Book,Page,LineNumber,Text
44,0047,001,นี้ จำแนกกรรมบถทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลว่า 'ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
44,0047,002,ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
44,0047,003,เหล่านี้วิญญูชนติเตียน เหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ เหล่านี้บุคคล
44,0047,004,สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
44,0047,005,เหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข' ดังนี้ ทำกรรมและวิบาก
44,0047,006,แห่งกรรมให้ปรากฏ ราวกะแสดงโลกนี้และโลกหน้าโดยประจักษ์
44,0047,007,ยังผู้สดับให้กลับ (ใจ) จากอกุศลธรรมทั้งหลาย ให้ดำรงอยู่ในกุศล-
44,0047,008,"ธรรมทั้งหลาย แสดงธรรม, นี้ชื่อว่าธรรมทาน. แต่ธรรมกถึกใด"
44,0047,009,ประกาศสัจจะทั้งหลายว่า 'ธรรมเหล่านี้พึงรู้ยิ่ง เหล่านี้พึงกำหนดรู้
44,0047,010,เหล่านี้พึงละ เหล่านี้พึงทำให้แจ้ง เหล่านี้พึงเจริญ' ดังนี้ แสดง
44,0047,011,"ปฏิปัตติธรรม เพื่อบรรลุอมตะ, นี้ชื่อธรรมทานที่ถึงความเป็นยอด."
44,0047,012,บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบท เป็น เอตํ อคฺคํ. บทว่า ยทิทํ ความว่า
44,0047,013,บรรดาทานทั้ง ๒ นี้ ธรรมทานที่พระธรรมกถึกนั้นแสดง นั่นเป็นยอด
44,0047,014,คือประเสริฐ ได้แก่สูงสุด. จริงอยู่ บุคคลอาศัยธรรมทานอันเป็น
44,0047,015,วิวัฏฏคามี (มีปกติทำสัตว์ให้ถึงวิวัฏฏะ) ย่อมพ้นจากความฉิบหาย
44,0047,016,"ทั้งปวง, ย่อมล่วงวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้น. ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุ"
44,0047,017,แห่งทานทั้งปวง เป็นมูลแห่งทรัพย์สมบัติทุกอย่าง. แม้อภัยทานก็พึง
44,0047,018,เห็นว่า พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยธรรมทาน ในทานทั้ง ๒ นี้
44,0047,019,"เหมือนกัน."""
44,0047,020,"ในอรรถกถามงคลสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ""ก็การแสดงธรรมที่"
44,0047,021,พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้ว อันเป็นเหตุทุกข์และนำสุขมา