิงประสบการณ์ \nคือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากสังเกตการณ์และการทดลองที่ทำอย่างรอบคอบ",
"title": "ประชาน"
},
{
"docid": "186998#0",
"text": "เผด็จ ภูรีปติภาน หรือที่รู้จักจากนามปากกา \"พญาไม้\" คือนักหนังสือพิมพ์ และหนี่งในสิบแปดอรหันต์ของวงการหนังสือพิมพ์ ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์ข่าวสด และเขียนคอลัมน์ \"พญาไม้ทูเดย์\" ประจำหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ นอกจากนั้นยังเป็นผู้ดำเนินรายการรับเชิญของรายการจัตุรัสการเมือง ทางเคเบิลทีวีช่อง MV News , MV Bangkoktoday ,MV Starchannel และ รายการจตุรัสข่าว ทางวิทยุ FM 105 MHz",
"title": "เผด็จ ภูรีปติภาน"
},
{
"docid": "70761#14",
"text": "สำหรับกรณี ผู้ป่วยที่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรมสามารถตรวจสอบได้จากการตรวจหายีนก่อโรคได้ แต่โดยมากไม่เป็นที่นิยมกันเพราะเมื่อครอบครัวไหนมีผู้ป่วยโรคนี้แล้ว ก็จะถูกเฝ้าดูโดยแพทย์ โดยไม่ต้องทำการตรวจยีนเป็นกรณีพิเศษ",
"title": "พรีออน"
},
{
"docid": "611#2",
"text": "พันทิป.คอม ก่อตั้งโดยวันฉัตร ผดุงรัตน์ แรกเริ่มเพื่อทำนิตยสารคอมพิวเตอร์ออนไลน์โดยใช้ชื่อว่า พันทิป ซึ่งเป็นการผสมคำจากคำว่า พัน (หนึ่งพัน) และคำว่า ทิป (ข้อแนะนำพิเศษ,เคล็ดลับ) แต่ผลตอบรับจากผู้เยี่ยมชมกลับชื่นชอบที่จะใช้กระดานข่าวสาธารณะในการออกความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ มากกว่ารูปแบบนิตยสาร จึงทำให้พันทิป.คอมเปลี่ยนเป้าหมายทางธุรกิจเป็นการดำเนินงานทางด้านกระดานข่าว โดยหารายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก และขยายรูปแบบการทำงานเป็นกระดานข่าวเป็นหมวดต่าง ๆ",
"title": "พันทิป.คอม"
}
] |
1527 | พระพุทธเจ้าประสูติที่ไหน ? | [
{
"docid": "881343#1",
"text": "\"พระเจ้าสุทโธทนะ” กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ อยากมีทายาทมาก จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้พระมเหสีมีประสูติกาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ก็ทรงมุ่งหวังให้พระโอรสได้เป็นมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ จึงให้เจ้าชายร่ำเรียนวิชาการรบ กวาดต้อนคนเจ็บคนแก่ออกจากเมือง เพื่อสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้เจ้าชายมีแต่ความสุข ไม่พบเจอความทุกข์ใดๆ",
"title": "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก"
},
{
"docid": "48108#5",
"text": "ลุมพินีวันเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ตัวลุมพินีวันอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 22 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540",
"title": "สังเวชนียสถาน"
}
] | [
{
"docid": "140671#1",
"text": "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า) เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า \"พลายแก้ว\" มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500",
"title": "พระเศวตอดุลยเดชพาหน"
},
{
"docid": "77973#2",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "215860#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ (พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2391) มีพระยศเดิมว่า\"หม่อมเจ้าไพฑูรย์\" ประสูติเมื่อปีจอ จัตวาศก จุลศักราช 1164 ตรงกับปี พ.ศ. 2345 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาทับทิม ณ บางช้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น\"กรมหมื่นสนิทนเรนทร์\" ในปี พ.ศ. 2379 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1210 ตรงกับปี พ.ศ. 2391 พระชันษา 47 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลไพฑูรย์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์"
}
] |
1532 | สมเด็จพระพุฒาจารย์นามเดิม อาจ ดวงมาลา ฉายา อาสโภ เกิดที่จังหวัดใด ? | [
{
"docid": "325437#1",
"text": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า คำตา ดวงมาลา เป็นบุตรคนโตของนายพิมพ์ และนางแจ้ ดวงมาลา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 แรม 4 ค่ำเดือน 12 ณ บ้านโต้น ต.บ้านโต้น อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 4 คนท่านเป็นบุตรคนโต น้องอีกสามคนคือ นางบี้ นายเพิ่ม และนางเอื้อ ตามลำดับ เมื่อย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุฯ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจ้าอาวาสขณะนั้น) ได้เปลี่ยนชื่อท่านจาก คำตา เป็น อาจ เพื่อให้เหมาะกับบุคลิก องอาจ แกล้วกล้า ของท่าน",
"title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)"
}
] | [] |
1535 | เหตุการณ์ นปก.ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯมีผู้เสียชีวิตกี่ราย? | [
{
"docid": "253844#1",
"text": "ส่งผลให้ห้ามมีการชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามสื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่กระทบต่อความมั่นคง หรือทำให้ประชาชนหวาดกลัว และในวันที่ 14 กันยายน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินรวมแล้วประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 12 วันรวมตลอดวันที่ 25 สิงหาคม ถึง 14 กันยายน บาดเจ็บรวม 106 ราย บาดเจ็บสาหัส 12 ราย เสียชีวิต 1 ราย ต่อมา นาย ประสิทธิ์ จันทร์เต็มดวง ผู้ทุพพลภาพเสียชีวิตลงในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558",
"title": "เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551"
}
] | [] |
1540 | ความกังวลสามารถส่งผลให้เกิดการอาเจียนได้หรือไม่ ? | [
{
"docid": "837390#1",
"text": "คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง\nความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ\nกลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ\nสั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้\nอาการเหล่านี้ต้องสม่ำเสมอและคงยืนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD",
"title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว"
}
] | [
{
"docid": "845021#0",
"text": "อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่สบายไม่สงบในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดความต้องการที่จะอาเจียนโดยอยู่นอกเหนือการควบคุม อาการนี้อาจเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการคลื่นไส้อาจไม่อาเจียนก็ได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานสามารถทำให้เกิดปัญหาได้",
"title": "คลื่นไส้"
},
{
"docid": "248497#7",
"text": "นอกจากจะเกิดการจู่โจมของความตื่นตระหนกที่ไม่คาดฝันและเกิดซ้ำ ๆ เกณฑ์วินิจฉัยยังบังคับว่าต้องมีผลเรื้อรังอีกด้วย คือ เป็นความกังวลถึงผลที่อาจตามมาของการจู่โจม ความกลัวอยู่ว่าจะเกิดอีก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างสำคัญเกี่ยวกับการเกิดการจู่โจม\nโดยเช่นนี้ คนไข้โรคตื่นตระหนกจะมีอาการแม้นอกเหนือไปจากคราวที่มีการจู่โจม\nบ่อยครั้ง คนไข้จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงการเต้นหัวใจที่เป็นปกติ แต่คิดว่า หัวใจของตนผิดปกติ หรือว่า ตนกำลังถูกจู่โจมด้วยความตื่นตระหนก\nในบางกรณี ความสำนึกที่สูงขึ้น (hypervigilance) เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายจะเกิดขึ้นในระหว่างมีการจู่โจม ที่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพที่สำนึกถึงทุกอย่างอาจทำให้คิดว่าเป็นความเจ็บป่วยที่อาจทำให้ถึงชีวิต (คือมีอาการไฮโปคอนดริเอซิสแบบรุนแรง)",
"title": "โรควิตกกังวล"
},
{
"docid": "593770#3",
"text": "ในกระบวนการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องก็คือ\nเนื่องจากว่า วิถีประสาทเหล่านี้ ไปรวมตัวลงที่อะมิกดะลาด้านข้าง และเพราะว่า กระบวนการเสริมกำลังการส่งสัญญาณในระยะยาว (long-term potentiation, ตัวย่อ LTP) และสภาพพลาสติกของไซแนปส์ที่เพิ่มระดับการตอบสนองของนิวรอนที่อะมิกดะลาด้านข้างต่อตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข เกิดขึ้นที่อะมิกดะลาด้านข้าง\nดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขจึงสามารถจะเดินทางไปจากอะมิกดะลาด้านข้าง ไปถึงนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา \nคือ ส่วนฐาน (basal) และ Intercalated cells ของอะมิกดะลาเชื่อมอะมิกดะลาส่วนข้างไปยังนิวเคลียสกลางทั้งโดยตรงและโดยอ้อม\nวิถีประสาทจากนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลาที่ดำเนินไปยังเขตต่อไปนั่นแหละ เป็นส่วนในสมองที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อป้องกันตน (เช่นการมีตัวแข็ง) ควบคุมการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system) และควบคุมการตอบสนองของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเนื่องด้วยความกลัว\nนอกจากนี้แล้ว งานวิจัยเร็ว ๆ นี้ยังแสดงว่า เขตคอร์เทกซ์ก่อนระบบลิมบิกมีบทบาทในการแสดงออกความกลัวเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการเชื่อมต่อกับส่วนฐานและนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "248497#77",
