Book,Page,LineNumber,Text
44,0028,001,นั้นให้ เพราะความโลภนั้นครอบงำไม่ได้. พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
44,0028,002,โย หิ ดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดงคำทั้งสองนั้น คือ น ทาโส น สหาโย
44,0028,003,โดยนัยอันคล้อยตาม และโดยนัยอันตรงกันข้าม. ทายกชื่อว่าเป็นทาส
44,0028,004,(แห่งทาน) ให้ เพราะเป็นผู้เข้าไปใกล้ต่อความเป็นทาสแห่งตัณหา.
44,0028,005,ทายกชื่อว่า เป็นสหายแห่งทานให้ เพราะสละความเป็นของไม่เป็นที่รัก
44,0028,006,แห่งไทยธรรมนั้น. ทายกชื่อว่า เป็นนายให้ เพราะเปลื้องตนจากความ
44,0028,007,เป็นทาสแห่งตัณหาในไทยธรรมนั้นครอบงำเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง
44,0028,008,บุคคลใดชื่อว่าเป็นทายก เพราะให้เป็นปกติ ผู้นั้น โดยประเภทแห่ง
44,0028,009,ความเป็นไปในทาน มีประการเป็น ๓ คือ ทาสแห่งทาน สหายแห่งทาน
44,0028,010,นายแห่งทาน เพื่อจะแสดงจำแนกความที่ทายกมีประการเป็น ๓ นั้น
44,0028,011,พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า 'โย หิ' เป็นต้น. ข้าวและน้ำ
44,0028,012,"เป็นต้น ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าเป็นของควรให้, บรรดาทายกทั้ง"
44,0028,013,๓ จำพวกนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นดุจทาส เพราะเป็นไปในอำนาจวัตถุที่ตน
44,0028,014,"บริโภคเอง เหตุที่ตนถูกตัณหาครอบงำ, ชื่อว่าเป็นดุจทาส เพราะเป็น"
44,0028,015,ไปในอำนาจ แห่งวัตถุที่ตนไม่ให้แก่ชนเหล่าอื่น. แม้เช่นนั้น พระ
44,0028,016,อรรถกถาจารย์ กล่าวคำว่า 'ทานสงฺขาตสฺส เทยฺยธมฺมสฺส ทาโส
44,0028,017,หุตฺวา' นี้ ก็ด้วยความที่ข้าวและน้ำเสมอกัน. ทายกชื่อว่าเป็นสหายให้
44,0028,018,เพราะตั้งของที่ตนพึงบริโภค และขอที่พึงให้แก่ชนอื่นไว้โดยเสมอ ๆ
44,0028,019,กัน. ทายกชื่อว่าเป็นนายให้ เพราะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งไทยธรรม
44,0028,020,เอง. [แต่] ทำไทยธรรมนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน. อีกนัยหนึ่ง
44,0028,021,ผู้ใดบริโภคของประณีตด้วยตน ให้ของเลวแก่ผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่าทาสแห่ง