Book,Page,LineNumber,Text 13,0049,001,ด้วยมีหลักเกณฑ์ ดังที่กล่าวแล้วจากสังเกต เว้นได้แต่ในที่บางแห่ง 13,0049,002,ดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างในข้อ [ ๕ ]. 13,0049,003,อนึ่ง ใจข้อความที่กล่าวรวม ๆ แยก ๆ อันควรวางกิริยา ตฺวา 13,0049,004,ปัจจัยในที่สุด ท่านวางกิริยาอื่นก็มี อุ :- 13,0049,005,"ตา เคเห ฌายนฺเต เวทนาปริคฺคหกมฺมฏฺ€านํ มนสิกโรนฺติโย," 13,0049,006,"กาจิ ทุติยผลํ, กาจิ ตติยผลํ ปาปุณึสุ. [สามาวตี. ๒/๑๐ ] "" หญิง" 13,0049,007,"เหล่านั้น, เมื่อเรือนอันไฟไหม้อยู่, กระทำไว้ในใจ ซึ่งกัมมัฏฐาน" 13,0049,008,กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์; หญิงบางพวกบรรลุผลที่ ๒; บางพวกบรรลุ 13,0049,009,"ผลที่ ๓.""" 13,0049,010,มนสิกโรนฺติโย น่าเรียกเป็นกิริยาปธานนัย แต่เมื่อไม่กล้าเรียก 13,0049,011,ก็ต้องเรียกเป็นวิเสสนะ. (จะเรียกเป็นอัพภันตรกิริยาก็ขัด เพราะไม่เป็น 13,0049,012,กิริยาภายใน คือ ในระหว่าง ๆ แต่เป็นกิริยาในที่สุด.) ถ้าจะให้เป็น 13,0049,013,กิริยาปธานนัย ก็ต้องเติม หุตฺวา ให้ กโรนฺติโย เป็น วิกติกตฺตา 13,0049,014,ใน หุตฺวา ๆ เป็นกิริยาปธานนัย. (บทกิริยา อนฺต มาน ปัจจัยเป็น 13,0049,015,วิกติกตฺตา ได้). แต่ดูไม่น่าเติม ท่านวางไว้พอดีแล้ว. 13,0049,016,สรูปอธิบาย: กิริยาปธานนัย คือกิริยา ตฺวา ปัจจัยที่วางไว้ในที่ 13,0049,017,สุดข้อความ ที่กล่าวรวมบ้าง แยกบ้าง บรรดาข้อความหลายท่อนที่กล่าว 13,0049,018,"รวม ๆ แยก ๆ และวางไว้ในท่อนต้นบ้าง ท่อนหลังบ้าง ไม่แน่, แต่" 13,0049,019,"ในท่อนที่สุด ก็มีกิริยาในพากย์เสมอ, บทกัตตา เรียกว่า กัตตา หรือ" 13,0049,020,สยกัตตาบ้าง เหตุกัตตาบ้าง ตามควรแก่บทกิริยา.