"text": "แม้ว่าจะไม่สามัญในเด็ก โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ก็สามารถเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน\nโดยมีอัตราระหว่าง 2-4%\nและก็เหมือนผู้ใหญ่ เด็กมักจะมีความคิดเชิงไสยศาสตร์เพื่อบรรเทาความวิตกกังวล คือต้องทำพิธีกรรมอะไรบางอย่าง (บ่อยครั้งเกี่ยวกับการนับ จัดแจง หรือทำความสะอาด เป็นต้น) เพื่อ \"ป้องกัน\" เหตุการณ์ร้ายที่ตนรู้สึกว่ากำลังจะเกิดขึ้น\nแต่ไม่เหมือนกับเด็กปกติ ผู้สามารถเลิกกิจกรรมเชิงไสยศาสตร์เมื่อบอกให้เลิก แต่เด็กที่มี OCD จะไม่สามารถหยุดทำกิจกรรมเช่นนั้นได้ไม่ว่าจะขู่อย่างไร",
"title": "โรควิตกกังวล"
},
{
"docid": "665217#41",
"text": "ผลกระทบของแท้ของการประมวลอาหารโดยการฉายรังสีจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดกับดีเอ็นเอ, ข้อมูลทางพันธุกรรมพื้นฐานสำหรับชีวิต. จุลินทรีย์จะไม่สามารถขยายพันธ์และดำเนินการกิจกรรมของเชื้อโรคและความร้ายแรงของพวกมันได้อีกต่อไป. การเน่าเสียที่ก่อให้เกิดจุลินทรีย์ก็ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมของพวกมันได้อีกต่อไป. แมลงไม่รอดหรือกลายเป็นหมดความสามารถในการให้กำเนิด. พืชไม่สามารถจะถูกทำให้สุกหรืออยู่ในกระบวนการชราได้ตามธรรมชาติ. ผลกระทบทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารเช่นเดียวกัน.",
"title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "665217#43",
"text": "การเป็นพิเศษของการประมวลอาหารโดยใช้รังสีที่เกิดจากการไอออไนเวชั่นคือความจริงที่ว่าความหนาแน่นของพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงอะตอมจะสูงมาก, มันสามารถแยกโมเลกุลและทำให้เกิดการไอออไนซ์ (เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อนี้) ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยความร้อนเท่านั้น. นี่คือเหตุผลสำหรับผลจากประโยชน์ที่ได้ใหม่, แต่ในเวลาเดียวกัน, ก็เป็นเหตุผลสำหรับความกังวลใหม่. การบำบัดอาหารแข็งโดยรังสีไอออไนซ์สามารถให้ผลคล้ายกับการทำพาสเจอร์ไรซ์แบบความร้อนของของเหลว, เช่นนม. อย่างไรก็ตาม, การใช้คำว่าพาสเจอร์ไรซ์เย็นเพื่ออธิบายอาหารที่ผ่านการฉายรังสีทำให้เป็นที่ถกเถียงกัน, เพราะพาสเจอร์ไรซ์และการฉายรังสีเป็นกระบวนการที่แตกต่างกันโดยพื้นฐานอยู่แล้ว, ถึงแม้ว่าสุดท้ายความตั้งใจในบางกรณีอาจจะคล้ายกัน.",
"title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "3875#42",
"text": "พลังงานความร้อนทำให้โมเลกุลบางส่วนที่ขอบนอกของบรรยากาศมีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่สามารถหลุดพ้นออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเสียบรรยากาศออกสู่อวกาศอย่างช้า ๆ แต่สม่ำเสมอ เพราะไฮโดรเจนที่ไม่ได้ถูกยึดเหนี่ยวมีมวลโมเลกุลต่ำจึงสามารถขึ้นถึงความเร็วหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและรั่วไหลออกสู่อวกาศภายนอกในอัตราที่สูงกว่าก๊าซอื่น การรั่วของไฮโดรเจนสู่อวกาศได้ช่วยสนับสนุนให้บรรยากาศโลกตลอดจนพื้นผิวเกิดการเปลี่ยนผันจากภาวะรีดิวซ์ในช่วงต้นมาเป็นภาวะออกซิไดซ์อย่างเช่นในปัจจุบัน การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นแหล่งช่วยป้อนออกซิเจนอิสระ แต่ด้วยการเสียไปซึ่งสารรีดิวซ์ดังเช่นไฮโดรเจนนี้เองจึงเชื่อกันว่าเป็นภาวะเริ่มต้นที่จำเป็นต่อการเพิ่มพูนขึ้นของออกซิเจนอย่างกว้างขวางในบรรยากาศ การที่ไฮโดรเจนสามารถหนีออกไปจากบรรยากาศได้จึงอาจส่งอิทธิพลต่อธรรมชาติของชึวิตที่พัฒนาขึ้นบนโลก ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนเป็นจำนวนมากในปัจจุบันนั้น ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำก่อนมีโอกาสหนีออกไป แต่การเสียไฮโดรเจนส่วนใหญ่นั้นมาจากการสลายของมีเทนในบรรยากาศชั้นบน",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "597312#4",
"text": "นักทฤษฎีบางพวกเสนอว่า ความกลัวมีเงื่อนไขเป็นไปร่วมกับเหตุเกิดของโรควิตกกังวลประเภทต่าง ๆ ทั้งโดยกิจและโดยระบบประสาท\nงานวิจัยเกี่ยวกับการได้มา (acquisition) การทำให้มั่นคง (consolidation) และความสูญไป (extinction) ของความกลัวมีเงื่อนไข อาจจะนำไปสู่การบำบัดรักษาทางเวชกรรมหรือทางจิตบำบัดใหม่ ๆ เพื่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคดิสโซสิเอทิฟ โรคกลัวประเภทต่าง ๆ และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder)",
"title": "การปรับภาวะให้เกิดความกลัว"
}
] |
1542 | รัฐนิวยอร์กมีพื้นที่เท่าใด ? | [
{
"docid": "8009#11",
"text": "นิวยอร์กมีพื้นที่กว่า 113 กม² (28,000 เอเคอร์) ที่มีบริเวณเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่มีต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มๆ และชายหาดความยาวถึง 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) พื้นที่หลายหมื่นเอเคอร์ดังกล่าวเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวนิวยอร์ก และยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุทยานแห่งชาติด้วย สำหรับสวนสาธารณะนั้น นิวยอร์กมีสวนสาธารณะกว่า 1,700 แห่ง ทั้งเล็กใหญ่กระจายไปในตัวเมือง ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็ คือ เซ็นทรัลพาร์ก ในแมนแฮตตัน สวนแห่งนี้ถูกออกแบบโดย Frederick Law Olmsted และ Calvert Vaux มีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 30 ล้านคนต่อปี ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (อันดับที่ 2 คือ ลินคอล์นพาร์ก ในชิคาโก) นอกจากนั้น Olmsted และ Vaux ยังเป็นผู้ออกแบบ โพรสเปคพาร์ก ในบรูคลินอีกด้วย ขณะที่ฟลัชชิ่ง เมลโด โคโรน่าพาร์ก ที่ควีนส์ ก็เคยถูกใช้ในการจัดงานเวิลด์แฟร์ ใน ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1964 มาแล้ว",
"title": "นครนิวยอร์ก"
},
{
"docid": "8009#1",
"text": "นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม. (305 ตร.ไมล์) นอกจากจะเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดแล้ว สัดส่วนประชากรต่อพื้นที่ยังถือว่าหนาแน่นที่สุดในสหรัฐอเมริกา",
"title": "นครนิวยอร์ก"
}
] | [
{
"docid": "7606#0",
"text": "รัฐนิวยอร์ก (, ) เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเทกซัส รัฐนิวยอร์กอาณาเขตติดต่อกับ รัฐเวอร์มอนต์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย และในทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา กับรัฐควิเบกและรัฐออนแทรีโอ เมืองขนาดใหญ่ในรัฐนิวยอร์กได้แก่ นครนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) บัฟฟาโล รอเชสเตอร์ ยังเกอรส์ และ ซีราคิวส์ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ ออลบานี",
"title": "รัฐนิวยอร์ก"
},
{
"docid": "28567#0",
"text": "รัฐนิวเจอร์ซีย์ (, ) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า \"การ์เดนสเตต\" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน",
"title": "รัฐนิวเจอร์ซีย์"
},
{
"docid": "8009#12",
"text": "ระบบขนส่งสาธารณะของเมืองถือว่ามีความสำคัญอย่างมากกับการเดินทางของชาวนิวยอร์ก โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ใช้ระบบขนส่งในสหรัฐอเมริกา และ 2 ใน 3 ของผู้ใช้การขนส่งระบบรางอาศัยอยู่ในนิวยอร์กและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งนั้นตรงกันข้ามกับวิถีของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ที่ 90% ใช้รถยนต์ส่วนตัวไปทำงาน นิวยอร์กเป็นเพียงเมืองเดียวในสหรัฐอเมริกาที่ประชากรในท้องถิ่นกว่าครึ่งไม่มีรถยนต์ส่วนตัว (โดยเฉพาะในแมนแฮตตัน กว่า 75% ของผู้พักอาศัยไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือคิดเป็น 8% ของคนทั้งสหรัฐอเมริกา) และรายงานของสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา (US Census Bureau) พบว่าผู้พักอาศัยในนิวยอร์กจะใช้เวลาเฉลี่ยกับการเดินทางไปทำงานประมาณ 38.4 นาที ต่อวัน ซึ่งนั้นถือเป็นเวลาที่ใช้ในการเดินทางนานที่สุดในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา\nการขนส่งระหว่างเมืองนิวยอร์กให้บริการในระบบรางโดย เอมแทรค (Amtrak) มีสถานีเพนซิลเวเนีย เป็นสถานีหลัก เชื่อมการเดินทางระหว่างนิวยอร์กไปยัง บอสตัน ฟิลาเดลเฟีย และวอชิงตัน ดี.ซี.",
"title": "นครนิวยอร์ก"
},
{
"docid": "8009#17",
"text": "อีกองค์ประกอบของระบบคมนาคมขนส่งในนิวยอร์ก ก็คือ ทางด่วน (Expressways) และทางธรรมดา (Parkways) ที่มีโครงข่ายที่ครอบคลุม เชื่อมต่อนิวยอร์กไปยังตอนเหนือของรัฐนิวเจอร์ซีย์ เวสต์เชสเตอร์ เคาน์ตี้ ลองไอแลนด์ และตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัต โดยผ่านทั้งสะพาน และอุโมงค์ใต้น้ำ (ค่าผ่านทางประมาณ $7-$15 ต่อรอบ) เส้นทางดังกล่าวได้ให้ความสะดวกกับการเดินทางสู่นิวยอร์กสำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่ในแถบชานเมือง แต่ในบางครั้งก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน สะพานจอร์จ วอชิงตัน หนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อ ก็เป็นสะพานแห่งหนึ่งของโลกที่มีการจราจรที่คับคั่งที่สุด",
"title": "นครนิวยอร์ก"
},
{
"docid": "429446#0",
"text": "เกาะสแตเทน () เป็นโบโรฮ์ในนิวยอร์กซิตี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ในอ่าวนิวยอร์ก แยกออกจากเกาะลองไอแลนด์โดยช่องแคบแนร์โรส์ และทางด้านตะวันตกแยกออกจากรัฐนิวเจอร์ซีย์โดยช่องแคบอาร์เทอร์คิลล์ ซึ่งเชื่อมต่ออ่าวนวร์กทางด้านเหนือกับอ่าวแรริตันทางทิศใต้ มีประชากร 468,730 คน เกาะสแตเทนมีประชากรน้อยที่สุดใน 5 โบโรฮ์ แต่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 คือมีพื้นที่ 59 ตร.ไมล์ (153 ตร.กม.) ชาวฮอลันดาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรบนเกาะนี้เมื่อ ค.ศ. 1661 ต่อมาตกเป็นของอังกฤษในปี ค.ศ. 1664",
"title": "เกาะสแตเทน"
},
{
"docid": "328655#1",
"text": "นวร์กตั้งอยู่ 13 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของเกาะแมนฮัตตัน ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าวนวร์ก นวร์กเป็นเมืองท่าที่ำคัญ ท่าเรือนวร์กเป็นท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าที่สำคัญสำหรับท่าเรือนิวยอร์กและท่าเรือนิวเจอร์ซี ทั้งยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินวร์กลิเบอร์ตี้ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสำคัญในเขตเมืองนิวยอร์ก ทั้งยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรูเด็นเชียล ไฟแนนเชียล",
"title": "นวร์ก (รัฐนิวเจอร์ซีย์)"
},
{
"docid": "823#55",
"text": "สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "8009#15",
"text": "นิวยอร์กยังติดอันดับเมืองที่มีการขนส่งทางอากาศมากที่สุด ผู้มาเยือนส่วนใหญ่จะใช้นิวยอร์กเป็นประตูเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ของเมืองมีท่าอากาศยานที่สำคัญอยู่ถึง 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK) ท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตี (EWR) และท่าอากาศยานลากวาเดีย (LGA) นอกนั้นยังมีแผนที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งที่ 4 คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสจ๊วต (SWF) ใกล้กับเมืองนิวเบิร์ก รัฐนิวยอร์ก ภายใต้ความรับผิดชอบของการท่าแห่งนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ (Port Authority of New York and New Jersey) เพื่อที่จะรองรับกับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ใน ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 100 ล้านคน ที่ใช้ท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่งในการเดินทาง การจราจรทางอากาศในนิวยอร์กถือว่ามีความหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา",
"title": "นครนิวยอร์ก"
}
] |
1547 | โอปอลเป็นสัญลักษณ์อะไรของชาวตะวันตก? | [
{
"docid": "198068#3",
"text": "ชาวตะวันตกเชื่อกันว่าโอปอลเป็นหินแห่งโชคลาง มีความเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ สามารถบอกเหตุล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเหตุดีหรือเหตุร้าย โอปอลยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง เพราะมันเต็มไปด้วยสายรุ้งแห่งความหวัง ผู้ที่สวมใส่อัญมณีชนิดนี้จะสมหวังในสิ่งที่ต้องการ ชาวอาหรับเชื่อว่าโอปอล คือ อัญมณีที่ตกลงมาจากสวรรค์",
"title": "โอปอล"
}
] | [
{
"docid": "198068#33",
"text": "โอปอลมีประกายสีแดงของทับทิม มีประกายสีม่วงของอแมทิสต์ และสีเขียวของมรกต รวมอยู่ภายในตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเป็นที่ประทับใจต่อ Pliny the Elder (ค.ศ. 23-79) นักประวัติศาสตร์โรมัน และนักเขียนเอนไซโคปิเดียร์ เล่มแรกของโลกเป็นอย่างมาก ชาวโรมันถือว่า โอปอลเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความบริสุทธิ์ ในขณะที่ชาวกรีซเชื่อว่า ช่วยในการทำนาย ล่วงรู้อนาคต ในขณะที่ชาวอาหรับเชื่อว่า โอปอลตกจากสวรรค์ ในขณะฟ้าผ่าจึงทำให้มีสีหลากหลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว\nไม่น่าเชื่อเลยว่า สีของโอปอลที่เห็นเกิดจากน้ำ 5-10% ที่ถูกขังในตัวโอปอล ในขณะที่แสงสีต่างๆ เกิดจากการเรียงตัวกันของซิลิกอนไดอ๊อกไซด์ รูปทรงกลม",
"title": "โอปอล"
},
{
"docid": "198068#2",
"text": "คำว่า Opal มาจากภาษาสันสกฤตว่า Upula แปลว่า หินมีค่า โอปอลเป็นที่รู้จักมาเป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก นักโบราณคดีชื่อ Louis Leaky ขุดพบเครื่องประดับโอปอลที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีอายุถึง 6,000 ปี ในถ้ำที่ประเทศเคนยา มงกุฎของกษัตริย์แห่งอาณาจักร Holy Roman ประดับด้วยโอปอลชื่อ Orphanus มงกุฎของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสก็ประดับด้วยโอปอลเช่นกัน อัญมณีสีรุ้งนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนในสมัยก่อนมากมาย เช่น วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) เซอร์ วอลเตอร์ สก็อต (Sir Walter Scott) ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ ๆ แก่โอปอล",
"title": "โอปอล"
},
{
"docid": "315817#2",
"text": "ชาวตะวันตกถือว่าคอลีฟะหฺอุมัรนี้เป็นหนึ่งในร้อยอัจฉริยะในโลก ตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน เป็นนักปกครองที่เก่งกาจ สามารถขยายอาณาจักรอิสลามออกไปทุกสารทิศ เป็นผู้พิชิตอนาจักรเปอร์เซีย และอณาจักรโรมัน มีบุคลิกเข้มแข็ง ชอบเดินออกไปในตลาดเพื่อตรวจตราการค้าขายให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมและดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้การปกครองของท่าน เมื่อพบคนเดือดร้อนท่านก็ไม่รีรอที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ในมือถือไม้หวดตีพ่อค้าโกงตาชั่ง จนกล่าวกันว่า ไม้เรียวของท่านอุมัรน่ากลัวยิ่งกว่าดาบ ความเข้มงวดของอุมัรทำให้ผู้คนพากันเกรงกลัว อุมัรปกครองตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม",
"title": "อุมัร"
},
{
"docid": "456801#2",
"text": "โอลเป็นเช่นเดียวกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นที่มาจากกัมพูชาตะวันออกคือมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนาม ใน พ.ศ. 2517 โอลได้เดินทางไปฮานอย ระหว่างนั้น เขาได้เขียนบทกวีเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวของอินโดจีนและได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศเวียดนาม ซึ่งทำให้พล พตไม่พอใจ ต่อมา ใน พ.ศ. 2520 โอลได้เป็นเหยื่อของเขมรแดงเพราะเขาเคยเป็น สมาชิกของสมาคมมิตรภาพเขมร-จีน เขาถูกจับเมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2520 และถูกประหารชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน",
"title": "ทีป โอล"
},
{
"docid": "386699#3",
"text": "เอโบ โมราเลส กล่าวถึงเหตุผลเบื้องหลังความยากจนของประชาชนในประเทศของตนว่า \"เป็นผลมาจากการเอารัดเอาเปรียบ การฉกฉวยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่โบลิเวียมีอยู่ใต้ผืนมาตุภูมิของตนเองไปแบบหน้าตาเฉย ของบรรดาบริษัทต่างชาติตะวันตกที่เข้ามาในประเทศ\" โมราเลสเรียกพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็น \"การปล้นสะดม\" จากประชาชนโบลิเวีย เขาจึงแก้ปัญหาที่ว่านี้ ด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไปยึดที่ทำการของบริษัท โรงกลั่นและโรงแปรรูป และหลุมขุดเจาะน้ำมันรวมทั้งสิ้น 56 จุดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 มาเป็นทรัพย์สินของรัฐ และประชาชนโบลิเวีย",
"title": "เอโบ โมราเลส"
},
{
"docid": "28180#4",
"text": "เอลรอนด์เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาโบราณ ตระกูลของเขาเป็นตัวแทนของตำนาน ที่ปกปักรักษาความทรงจำอันน่าเคารพยำเกรงของประเพณีทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับความดี ความเฉลียวฉลาด และความงดงาม อาณาจักรของเขามิได้เป็นสถานที่กระทำการใดๆ เป็นแต่เพียงสถานที่ซึ่งสะท้อนสิ่งดีงามเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถานที่แห่งนี้จึงเป็นจุดที่ต้องมาเยือนทุกครั้งก่อนจะออกไปปฏิบัติภารกิจ หรือก้าวเข้าสู่ ‘การผจญภัย’ ทุกชนิด มันอาจเพียงบังเอิญอยู่บนทางผ่าน (เช่นที่ปรากฏในเดอะฮอบบิท) แต่แล้วการณ์กลับกลายเป็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มออกเดินทางจากที่นั่นโดยปราศจากความรู้คิดถึงเส้นทางที่จะไป ในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ เมื่อบรรดาวีรชนหนีภยันตรายจากความชั่วร้ายที่คุกคามอยู่จักแหล่นไปสู่คฤหาสน์ของเอลรอนด์ พวกเขากลับต้องออกเดินทางจากไปสู่เส้นทางใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมอย่างสิ้นเชิง คือมุ่งเข้าหาอันตรายและประจันหน้ากับจุดกำเนิดของความชั่วร้าย'",
"title": "เอลรอนด์"
},
{
"docid": "835653#0",
"text": "พอล บันยัน () เป็นยักษ์ในตำนานพื้นบ้านอเมริกัน ที่มิใช่เป็นเรื่องเล่าขานของอินเดียแดง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติปฐมภูมิของอเมริกา หากแต่เป็นเรื่องเล่าประเภทมุขปาฐกที่เกิดจากการแต่งขึ้นของชาวผิวขาวที่มาบุกเบิกดินแดนอเมริกา ในราวต้นศตวรรษที่ 20 ในพื้นที่แถบรัฐเมน, โอกลาโฮมา, มิชิแกน และมินนิโซตา ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ มีอุตสาหกรรมป่าไม้เยอะ เชื่อว่าพอล บัน ยันเป็นเรื่องเล่าขึ้นมาในหมู่คนตัดไม้ขณะชุมนุมรอบกองไฟเพื่อสร้างตัวตนของตนเองขึ้นมา",
"title": "พอล บันยัน"
},
{
"docid": "135284#2",
"text": "อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์",
"title": "อะพอลโล"
},
{
"docid": "36884#18",
"text": "ด้วยการยกระดับทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นอย่างมากและรวดเร็วได้ทำให้กำแพงที่ขวางกั้นการค้าและการลงทุนลดลงเป็นอย่างมากด้วย แต่กระนั้น นักวิจารณ์บางคนก็ยังอ้างเหตุผลว่า ควรนำตัวแปรที่มีรายละเอียดมากกว่านี้มาวัดความยากจนแทนการใช้เพียงตัวเลขธนาคารโลก .'ที่มา: ธนาคารโลก, การประมาณความยากจน, 2545แม้นักวิจารณ์จะบ่นว่าโลกาภิวัตน์เป็นต้นเหตุของการกลายเป็นตะวันตกก็ตาม รายงานของ ยูเนสโกเมื่อ พ.ศ. 2548 แสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ร่วมกัน ใน พ.ศ. 2545 จีนเป็นประเทศส่งออกสินค้าวัฒนธรรมใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2545 ทั้งอเมริกาเหนือและสหภาพยุโรปต่างมีอัตราการส่งออกวัฒนธรรมที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกวัฒนธรรมของเอเชียเจริญเติบโตล้ำหน้าอเมริกาเหนือ",
"title": "โลกาภิวัตน์"
}
] |
1554 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ใด ? | [
{
"docid": "5519#57",
"text": "ส่วนที่ 2 ฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงวังใหม่ ประกอบด้วย สำนักงานมหาวิทยาลัย (กลุ่มอาคารจามจุรี 1-5, 8-9) บัณฑิตวิทยาลัย สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (อาคารศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ฟิตเนสเซ็นเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ศูนย์วิทยทรัพยากร สถานีวิทยุจุฬาฯ โรงพิมพ์จุฬาฯ ธรรมสถาน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา อาคารแว่นแก้ว อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) หอพักศศนิเวศ อาคารศศปาฐศาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#59",
"text": "ส่วนที่ 4 ทิศตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน บริเวณตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง จนถึงสี่แยกอังรีดูนังต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสภากาชาดไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทยและสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันสมทบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดงและรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สถานีสีลม บริเวณสี่แยกศาลาแดง",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#56",
"text": "ส่วนที่ 1 ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย สระน้ำ สนามรักบี้ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ ศาลาพระเกี้ยว ศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สาขาศาลาพระเกี้ยว) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "32955#3",
"text": "ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาากาชาดไทย เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจ การเงินและการทูตของประเทศไทย ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนอังรีดูนังต์ ทิศใต้ติดกับถนนพระรามที่ 4 ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำริและสวนลุมพินี ทิศเหนือติดกับราชกรีฑาสโมสร หรือ สนามม้าปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานครและรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#61",
"text": "ส่วนที่ 6 คือ พื้นที่ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ได้รับคืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ อันเป็นส่วนขยายของคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะจิตวิทยา และโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ส่วนนี้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทจึงอยู่ในแขวงปทุมวัน",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "32953#10",
"text": "คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอาณาเขตอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ด้านข้างถนนอังรีดูนังต์ ติดกับสถานเสาวภา สภากาชาดไทย สามารถสังเกตกลุ่มอาคารของคณะได้จากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย คณะรัฐศาสตร์ติดกับคณะอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังตั้งอยู่ตรงข้ามกับคณะแพทยศาสตร์ โดยมีถนนอังรีดูนังต์ตัดขั้น",
"title": "คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
}
] | [
{
"docid": "5519#81",
"text": "หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นพร้อมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2459 แต่เดิมหอพักตั้งอยู่ในบริเวณวังวินด์เซอร์ ปัจจุบันพื้นที่นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ตั้งของกรีฑาสถานแห่งชาติ หอพักนิสิตฯ มีพัฒนาการขึ้นตามลำดับจนกระทั่งย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน ถือเป็นหอพักภายในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีหอพักพวงชมพู หรือเรียกว่า หอ U-center ตั้งอยู่บริเวณหลังตลาดสามย่านแห่งเดิมซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุมแยกสามย่าน ด้านข้างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2546",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "881344#0",
"text": "อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ 28 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ระหว่างซอยจุฬาลงกรณ์ 9 กับถนนบรรทัดทอง ในพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน เชื่อมต่อกับแนวแกนกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น ลานกิจกรรมกลางแจ้ง ศูนย์การเรียนรู้ โดยอาคารต่าง ๆ จะปลูกต้นไม้เพื่อเป็นอาคารสีเขียว มีประโยชน์ในการชะลอน้ำ ออกแบบตามแนวคิด \"ป่าในเมือง\" ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง มีแนวพื้นที่รับน้ำ (rain garden) และระบบระบายน้ำใต้ดิน มีพื้นที่อเนกประสงค์ และที่จอดรถ 200 คัน อุทยานเปิดในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปีพอดี",
"title": "อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#80",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหอพักภายในมหาวิทยาลัย เรียกว่า \"หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" หรือชื่อที่นิสิตหอพักเรียกกันมายาวนานกว่า 70 ปี ว่า \"ซีมะโด่ง\" เปิดดำเนินการใน พ.ศ. 2461 มีพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนพญาไท ตรงข้ามกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา\nเนื่องจากหอพักมีจำนวนจำกัดและราคาถูกกว่าหอพักภายนอกที่ตั้งอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอพักนิสิตฯ จึงมีขั้นตอนการคัดกรองนิสิตที่สมัครหลายด้าน เช่น รายได้และภาระหนี้สินของครอบครัว ประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมและที่พักในกรุงเทพมหานครของนิสิต โดยหอจะแบ่งออกเป็น",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#62",
"text": "ในส่วนพื้นที่การศึกษานี้ มีต้นไม้สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวม 6 ต้น ได้แก่ ต้นจามจุรีพระราชทาน 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกไว้บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) และอาคารจามจุรี 5 ใกล้คณะครุศาสตร์ ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ลานจอดรถศาลาพระเกี้ยวด้านคณะเศรษฐศาสตร์ ทุก ๆ วันศุกร์ (หรือตามแต่กรรมการสโมสรอาจารย์เป็นผู้กำหนด) จะจัดเป็นตลาดนัดตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรียกกันว่า \"ตลาดพิกุล\" เนื่องจากพื้นที่นั้นมีต้นพิกุล กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการโดยสโมสรอาจารย์",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#0",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน\" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ \"พระเกี้ยว\" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า \"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 17 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#9",
"text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 เวลา 16 นาฬิกา 7 นาที ดังนี้",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#7",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับวันขึ้นปีใหม่แบบไทยคือ พ.ศ. 2441) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไปในอนาคต ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ความตอนหนึ่งดังนี้",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
}
] |
1555 | คาสิโน คืออะไร ? | [
{
"docid": "151638#0",
"text": "กาสิโน () เป็นสถานบันเทิงที่มีกิจกรรมการพนันเป็นกิจกรรมหลัก โดยปกติแล้วกาสิโนมักจะสร้างร่วมกับโรงแรม, ร้านอาหาร, แหล่งชอปปิง หรือบางครั้งกาสิโนจะสร้างอยู่บนเรือนำเที่ยว ปัจจุบันมีกาสิโนมากกว่า 4,750 แห่งทั่วโลก",
"title": "กาสิโน"
}
] | [
{
"docid": "297571#1",
"text": "\"ซาโนะ มิทสึรุ\" () เป็นชายหนุ่มผู้ยากจนได้เวนท์เด็ดจากชีโร่ ปกติมีอาชีพเป็นยามในลานจอดรถของบริษัทซึ่งมีความประสงค์เพียงแค่เพื่อเงินเท่านั้น หลังจากที่ได้เป็นไรเดอร์แล้วนั้นได้ใช้วิธีในดังกล่าวสำหรับการให้ตนได้อยู่กลุ่มที่มีเงินเยอะเป็นหลัก เมื่อแปลงร่างเป็นอิมเพอเรอร์การต่อสู้ของอิมเพอเรอร์จะเป็นรูปแบบการต่อสู้ของมวยไทย และความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือสามารถเรียกฝูงมอนสเตอร์เผ่ากาเซลเพื่อทำหน้าที่ ต่อสู้แบบรุมทีมและเป็นด่านหน้าของตนแต่ทว่ากลับประสบปัญหาด้านการเพิ่มพลัง ของฝูงมอนสเตอร์เผ่ากาเซล",
"title": "คาเมนไรเดอร์อิมเพอเรอร์"
},
{
"docid": "421924#1",
"text": "เป็นสังเวียนที่อยู่ในโลกแห่งอาร์คเดอะแลด ซึ่งมี \"มอนสเตอร์เกม\" รวมถึงมีศูนย์การค้าที่ดำเนินการโดยคาสิโนของชองการ่า ซึ่งเป็น \"คาสิโนเกม\" โดยได้แบ่งลงสู่ซีดีสองแผ่น",
"title": "อาร์คเดอะแลดมอนสเตอร์เกมวิธคาสิโนเกม"
},
{
"docid": "959876#1",
"text": "\"คะซีโน-ออน-เน็ต\" ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 โดยสองพี่น้อง Aaron และ Avi Shaked กับ Ron และ Shay Ben-Yitzhaq ซึ่งเป็นพี่น้องด้วยเช่นกัน Aaron Shaked กล่าวว่าเขาเกิดแนวคิดเกี่ยวกับกาสิโนออนไลน์ขึ้นในขณะที่เข้าร่วมการประชุมทางทันตกรรมในมงเต-การ์โล ในปี 1994 พระราชบัญญัติเขตการค้าเสรีและเขตอุตสาหกรรมส่งออกผ่านการอนุมัติในแอนติกาและบาร์บูดา ซึ่งเปิดทางให้กับการพัฒนาคาสิโนออนไลน์ที่ถูกกฎหมาย \"คะซีโน-ออน-เน็ต\" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"เอตเอตเอตคะซีโน\" ในปี 2010 เพื่อผสานรูปลักษณ์และความรู้สึกให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับยี่ห้ออื่น ๆ ของเอตเอตเอตคะซีโน ในปี 2015 เว็บไซต์ได้รับใบอนุญาตและเปิดดำเนินการในยิบรอลตาร์ นิวเจอร์ซีย์ เดนมาร์ก สเปน และในอีกหลายประเทศและหลายดินแดน",
"title": "เอตเอตเอตคะซีโน"
},
{
"docid": "424951#1",
"text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เว็บไซต์เอสบีโอเบทซึ่งดำเนินการอยู่ในเกาะแมนได้รับการอนุมัติให้เปิดรับเดิมพันคาสิโนออนไลน์ เป็นแห่งแรกของเกาะ (ถ่ายทอดสดเกมส์การเดิมพันจาก คาสิโนโดยตรงผ่านทางกล้องวิดีโอ และผู้เล่นวางเดิมพันจากอินเทอร์เน็ต)",
"title": "เอสบีโอเบท"
},
{
"docid": "151638#3",
"text": "ในปี 2551 สมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรีประเทศไทยได้มีการกล่าวว่า \"ถ้าได้เป็นนายกครบ 4 ปีจะมีการเปิดคาสิโนในประเทศไทยใน 5 จังหวัดท่องเที่ยว\" ซึ่งทางดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้มีการเขียนค้านในหนังสือพิมพ์ว่าการเปิดกาสิโนในไทยจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น ซึ่งรวมถึงปัญหาการซักฟอกเงินที่เป็นปัญหาในหลายประเทศ",
"title": "กาสิโน"
},
{
"docid": "70037#0",
"text": "เอมิยะ คิริซึงุ () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์\nเขาเป็นจอมเวทย์ผู้ที่รอดชีวิตจากสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 และเป็นพ่อบุญธรรมของ เอมิยะ ชิโร่ เด็กชายผู้ที่เขาได้ช่วยเหลือออกมาจากกองไฟ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนั้น ตลอดชีวิตของเขา เขามีชีวิตอยู่เพื่อผดุงคุณธรรม ปกป้องและช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า แม้ว่าเขาเองจะรู้อยู่แล้วว่ามันเป็นการยากที่จะทำได้ และเขาก็รู้อยู่แล้วว่ามันคงไม่สำเร็จ แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้สั่งสอนลูกชายบุญธรรมของเขาเพียงคนเดียวให้รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ฮีโร่ควรกระทำ เพื่อปกป้องความยุติธรรม และปกป้องคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งตามจริงแล้วเขาก็เป็นนักเวทย์ แต่เขากลับไม่เคยสอนให้ชิโร่ใช้เวทมนตร์อย่างจริงจัง และบอกให้เขาพยายามฝึกเวทย์จำลองวัตถุของเขาให้ใช้ได้คล่องแคล่ว สุดท้ายเขาก็ได้เสียชีวิตไปใน 3 ปี ก่อนเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ โดยไม่ทราบสาเหตุ",
"title": "เอมิยะ คิริซึงุ"
},
{
"docid": "17662#0",
"text": "คิซาเมะ () หรือโฮชิงากิ คิซาเมะ เป็นตัวละครการ์ตูนจากเรื่อง นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เพื่อนร่วมทีม อุจิวะ อิทาจิ\nเพื่อนร่วมทีมของ อิทาจิ ที่ดูเหมือนจะเคารพในตัวของอิทาจิมากพอดู มีอาวุธเป็นดาบปากฉลามเล่มเขื่อง ที่ห้อยไว้กลางหลัง ปรากฏตัวพร้อมอิทาจิ ในตอนที่กลับมาโคโนะฮะ เพื่อชิงตัวนารุโตะ แต่นารุโตะก็ได้ จิไรยะ ช่วยเอาไว้ได้ทัน มีความสามารถในการควบคุมน้ำ สามารถใช้คุกน้ำขังศัตรูได้",
"title": "คิซาเมะ"
},
{
"docid": "195572#1",
"text": "โคนัน เป็นคุโนะอิจิเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่มแสงอุษา มีเอกลักษณ์ที่ดอกไม้ประดับบนผม และมักจะเห็นเธออยู่ข้างเพนเป็นประจำ \nอดีตของโคนัน เธอและเพื่อนอีกสองคน คือ นางาโตะและยาฮิโกะ(ซึ่งชอบพอกับโคนัน) เป็นเด็กกำพร้าที่สูญเสียครอบครัวไปในสงครามระหว่างแคว้นในหมู่บ้านอาเมะงาคุเระ \nและในอดีตนั้นพวกเธอทั้งสามก็ได้พบกับ สามนินจาแห่งโคโนะฮะ ซึ่งหลังจากพบกัน จิไรยะก็ตัดสินใจที่จะดูแลเด็กๆทั้งสามคน \nและรับเธอกับเพื่อนเป็นศิษย์ชั่วคราว เพื่อให้พวกเขาเข้มแข็งพอที่จะดูแลตัวเองได้ พวกเขาอยู่ด้วยกันเป็นเวลาสามปี \nจนถึงวันที่จิไรยะมั่นใจว่าเด็กๆเติบโตขึ้นจนดูแลตัวเองได้แล้ว เขาก็จากมา พร้อมกับย้ำให้เด็กๆรู้ว่า พวกเขาได้เติบโตขึ้นแล้ว \nและต่อไปในภายหน้าก็ต้องใช้ความสามารถของตัวเองเปลี่ยนแปลงหมู่บ้านและโลกใบนี้ด้วยตัวเองให้ได้ \nอย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา เธอและเพื่อนถูกเข้าใจว่าตายในสงครามไปแล้ว",
"title": "โคนัน (นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ)"
},
{
"docid": "140510#0",
"text": "บริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด () เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 คาสิโอมีชื่อเสียงในด้านการผลิตเครื่องคิดเลข เครื่องเสียง พีดีเอ กล้องถ่ายรูป เครื่องดนตรี และนาฬิกาข้อมือ เมื่อปี ค.ศ. 1957 คาสิโอเป็นรายแรกของโลกที่ผลิตและจำหน่ายเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดกะทัดรัด",
"title": "คาสิโอ"
},
{
"docid": "228097#0",
"text": "ครัวอาโนเนะ เป็นรายการวาไรตี้โชว์จากญี่ปุ่นที่ให้คนดังซึ่งทำอาหารเป็นและไม่เป็นมาทำอาหารแข่งกัน โดยออกอากาศในวันเสาร์เวลา 1:11 น. - 1:40 น. ต่อมาย้ายเวลาเป็น เวลา 1:00 น. - 1:30 น. ต่อมาย้ายเวลาในครั้งที่ 3 เป็นเวลา 0:30 น. - 1:00 น. และย้ายเวลาอีกครั้งในครั้งที่ 4 (จนถึงเทปสุดท้ายของรายการ) เป็นวันพุธเวลา 19:00 น. - 19:54 น. ตามลำดับ ทางสถานีโทรทัศน์อาซาฮีในประเทศญี่ปุ่น",
"title": "ครัวอาโนเนะ"
}
] |
1560 | อักษรย่อโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ คืออะไร? | [
{
"docid": "807790#5",
"text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ส.ว. อยู่เหนือตราเสมาธรรมจักรรองรับด้วยริ้วกนกสีทอง และมีผืนธงตัดขอบสีเหลืองมีเชื่อเต็มของโรงเรียนเป็นตัวอักษรสีแดงใต้ตราเสมาธรรมจักรโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา, ตราประจำโรงเรียน/อักษรย่อ/คำขวัญ, สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2559\nพระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คือวันอาทิตย์ เป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานทับกันอยู่หน้าพระเพลา พระหัตถ์ขวาประกบทับพระหัตถ์ซ้าย ลืมพระเนตรทั้งสองข้าง โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานนามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนว่า \"พระพุทธะสร้างเฉลิมพระบารมีสมเด็จพระศรีนครินทร์\"",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา"
},
{
"docid": "851477#4",
"text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ส.ว. อยู่เหนือตราเสมาธรรมจักร รองรับด้วยริ้วกนกสีทอง และมีผืนธงตัดขอบสีเหลือง มีชื่อเต็มของโรงเรียนเป็นตัวอักษรสีแดงใต้ตราเสมาธรรมจักร",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "192675#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2545 คณะผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ได้ร่วมประชุมกันและมีมติให้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์ท่าน ซึ่งทรงพระคุณอันประเสริฐต่อการศึกษาไทย ไว้เป็น ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ชาวไทยดำเนินชีวิตตามแนวพระจริยวัตรอัน งดงาม กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจัดสร้าง โดยประสานงานให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบองค์พระราชานุสาวรีย์ มีนายโสพิศ พุทธรักษ์ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ส่วนแท่นประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์ให้แต่ละโรงเรียนออกแบบตามความเหมาะสมสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนประกอบด้วยอักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ อักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ว.อยู่เหนือตราเสมาธรรมจักรรองรับด้วยริ้วกนกสีทอง และมีผืนธงตัดขอบสีเหลือง มีชื่อโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ และดามด้วยชื่อจังหวัด เป็นตัวอักษรสีแดงใต้ตราเสมาธรรมจักร",
"title": "กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์"
}
] | [
{
"docid": "851477#3",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ทั้ง 12 แห่ง อยู่ในพระราชูปถัมภ์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ปัจจุบันโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู จึงใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "851477#0",
"text": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู (อักษรย่อ : สว.นภ, อังกฤษ: Srinagarindra the Princess Mother School Nongbualamphu) เป็นหนึ่งใน 12 โรงเรียนที่อยู่ในโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สุขวิช รังสิตพลประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ชื่อว่า \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี\" ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานชื่อใหม่เป็น \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์\" และตามด้วยชื่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ หนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "365248#0",
"text": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นหนึ่งใน 12 โรงเรียนที่อยู่ในโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมเกล้าถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี เนื่องด้วยกระทรวงศึกษาธิการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อการศึกษาของชาติ ซึ่งจัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2539 ในขณะที่นายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชื่อว่า \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี\" ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานชื่อใหม่เป็น \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์\" และตามด้วยชื่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "807790#1",
"text": "เนื่องจากในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตลง นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น จึงประกาศจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ 12 จำนวนโรง ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านสืบไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมเกล้าถวายเป็นราชสักการะ แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยขณะแรกสถาปนาโรงเรียนได้ใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี\" และต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุด จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์” และตามด้วยชื่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา"
},
{
"docid": "192675#17",
"text": "เป็นวันที่มีความสำคัญอย่าวยิ่งของนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งพิธีวันเกียรติยศจัดขึ้น เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ครูกับนักเรียน และรุ่นพี่ กับรุ่นน้อง ซึ่งจะมีการประดับเครื่องหมายและมอบหมวก ให้กับนักเรียนใหม่ทุกคน ทำให้เรานั้นเป็นลูกสมเด็จย่าอย่าเต็มตัว โดยในแต่ละจังหวัดจะมีการจัดที่ไม่ตรงกันแล้วแต่โอกาสสำคัญของแต่ละโรงเรียน เช่น โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด จะจัดขึ้นในวันที่ วันที่ 25 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ลพบุรี จะจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม ขิงทุกปี เนื่องจากเป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี",
"title": "กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์"
},
{
"docid": "192675#3",
"text": "ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโรงเรียนมัธยมในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงได้ประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2539 ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น12 แห่งทุกเขตการศึกษา ขณะสถาปนาโรงเรียนมีชื่อว่า \"โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี\" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมเกล้าถวายเป็นราชสักการะ แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวาระเสด็จสวรรคตในปี2538 และ ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์” และตามด้วยชื่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่",
"title": "กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์"
},
{
"docid": "284013#0",
"text": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต () เดิมมีชื่อคือโรงเรียนภูเก็ตพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 โดยสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อการศึกษา และเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระมหาธิคุณของพระองค์ท่านและเล็งเห็นว่า โรงเรียนภูเก็ตพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่มีสภาพเหมาะสมจึงได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนภูเก็ตพิทยาคม มาเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ตามโครงการมีเป้าหมายที่จะรับนักเรียนแบบสหศึกษาระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย ทั้งประเภทประจำและไปกลับ โดยมุ่งหวังให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะสมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งในด้านอาคารเรียน และอาคารประกอบ คลอดจนวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้เป็นโรงเรียนที่พึงประสงค์ของสังคม และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา มีทั้งประเภทประจำและไปกลับ เป็นโรงเรียนประเภท เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เปิดทำการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2540 โดยปีการศึกษานั้นมีการรับนักเรียน ม.1 รุ่นแรก จำนวน 6 ห้องโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต มีแผนการเรียนดังนี้ \nตั้งอยู่ที่ 189 หมู่ 1 ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต",
"title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต"
}
] |
1573 | ราชวงศ์โชซ็อนมีกษัตริย์องค์แรกคือใคร? | [
{
"docid": "841229#0",
"text": "พระมเหสีชินด็อก (; ) เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โชซ็อน แต่พระองค์นับเป็นพระมเหสีองค์แรกแห่งโชซ็อนเนื่องจาก พระมเหสีชินอึย () พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าแทโจสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1391 หรือ 1 ปีก่อนสถาปนาราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "พระนางชินด็อก"
},
{
"docid": "871203#0",
"text": "มูอันแทกุน ( ; 1924 – 6 ตุลาคม 1941) หรือ ลีบังบอน เจ้าชายแห่งราชวงศ์โชซ็อนโดยพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ใน พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนและเป็นองค์แรกใน พระนางชินด็อก มีพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกันคือ อีอันแทกุน ลีบังซอก",
"title": "มูอันแทกุน"
}
] | [
{
"docid": "206059#0",
"text": "พระเจ้าย็องโจ ( ค.ศ. 1694 - ค.ศ. 1776) ทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1724 - ค.ศ. 1776) พระเจ้าย็องโจทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายประการ ทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับยกย่องที่สุดแห่งราชวงศ์โชซ็อน คู่กับพระนัดดา คือ พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน พระเจ้าย็องโจทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวที่สุดของราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "282507#0",
"text": "ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีนั้นเริ่มมีมาเมื่อกว่า 2000-2500 ปีก่อน โดยกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าทันกุนแห่งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และปกครอง เรื่อยมาและมีหลายรัฐหลายราชวงศ์ก่อนที่ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีจะมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1910 ในรัชสมัยพระเจ้าซุนจงพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซ็อน โดยการถูกญี่ปุ่นโค่นล้ม",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี"
},
{
"docid": "67959#3",
"text": "ในปี ค.ศ.1392 เขาได้ช่วยบิดาของเขาโค่นล้มราชวงศ์โครยอและก่อตั้งรางวงศ์ใหม่ ราชวงศ์โชซ็อน เขาคาดหวังว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทเพราะเขามีส่วนวร่วมมากที่สุดในการช่วยก่อตั้งราชวงศ์โชซ็อน แต่พ่อของเขา พระเจ้าแทโจ และอัครเสนาบดีช็อง โด-จ็อน (정도전, 鄭道傳) ได้สนับสนุนให้พระราชโอรสพระองค์ที่แปดของพระเจ้าแทโจ และเป็นน้องชายต่างมารดาของลีบังวอน (โอรสคนที่สองของพระนางชินด๊อก) ลีบังซอก เป็นรัชทายาท ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจาก ช็อง โด-จ็อน ซึ่งมีอิทธิพลและเป็นคนวางรากฐานทางการเมืองและกฎหมายของราชวงศ์ และต้องการให้อาณาจักรโชซ็อนนำโดยอัครเสนาบดีโดยมีกษัตริย์สนับสนุน ในขณะที่ ลีบังวอน ต้องการสร้างระบบอบที่ปกครองโดยตรงจากกษัตริย์ ทั้งสองฝ่ายต่างตะหนักดีถึงความเกลียดชังจากอีกฝ่ายและทั้งสองฝ่ายก็พร้อมที่จะปะทะกัน หลังจากเกิดการสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันของพระนางชินด๊อก และพระเจ้าแทโจกำลังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ในกับพระมเหสี ลีบังวอน ทำการฆ่า จองโดจอน และผู้ที่สนับสนุนเขา รวมถึงสังหารโอรสคนที่สองของพระมเหสีชินด็อก และทำการแต่งตั้งตัวเองเป็นรัชทายาทในปี ค.ศ.1398 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้กลายเป็นที่รู้จักกันถึงความขัดแย้งครั้งแรกขององค์ชาย",
"title": "พระเจ้าแทจง"
},
{
"docid": "212460#0",
"text": "พระเจ้าซุกจง ( ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1720) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720)",
"title": "พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "149284#0",
"text": "พระเจ้าซ็อนโจ () เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อนองค์ที่ 14 (พ.ศ. 2110 ถึง พ.ศ. 2151) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีและมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้งการรุกรานของญี่ปุ่นและการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น ลีซุนชิน ลีฮวาง ลีอี แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก",
"title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#5",
"text": "การแบ่งชนชั้นในสมัยโชซ็อนมีรากฐานมาจากสังคมในปลายสมัยโครยอ มีกษัตริย์โชซ็อนอยู่ที่ยอดพีระมิด รองลงมาเป็นชนชั้นปกครอง คือ พวกขุนนาง ปราชญ์ขงจื๊อต่าง ๆ ชนชั้นของโชซ็อนเป็น 4 ชั้นการแบ่งชนชั้นทางสังคมโชซ็อนนั้นเข้มงวดมากในต้นสมัยโชซ็อน แต่หลังจากสงครามกับญี่ปุ่นและการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว ชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะลืมตาอ้าปากได้ขณะที่ชนชั้นบนก็ยากจนขัดสนลง สตรียังบันนั้นจะต้องเชื่อฟังสามี เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านออกนอกบ้านได้นาน ๆ ครั้ง เมื่อออกนอกบ้านต้องปกปิดหน้าตา แต่สตรีในระดับชั้นล่างกลับมีอิสรภาพมากกว่า สามารถไปไหนมาไหนก็ได้",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "149282#0",
"text": "พระเจ้ามยองจง เป็นประมุขราชวงศ์โชซอนองค์ที่ 13 (พ.ศ. 2088 ถึง พ.ศ. 2110) หรือ องค์ชายเคียงวอน เป็นโอรสของพระเจ้าจุงจงกับมเหสีมุนจอง ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ต่อจากพระเชษฐาต่างมารดา คือ พระเจ้าอินจง ที่สิ้นพระชนม์ไปด้วยพระสุขภาพไม่สู้จะดีในพ.ศ. 2088 มีพระมารดาคือ พระพันปีมุนจอง สำเร็จราชการแทน",
"title": "พระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "290659#0",
"text": "ช็อง โด-จ็อน (; ; ; 1342-1398) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1342 เป็นอัครมหาเสนาบดีคนแรกแห่งราชวงศ์โชซ็อน และเป็นขุนนางที่พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนโปรดปรานและไว้วางพระทัยมากที่สุด โดยท่านเป็นผู้นำแห่ง \"กลุ่มชินจิน\" ซึ่งเป็นกลุ่มขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด ในช่วงต้นราชวงศ์โชซ็อนท่านถูกลอบสังหารที่พระราชวังคย็องบก โดยลีพังวอน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1398 ขณะอายุได้ 56 ปี",
"title": "ช็อง โด-จ็อน"
}
] |
1580 | เจ้าของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตคือใคร? | [
{
"docid": "132244#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตนั้นถูกก่อตั้งขึ้นโดย รอย เรย์มอนด์ นักธุรกิจชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1977 โดยวิกตอเรียส์ซีเคร็ตสาขาแรกได้ถือกำเนิดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย ต้นเหตุของการก่อตั้งวิกตอเรียส์ซีเคร็ต มาจากความรู้สึกเขินอายของรอยที่ต้องตกเป็นเป้าสายตาเวลาที่เขาไปเลือกซื้อชุดชั้นในให้ภรรยาที่ห้างสรรพสินค้า นอกจากนั้นในช่วงปี 1970 ถึง 1980 ผู้หญิงอเมริกันในยุคนั้นจะชอบซื้อชุดชั้นในเป็นแพ็ค แพ็คละ3ชิ้นมาใส่ ซึ่งเป็นชุดชั้นในที่ไม่สวย เรียบ และดูล้าสมัย โดยชุดชั้นในที่มีลวดลายสวยงามหรือมีลูกไม้ จะเก็บเอาไว้ใส่ในเฉพาะโอกาสสำคัญหรือโอกาสพิเศษเช่นการไปฮันนีมูนเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว รอยจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับตลาดชุดชั้นใน และได้กู้เงินจำนวนประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (40,000 ดอลลาร์กู้จากพ่อแม่ของเขา และอีก 40,000 ดอลลาร์กู้จากธนาคาร) เพื่อนำมาสร้างเป็น \"วิกตอเรียส์ซีเคร็ต\" ร้านชุดชั้นในที่มีความประสงค์ให้ผู้ชายหรือสามีที่ต้องมาซื้อชุดชั้นในให้ภรรยานั้นไม่มีความเขินอายและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
}
] | [
{
"docid": "132244#21",
"text": "\"นางฟ้า\" ของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต คือกลุ่มนางแบบที่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทและอยู่ในตำแหน่งพรีเซ็นเตอร์ของสินค้า นางฟ้าของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตถูกก่อตั้งครั้งแรกในปี 1997 โดยมีดานิแอลา แป็ชโตวา, กาเริน มึลเดอร์, เฮเลนา คริสเตนเซน, สเตฟานี ซีมอร์ และไทรา แบงส์ เป็นนางแบบกลุ่มแรกที่เซ็นสัญญาเป็นนางฟ้าของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต และได้เปิดตัวบนรันเวย์ครั้งแรกในปี 1998 ซึ่งเป็นการจัดวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ครั้งที่ 4 โดยในครั้งนั้น เฮเลนา คริสเตนเซน ไม่สามารถมาร่วมเดินแบบได้ จึงให้แชนดรา นอร์ท สวมปีกเป็นนางฟ้าตัวแทน",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "850282#15",
"text": "ในปี ค.ศ. 2012 ชุดที่สวมโดยนางแบบที่ชื่อว่า คาร์ลี คลอสส์ มันชวนให้นึกถึงเครื่องแต่งกายชาวอเมริกันพื้นเมือง จึงเกิดจุดการโต้เถียงเนื่องจาก มองว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของชาวพื้นเมืองอเมริกัน วิกตอเรียส์ซีเคร็ตได้แถลงคำขอโทษหลังจากนั้นไม่นานพวกเขาบอกว่าจะลบโฆษณาและงดออกอากาศในอนาคต คลอสส์ขอโทษแฟนคลับในบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว และพร้อมที่จะสนับสนุนการงดออกอากาศชุดที่เธอสวมใส่",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "132244#23",
"text": "ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2007 เหล่านางฟ้าของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ประกอบไปด้วยไฮดี คลุม, อาดรียานา ลีมา, อาเลซังดรา อังบรอซียู, เซลิตา อีแบงส์, กาโรลีนา กูร์โกวา, อิซาเบล โกลาร์ท, มิแรนดา เคอร์ และมาริซา มิลเลอร์ ได้รับการจารึกลงในฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจารึกเครื่องหมายการค้าลงบนฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม นอกจากนั้นในปีเดียวกัน เหล่านางฟ้ายังติดอันดับนางแบบที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกเช่นกัน",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "850282#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ () เป็นงานแสดงแฟชั่นโชว์ประจำปีของแบรนด์ชุดชั้นในวิกตอเรียส์ซีเคร็ต เพื่อเป็นการใช้โปรโมตสินค้า โดยมีนางแบบชื่อดังจากทั่วโลกมาร่วมเดินแบบ อย่างนางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ตในปัจจุบัน คือ อาดรียานา ลีมา, เบฮาตี ปรินส์ลัว, ลิลี ออลดริดจ์, กันดิส สวาเนปุล, แจสมิน ทุกส์, โจเซฟีน สไครเวอร์, ซารา ซังไปยู, เทย์เลอร์ ฮิลล์, มาร์ธา ฮันต์, โรเม สไตรด์, ไลส์ รีเบย์รู, สเตลลา แม็กซ์เวลล์, และเอลซา ฮอสค์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "132244#6",
"text": "ในปี ค.ศ. 1983 เลสลี เวกซ์เนอร์ ได้ทำการปรับปรุงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตในรูปโฉมใหม่ จากเดิมที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าผู้ชายหรือสามี มาเป็นกลุ่มลูกค้าผู้หญิง ทั้งการออกแบบ สไตล์ และสีสันของชุดชั้นใน ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ดูเซ็กซี่ มีรสนิยม ดูหรูหราในแบบยุโรป เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มลูกค้าผู้หญิง อีกหนึ่งกลยุทธ์คือการโกหกสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ที่ได้พิมพ์ระบุที่อยู่ลงไปในแค็ตตาล็อกว่าสำนักงานใหญ่นั้นอยู่ที่กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่อยู่หลอก ๆ เพราะความจริงแล้วสำนักงานใหญ่นั้นอยู่ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ นอกจากนี้แล้ววิกตอเรียส์ซีเคร็ตยังได้ตกแต่งร้านใหม่ให้เป็นแบบอย่างอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วย",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "132244#18",
"text": "เป็นประจำในทุก ๆ ปี ที่วิกตอเรียส์ซีเคร็ตจะเลือกหนึ่งในนางฟ้าให้สวมใส่ \"แฟนตาซีบรา\" ซึ่งเป็นบราที่ทำจากอัญมณีต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมแฟนตาซีบราถูกผลิตขึ้นเพื่อถ่ายโฆษณาลงในแค็ตตาล็อกของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตเพียงเท่านั้น แต่ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา แฟนตาซีบราก็ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ด้วย โดยก่อนที่จะถึงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ในแต่ละปี วิกตอเรียส์ซีเคร็ตจะร่วมมือกับแบรนด์หรือนักออกแบบอัญมณีที่มีชื่อเสียง เพื่อทำการผลิตแฟนตาซีบรา ที่จะนำไปเป็นไฮไลท์สำคัญในแฟชั่นโชว์ของปีนั้น ๆ",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "132244#10",
"text": "ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 วิกตอเรียส์ซีเคร็ตต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างในการบริหาร เมื่อฮาวเวิร์ด กรอสส์ ประธานกรรมการของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ซึ่งเป็นผู้ที่พัฒนาวิกตอเรียส์ซีเคร็ตมาสู่การเป็นยี่ห้อชุดชั้นในแถวหน้า ได้ย้ายไปบริหารยี่ห้อที่ชื่อว่า แอลแบรนดส์ ซึ่งเป็นยี่ห้อย่อยของบริษัทลิมิทิด แต่ผลงานออกมาไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เพราะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงกลายเป็นว่า ทั้งวิกตอเรียส์ซีเคร็ตและแอลแบรนดส์ต่างก็ประสบกับปัญหาด้วยกันทั้งคู่",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "850282#17",
"text": "ในปี ค.ศ. 2014 วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ มีการเชิญนักร้องชื่อดังอย่าง เทย์เลอร์ สวิฟต์ อีกครั้ง ทำให้เธอมาร่วมโชว์ถึงสองปีซ้อน, เอ็ด ชีแรน, อะรีอานา กรานเด และ โฮเซีย เทย์เลอร์ สวิฟต์ ร้องเพลง \"แบลงก์สเปซ\" และเพลง \"สไตล์\" ส่วนเอ็ด ชีแรน ได้ร้องเพลง \"ทิงกิงเอาต์ลาวด์\" อะรีอานา กรานเด ได้ร้องเพลง \"เลิฟมีฮาเดอร์\" \"แบงแบง\" \"เบรกฟรี\" และเพลง \"ทรับเบิล\" โฮเซียได้ร้องเพลง \"เทคมีทูเคิช\" ระหว่างการแสดง อะรีอานา ได้ไปโดนปีกของนางแบบโดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "850282#20",
"text": "เป็นประจำในทุกๆปี ที่วิกตอเรียส์ซีเคร็ตจะเลือกหนึ่งในนางฟ้าให้สวมใส่ \"แฟนตาซีบรา\" ซึ่งเป็นบราที่ทำจากอัญมณีต่างๆ ซึ่งแต่เดิมแฟนตาซีบราถูกผลิตขึ้นเพื่อถ่ายโฆษณาลงในแคตตาล็อกของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตเพียงเท่านั้น แต่ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา แฟนตาซีบราก็ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ด้วย โดยก่อนที่จะถึงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ในแต่ละปี วิกตอเรียส์ซีเคร็ตจะร่วมมือกับแบรนด์หรือนักออกแบบอัญมณีที่มีชื่อเสียง เพื่อทำการผลิตแฟนตาซีบรา ที่จะนำไปเป็นไฮไลท์สำคัญในแฟชั่นโชว์ของปีนั้นๆ",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "132244#15",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ เป็นแฟชั่นโชว์ประจำปีของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแฟชั่นโชว์ที่สำคัญและมีผู้รอชมทั่วโลก โดยวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์นั้นถูกจัดขึ้นเพื่อใช้ในในการโปรโมตสินค้าโดยเฉพาะชุดชั้นในของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ซึ่งในแต่ละปีก็จะประกอบไปด้วยนางแบบชื่อดังระดับโลกที่เข้าร่วมเดินในแฟชั่นโชว์นี้",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
}
] |
1587 | ประเทศฟิลิปปินส์มีเมืองหลวงชื่ออะไร ? | [
{
"docid": "1990#0",
"text": "ฟิลิปปินส์ (; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (; ) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก",
"title": "ประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "1990#13",
"text": "แม่น้ำที่ยาวที่สุดคือแม่น้ำคากายันในภาคเหนือของเกาะลูซอน อ่าวมะนิลา (ชายฝั่งของอ่าวเป็นที่ตั้งของกรุงมะนิลาเมืองหลวง) เชื่อมต่อกับลากูนาเดบาอี (ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์) ผ่านแม่น้ำปาซิก อ่าวซูบิก อ่าวดาเบา และอ่าวโมโรเป็นอ่าวอื่น ๆ ที่สำคัญ ช่องแคบซันฮัวนีโคแยกเกาะซามาร์และเกาะเลเตออกจากกัน แต่ก็มีสะพานซันฮัวนีโคข้ามเหนือช่องแคบ",
"title": "ประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "19339#0",
"text": "มะนิลา (; ) เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต \"เมโทรมะนิลา\" (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าคือเมืองเกซอนซิตี (Quezon City) ชานเมืองและอดีตเมืองหลวง มะนิลาตั้งอยูที่ 14°35' เหนือ 121°0' ตะวันออก",
"title": "มะนิลา"
},
{
"docid": "346690#0",
"text": "ปาไซ () เป็นเมืองที่อยู่ในเขตเขตนครหลวงในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ และอยู่ทางใต้ของมากาตีซิตี มีประชากรประมาณ 403,064 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2007) นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินีโนยอากีโน ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์",
"title": "ปาไซ"
},
{
"docid": "889540#0",
"text": "MNL48 (อ่านว่า เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต) MNL ย่อมาจาก มะนิลา (Manila) ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยเป็นกลุ่มไอดอลหญิงจากประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นวงน้องสาวต่างประเทศลำดับที่ 5 ของ AKB48 ซึ่งมีการประกาศการก่อตั้งวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่คอนเสิร์ตของ AKB48 รวมไปถึงวงน้องสาวอีกสองวง ได้แก่ TPE48 ประเทศไต้หวัน(ภายหลังได้ยุบวงและเปลี่ยนชื่อเป็น AKB48 Team TP) และ BNK48 ประเทศไทย",
"title": "เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต"
}
] | [
{
"docid": "636908#0",
"text": "มหาวิหารมะนิลา (, ) มหาวิหารแห่งเมืองหลวงมะนิลา หรือที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการในชื่อมหาวิหารมะนิลาคือ มหาวิหารโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อุทิศให้กับพระนางมารีย์พรหมจารี ในฐานะแม่พระปฏิสนธินิรมล ซึ่งเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์หลักของฟิลิปปินส์ มหาวิหารใช้งานในฐานะสันตะสำนักของอาร์ชบิชอปแห่งมะนิลา ซึ่งเป็นอาร์ชบิชอปโดยพฤตินัยของประเทศฟิลิปปินส์",
"title": "มหาวิหารมะนิลา"
},
{
"docid": "429736#0",
"text": "เกซอนซิตี (; ฟิลิปีโน: Lungsod Quezon) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เคยเป็นเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ระหว่างปี ค.ศ. 1948–1976 ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน เมืองนี้ตั้งชื่อตามอดีตประธานาธิบดี มานูเอล แอล. เกซอน",
"title": "เกซอนซิตี"
},
{
"docid": "911940#0",
"text": "จังหวัดฮีลากังอีโลโคส (อีโลกาโน: Makin-amianan nga Ilocos) เป็นจังหวัดในเขตอีโลโคสของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลาวัก อยู่ทางมุมตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน และเป็นจังหวัดบ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้ใช้กฎหมายเบ็ดเสร็จในช่วงครึ่งหลังของการดำรงตำแหน่ง แต่ได้รับความนิยมน้อยในจังหวัดของเขา นอกจากนี้ ฮีลากังอีโลโคสยังเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวภาคเหนือ โดยเป็นที่ตั้งของโรงแรมฟอร์ตอิโลคอนเดียและเมืองปากุดพุด",
"title": "จังหวัดฮีลากังอีโลโคส"
},
{
"docid": "910818#0",
"text": "เขตคาลาบาร์โซน () หรือชื่อเดิม เซาเทิร์นตากาล็อกเมนแลนด์ หรือ เขตที่ 4-เอ เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบาตังกัส, จังหวัดคาบีเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดเคโซน และจังหวัดรีซัล และมีเมืองที่มีประชากรจำนวนมากอย่างลูเซนา ชื่อของเขตนี้ มีที่มาจากส่วนหนึ่งของชื่อจังหวัดทั้งห้ามาต่อกัน เมืองหลักของเขตนี้คือเมืองคาลัมบา จังหวัดลากูนา คาลาบาร์โซนเป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดอันดับหนึ่ง และมีความหนาแน่นของประชากรเป็นอันดับที่สองของประเทศ",
"title": "เขตคาลาบาร์โซน"
},
{
"docid": "939955#0",
"text": "ตักบีลารัน () เป็นนครแห่งหนึ่งบนเกาะวิซายัส ประเทศฟิลิปปินส์ และยังเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดโบโฮล ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 105,051 คน และในปี ค.ศ. 2016 มีผู้เลือกตั้ง 59,949 คน ตัวนครมีพื้นที่ ชายฝั่งทะเลยาว อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนคร ตักบีลารันมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองโคร์เตส, โคเรลลา และบาคลาโยน ที่นี่ถือเป็นประตูสู่โบโฮล อยู่ห่างจากมะนิลา และเซบูซิตี",
"title": "ตักบีลารัน"
},
{
"docid": "1990#11",
"text": "ฟิลิปปินส์เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ มีเนื้อที่ทั้งหมด (รวมพื้นผิวแหล่งน้ำภายในแผ่นดิน) ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) ชายฝั่งทะเลยาว 36,289 กิโลเมตร (22,549 ไมล์) ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ฟิลิปปินส์มีที่ตั้งซึ่งกำหนดโดยพิกัดภูมิศาสตร์คือ ระหว่างลองจิจูด 116° 40' ตะวันออก ถึง 126° 34' ตะวันออก กับละติจูด 4° 40' เหนือ ถึง 21° 10' เหนือ มีอาณาเขตจรดทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก จรดทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก และจรดทะเลเซเลบีสทางทิศใต้ เกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และไต้หวันตั้งอยู่ทางทิศเหนือโดยตรง หมู่เกาะโมลุกกะและเกาะซูลาเวซีตั้งอยู่ทางทิศใต้-ตะวันตกเฉียงใต้ และปาเลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะ",
"title": "ประเทศฟิลิปปินส์"
}
] |